เกษตรฯเล็งตั้งฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต50 เขตกรุงเทพฯ
“เกษตรฯ”เล็งตั้ง”ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต” 50เขต กรุงเทพฯภายใต้โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนเน้นอาหารปลอดภัย ดัน กรุงเทพสู่มหานครสีเขียวแห่งอนาคต
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (Sustainable Urban Agriculture Development Project @ Bangkok) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการฯนายอลงกรณ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วทำให้ประชากรและชุมชนเพิ่มขึ้นประสบปัญหาความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เพราะมีพื้นที่เกษตรน้อยและมีพื้นที่สีเขียวไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนประชากรกระทบต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชน
คณะกรรมการบริหารและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงวางโครงสร้างและระบบเป็นกลไกแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project) ตามนโยบายของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ “3’s”(Safety-Security-Sustainability เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน) ที่มุ่งเน้นการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น “มหานครสีเขียวแห่งอนาคต” ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) ของโลก และเป้าหมายของโครงการกรุงเทพสีเขียว 2030 (Green Bangkok 2030) ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ
อีกทั้งยังสอดรับกับโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) ที่ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ซึ่งช่วยให้เกิดการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเพิ่มขึ้น เป็นการสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดในลักษณะองค์รวม โดยมีตัวอย่างบางโครงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองพื้นที่วัด (Green Temple) ณ ธรรมสถานวัดพระราม 9 กาญจนภิเษก รวมถึงวัดพระยาสุเรนทร์ บนความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน (บ.ว.ร.) เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเมืองใกล้วัดร่วมทำการเกษตรพัฒนาอาหารปลอดภัย สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนเกิดการแบ่งปัน รวมถึงเป็นรายได้ให้แก่ชุมชนด้วย
การประชุมครั้งนี้ ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 สำนักสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมปักกล้าดำนาข้าวพันธุ์ กข 87 พร้อมปลูกต้นกล้าป่าเบญจพรรณ 962 ต้น ตามโครงการ Green Bangkok 2030 ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ โคกหนองนา ทวีวัฒนา โดยที่ประชุมยังได้กำหนดเตรียมการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ โคกหนองนา เขตทวีวัฒนาและพื้นที่การทำการเกษตรยั่งยืนในเมืองของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในวันที่ 25 เมษายน 2565 ซึ่งประธานฯ ได้ขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสาน รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus) ในการลงพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมพิจารณาแนวทางการจัดตั้งตลาดเกษตรกร( Farmer Market )ในกรุงเทพมหานคร ที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอจากการศึกษาตัวอย่างมีลักษณะและแนวทางที่แตกต่างกันไป ประกอบด้วย 1) จัดตั้งในเขตชุมชนเมือง ภายใต้ความร่วมมือกันของภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายองค์กรเกษตรกร ภาคเอกชนและภาครัฐ 2) ตลาดเกษตรกรออนไลน์ โดยการจองล่วงหน้าและมารับผลิตผล ณ พื้นที่จัดงาน ผ่านแพลตฟอร์ม อาทิ แพลตฟอร์มจ่ายตลาด (Jaitalad) เพื่อช่วยในเรื่องการกระจายสินค้าที่ทั่วถึง
หากนำทั้ง 2 รูปแบบมาผสมผสานกันจะทำให้การจัด Farmer Market มีการกระจายตัวของเกษตรกร และผลิตผลถึงมือประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการจัด Farmer Market ในเขตกรุงเทพมหานคร และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำบัญชีรายชื่อพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เอกชน พื้นที่ว่างสาธารณะ พื้นที่การเคหะรวมถึงวัด และสถานศึกษาโดยขอให้กระจายให้ครบทั้ง 50 เขต
โดยมอบหมายให้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการ กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมพัฒนาที่ดิน เป็นต้นเข้ามาร่วมในการดูแลเรื่องมาตรฐานอาหารปลอดภัย(Food safety)ด้วย พร้อมทั้งให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดประชุมเป็นการเฉพาะในเรื่องการออกแบบตลาดหลายขนาดตั้งแต่เล็ก กลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ พร้อมยังมอบหมายอนุกรรมการศึกษารูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise )เป็นกลไกแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่องยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ ทั้ง 50 เขตในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยจะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ฉันเป็นมุสลิมและฉันขอเชิญผู้คนให้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
โปรดดูบล็อกของฉัน 👇อธิบายด้วยรูปภาพและวิดีโอเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
https://is1t.blogspot.com/2018/04/blog-post.html
ขอให้ชีวิตมีความสุขนะ....ขอบคุณค่ะ
........
❤ ประโยชน์บางประการของศาสนาอิสลาม 💙
💙 ประตูสู่สรวงสวรรค์ชั่วนิจนิรันดร
❤ การช่วยให้พ้นจากขุมนรก
💙 ความเกษมสำราญและความสันติภายในอย่างแท้จริง
❤ การให้อภัยต่อบาปที่ผ่านมาทั้งปวง
💙 สิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในศาสนาอิสลาม
❤ านภาพของสตรีในศาสนาอิสลามเป็นอย่างไร?
💙 ครอบครัวในศาสนาอิสลาม
❤ ชาวมุสลิมปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างไร?
💙 ชาวมุสลิมมีความเชื่อเกี่ยวกับพระเยซูอย่างไร?
https://is1t.blogspot.com/2018/04/blog-post.html
.........
❤️ ตัวอย่างพระดำรัสของพระศาสดามูหะหมัด 💙
🔴 {ยิ้มให้แก่พี่น้องของพวกเจ้าเป็นการทำบุญกุศล...}
🔵 {การกล่าวดีเป็นการทำบุญกุศล}
🔴 {ผู้ใดก็ตามที่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าและวันสิ้นโลก (วันพิพากษา) ควรกระทำความดีต่อเพื่อนบ้านของตนด้วย}
🔵 {จ่ายค่าแรงคนงานก่อนที่เหงื่อของเขาจะแห้ง}
.........
🔴"ความหมายของชีวิต"🎬👇
https://youtu.be/yPMpqfoiS4A
⚠️🔴⚠️🔵⚠️
🔴ถ้าเรามีความปรารถนาที่จะทราบว่าศาสนาใดเป็นศาสนาที่แท้จริงหรือจอมปลอมนั้น เราจงอย่านำอารมณ์ ความรู้สึก หรือประเพณีของเราเองมาตัดสิน เราควรนำเหตุผล สติปัญญาของเรามาใช้จะดีกว่า
⚠️ เว็บไซต์แห่งนี้ จะเป็นการตอบคำถามที่สำคัญบางเรื่องซึ่งมีผู้สนใจสอบถามมา ดังนี้:
1- พระคำภีร์กุรอานที่มาจากพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าโดยแท้นั้น นำมาเปิดเผยโดยพระองค์เองใช่หรือไม่?
2- พระมูหะหมัด คือพระศาสดาที่แท้จริง ที่ประทานมาโดยพระผู้เป็นเจ้าใช่หรือไม่?
3- ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริงใช่หรือไม่? 👇
🔻หลักฐานบางประการที่บอกถึงความเป็นจริงของศาสนาอิสลาม 🔻
https://www.islam-guide.com/th