Group Blog
ธันวาคม 2554

 
 
 
 
4
5
6
7
9
12
13
15
16
17
18
19
21
23
24
25
26
28
29
31
 
All Blog
วิธีรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder)



ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) มักมีอาการท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต รู้สึกสิ้นหวังจนไม่อยากดิ้นรนต่อสู้ชีวิตอีกต่อไป ผู้ใกล้ชิดที่อยู่รอบข้างผู้ป่วยมักไม่ค่อยเข้าใจต่ออาการของโรคซึมเศร้าว่าทำไมเรื่องเล็กน้อยที่เข้ามากระทบความรู้สึกของผู้ป่วยจึงทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้มากขนาดนั้น ความไม่เข้าใจนี้เองบางครั้งอาจทำให้ผู้คนที่อยู่รอบข้างรู้สึกโกรธที่ผู้ป่วยเป็นคนอ่อนแอ ไม่สู้ชีวิต การที่คนรอบข้างแสดงออกต่อผู้ป่วยเช่นนี้จะทำให้อาการของโรคซึมเศร้ายิ่งแย่ลงเนื่องผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นภาระของคนรอบข้าง



ญาติๆหรือคนที่อยู่รอบข้างผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น ควรเข้าใจว่า “โรคซึมเศร้า” เป็นโรคที่มีผลต่อภาวะจิตใจของผู้ป่วยทำให้จิตใจอ่อนแอและเขากำลังเจ็บป่วยอยู่ ภาวะความผิดปกติทางด้านอารมณ์นั้นจะทำให้ฮอร์โมนและสารเคมีต่างๆในร่างกายของผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามขอให้มั่นใจว่าโรคซึมเศร้านี้ไม่ได้เป็นอยู่ตลอดไปแต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อได้รับการรักษาจนหายแล้วอารมณ์ที่เศร้าหมองก็จะกลับมาดีขึ้นจิตใจแจ่มใสและการมองสิ่งต่างๆรอบตัวจะดีขึ้น



การรักษาโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) หากมีอาการหนักหรือเป็นมากจำเป็นต้องรักษาด้วยการให้กินยาแก้เศร้าเพื่อแก้ที่สาเหตุโดยการปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง ผู้ป่วยควรกินยาแก้เศร้าจนอาการของโรคดีขึ้นและให้กินยาต่อไปอีก 6-12 เดือนเพื่อให้หายขาดและป้องกันการกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าซ้ำอีก การกินยาแก้เศร้าอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญเพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เรื้อรังจำเป็นต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน



การรักษาโรคซึมเศร้าโดยรักษาทางจิตใจ อาจทำได้โดยให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเองและเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการทุกข์และซึมเศร้าอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม อาจทำได้โดยการพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อปรับความคิดและพฤติกรรมให้สามารถอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ การรักษาทางจิตใจอาจเป็นการบำบัดเชิงลึกเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจในปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจของตนเองจนทำให้เกิดโรคซึมเศร้า



การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ควรมีเวลารับฟังผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกที่แย่ๆออกมาบ้างอาจชวนผู้ป่วยคุยบ้างโดยเกริ่นถามนำสักเล็กน้อยจากนั้นให้คนรอบข้างทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) เป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นกับทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการรักษาจึงต้องใช้เวลาบ้าง ดูแลผู้ป่วยในเรื่องการกินยาให้ถูกต้องตามที่แพทย์สั่ง ให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบกับคนรอบข้าง ในระหว่างที่อาการของผู้ป่วยยังไม่หายดีอย่าเพิ่งให้ผู้ป่วยตัดสินใจเรื่องที่สำคัญกับชีวิตควรชะลอออกไปก่อน



โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวและคนรอบข้าง หากไม่รีบรักษาและปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดปัญหาต่อชีวิตการทำงานและครอบครัวได้ บางรายอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นการรีบรักษาโรคซึมเศร้ายิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีโอกาสที่จะรักษาได้หายขาดก็มีมาก หากผู้ป่วยป่วยมานาน การรักษาก็จะยิ่งยากขึ้น โรคซึมเศร้าหากได้รับการดูแลรักษา บำบัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง ทั้งตัวผู้ป่วยเอง คนในครอบครัวและคนรอบข้างก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข


ข้อมูลจาก thai-good-health.blogspot.com



Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 22 ธันวาคม 2554 9:55:48 น.
Counter : 1710 Pageviews.

0 comments

Mimi-jaiko
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]