เตือนภัย ! เกษตรกรเฝ้าระวังโรคตายพรายระบาด
"ช่วงฤดูฝน"เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวระบาดในกล้วย ให้สังเกตอาการใบกล้วยด้านนอกเหลืองเหี่ยว หักพับตรงโคนของก้านใบ และทยอยหักพับตั้งแต่ใบรอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด แนะไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย หากไม่แน่ใจให้ชุบหน่อพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช หมั่นตรวจแปลง หากพบกล้วยแสดงอาการของโรคให้ขุดไปทำลายนอกแปลง

นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยเฝ้าระวัง โรคตายพราย หรือ โรคปานามา หรือ โรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย





 







 
ให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม  และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง

จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด







 






 
การป้องกันกำจัดโรค หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อนและเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรค หรือไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย ใช้หน่อพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ

ในกรณีที่ไม่แน่ใจให้ชุบหน่อพันธุ์กล้วยด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช อีไตรไดอะโซล+ควินโตซีน 6% + 24% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม 50% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล 43% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร  



 
 


 






 
พร้อมกับปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี และต้องระมัดระวังการให้น้ำไม่ให้น้ำไหลผ่านจากต้นที่เป็นโรคไปต้นปกติ  หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบกล้วยแสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไป อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม อุปกรณ์การเกษตร เมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรค ควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคคือ พันธุ์พืชที่อ่อนแอ ความชื้นในดินสูง  และการระบายน้ำในดินต่ำ วิธีที่เชื้อแพร่กระจายไปได้ดีคือติดไปกับวัสดุขยายพันธุ์หรือหน่อกล้วยที่มีผู้นำไปปลูก อาการของโรคที่พบคือใบกล้วยด้านนอกมีอาการเหลืองเหี่ยว 4-5 ใบและหักพับตรงโคนของก้านใบ

แปลงปลูกที่พบโรคส่วนใหญ่ไม่มีการดูเอาใจใส่และกำจัดวัชพืช  ไม่มีการเผาทำลายต้นหรือกอที่เป็นโรค เชื้อสาเหตุของโรคแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นได้โดยติดกับหน่อพันธุ์ที่นำไปปลูก การเกิดโรคและอาการของโรคมีความชัดเจนและพบมากในฤดูฝนส่วนฤดูอื่นยังพบโรคได้น้อยกว่า ช่วงนี้จึงขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังและป้องกันกำจัดโรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวกล้วยตามคำแนะนำ





 





 



Create Date : 06 กรกฎาคม 2565
Last Update : 6 กรกฎาคม 2565 18:21:10 น.
Counter : 310 Pageviews.

0 comments
มหาสงกรานต์ '67 (รักโดรนมาก) สมาชิกหมายเลข 7777777
(17 เม.ย. 2567 18:18:19 น.)
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่52 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายแว่นขยันเที่ยว
(5 เม.ย. 2567 00:54:22 น.)
รถเจาะบาดาลน้ำลึก 80-300 เมตร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี โทร 062-1705084 สมาชิกหมายเลข 5575925
(25 มี.ค. 2567 01:55:50 น.)
โปรแกรมฉีด Radiesse ด้วยเทคนิค Tri-Lift คืออะไร ดีอย่างไร ช่วยอะไรได้บ้าง teawpretty
(15 มี.ค. 2567 14:32:23 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thailand-agriculture.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด