เตือน !  ชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังโรคผลเน่า
นายศรุต  สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  กรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า  ในช่วงฤดูกาลทุเรียนภาคตะวันออกกำลังให้ผลผลิตขณะนี้ ขอแจ้งเตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียนให้เฝ้าระวังโรคผลเน่า  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผลผลิตทุเรียนมีคุณภาพลดลง    

โดยโรคนี้พบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อน  แต่ส่วนใหญ่มักพบในผลช่วง 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว  และระหว่างการบ่มผลให้สุก  โดยอาการเริ่มแรกจะเกิดจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำบนผล และจุดแผลจะขยายใหญ่ลุกลามมากขึ้นตามการสุกของผล  ในสภาพที่มีความชื้นสูงอาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคบนแผล  โดยจะพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ผลยังอยู่บนต้น ซึ่งถ้าอาการรุนแรงมากผลจะเน่าร่วงหล่นก่อนกำหนด  




 





 
ทั้งนี้โรคผลเน่ามักพบหลังการเก็บเกี่ยวโดยเชื้อราสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผลเน่า ได้แก่ เชื้อราไฟทอฟธอรา พาลมิโวรา  ซึ่งสามารถป้องกันและลดความเสียหายได้หากมีการปฏิบัติดูแลแปลงตามคำแนะนำ  โดยเฉพาะในแปลงที่มีต้นที่เป็นโรครากเน่าและโคนเน่าในแปลงมาก  

อย่างไรก็ตาม ยังมีเชื้อราบางชนิดที่สามารถทำให้เกิดการอาการผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยวได้แต่สาเหตุหลักมักพบเกิดจากเชื้อราลาซิโอดิพโพลเดีย ธีโอโบรมี และเชื้อราโฟมอปซีส  ในพื้นที่ปลูกทุเรียนในภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย   ดังนั้นเพื่อป้องกันและลดความเสียหายจากโรคผลเน่าทุเรียน  เกษตรกรควรเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว





 





 
สำหรับการดูแลในแปลงปลูกก่อนการเก็บเกี่ยวให้หมั่นตรวจผลทุเรียนในแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัดผลที่เป็นโรค และเก็บผลเน่าที่ร่วงหล่นนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม จำนวน 1-2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน

ควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลอย่างน้อย 15 วัน  ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ  และทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง  ในแปลงปลูกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผลเน่าสูง เนื่องจากมีต้นที่เป็นโรครากเน่าและโคนเน่าในแปลงมาก เชื้อสาเหตุโรคอาจจะติดไปกับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการ





 






 
การเก็บเกี่ยวผลต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับดิน  หรือปูพื้นดินที่จะวางผลด้วยวัสดุหรือกระสอบที่สะอาด เพื่อลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับดินซึ่งมีเชื้อสาเหตุโรค  และการขนย้ายควรระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลที่ผล
 
“เชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าสามารถแพร่ระบาดได้ด้วยลม  รวมทั้งเศษซากพืชที่เป็นโรคภายในแปลง แนะนำให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนทุเรียน  ที่สำคัญหลังจากเก็บเกี่ยวไม่ควรวางผลทุเรียนสัมผัสกับดินโดยตรง  และการขนย้ายต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลและการกระแทกกันของผลทุเรียน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดโรคผลเน่า  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คลินิคพืช  กลุ่มวิจัยโรคพืช  สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  โทร. 0-2579-9583”
นายศรุตกล่าว




 



 



Create Date : 19 มีนาคม 2565
Last Update : 19 มีนาคม 2565 20:08:20 น.
Counter : 433 Pageviews.

0 comments
SMEsสร้างอาชีพ มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ SMEs สร้างอาชีพ Awards ครั้งที่ 9 อุ้มสี
(30 ก.ย. 2567 14:12:44 น.)
วงการแพทย์ คิดไม่ถึงว่า "มะม่วง" จะส่งผลต่อร่างกายขนาดนี้ ถ้าไม่อ่าน ระวังคุยกับคนทั้งโลกไม่รู้เรื่อ newyorknurse
(25 ก.ย. 2567 07:10:56 น.)
5467_Never Let Go หอมกร
(12 ก.ย. 2567 12:40:33 น.)
๏ ... เมกะโปรเจค >< เจ๊ก pro กะ make ... ๏ นกโก๊ก
(7 ก.ย. 2567 21:17:34 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thailand-agriculture.BlogGang.com

BlogGang Popular Award#20



สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด