happy memories
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
21 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
อวี่หลินหลิง



ภาพจากเวบ tupian.hudong.com




//www.56.com/u41/v_MjA1OTEzMjY.html





















ภาพจากเวบ meishujia.net







อวี่หลินหลิง
หลิวหย่ง



จักจั่นส่งเสียงเศร้า ณ ศาลาริมทาง ตอนค่ำ
ฝนหนักเพิ่งหยุด
กระโจมที่ประตูเมือง ดื่มอย่างไร้อาวรณ์
ยังอาลัย เรือหลานโจวเร่งให้ออกเดินทาง
กุมมือกัน สบตา น้ำตานอง ไร้วาจา จุกที่คอ
ยามเย็น หมอกทึบ ท้องฟ้าฉู่ไพศาล

แต่โบราณ มากไมตรี โศกศัลย์เมื่อจากกัน
ยิ่งกว่านั้น มิอาจทานชิวเทียนเงียบเหงาอันแจ่มใส
คืนนี้ สร่างเมา อยู่ที่ไหน
ต้นหยังหลิวที่ฝั่งน้ำ ลมเช้า จันทร์เสี้ยว
ไปครั้งนี้เป็นปี ๆ
ถึงวันจะดี ทิวทัศน์งาม ไร้ความหมาย
แม้มีอารมณ์หลายหลากมากเป็นพัน
จะไปพูดกับใครเล่า





หมายเหตุ



ภาพจากเวบ laomu.cn


ฉือ "อวี่หลินหลิง" แปลตามศัพท์ว่า "ฝนรินต้องกระดิ่ง" (อวี่ = ฝน หลิน = สาด,ราด หลิง = กระดิ่ง) เป็นฉือที่แต่งในราชวงศ์ซ่ง ฉือทำนองนี้มาจากทำนองเพลงในราชสำนักราชวงศ์ถัง มีประวัติความเป็นมาของทำนองเพลงว่า หลังสำเร็จโทษพระสนมหยังกุ้ยเฟยแล้ว ในท่ามกลางความวุ่นวายของกบฏอานลู่ซานซึ่งยึดเมืองฉังอาน (ซีอาน) เอาไว้ได้




ภาพจากเวบ tupian.hudong.com


จักรพรรดิถังเสวียนจงหรือหมิงหวงได้เสด็จไปอยู่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ระหว่างเดินทาง มีช่วงหนึ่งอยู่ในหุบเขา ฝนตก เปียกอยู่หลายวัน ในท่ามกลางหุบเขากลางสายฝนนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งหมิงหวงได้ยินเสียงกระดิ่ง เลยหวนนึกถึงพระสนมคนโปรดหยังกุ้ยเฟย ผู้มีความสามารถในการรำฟ้อน เสียงกระดิ่งดังกริ๊งกริ๊งขณะฟ้อน จึงประพันธ์เพลง "อวี่หลินหลิง" แต่งเสร็จ นักดนตรีที่ตามเสด็จมาด้วยได้นำมาเป่า ทำนองเพลง "อวี่หลินหลิง" เป็นเพลงเศร้าและเป็นที่นิยมจนรู้จักกันทั่วไป




ภาพจากเวบ dfwvip.net


ฉือ "อวี่หลินหลิง" มีฉันทลักษณ์การแต่งแบ่งเป็น ๒ ท่อน ใช้อักษรรวม ๑o๒ ตัว สัมผัสนอกด้วยวรรณยุกต์เสียงที่ ๓ เสียงที่ ๔ และเสียงที่ ๕ หลิวหย่ง กวีในสมัยราชวงศ์ซซ่งเหนือได้นำฉือทำนองนี้มาประพันธ์บทกวีที่ไพเราะ มีแก่นเรื่องอยู่ที่การจากกัน แต่ไม่ได้บอกว่าใครจากใคร นักวรรณคดีบางคนเห็นว่าสื่อถึงคนรักจะจากกัน ขณะที่บางคนเห็นว่า เพื่อนรักมาก ๆ จะจากกัน




ภาพจากเวบ jxwei.com


หลิวหย่ง (ค.ศ.๙๘๗? -๑o๕๓?) เป็นชาวฉงอาน ปัจจุบันคือ อำเภอฉงอาน มณฑลฮกเกี้ยน ในค.ศ.​๑o๓๔ สอบได้จิ้นซื่อ ได้เข้ารับราชการเป็นขุนนางท้องถิ่นหลายเมือง ชีวิตราชการไม่ราบรื่น ประสบอุปสรรคนานา จึงมีชีวิตที่ลำบาก ในด้านวรรณศิลป์ หลิวหย่งเป็นกวีคนแรกของราชวงศ์ซ่งเหนือที่ทุ่มเทความคิด ความสามารถ และเวลาในการเขียนฉืออย่างเต็มที่ มีผลต่อการพัฒนาการเขียนฉือในสมัยนี้




ภาพจากเวบ blog.sina.com


ฉือของหลิวหย่งมักพรรณนาทิวทัศน์ การเดินทาง การจากกัน และหญิงคณิกา การเขียนถึงหญิงเหล่านี้เพราะหลิงหย่งเป็นหนุ่มชอบเที่ยวเหมือนกัน ความสามารถและความเด่นของการประพันธ์อยู่ที่การมีแก่นเรื่องหลากหลาย การพรรณนาแบบภาพเขียน (drawing) ที่เห็นภาพแล้วเขียนทันทีสด ๆ ชัด ๆ ทำให้อารมณ์และสิ่งที่พรรณนากลมกลืนกันดี




ภาพจากเวบ blog.sina.com


นอกจากนั้นยังมีความเด่นในการเล่าเรื่องเป็นลำดับ ภาษาเรียบ ง่าย จังหวะคำ และเสียงไพเราะ ฉือของหลิวหย่งแพร่หลายเป็นที่รู้จัก จนเล่ากันว่า ที่ไหนมีน้ำบ่อให้ดื่ม ที่นั่นคนก็ขับฉือของหลิวหย่งได้ มีฉือที่เขาประพันธ์เหลือตกทอดถึงปัจจุบัน ๒oo กว่าบท ใช้ทำนอง ๑๕o กว่าทำนอง บางทำนองนั้นกวีคนอื่นไม่เคยใช้มาก่อนเลย




ภาพจากเวบ yule.xooob.com


ในด้านบทกลอน บาทที่ ๑ ฉังถิง (chang ting) หมายถึง ศาลาที่พักริมทางหลวง จะมีทุก ๆ ๑o ลี้ ถ้า ๕ ลี้ มีต่วนถิง ฉังถิงใหญ่กว่าต่วนถิง ศาลาพักเหล่านี้เป็นของทางราชการ เป็นที่หยุดแวะพักชั่วคราวระหว่างวัน (ตอนกลางวัน) ในการเดินทางไปเมืองต่าง ๆ




ภาพจากเวบ tianhan.com


บาทที่ ๓ ตูเหมิน (Du men) แปลว่า ประตูเมือง ในที่นี้น่าจะหมายถึงเมืองหลวง

บาทที่ ๔ เรือหลานโจว (Lan zhou) เป็นเรือชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในเรือชั้นดี ทำด้วยไม้มู่หลาน ซึ่งเป็นไม้เนื้อดี มีบันทึกระบุว่า ในสมัยชุนชิว จั้นกั๋ว (ก่อนค.ศ. ๗๗o - ค.ศ.๒๒๑) หลู่ปานเป็นคนเอาไม้มู่หลานมาต่อเป็นเรือ




ภาพจากเวบ dfwvip.net



ข้อมูลจากหนังสือ​ "หยกใสร่ายคำ"
บทพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






บทกวีเขียนด้วยพู่กันจีน อยากเห็นชัด ๆ ก็กดที่ภาพได้จ๊ะ




ภาพจากเวบ tieba.baidu.com




ภาพจากเวบ chushan.com




ภาพจากเวบ cdyhz.com





ภาพจากเวบ 9000xp.com




ภาพจากเวบ www.nipic.com




ภาพจากเวบ readnovel.com




ภาพจากเวบ home.jy391.com


บีจีและไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor




Create Date : 21 ธันวาคม 2552
Last Update : 21 มิถุนายน 2556 8:38:42 น. 20 comments
Counter : 3696 Pageviews.

 


นั่งอ่านไป ฟังเพลงไป
ความรู้สึกเหมือนล่องอยู่ในเรือเลยค่ะ
ใจเย็นเลย
ขณะที่จะทำอะไีรรีบๆ








โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 22 ธันวาคม 2552 เวลา:7:13:04 น.  

 
ภาพลายเส้นงดงามมากครับ แต่อักษรจีน ผมอ่านไม่ออกเท่านั้น

ขอบคุณที่ให้กำลังใจผม อย่าลืมอวยพรวันเกิดผมบ้างนะครับ อีก 2 วัน


โดย: basbas วันที่: 22 ธันวาคม 2552 เวลา:17:39:01 น.  

 
แวะมาอ่านกวีดีๆคราบบ


โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:18:34:49 น.  

 
คุณดี...เวลาอ่านบทกวีก็จะได้อารมณ์แนว ๆ นี้แหละค่ะ งวดนี้หาเพลงได้ง่ายหน่อย มีหลายเวอร์ชั่นซะด้วย เวอร์ชั่นที่แปะนี่ฟังแล้วจะเพราะที่สุด คนร้องเสียงหวานดี แต่วันนี้เนตเต่าคลานมาก ว่าจะฟังเพลงซะหน่อย แต่เพลงดันโหลดไม่ขึ้น

คุณbasbas...ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยมค่ะ โชคดีที่เข้าบล๊อคมายังไม่พ้นวันเกิดคุณ แล้วพรุ่งนี้จะแวะไปฉลองด้วยค่า

คุณชัช...ขอบคุณที่แวะมานะคะ


โดย: haiku วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:21:49:39 น.  

 
- หวัดดียามดึกครับ

- หลังไมค์สักนิดนะครับผม


โดย: พี่รี่+ต๊อก วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:23:32:53 น.  

 
สวัสดีครับคุณไฮกุ

บทกลอนอันไพเราะ แฝงไว้ด้วยความหมายลึกซึ้ง

อ่านเที่ยวเดียวไม่พอครับ

ประวัติของกวีก็น่าสนใจมาก แม้จะไม่ราบรื่นในทาง

ราชการ แต่ก้าวหน้าในทางกวี จึงมีผลงานให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม

เห็นอักษรจีนแล้ว น่าหลงไหลในความไหวพริ้ว ถึงแม้

จะอ่านไม่ออกครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:23:38:01 น.  

 
ชอบเพลงจัง ฟังสบายเลย เพลิน



โดย: วันที่ท้องฟ้าแจ่มใส วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:0:05:11 น.  

 
ชอบท่อนนี้จังค่ะ

ถึงวันจะดี ทิวทัศน์งาม ไร้ความหมาย
แม้มีอารมณ์หลายหลากมากเป็นพัน
จะไปพูดกับใครเล่า


มันบอกถึงความเศร้า ความเหงา และความโหยหาคิดถึงจริงๆค่ะ


โดย: KOok_k วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:3:47:29 น.  

 



สวัสดียามเช้าค่ะคุณไฮกุ
อีกวัน 2-3 วัน ดี.คงได้ย้อนกลับมาอ่านบล็อกพี่ชายแล้ว
ช่วงนี้อยู่ในโหมดหัวฟูไปมา
อย่างเหนื่อยเลยค่ะ


ดี.ใช้สีแทนกิจกรรมที่ดีทำค่ะ
ปีก่อนใช้สีเขียว กับเทศกาลใบไม้
ปีนี้ใช้จินตนาการสีส้ม
ดี.ว่างานเขียนแนวๆที่ดี.เขียน
เหมาะกับสีส้ม
ดี.ก็เลยเล่นด้วยสีส้มมาทั้งปี
ถ้าสังเกต
จะเห็นว่าภาพประกอบส่วนใหญ่ของดี.จะเป็นสีส้ม
บางครั้งภาพเป็นสีอื่น
ดี.ก็ปรับให้เป็นสีส้ม

2010 มีสีที่จะใช้แล้วค่ะ
เลือกกันอยู่นานเลย
เพราะดี.ก็ชอบอีกหลายสี
แต่น้องสาวสรุปให้ว่าใช้สีนี้เถอะ
เพราะน้องจะใช้อีกสี

เปลี่ยนไปเรื่อยเรื่อยปีละสี
อย่างมีความสุขล่ะค่ะ


ปีหน้าอาจจะเล่นเปลี่ยนสีบีจี
แล้วใช้ภาพประกอบหลากหลายสี
เปลี่ยนไปเรื่อยเรื่อยตามความสุขค่ะ






โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:6:50:57 น.  

 


หวัดดีค่ะคุณไฮ
ปีใหม่เหรอ ยังไม่รู้เลยค่ะ
แต่หลังปีใหม่ ถ้าไม่เจอเบี้ยว
คงไปเที่ยวกับเพื่อนซัก 3-4 วันค่ะ อิอิ
ปล. มีความสุขมาก ๆ นะคะ คุณไฮขา


โดย: มินทิวา วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:10:34:31 น.  

 
อิน มากมาก เลยครับ ....


โดย: everything on วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:12:44:12 น.  

 
สวัสดีครับ

เหมือนไปยืนอยู่ตรงที่กวีเขียนเลยนะครับ

ชอบคำว่าลมเช้ามาก

ใช่ๆ

ตอนเช้าๆ มันจะมีลมพัดด้วย..

-------------

จากบ้าน

ผมไม่ชอบตรงที่

คนเลวๆ มาใส่สูท

แล้วมันดูดีขึ้น นั่นแหละครับ


ฮ่ะๆๆ



โดย: มนุษย์กินเห็ด... (เป็ดสวรรค์ ) วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:13:15:57 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับ เคยอ่านหนังสือ
มหาเวทย์มวยไทย (MYTHOLOGY OF CLASSIC MUAY-THAI) มั้ยครับอ่านแล้วดีเหมือนกัน วันนี้อ่านเจอบทความ เขาเขียนไว้ว่า "การสอบจอหงวน แผ่นดินจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ใช้ระบบการคัดเลือกขุนนาง 2 แบบ คือ ระบบเจิงพี่ เป็นการคัดเลือก โดยการสอบสัมภาษณ์ซึ่งมาจากการเสนอชื่อโดยผู้ครองแคว้นให้แก่ราชสำนักและระบบฉาจวี่ ซึ่งเป็นการคัดเลือกเอาบุคคลที่มีความซื่อสัตย์กตัญญูมารับราชการ ระบบฉาจวี่ เกิดขึ้นในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ โดยการเสนอของต่งจ้งซูโดยเชื่อว่าผู้ที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาขงจื๊อซึ่งเน้นความซื่อสัตย์กตัญญูย่อมเป็นคนดีที่ซื่อสัตว์ต่อแผ่นดิน และซื่อสัตว์ต่อองค์จักรพรรดิโดยทุกปีจะมีการเสนอชื่อ "ลูกกตัญญู" และ "บุคคลผู้ซื่อสัตย์"จากแต่ละท้องถิ่นเข้าไปให้ราชสำนักพิจารณา เมื่อความดีความซื่อสัตย์กตัญญูเป็นเพียงนามธรรม ไม่สามารถใช้เครื่องมือ ใดๆวัดได้ ปรากฏการณ์คนดีเต็มบ้านเมืองจึงเกิดขึ้น ใครๆต่างก็แสดงตัวว่าเป็นคนดีเพื่อที่จะได้โควต้าซื่อสัตย์กตัญญู ระบบที่สร้างขึ้นเพื่อหวังจะให้ คนดีได้มีโอกาสช่วยชาติกลับกลายเป็นระบบที่ส่งเสริมให้คนเสแสร้งทำความ ดีเพื่อหวังผล เมื่อได้อำนาจแล้วธาตุแท้ก็เผยออกมา จนชาวจีนในยุคนั้นมีคำกล่าวเสียดสีระบบการคัดเลือกขุนนางว่า คัดบัณฑิตไม่รู้หนังสือ ลูกกตัญญูไม่เลี้ยงบุพการี ในปี คศ. 8 หวางหม่าง ขุนนางตามโควต้าลูกกตัญญูปฏิวัติยึดอำนาจ และตั้งราชวงศ์ซินขึ้นมาแทนราชวงศ์ฮั่นอยู่เกือบ 16 ปี จึงถูกเจ้าใน ราชวงศ์ฮั่นยึดอำนาจคืน
"

นึกถึงคุณไฮกุ นะครับอยากให้เขียน เกี่ยวกับเรื่องสอบจอหงวน น่ะครับ เพราะผมไม่มีความรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์จีน อยากทราบบ้าง ขอบคุณครับ


โดย: กวินทรากร วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:23:55:03 น.  

 


ไหม ขอให้คุณและครอบครัว มีความสุขมากๆค่ะ

คิดหวังสิ่งใด ขอให้สมปรารถนา

สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์

Merry Christmas And A Happy New Year


โดย: Paradijs วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:2:06:47 น.  

 
ขอให้มีความสุขวันคริสต์มาสมากๆ นะครับพี่ไฮกุ


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:7:22:15 น.  

 
˛ 。° 。 ° 。˚ ˛ • ˚ ˚ ˛
*★Merry★* 。 • ˚ ˚ ˛ ˚ ˛ • •
。★Christmas★ 。* 。° 。 ° ˛
˚˛ * _Π_____*。*˚ ˚ ˛ ˚ ˛ •˛
•˚ */______/~\\。˚ ˚ ˛ ˚ ˛ •˛
• ˚ | 田田 |門| ˚ ˛ ˚ ˛ •



มีความสุขมากๆๆๆๆค่ะคุณไฮกุ






โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:8:02:45 น.  

 

ขอให้มีคามสุขมากๆนะคะ


โดย: โสมรัศมี วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:10:50:18 น.  

 



Merry X'mas
and a Happy New Year
to you ค่ะ



โดย: โสดในซอย วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:12:49:05 น.  

 
พี่รี่+ต๊อก...ตอบหลังไมค์ไปแล้วค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าด้วยนะคะ

คุณIM...บทกวีในหนังสือหยกใสฯยิ่งอ่านก็ยิ่งเพราะค่ะ กวีแต่ละท่านรจนาถ้อยคำอย่างประณีตบรรจง ถ้าอ่านเองก็คงได้ความหมายแบบงู ๆ ปลา ๆ ได้หนังสือเล่มนี้มาทำให้เข้าใจบทกวีจีนชิ้นเยี่ยม ๆ มากขึ้น เพราะสมเด็จพระเทพฯท่านทั้งแปลและอธิบายความได้ดีจริง ๆ ค่ะ

พี่หมู...

คุณกิ๊ก...ขอชมวิวหน้าหนาวสวนหลังบ้านของคุณกิ๊กอีกรอบว่าสวยจริง ๆ ค่ะ เห็นแล้วให้ความรู้สึกเศร้า ๆ เหงา ๆ เหมือนกันเลยอ่ะ

คุณดี...ขอบคุณสำหรับคำอธิบายจ๊ะ ทำบล๊อคแบบมีคอนเซ็ปต์แบบคุณดีนี่ก็เก๋ดีน้า ไม่เหมือนเรา อัพบล๊อคแบบเรื่อยเปื่อยลมเพลมพัด แถมดองบล๊อคประจำ

คุณมิน...ปลายปีก็ถึงเทศกาลวันหยุดยาวแล้ว เราไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวไหน มีแววว่าจะอยู่โยงเฝ้าบ้านเหมียนเคย คุณมินไปไหนก็ขอให้เดินทางปลอดภัยทั้งไปกลับนะคะ

คุณแมท...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมกันนะคะ

คุณแดหวา...ถึงเสื้อผ้าดี ๆ จะทำให้คนเลวดูดีขึ้น แต่ถ้านานวันไป ความเลวก็ต้องโผล่ออกมาให้คนเห็นจนได้นั่นแหละน่า เราว่า ยังไงเรื่องการแต่งตัวให้ถูกกาละเทศะก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องจ๊ะ

คุณกวินทรากร...แฮะ แฮะ เพิ่งเคยได้ยินชื่อหนังสือนี่แหละค่ะ ที่จริงไม่ค่อยชอบดูมวยเท่าไหร่ ก็เลยไม่ได้สนใจจะอ่านน่านแหละ

ฟังคุณกวินทรากรเล่าเรื่องการสอบจอหงวนซะเพลินเลย ได้ความรู้ดีค่ะ ได้ยินคำว่าจอหงวนมานานจากหนังกะละครจีน ยังไม่เคยศึกษาให้ลึกซึ้งสักที เราว่า ถ้าการเลือกข้าราชการของไทยนำระบบนี้มาใช้มั่งก็คงดีเหมือนกันนะ จะได้มีคนดี ๆ มารับใช้บ้านเมืองกันมากกว่าที่เป็นอยู่ บ้านเมืองไทยจะได้เจริญก้าวหน้าทันบ้านเมืองอื่นเขาซะที อยากเขียนถึงเรื่องจอหงวนเหมือนกัน แต่ไม่มีความรู้เท่าไหร่ ขอต๊ะไว้ก่อน ไว้หาข้อมูลได้แล้วจะอัพให้อ่านนะคะ

คุณParadijs & น้องบาค & คุณดี & คุณโสม & คุณวี...ขอบคุณมากที่แวะมาอวยพรให้นะคะ


โดย: haiku วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:16:25:30 น.  

 
ส๊วยสวย


โดย: ว่าจะไม่แล้วนะ วันที่: 11 เมษายน 2553 เวลา:0:58:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.