เปรตสมัยพุทธกาล
ในสมัยพุทธกาลก็มีตัวอย่างเรื่องผลแห่งการให้ทานอย่างไม่เต็มใจ ณ กรุงราชคฤห์ มีชายหนุ่มคนหนึ่งเดินแบกอ้อยมาตามถนนพร้อมกับ ถืออ้อยกินไปด้วยอย่างสบายอารมณ์ และมีอุบาสกคนหนึ่งเดินจูง เด็กน้อยตามหลังชายหนุ่มแบกอ้อยไปด้วย เด็กเห็นชายหนุ่มกัด กินอ้อยอย่างเอร็ดอร่อยก็ร้องอยากจะกินบ้าง ทำให้อุบาสกกล่าว ขอแบ่งอ้อยจากชายหนุ่มคนนั้น ซึ่งตอนแรกก็ทำเป็นไม่สนใจ แต่พอเด็กร้องไห้หนักขึ้นก็เลยต้องให้อ้อยไปอย่างเสียไม่ได้ โดยหักอ้อยไปท่อนหนึ่งแล้วขว้างให้อุบาสกไปตามเก็บ เพียงแค่กรรมที่ดูเหมือนจะเล็กน้อยนี้แต่มีผลใหญ่ เพราะความตระหนี่ถี่เหนียวนี้เป็นเหตุทำให้เขาต้องไปเกิด เป็นเปรตด้วยวิสัยขี้งก และบาปกรรมที่ได้กระทำต่อเด็กน้อย และอุบาสกคนนั้น จึงเกิดเป็นไร่อ้อยแน่นหนา พอจะเข้าไปหักอ้อย มากินก็ถูกใบอ้อยเชือดเฉือนเป็นอาวุธมีคมและท่อนอ้อยก็จะตีจนสลบ

วันหนึ่งเปรตตนนี้เห็นพระโมคคัลลานะเดินผ่านมาเพื่อไปบิณฑบาต ในเมืองราชคฤห์ จึงได้ถามถึงกรรมที่ตนเองทำไว้และพยายามขอร้อง ให้ท่านช่วย ท่านโมคคัลลานะจึงแนะนำให้เดินถอยหลังเข้าไปจึงจะหัก อ้อยกินได้ เปรตทำตามก็สามารถหักอ้อยกินได้และยังได้หักอ้อย มาแบ่งถวายพระโมคคัลลานะด้วย
พระโมคคัลลานะคิดจะสงเคราะห์ช่วยเหลือเปรต จึงให้เปรตตน นั้นแบกมัดอ้อยไปจนถึงวัดพระเวฬุวัน ให้เปรตได้ถวายอ้อยแก่ พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายได้ฉันอ้อยแล้วก็อนุโมทนา บุญ เปรตก็มีจิตน้อมเลื่อมใส ถวายนมัสการลากลับ ตั้งแต่นั้นมาเปรตก็ สามารถไปหักกินอ้อยได้สบาย พอตายจากสภาพที่เป็นเปรตแล้ว ก็กลายเป็นเทวดาอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องของเปรตตนนี้ให้สาธุชนทั้งหลายฟัง เพื่อให้ ผู้คนได้ละเว้นซึ่งความตระหนี่หมั่นบริจาคทานเพื่อชะล้างจิตใจให้ใส สะอาด เพียงแค่จิตคิดตระหนี่และสร้างวิบากกรรมเพียงเล็กน้อยยังต้อง ไปเกิดเป็นเปรตอย่างนี้ ถ้าหากมีจิตตระหนี่ถี่เหนียวมากๆ สะสมอยู่ใน สันดานคงต้องรับผลวิบากกรรมหนักยิ่งกว่าที่เป็นดังในตัวอย่างนี้แน่นอน ดังนั้น "การให้" ใดๆ ก็ตามหากจะเป็นการให้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์จริง ก็ควรเป็นการกระทำที่ทำอย่างเต็มใจทำจึงจะเกิดผลบุญสูงสุด
ทาน หมายถึง การให้ การแบ่งปัน การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ หรืออีก ความหมายหนึ่งคือ วัตถุที่พึงให้ ทานที่แปลว่า การให้ การแบ่งปัน การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อ บูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่ง เพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความ กรุณาสงสารบ้าง ทานเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ทานมัย" คือบุญที่เกิด จากการให้ เป็นสังคหวัตถุ คือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้ และ เป็นบ่อเกิดแห่งบารมีที่เรียกว่า ทานบารมี การให้ทานมีวัตถุประสงค์ สำคัญในการคลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความโลภในจิตใจ มนุษย์ ส่งผลให้เกิดความ ใส สว่าง สะอาดของจิตใจขึ้นมา
....................................................
Create Date : 20 มกราคม 2562 |
Last Update : 21 มกราคม 2562 17:27:30 น. |
|
35 comments
|
Counter : 1605 Pageviews. |
 |
|