Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2567
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
6 มิถุนายน 2567
 
All Blogs
 
อยู่กับความจริง

               

           วันนี้มาจำนวนพอดี ไม่แน่นศาลา นั่งสบายๆ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่ควรสำคัญมั่นหมาย ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ควรปล่อยให้เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย อยู่กับความจริง ถ้าอยู่กับความจริงได้ก็จะไม่ทุกข์ ถ้าอยู่ไม่ได้ก็จะทุกข์ แต่ใจของพวกเราไม่ชอบอยู่กับความจริง ชอบอยู่กับความฝัน จึงมักจะพบกับความทุกข์อยู่เรื่อยๆ เพราะไม่รู้ธรรมชาติของใจว่า ความสุขของใจอยู่ที่ความพอใจกับความจริงที่ปรากฏขึ้น ใจถูกความหลงหลอกให้เห็นว่า ความสุขอยู่ที่การได้สิ่งนั้นมีสิ่งนี้ แต่ไม่เคยพิจารณาเลยว่า หลังจากที่ได้มาแล้วเป็นอย่างไร มีความสุขหรือมีความทุกข์มากกว่ากัน ในขณะที่อยากได้ ก็ไม่รู้ว่ากำลังมีความทุกข์แล้ว เพราะไม่มีความพอนั่นเอง ไม่รู้ว่าจุดอิ่มพออยู่ตรงไหน จุดของความอิ่มพอของใจ ก็อยู่ที่ความสงบนี่เอง ที่ฝึกนั่งสมาธิกันนี้ ก็เพื่อให้ใจได้เข้าถึงจุดอิ่มพอ เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถอยู่ในสมาธิได้ตลอดเวลา อยู่ได้ชั่วระยะหนึ่งแล้วก็ต้องถอนออกมา แต่ก็จะได้สัมผัสรับรู้ว่า จุดของความอิ่มพอนั้น ไม่ได้อยู่ข้างนอก ไม่ได้อยู่กับสิ่งต่างๆ แต่อยู่ภายในใจ อยู่ที่ความสงบของใจนี่เอง พอได้ความสงบนี้แล้ว ก็จะรู้ว่าต้องรักษาความสงบนี้ให้ได้ เพราะไม่มีอะไรที่จะให้ความสุขเท่ากับความสงบนี้
 
ดังนั้นเวลาออกจากความสงบแล้ว ก็ต้องใช้สติคอยควบคุมใจ ให้อยู่ในความสงบต่อไป ใช้ปัญญาสอนใจ ไม่ให้ไปหลงไปอยากกับสิ่งต่างๆ เพราะเวลาเกิดความอยากขึ้นมาแล้ว ความสงบก็จะถูกทำลายไป ถ้ามีสติมีปัญญา ก็จะรู้ว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเอาความสงบ หรือเอาสิ่งที่อยากได้อยากมีอยากเป็น ถ้าอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็จะต้องดิ้นรนแสวงหามา ก็จะทำให้ความสงบที่มีอยู่ในใจหายไป พอได้สิ่งที่อยากจะได้มาแล้ว ก็จะเห็นว่าความสุขที่ได้มา กับความสุขที่เกิดจากความสงบนั้น ต่างกันเหมือนฟ้ากับดิน ความสุขที่ได้จากความสงบนี้ มีน้ำหนักมากกว่าความสุขทั้งหลายในโลกนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า ไม่มีสุขใดในโลกนี้ จะดีเท่ากับความสุขที่เกิดจากความสงบ พอทำจิตใจให้สงบได้แล้ว ก็จะเห็นความจริงนี้ปรากฏขึ้นมาในใจ จะรู้ว่านี่คือความสุขที่ต้องสร้างให้มีอยู่เรื่อยๆ ต้องรักษาให้มีอยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากใจยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมหะความหลง พอออกจากสมาธิมาสัมผัสรับรู้กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ สัมผัสรับรู้กับเวทนาสัญญาสังขาร ความรู้สึก ความคิดปรุงแต่ง ความจำได้หมายรู้ ก็จะเกิดตัณหาความอยากได้ อยากมีอยากเป็น ถ้ามีสติปัญญาคอยสอนใจให้เห็นว่า เวลาเกิดความอยาก ความสุขที่ได้จากความสงบจะหายไป ถ้าอยากจะรักษาความสุข ที่เกิดจากความสงบนี้ ก็ต้องละความอยากได้ พอละความอยากได้ จิตก็จะกลับเข้าสู่ความสงบ เป็นสิ่งที่จะรู้ด้วยตนเอง จะรู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร หลังจากที่ได้ความสุขจากความสงบแล้ว
 
พอออกจากสมาธิแล้ว ถ้าจะรักษาความสงบ ก็ต้องควบคุมไม่ให้ใจกระเพื่อม ด้วยการอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ด้วยการสอนใจให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากได้ อยากมี อยากเป็นนั้น เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ เพราะความอยากเป็นต้นเหตุ ถ้ามีมรรคคือสติปัญญาสอนใจเตือนใจว่า การรักษาความสงบนี้ดีที่สุด ดีกว่าอะไรทั้งหมดในโลกนี้ ก็จะละความอยากได้ กลับเข้าสู่ความสงบความสุขได้ ถ้ารู้ว่าสิ่งต่างๆที่อยากได้นั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่สามารถควบคุมบังคับให้อยู่กับเราไปได้ตลอด เช่นทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองต่างๆ บางเวลาก็อยู่กับเรา บางเวลาก็ไม่อยู่กับเรา เพราะเป็นอนิจจังด้วย มีเจริญมีเสื่อม มีเกิดมีดับ มีมามีไปเป็นธรรมดา พอได้สมาธิแล้วการปฏิบัติจะหมุนไปเอง พอออกจากสมาธิแล้วจะเห็นความจำเป็นของการเจริญสติปัญญา ถ้าไม่เจริญความหลงจะหลอก ให้ไปอยากเสพรูปเสียงกลิ่นรส ให้ไปอยากเป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมา  จะทำให้ทุกข์ใจวุ่นวายใจ   การปฏิบัติสู่อริยมรรคอริยผลต้องมีสมาธิก่อน ถ้าไม่มีสมาธิจะไม่เห็นความแตกต่าง ของความสุขที่เกิดจากความสงบ กับความสุขที่ได้จากสิ่งต่างๆ เช่นรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ จะหลงติดอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ถ้านั่งสมาธิทำจิตให้สงบได้แล้ว จะเห็นความแตกต่างของความสุข ๒ ชนิดนี้ คือความสุขที่เกิดจากความสงบ กับความสุขที่เกิดจากการเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ จากการได้ลาภยศสรรเสริญ จะรู้ว่าจะต้องรักษาความสุขภายในใจให้ได้ จะคิดออกหาสถานที่สงบวิเวก เพื่อรักษาและเจริญความสงบนี้ ให้ได้อย่างต่อเนื่อง ให้ได้ตลอดเวลา เพราะถ้าอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่สงบ จะทำให้ความสงบอยู่ได้ไม่นาน จะถูกสิ่งยั่วยวนกวนใจต่างๆ คอยล่อคอยหลอกให้เกิดความอยากต่างๆขึ้นมา
 
ผู้ปฏิบัติเพื่อความสุขภายในใจที่ถาวร จึงต้องปลีกวิเวกไปอยู่ตามลำพัง เพื่อสร้างความสุขภายในใจ ให้มีอยู่อย่างต่อเนื่องและถาวร ถ้าอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่สงบจะทำยาก ถ้าต้องการความสุขที่แท้จริง ก็ต้องนั่งสมาธิทำใจให้สงบให้ได้ ก่อนที่จะได้สมาธิก็ต้องมีสติก่อน ถ้าไม่มีสติเวลานั่งสมาธิก็จะคิดฟุ้งซ่าน จะไม่สงบ ถ้ามีสติก็จะสามารถดึงใจไม่ให้คิดฟุ้งซ่านได้ ให้อยู่กับการบริกรรมพุทโธๆ หรืออยู่กับการดูลมหายใจเข้าออกอย่างต่อเนื่องได้ ไม่เผลอไปคิดเรื่องต่างๆ ภายในเวลา ๕ นาที ๑๐ นาที จิตก็จะเข้าสู่ความสงบได้ สติจึงเป็นธรรมที่สำคัญอย่างมากต่อการเจริญสมาธิ และต่อการรักษาความสงบสุข หลังจากออกจากสมาธิมาแล้ว ด้วยการเจริญปัญญา เป้าหมายแรกของผู้ปฏิบัติ จึงอยู่ที่การเจริญสติ ที่ต้องทำอย่างจริงจัง ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดตอน เพราะเวลาใดที่ขาดสติ เวลานั้นจะเผลอไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ บางทีนานเป็นเวลาหลายชั่วโมงเลย กว่าจะมารู้สึกตัวว่าวันนี้ไม่ได้เจริญสติเลย วันนี้ฟุ้งซ่านทั้งวัน จึงต้องเจริญสติให้ได้ ควบคุมใจไม่ให้ไปคิดเรื่องต่างๆ ไม่ให้ไปอดีต ไม่ให้ไปอนาคต ให้อยู่ในปัจจุบัน ก็มีร่างกายนี้แหละที่เป็นปัจจุบัน ใจถ้าอยู่กับร่างกายก็จะอยู่กับปัจจุบัน หรือจะใช้การบริกรรมพุทโธๆก็ได้ ใช้บทสวดมนต์ก็ได้ ถ้าใช้ร่างกายเป็นที่ตั้งของสติ ก็ต้องเฝ้าดูร่างกายทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนหลับ เช่นกำลังนอนอยู่ กำลังจะลุกขึ้นมา กำลังยืน กำลังเดิน กำลังทำกิจต่างๆ ต้องอยู่กับร่างกายตลอดเวลา ถึงจะมีสติ ซึ่งสามารถทำได้ตลอดทั้งวัน ถ้าตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่า จะให้ใจเฝ้าดูร่างกายตั้งแต่ตื่นจนหลับ ถ้าอยู่คนเดียวจะทำได้ง่ายกว่าอยู่ด้วยกันหลายคน ถ้าอยู่หลายคนจะถูกคนอื่นดึงใจไป พอเห็นเขาทำอะไร ก็อดวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ พอวิพากษ์วิจารณ์ก็แสดงว่า ไม่ได้อยู่ที่ร่างกายแล้ว ถ้าอยู่คนเดียวจะไม่มีอะไรมาฉุดลากให้ไปจากร่างกาย ถ้ามีภารกิจการงานต่างๆ จะเจริญสติได้ยาก
 
ถ้าต้องการปฏิบัติให้ได้ผลก็ต้องปลีกวิเวก ยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ด้วยการเจริญสตินั่งสมาธิ เวลาทำภารกิจต่างๆ ก็ให้มีสติเฝ้าดูการกระทำของร่างกาย พอไม่มีภารกิจที่จะต้องทำ ก็ให้นั่งสมาธิ ก่อนที่ใจจะสงบได้ร่างกายต้องสงบก่อน ร่างกายต้องอยู่เฉยๆ ถึงจะทำจิตให้สงบได้ ถ้าร่างกายยังเคลื่อนไหวอยู่ จิตจะไม่รวมลงเป็นสมาธิ จะได้อย่างมากก็คือสติประคับประคองใจ ไม่ให้คิดฟุ้งซ่าน ไม่ให้ไปที่นั่นที่นี่ ไม่ให้ไปอดีตไปอนาคต ถ้าได้นั่งแล้วหลับตา แล้วทำให้ใจอยู่กับกรรมฐานได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะเข้าสู่ความสงบได้ ถ้าดูลมหายใจเข้าออก ก็ให้ดูที่ปลายจมูก หายใจเข้าก็รู้หายใจออกก็รู้ ให้รู้แค่นี้ ลมหายใจจะหยาบหรือจะละเอียด จะสั้นหรือจะยาว ก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องบังคับ เราเพียงต้องการใช้ลมเป็นที่เกาะของจิตใจ เพื่อจะดึงใจให้เข้าสู่ความสงบ ถ้าไม่ชอบลมหายใจเข้าออก ชอบบริกรรมพุทโธ ก็ให้บริกรรมพุทโธไป ให้มีสติจดจ่อรู้อยู่กับคำบริกรรมพุทโธ แล้วก็ระมัดระวังไม่ให้เผลอไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถ้ายังเผลอคิดได้ ก็ต้องบริกรรมให้ถี่ขึ้น ขึ้นอยู่กับจริตของผู้ปฏิบัติ และภาวะของจิต
 
บางครั้งเวลาเริ่มนั่งสมาธิ จิตจะคิดมาก ให้อยู่กับลมก็ไม่ยอมอยู่ ให้อยู่กับพุทโธก็ไม่ยอมอยู่ ก็ต้องใช้การสวดมนต์ไปเรื่อยๆก่อน สวดบทที่จำได้ ไม่ต้องเปิดดูหนังสือ ไม่ต้องใช้สายตา ให้สวดในท่าขัดสมาธิ สวดไปภายในใจ เหมือนกับการบริกรรมพุทโธ สวดอะระหังสัมมาฯ สวากขาโตฯ สุปฏิบันโนฯ สวดบทไหนก็ได้ที่จำได้ สวดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกอยากจะหยุดสวด ก็แสดงว่าความคิดปรุงแต่งหมดกำลัง ก็จะสามารถนั่งดูลมต่อไป หรือบริกรรมพุทโธๆต่อไปได้ นี่คือภาวะของจิต เวลาเริ่มต้นนั่งนี้ เนื่องจากจิตยังติดค้างอยู่กับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็ยังติดพันอยู่กับเรื่องที่ผ่านมา เวลาพุทโธหรือดูลมก็จะไปคิดเรื่องนั้นต่อ ก็ต้องใช้การสวดมนต์ไปก่อน สวดไปเรื่อยๆจนไม่คิดอะไรแล้วค่อยหยุด แล้วก็กลับมาดูลมหายใจต่อ จิตก็จะอยู่กับลมหายใจได้ จะเข้าสู่ความสงบได้ พอได้สมาธิแล้ว ก็จะได้สัมผัสกับความสุข ที่ดีกว่าที่เหนือกว่าความสุขทั้งหลาย ที่ไม่มีใครแย่งจากเราไปได้ ทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองนี่ ยังถูกยึดได้ ยังถูกขโมยไปได้ แต่ความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ ไม่มีใครยึดไปได้ ไม่มีใครขโมยไปได้ ถ้าทำได้แล้วก็จะทำไปได้เรื่อยๆ ในเบื้องต้นก็อาจจะได้บ้างไม่ได้บ้าง เนื่องจากยังไม่ชำนาญ สติยังไม่ต่อเนื่อง วันไหนสติต่อเนื่องวันนั้นก็จะสงบได้ง่าย วันไหนสติไม่ต่อเนื่องวันนั้นก็จะสงบได้ยาก หรือไม่สงบเลย เวลาปฏิบัติก็อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่า จะต้องสงบทุกครั้ง ครั้งนี้อาจจะสงบหรืออาจจะไม่สงบก็ได้ ไม่เป็นไร ให้พยายามทำไป ให้เจริญสติเป็นหลัก ถ้าไม่สงบก็แสดงว่าสติไม่มีกำลัง หยุดความฟุ้งซ่านไม่ได้ ถ้าสงบก็แสดงว่าสติมีกำลัง
 
ข้อสำคัญก็คือต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ถ้าจะให้ได้ผลก็ควรจะเอางานปฏิบัติอย่างเดียว เช่นนักบวชทั้งหลาย เอางานปฏิบัติเป็นงานหลัก เอางานดูแลอัตภาพร่างกายเป็นงานรอง เช่นพระตอนเช้าท่านก็ออกบิณฑบาต แล้วก็กลับมาฉัน ฉันเสร็จล้างบาตรเสร็จ ก็กลับไปที่พักไปเดินจงกรมนั่งสมาธิ จนถึงเวลาบ่ายปัดกวาด ฉันน้ำปานะ พอสรงน้ำเสร็จแล้ว ก็กลับเข้าเดินจงกรมนั่งสมาธิไป จนถึงเวลาพักตอนประมาณ ๔ หรือ ๕ ทุ่ม ตอนตี ๒ ตี ๓ ก็ตื่นขึ้นมาเดินจงกรมนั่งสมาธิ สลับกันไปจนถึงเวลาออกบิณฑบาต นี่คือการปฏิบัติของนักปฏิบัติ ต้องปฏิบัติแบบนี้ ถึงจะได้ผลเป็นกอบเป็นกำ ถ้าปฏิบัติแบบฆราวาสญาติโยม ที่ตอนเช้าต้องออกไปทำมาหากิน ทำงานทำการ กว่าจะกลับมาบ้านก็ค่ำ บางทีติดงานเลี้ยงติดธุระอื่น กว่าจะกลับมาบ้านก็ดึก ก็จะไม่มีเวลาปฏิบัติ พอจะปฏิบัติก็จะไม่มีกำลัง เหนื่อยหมดแรง เพศฆราวาสจึงไม่เอื้อต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ก็ไม่ปฏิเสธสำหรับบางคนบางท่านที่เป็นกรณีพิเศษ ที่มีฐานะการเงินที่ดีที่พร้อม ไม่ต้องไปทำมาหากิน ไปทำงานต่างๆ มีที่พักที่สงบอยู่ตามลำพัง สามารถปฏิบัติแบบนักบวชได้ ปฏิบัติในบ้านของตนได้ ตื่นมาก็เดินจงกรมนั่งสมาธิ จนกว่าจะถึงเวลารับประทานอาหาร รับประทานอาหารเสร็จก็เดินจงกรมนั่งสมาธิต่อ ทำไปอย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน อย่างนี้ก็จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะผลเกิดจากเหตุ คือการปฏิบัติเท่านั้น ที่ทรงแสดงไว้ก็คือ สุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน ญายปฏิปันโน สามีจิปฏิปันโน นี่แหละคือเหตุที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมา ผู้ที่ปฏิบัติอย่างนี้ถึงได้บรรลุเป็นพระอริยสงฆ์สาวก เป็นสังฆรัตนะ ที่พวกเรารำลึกถึงในพระสังฆคุณ ที่เราสวดกัน สุปฏิปันโน อุชุฯ ญายฯ สามีจิปฏิปันโน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นนักบวช เป็นพระอย่างเดียว เป็นชายอย่างเดียว เป็นได้ทุกเพศทุกวัย ในสมัยพระพุทธกาลผู้ที่เป็นสุปฏิปันโนนี้ มีทุกเพศทุกวัย มีทั้งนักบวช มีทั้งฆราวาส มีทั้งหญิง มีทั้งชาย มีทั้งเด็ก มีทั้งผู้ใหญ่
 
สุปฏิปันโนคือการเจริญสติตั้งแต่ตื่นจนหลับ สลับกับการนั่งสมาธิ พอออกจากสมาธิก็ให้เจริญปัญญา ให้รักษาความสงบที่ได้จากสมาธิ ด้วยการพิจารณาทางปัญญา หรือใช้สติคอยเฝ้าดูใจ ว่ากำลังจะกระเพื่อมขึ้นมาด้วยความอยากหรือไม่ ถ้ากระเพื่อมขึ้นมาก็ต้องใช้ปัญญาเข้าไปสกัด ไปสอนไม่ให้ไปอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากมีสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะสิ่งต่างๆไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ควบคุมไม่ได้ ความอยากได้สิ่งต่างๆ จะทำให้เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา จะทำลายความสงบที่ได้จากการนั่งสมาธิ นี่คือหน้าที่ของปัญญาหลังจากออกจากสมาธิมาแล้ว ใช้สติดูแล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา ถ้าไม่มีอะไรมาสร้างความอยากให้กับใจ ก็ใช้ปัญญาพิจารณาถึงเหตุการณ์ต่างๆที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต เช่นความไม่เที่ยงของร่างกาย ต้องพิจารณาว่าเกิดมาแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ต้องพลัดพรากจากกัน ถ้ายังติดอยู่กับกามารมณ์ ก็ต้องพิจารณาอสุภะ พิจารณาความไม่สวยไม่งามของร่างกาย เช่นดูว่าเวลาร่างกายตายไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร ซากศพเป็นอย่างไร ถ้าเห็นซากศพแล้วก็จะดับกามารมณ์ได้
 
หรือจะดูอาการ ๓๒ ของร่างกายก็ได้ พวกเราเห็นเพียง ๕ อาการ คือเห็นผมขนเล็บฟันหนัง แต่ภายใต้ผิวหนังนี้มองไม่เห็นกัน ต้องใช้ปัญญาดูทะลุผิวหนังเข้าไป ต้องพิจารณาเนื้อเอ็นกระดูก ดูกระดูกตั้งแต่ศีรษะลงไปจนถึงเท้า มีกระดูกเต็มร่างกาย พิจารณาอวัยวะต่างๆ เช่นหัวใจ ตับ ปอด ลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ เยื่อในสมองศีรษะ และน้ำต่างๆที่มีอยู่ในร่างกาย น้ำเสลด น้ำดี น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ ฯ ตอนต้นก็ท่องชื่อไปก่อน จำชื่อไว้ก่อนแล้วค่อยนึกถึงอาการต่างๆ ถ้าไม่เคยเห็นก็ไปเปิดดูหนังสือที่มีภาพต่างๆ ดูภาพผ่าศพ ที่นักศึกษาแพทย์ใช้ศึกษาอวัยวะต่างๆ ให้ดูจนติดตาติดใจ เวลาเห็นคนจะได้เห็นครบอาการ ๓๒ ไม่เห็นเพียงแต่ ๕ อาการ คือผมขนเล็บฟันหนัง เพราะ ๕ อาการนี้สามารถหลอกให้เกิดกามารมณ์ขึ้นมาได้ เพราะจะตบแต่งให้สวยงาม แต่อาการภายในนี้หลอกไม่ได้ ปิดกั้นไม่ได้ มีหนังปิดกั้นตาหยาบได้ แต่ไม่สามารถปิดกั้นตาละเอียดคือปัญญาได้ ถ้าพิจารณาอสุภะอยู่เรื่อยๆ จะเห็นทะลุปรุโปร่ง จะไม่มีกามารมณ์ ถ้ามีก็จะดับได้ทันที กามารมณ์เป็นความอยาก ที่จะทำให้จิตใจกระสับกระส่ายกระวนกระวาย หงุดหงิดรำคาญใจ ไม่สงบไม่สุข ถ้าเสพตามความอยากก็จะติด จะไม่ได้ความสงบสุข จะได้ความทุกข์ ทุกข์ในขณะที่อยากจะเสพ ทุกข์ในขณะที่ไม่ได้เสพ จะสงบก็เพียงขณะที่ได้เสพ แต่สงบไม่นาน เดี๋ยวก็อยากขึ้นมาอีก
 
เวลาศึกษาธรรมะอย่าไปหลงประเด็น ให้เกาะติดอยู่กับพระอริยสัจ ๔  อย่าไปหลงกับชื่อของธรรมชนิดต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สำคัญ เท่ากับความรู้ในอริยสัจ ๔ ศึกษาพระอภิธรรมจนจำได้หมดว่า จิตมีกี่ชนิดมีกี่แบบ กิเลสมีกี่ชนิดมีกี่แบบ รู้ไปก็เท่านั้น รู้แต่ชื่อ แต่ตัวที่ปรากฏอยู่ในใจตลอดเวลา กลับไม่รู้ ทางสายปฏิบัติจึงไม่ค่อยได้พูดถึง จะพูดแต่สติสมาธิปัญญา เพราะเป็นเหตุที่จะทำให้เห็นธรรมต่างๆ ที่จารึกอยู่ในพระไตรปิฎก ถ้าจะละสักกายทิฐิได้ ก็ต้องเห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา นี่คือด่านแรกของปัญญา โดยเฉพาะรูปขันธ์และเวทนาขันธ์ ที่เป็นตัวปัญหา มีสัญญาสังขารเป็นผู้สร้าง พอสังขารปรุงไปทางสมุทัยก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา เช่นเวลาเกิดทุกขเวทนา สังขารก็จะปรุงให้อยากให้ทุกขเวทนาหายไป อยากจะให้หายเจ็บ พอไม่หายก็ดิ้นรนกวัดแกว่ง นั่งไม่เป็นสุข ต้องขยับถึงจะหาย แต่ไม่สามารถทำใจให้หายทุกข์ได้ ต้องดิ้นหนีทุกขเวทนาอยู่เรื่อยๆ ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาทุกขเวทนาว่าเป็นธรรมดา เป็นเหมือนฝนตก ห้ามทุกขเวทนาไม่ได้ แต่ห้ามใจได้ ห้ามไม่ให้กลัว ห้ามไม่ให้อยากให้ทุกขเวทนาหายไปได้ ด้วยการบริกรรมพุทโธๆไป อย่าไปคิดถึงความเจ็บ พอไม่คิดถึงความเจ็บ ความอยากที่จะให้ความเจ็บหายไป ก็จะไม่ปรากฏขึ้นมา ทุกข์ที่เกิดจากความอยากก็จะไม่มี ก็จะนั่งต่อไปได้ ความเจ็บจะไม่รู้สึกรุนแรงเลย ความเจ็บก็ยังมีอยู่ แต่ใจไม่กลัว ไม่ได้อยากให้หายไป ความเจ็บจะอยู่ก็ปล่อยให้อยู่ไป เหมือนฝนตก จะตกก็ตกไป ใจปล่อยวางได้


 
......................................................


ขอขอบคุณที่มาจาก : 
 เว็บ พระธรรมเทศนา

 



Create Date : 06 มิถุนายน 2567
Last Update : 6 มิถุนายน 2567 12:15:24 น. 18 comments
Counter : 713 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปัญญา Dh, คุณThe Kop Civil, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณกาปอมซ่า, คุณmultiple, คุณทนายอ้วน, คุณกะว่าก๋า, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณtoor36, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณดอยสะเก็ด, คุณหอมกร, คุณฟ้าใสทะเลคราม, คุณtuk-tuk@korat, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณเนินน้ำ, คุณeternalyrs, คุณSertPhoto, คุณkae+aoe


 
มาอ่านธรรมะครับ


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:12:58:43 น.  

 


โดย: The Kop Civil วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:15:28:15 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องเอ็ม
มารับธรรมะและข้อคิด จ้ะ บล็อกนี้ว่าด้วยความ
สำคัญของจิต ของใจ ครูเห็นด้วยจ้ะ
โหวดหมวด ธรรมะและข้อคิด


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:17:40:55 น.  

 
ปอมมาอ่านข้อธรรมดีๆค่ะ


โดย: กาปอมซ่า วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:17:48:23 น.  

 
สวัสดีครับคุณเอ็ม


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:19:38:48 น.  

 
ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่ตายจริงๆครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:20:32:51 น.  

 
สาธุ


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:22:00:44 น.  

 
ไม่ว่ายังไงเราก็ต้องอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง จริงๆ ครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 มิถุนายน 2567 เวลา:22:24:03 น.  

 


สาธุค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 7 มิถุนายน 2567 เวลา:0:10:22 น.  

 
สติ สมาธิ ปัญญา จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างไม่มีปัญหานะครับ



โดย: multiple วันที่: 7 มิถุนายน 2567 เวลา:4:26:49 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 มิถุนายน 2567 เวลา:5:29:01 น.  

 
อนุโมทนาบุญวันพระจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 7 มิถุนายน 2567 เวลา:6:57:03 น.  

 
สวัสดียามบ่ายค่ะ คุณเอ็ม


โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ วันที่: 8 มิถุนายน 2567 เวลา:15:12:38 น.  

 
แวะมาทักทายและส่งกำลังใจค่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 8 มิถุนายน 2567 เวลา:18:15:45 น.  

 
สาธุ ค่ะ
ขอบคุณที่แวะไปส่งกำลังใจค่ะ


โดย: poongie วันที่: 8 มิถุนายน 2567 เวลา:18:40:51 น.  

 
สาธุครับ


โดย: SertPhoto วันที่: 9 มิถุนายน 2567 เวลา:20:32:56 น.  

 
สาธุค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมและให้กำลังใจที่บล็อกนะคะ


โดย: ฟ้าใสทะเลคราม วันที่: 10 มิถุนายน 2567 เวลา:15:25:02 น.  

 


ขอบคุณคุณพีสำหรับกำลังใจค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 13 มิถุนายน 2567 เวลา:23:53:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

**mp5**
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 91 คน [?]




สวัสดีครับ

ขอส่งความสุขให้กับทุกคน




New Comments
Friends' blogs
[Add **mp5**'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.