พฤษภาคม 2559

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
 
 
28 พฤษภาคม 2559
All Blog
จิต



บทความ

เรื่อง จิต

มนุษย์เรานั้นทำอะไรต่างก็ทำตามในสิ่งที่ตนต้องการ ตามความปรารถนา เพื่อให้เป็นไปตามวิถีทางแห่งชีวิตที่ตนเองต้องการบ้างต้องการสวย รวย หล่อ ฐานะ การงาน มั่นคง เพื่อน แฟน ครอบครัว พร้อมทุกอย่างที่ต้องการล้วนมาจากใจ มาจากสังคมภายนอก สิ่งแวดล้อม บางครั้งก็เป็นตัวกำหนดและ กดดันให้เป็นไปตามที่คิดว่าจิตนั้นต้องการ ทำให้เข้าใจว่านั่นคือความสุขคือสิ่งที่ตนเองต้องการ และคิดว่ามันคือความสุขที่แท้จริงแล้ว จิตคนเรานั้นสามารถบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวตั้งแต่สมัยอดีตนานมาแล้วเรื่องบางเรื่องที่เราหลงลืมไป แต่เมื่อถูกกระตุ้นก็ทำให้จำเหตุการณ์เหล่านั้นได้ดี จิต ในทางพระพุทธศาสนาแล้ว คือตัวตนที่แท้จริงของเรา แม้แต่ร่างกาย สังขารนี้ที่องค์ประกอบธาตุขันธ์ทั้งห้าก็ไม่นับรวมเป็นของเรามีเพียงแต่จิตและบุญบาป ที่ติดตามเราไปทุกขณะ จิตนี้จะเป็นตัวจำเหตุการณ์ต่างๆสิ่งต่างๆ ทั้งความดี เลว หากจิตของคนเรานั้น หยาบ มีความโกรธ หลง แค้น เคืองพยาบาท ต้องขัดให้จิตมีความละเอียด มีความอ่อน จะได้คิดแต่เรื่องสิ่งที่ดีงามและกระทำในสิ่งที่ถูก รู้จัก หิริโอตัปปะ การละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อการทำชั่วจิตจึงจะสะอาด ค่อยๆ ละเอียด และ จะบริสุทธิ์ถึงที่สุด

“ศีล ก็เกิดแต่จิต สมาธิ ก็เกิดแต่จิต ปัญญาก็เกิดแต่จิต บุญก็เกิดแต่จิต บาปก็เกิดแต่จิต จิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดการที่บุคคลจะทำจิตให้บริสุทธิ์ได้ จะต้องคลายความยึดถือในตัวตนในรูปนามและในอารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ ๖ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิให้เป็น ๑ อยู่เสมอ อย่าให้กลายเป็นเลข ๒-๓-๔-๕ ไปได้ อารมณ์ภายนอกต่าง ๆที่เราเก็บมายึดถือไว้ ก็เปรียบเหมือนเราเอาหาบของหนัก ๆ มาวางไว้บนบ่าถ้าเราปลดปล่อยเสียได้ ก็เท่ากับเราวางหาบนั้นลง จิตที่ได้อบรมอยู่เสมอๆย่อมจะสูงขึ้นแก่ขึ้น ทุกที ๆ เป็นลำดับๆ” (หลวงปู่ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม)จากคำสอนของหลวงปู่ลี ธัมมธโร นั้นจะเห็นได้ว่า ดวงจิตนั้นเมื่อเรารวมกันให้ได้เป็นหนึ่ง นั่นคือได้มาจาก อายตนะ ๖ (อายตนะ คือเครื่องรับรู้อายตนะ ๖ จึงได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องรับรู้รูป รส กลิ่น เสียง จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ของตัวเราเอง ซึ่งส่งผลต่อลักษณะจิตใจ)ดังนั้น จิต ที่ได้มาจากอายตนะ๖ ก็คือการรวบรวมในสิ่งที่รับรู้ทั้งหมดของกายสังขาร หรือ ธาตุขันธ์ทั้งห้า ให้เป็นหนึ่งเมื่อรวมทุกสิ่งอย่างให้เป็นหนึ่งแล้ว เราก็จะรู้จักการปล่อยวาง เมื่อปล่อยวางได้ก็จะรู้จักคำว่าว่างแล้วจิตนั้นก็จะสงบและสุขโดยในที่สุด คำว่า ว่างในคำของคนเราทั่วไปนั้น ย่อมหมายถึงการไม่เหลืออะไรเลย ไม่มีอะไร ว่างเปล่า ไร้ตัวตน ฯลฯ แต่กลับกันในทางธรรมแล้วคำว่าว่างนั้น ย่อมหมายถึง การมีครบทุกย่าง ครบในทางด้านจิตเพียงแต่ไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในวัตถุและตัวตนที่มี มีเพียงแต่จิตเท่านั้น

หน้าที่ของจิตนั้น มีหน้าที่บันทึกกรรม บันทึกบาปบันทึกเหตุการณ์ทุกอย่างเอาไว้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ยังคงเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างไม่รู้จักจบสิ้นเมื่อเกิดจิตก็จะบันทึกเหตุการณ์ใหม่ขึ้นมา แต่พอตายไปจิตนั้นก็ใช่ว่าจะดับไปเลยเสียทีเดียว เพียงแต่จิตนั้นจะมีการบันทึกบุญบาปเอาไว้เป็นตัวกำหนดเมื่อเราเกิดมาแล้วนั้น ตัว บุญ บาป ที่จิตบันทึกไว้จะเป็นตัวกำหนดให้เราได้พบเจอในสิ่งที่เราได้เคยทำมาแล้ว มาชดใช้ในลักษณะของกรรมบุพกรรมนั้น เป็นกรรมที่กระทำมาแต่ในอดีตกาลกรรมตัวนี้จึงส่งผลให้เราได้เกิดในภพภูมิที่เกี่ยวข้องเกี่ยวพันธุ์กับเรา ดังนั้นคำว่าบังเอิญนั้นไม่มี มีแต่บุญ กรรม วาสนาพาไปทั้งสิ้นไม่มีใครบังเอิญไปรู้จักกับใครหรอก เพียงแต่ กรรมนั้น เป็นตัวกำหนดหากเราเคยช่วยเหลือผู้ใดผู้หนึ่งไว้ในแต่อดีต จิตของผู้ที่ถูกช่วยเหลือนั้นจึงมีจิตผูกพันธุ์กับผู้ให้ เมื่อถึงเวลาที่กรรมกำหนดไว้แล้วเมื่อพบเจอกันอีกครั้งจิตที่ได้ทำบันทึกการช่วยเหลือไว้ในแต่อดีตชาติจึงได้ทำการช่วยเหลือตอบแทนในชาติปัจจุบันโดยไม่รู้ตัวมีเพียงแต่จิตเท่านั้นที่กำหนดเอาไว้ ทำให้หลายคนคิดว่า “บังเอิญ” เช่น บังเอิญคุณลุงใจดีคนหนึ่งช่วยเหลือบังเอิญมีผู้ชายคนหนึ่งยื่นมือมาช่วย บังเอิญเห็นคุณยายแล้วอยากช่วย ฯลฯ บังเอิญนั้นจึงไม่มีมีเพียงแต่กรรม ที่เรานั้นได้เคยกระทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี กรรมชั่ว กรรมนั้นจะเป็นตัวกำหนดจึงส่งผลมายังชาติภพปัจจุบัน


หมอนหัวทุย , พัดลม USB




Create Date : 28 พฤษภาคม 2559
Last Update : 28 พฤษภาคม 2559 17:10:53 น.
Counter : 692 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3067369
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments