มีนาคม 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
30
31
 
 
All Blog
อยากให้เด็กเป็นคนดีได้ด้วยสำนึกของตัวเอง

เก้าอี้เด็กดื้อ

ในสังคมไทยยึดถือการทำโทษด้วยวิธีการตี สั่งสอน หรือสั่งให้ทำ เมื่อเด็กทำผิดในเกือบทุกครั้ง น้อยครั้งที่จะเรียกมาคุยกับเด็กว่าผิดอย่างไรเพียงเพราะผู้ปกครองคิดว่าเด็กยังเล็กเกินไปที่จะเข้าใจ คิดไปเองว่าเค้าอาจฟังที่เราพูดไม่เข้าใจในภาษาผู้ใหญ่ เลยทำให้การทำโทษจะหนักไปทางที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ปัญหามันจบลงโดยเร็วขาดกระบวนการคิด ไตร่ตรองการทำโทษเด็กนั้นจะถือเป็นความคาดหวังว่าต้องให้หลาบจำและไม่ทำผิดซ้ำสองอีกอาจมีการให้โอกาสและอภัยแล้วก็ตามแต่หากไม่ดีขึ้นหรือยังทำอีกการใช้วิธีการทำโทษในรูปแบบต่างๆก็จะเกิดขึ้น ในส่วนนี้เข้าใจว่าวิธีการต่างๆนั้นแตกต่างกันออกไป จึงขอยกตัวอย่างการทำโทษอีกหนึ่งวิธีคือ การใช้เก้าอี้เด็กดื้อหลายๆคนคงไม่เคยได้ยิน หรืออาจได้ยินผ่านๆมาแต่ไม่เคยสนใจวิธีการนี้ ซึ่งเป็นวิธีของต่างประเทศที่ทำกันในเชิงจิตวิทยา ว่าด้วยการให้ยอมรับในสิ่งที่ทำด้วยตนเอง สำนึกผิด และรู้จักขอโทษในส่วนนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมาก ครั้นเมื่อเด็กทำผิดก็เพียงแต่ให้นั่งเก้าอี้ให้นั่งสำนึกว่าทำอะไร ทำทำไม ทำแล้วได้อะไรและควรทำอย่างไรเมื่อทำผิดแล้ว ในส่วนนี้มีขั้นตอนที่ไม่ยาก จะแนะนำตามขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมเก้าอี้1 ตัว ตัวนี้ใช้เฉพาะสำหรับเมื่อทำผิดแล้วจึงไปนั่ง ไม่นำมาใช้นั่งเล่น

2. ชี้แจงให้เด็กฟังว่าเก้าอี้ตัวนี้สำคัญเช่นไร เพื่ออะไร จะใช้ตอนไหน ทำความเข้าใจกับเด็ก

3. แจ้งให้เด็กทราบว่าต่อไปนี้จะไม่มีการตีแต่จะเปลี่ยนมาเป็นวิธีการนี้

4. ยกตัวอย่างเหมือนเล่านิทานให้เด็กฟังก็บอกไปว่า ถ้าทำอย่างนี้จะเป็นอย่างนี้

5. ในขณะที่เด็กนั่งโวยวายอยู่นั้นเด็กย่อมอยากได้การโอ๋ การให้อภัยในนาทีนั้น ผู้ปกครองต้องใจแข็งสัก 5 นาทีให้เด็กๆค่อยๆสงบ ภายใน 5 นาทีนี้แม่ต้องคอยบอกให้เด็กรู้ตัวว่านี่คือการทำโทษให้หยุดร้องแล้วคิด ว่าทำอะไรลงไป ทำเพราะอะไร หวังอะไรจากผู้ปกครองเมื่อคิดได้และควรทำอย่างไร นั่นคือการ ขอโทษนั่นเอง

6. ในขณะที่จะทำโทษควรปิดทีวี วิทยุ เครื่องมือสื่อสารทุกอย่างแม้แต่ตัวผู้ปกครองเองก็ตามไม่ควรคุยโทรศัพท์ในขณะทำโทษ เพราะนั่นถือเป็นการไม่สนใจเด็กโดยสิ้นเชิงควรทำให้เขารู้ว่า แม่ก็รอให้ลูกเข้าใจในทุกๆเรื่องและหวังที่จะได้ยินคำว่าขอโทษจากลูกด้วย

7. หากลูกขอโทษแล้วอย่าลืมที่จะอธิบายซ้ำและควรกอดด้วยความรักที่มีทั้งหมดให้ลูกรู้ว่า นี่คือการให้อภัยจากแม่

การใช้วิธีการนี้มีประโยชน์มากมายดังนี้

1. ทำให้เด็กได้รู้จักคิดถึงสิ่งที่ทำได้ทบทวน ได้ไตร่ตรองกับสิ่งที่ทำ จากการนั่งนิ่งๆ มีเวลาคิด

2. ทำให้เด็กได้รู้จักการรอการให้อภัยเมื่อเด็กได้นั่งเก้าอี้ บางทีเด็กจะพูดเลยว่า ขอโทษหากแต่คำพูดนั้นเป็นเพียงพูดเพื่อเอาตัวรอดไม่ใช่มาจากสำนึก ผู้ปกครองควรที่จะต้องนิ่งไม่ควรรีบให้อภัยการได้รับคำขอโทษหลังจากที่เด็กสำนึกได้แล้วมิใช่พูดเพียงผ่านแต่นั่นต้องออกมาจากใจเด็กด้วยเช่นกัน

3. ทำให้เด็กมีความสำนึกที่ดีนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกว่าทำสิ่งนั้นอีกหรือไม่หรือแยกแยะว่าอย่างไรที่เรียกว่าดีหรือไม่ดี

4. เด็กสามารถหาเหตุผลมาประกอบการคิดจากการนั่งได้ จึงทำให้เด็กกลายเป็นคนที่มีเหตุผล และเด็กจะกลายเป็นที่มีเหตุผล สังเกตได้จากเด็กจะต้องร้องขอเหตุผลทุกครั้งที่จะมีการทำโทษแม้เขาจะทราบว่าอย่างไรก็ต้องโดนทำโทษแต่นั่นถือเป็นการยอมรับในสิ่งที่ทำอย่างไม่ต้องสงสัย

5. เด็กจะสามารถลำดับขั้นตอนได้ตั้งแต่เริ่มทำผิดจนถึงผู้ปกครองทราบและทำโทษทำให้เด็กสามารถจัดการกับขั้นตอนสิ่งที่จะทำได้สามารถดักความคิดและรู้จังหวะตัวเองก่อนทำผิดทำให้มีการไตร่ตรองก่อนที่จะทำจนเด็กจะกลายเป็นเด็กที่คิดก่อนทำ

การทำโทษนั้นไม่ว่าจะแค่ไหนก็ต้องทำ และจะมากน้อยแค่ไหนก็ต้องทำหากแต่ผู้ปกครองเองควรคิดก่อนทำด้วยเช่นกัน ไม่ใช้อารมณ์ในการทำโทษก่อนทำโทษก็ควรที่จะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองก่อนให้ดี ในส่วนนี้สำคัญมากเช่นกันผลกระทบจากอารมณ์ที่ทำโทษนั้นมากมายมหาศาล เด็กจะมีแต่ความกลัวไม่มีเหตุผล กลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจในตัวเองไปดังนั้นการทำโทษไม่ว่าจะวิธีการไหน หากสมเหตุสมผลแล้วเด็กย่อมยอมรับได้นี่คือส่วนสำคัญในความหมายของการทำโทษ การยอมรับในสิ่งที่ตนทำนั้นก่อให้เกิดสำนึกที่ดีเพราะไม่มีใครสามารถโกหกใจตัวเองได้ เช่นรู้ทั้งรู้ว่าผิดแต่ไม่มีใครตักเตือนความคิดนั้นก็จะกลายเป็นถูกไปโดยปริยาย กระบวนการดักความคิดนี้จึงทำให้เกิดเก้าอีเด็กดื้อ ขึ้น ดังเช่นคำว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตีนั้นยังคงใช้ได้หากแต่ปรับเปลี่ยนเทคนิคเล็กน้อย ผลที่ออกมาก็เหมือนกัน นั่นคือ“อยากให้เด็กเป็นคนดีได้ด้วยสำนึกของตัวเอง”




Create Date : 21 มีนาคม 2559
Last Update : 21 มีนาคม 2559 11:37:46 น.
Counter : 890 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3067369
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments