Group Blog
 
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 มกราคม 2559
 
All Blogs
 

เริ่ม"กลอนสังขลิก"ต่อ ประวัติหลวงธรรมาภิมณฑ์ จบ"โชติช่วง "

หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก  จิตรกถึก)

ที่แรกตั้งใจว่าจะค้นหาเรื่องของการแต่ง" กลอนสังขลิก " ว่าที่มาและผู้แต่ง เกิดในสมัย ชื่อเสียงเรียงนาม แต่พอไปเจอผู้แต่ง " กลอนสังขลิก "แล้ว ปรากฏว่ามีเนื้อหาสั้นมากๆ ไม่ค่อยจะมีรายละเอียดนัก เลยต้องหาต่อ
จนกระทั้ง ได้เจอบท ความของ คุณ โชติช่วง นาดอน ที่เขียนลงไว้ ในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ได้กล่าวถึงผู้ เขียนไว้ด้วย สองถึงสามท่าน ร่วมทั้งได้กล่าวถึง หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก  จิตรกถึก) ผู้แต่ง กลอนสังขลิกไว้ด้วยเลยคัดนำมาลงมั้งหมด รู้สึกเมื่ออ่านแล้วดีไม่อยากตัดออกไปเกรงเสียอรรถรสไป...
ก็น่าอ่านน่าศึกษาอีกเรื่องหนึ่ง(หรือบล็อกหนึ่ง) รวมทั้งคำกล่าว ของ  คุณ โชติช่วง นาดอน ไว้ในปีที่ได้รับรางวัล นักแปลดีเด่นด้วยค่ะ อ่านแล้วก็ชวน ให้ง่วงดีด้วย ถือว่าเป็นยาแก้ นอนไม่หลับอย่างดีอย่างค่ะ....


กลอนสังขลิก จัดเป็นกลอนชาวบ้านประเภทเพลงเด็ก โดยส่วนใหญ่เป็นบทร้องเล่น ลักษณะเด่นอยู่ที่การส่งสัมผัสไม่เหมือนกับกลอนสุภาพ
ลักษณะบังคับ
กลอนสังขลิกบังคับสัมผัส 2 แห่ง ได้แก่ สัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลังในบาทเดียวกันแห่งหนึ่ง และสัมผัสท้ายบาทแรกกับท้ายวรรคแรกของบาทต่อไปอีกแห่งหนึ่ง เกี่ยวเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนตลอดบท

จำนวนคำในวรรคมีตั้งแต่วรรคละ 3 คำ ถึงวรรคละ 5 คำ กำหนดบาทละ 2 วรรค บทหนึ่งจะมีกี่บาทก็ได้

จากบทร้องเล่นของเด็กไทยสมัยเก่า ในประชุมลำนำ ของ หลวงธรรมาภิมณฑ์

เด็กหัวปลาก
เด็กหัวปลาก อยากข้าวเหนียว
นอนคนเดียว เหนี่ยวไขว่คว้า
นอนกะป้า ทำโล้เล้
นอนกะเจ๊ เจ๊วุ่นวาย
นอนกะควาย ควายขวิดปุ ฯ
โยเอยโยช้า
โยเอยโยช้า ทำนาหนองปล้อง
แม่ควายมีท้อง ออกลูกเป็นพันธ์
ขนมทอดมัน สองอันสิบเบี้ย
ไปซื้อไก่เตี้ย ทำขวัญต้นโพธิ์
ขะโมยลักโถ ลักโอท่านไป
เขาจับตัวได้ ที่เมืองดู้ดี้
น่าแข้งเป็นฝี จมูกเป็นไฝ
เขาตีด้วยไม้ กลัวหรือไม่กลัว
ไม้ขมับบับหัว กลัวแล้วกลัวแล้วฯ
หลวงธรรมาภิมณฑ์  ได้ประดิษฐ์แบบของกลอนสังขลิกไว้ 8 ชนิด ตามจำนวนคำในวรรค ตั้งแต่กลอน 2 ถึงกลอน 9 แต่ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก


ประวัติประชุมลำนำ หลวงธรรมาภิมณฑ์

หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก  จิตรกถึก)


                             ท่านเป็นยอดกวีเมืองจันท์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔  วันที่   ๕  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๐๑ ได้มีโอกาสช่วยแต่งหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณในสมัยรัชกาลที่   ๕
                             ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่   ๒๒  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๗๑   อายุได้ ๗๑ ปี
ผลงาน     ด้านกวีนิพนธ์

- โคลงนิราศวัดรวก    (พ.ศ. ๒๔๒๘)
- วินิศวานิชคำฉันท์   (พ.ศ. ๒๔๓๓)
- เบริคคลิสคำฉันท์   (แต่งไม่จบ)
- สิทธิศิลปคำฉันท์   (พ.ศ. ๒๔๓๕)
- เพชรมงกุฎคำฉันท์   (พ.ศ. ๒๔๔๕)
- รัชมังคลาภิเษกคำฉันท์
- ฉันท์ดุษฎีสังเวย   (สำหรับงานพระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลที่ ๖)
- ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างเผือพระเศวตวชิรพาหะ    (พ.ศ. ๒๔๕๔)
- กฎาหกคำฉันท์   (พ.ศ. ๒๔๕๖)
- ชาดามณีศรีสพิณ
- เรื่องสามก๊ก ตอน นางเตียวเสี้ยนกับตั๋งโต๊ะ
- ประชุมลำนำ
- ฯลฯ


คำฉันท์(12)/โชติช่วง นาดอน
ตอนที่แล้ว ข้าพเจ้าเสนอประวัติหลวงธรรมาภิมณฑ์ พระนิพนธ์กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ยังไม่จบ   เริ่มต้นนี้จึงขอนำพระนิพนธ์ เสนอต่อให้จบ ดังนี้

“หนังสือต่างๆ ซึ่งหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ได้แต่งไว้ ต้นฉบับพบเมื่อเรียบเรียบเรื่องประวัตินี้ คือ

      1. โคลงนิราศวัดรวก แต่งเมื่อ พ.ศ. 2428 พิมพ์แล้ว    
     2. วินิศวานิชคำฉันท์ เรื่องนี้แต่งเมื่อ พ.ศ. 2433 เวลารับราชการอยู่ด้วยกันกับข้าพเจ้าในกรมศึกษาธิการ เดิมหลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งฉันท์เรื่องชาดกมาให้ข้าพเจ้าดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าติว่าเรื่องจืดนัก ให้หาเรื่องให้ดีกว่านั้น หลวงธรรมาภิมณฑ์บอกว่าไม่รู้จะไปหาเรื่องที่ไหน เมื่อกลับมาทำงานด้วยกันอีก ข้าพเจ้าจึงเขียนโครงนิทานเรื่อง เมอวันต์,ออฟ-เวนิศ บทละคอนของเชกสเปียให้หลวงธรรมาภิมณฑ์ไปแต่งขึ้นเป็นฉันท์ ให้ชื่อว่า วินิศวานิช ฉันท์เรื่องนี้ได้นำทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดและได้พิมพ์แล้วหลายครั้ง

     3. เบริคคลิสคำฉันท์ ข้าพเจ้าเขียนโครงนิทานบทละคอนของเชกสเปียให้แต่งอีกเรื่องหนึ่ง แต่แต่งไม่ตลอด (จะเป็นเพราะข้าพเจ้าเขียนโครงเรื่องให้ไม่หมด หรือหลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งไม่ตลอดเอง ลืมเสียแล้ว) มีอยู่แต่ฉบับเขียน ยังไม่ได้พิมพ์

     4. สิทธิศิลปคำฉันท์ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์คิดเรื่องขึ้นเอง แต่เมื่อ พ.ศ. 2435
     5. เพ็ชร์มงกุฎคำฉันท์ เอาเรื่องจากลิลิต แต่งเมื่อ พ.ศ. 2445

     6. รัชมังคลาภิเษกคำฉันท์ เรื่องนี้ข้าพเจ้าคิดรูปเรื่องให้หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่ง เฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว แต่แต่งดีไม่ได้ดังใจข้าพเจ้า จึงยังไม่ได้พิมพ์

     7. ฉันท์ดุษฎีสังเวย สำหรับพระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลที่ 6 หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่ง ลา 1 (กรมหื่นกวีพจนปรีชา แต่ง ลา 2  พระยาพจนปรีชา ม.ร.ว สำเริง อิศรศักดิ์ฯ แต่ง ลา 3 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ แต่ง ลา 4)

     8. ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างเผือก พระเศวตวชิรพาหะ แต่งเมื่อ พ.ศ. 2454 ได้พระราชทานรางวัล

     9. กฏาหกคำฉันท์ เอาเรื่องนิบาตชาดกมาแต่งเมื่อ พ.ศ. 2556 (ซึ่งพิมพ์เป็นสมุดเล่มนี้)

     10. ธาดามณีศรีสุพิณ กลอนสุภาพ 2 เล่มสมุดไทย จะแต่งเมื่อใดหาทราบไม่

     11. เรื่องสามก๊ก ตอนนางเตียวเสี้ยนกับตั๋งโต๊ะ แต่งเป็นกลอนสุภาพ แต่งเมื่อใดหาทราบไม

     12. ประชุมลำนำ เรื่องนี้แต่งเมื่อหลวงธรรมาภิมณฑ์ชราและเริ่มป่วยเสียแล้ว

 นอกจากนี้ยังมีคำฉันท์และคำกลอนเบ็ดเตล็ดซึ่งหลวงธรรมาภิมณฑ์ได้แต่งอีกมาก แต่มิได้เป็นเรื่องต่างหาก จึงไม่ได้ลงในบัญชีนี้

 ข้าพเจ้าขออนุโมทนากุศล บุญ ราศี ทักษิณานุปทาน ซึ่งเจ้าภาพงานศพหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) บำเพ็ญสนองคุณผู้เป็นบุรพการีด้วยความกตัญญูกตเวที และได้พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้แพร่หลาย หวังว่าผู้ที่ได้รับไปคงพอใจและอนุโมทนาด้วยทั่วกัน
(ลายเซ็น) ดำรงราชานุภาพ
      นายกราชบัณฑิตยสภา
      วันที่ 12 กรกฎาคม  พ.ศ. 2472
      (หนังสือ “กฏาหกคำฉันท์” หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) แต่ง พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์)
     หนังสือ “วินิศวานิชคำฉันท์” ที่ข้าพเจ้ามีอยู่ เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง แจกในการกฐินพระราชทาน มหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ ณ วัดนรนาถสุนทริการาม พระพุทธศักราช 2467 โรงพิมพ์โสภณพรรฒนากร
กรมพระนาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์คำนำว่า (สะกดการันต์ตามต้นฉบับดั้งเดิม)

     “หนังสือคำฉันท์เรื่องต่างๆ ที่ได้พบได้อ่านอยู่มักเป็นฉันท์โบราณและแต่งเรื่องชาดกโดยมาก  หอพระสมุดฯ เคยให้พิมพ์ออกไปแล้วหลายเรื่อง หนังสือวินิศวานิชคำฉันท์นี้ ถ้าว่าทางข้างฉันท์ไทย ต้องนับว่าเป็นเรื่องอย่างใหม่ ด้วยเอาเนื้อเรื่องละครพูด เมอชันต์ ออฟ เวนิส ของเชกสเปีย มาแต่งเป็นฉันท์ รองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) แต่งทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อในรัชกาลที่ 5 เดี๋ยวนี้ตัวผู้แต่งก็ยังมีชีวิตอยู่ กรรมการหอพระสมุดฯ เห็นว่า หลวงธรรมาภิมณฑ์ก็เปนกวีที่มีชื่ออยู่ในสมัยหนึ่ง สมควรจะพิมพ์ให้ปรากฏแพร่หลาย เพื่อกวีจะได้อ่านแลสอบกับฉันท์เก่าๆ ว่าสำนวนแปลกเปลี่ยนกันอย่างไร จึงได้อนุญาตให้พิมพ์ไปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2459 ปรากฏว่ามีผู้พอใจอยู่ ฉบับที่พิมพ์ครั้งแรกก็หายากอยู่แล้ว จึงอนุญาตให้พิมพ์ในสมุดเล่มนี้เปนครั้งที่ 2 หวังใจว่าผู้อ่านจะพอใจทั่วกัน”

 ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญการแต่งฉันท์ เป็นแต่เพียงนักอ่านเอาเสียง คืออ่านออกเสียงสำหรับตนเองฟัง  สนุทรียะแห่งเสียงอักษราและจังหวะ ลีลา ของฉันท์ อยู่ๆ ก็หาญฮึกเขียนหนังสือ “คำฉันท์” ออกมาเป็น “กระเบื้องล่อหยก” ด้วยรู้สึกว่า   


 ประการที่หนึ่ง ชนรุ่นนี้ (คือรุ่นของข้าพเจ้านี้) ส่วนไม่น้อยเห็นว่าฉันทลักษณ์ฉันท์เป็นเรื่องคร่ำครึ ไม่น่าใส่ใจอีกต่อไป
 ประการที่สอง วรรณคดีประเภทฉันท์ที่มีผู้รวบรวมเป็นงานระดับสารานุกรมของชาติเอง ก็ยังรวบรวมอย่างขาดตกบกพร่อง มิได้กล่าวถึงวรรณคดีฉันท์หลายๆ เรื่อง
 ประการที่สาม คือปรารถนาจะให้พวกพ้องน้องพี่และอนุชน ได้เสพสุนทรียะแห่งคำฉันท์ บทที่ไพเราะมากๆ จึงได้นำมาเสนอไว้ให้มากเท่าที่จะไม่ทำให้เยิ่นเย้อ และรู้สึกว่าข้าพเจ้าหลอกขายหนังสือโดยที่ตนเองเขียนอะไรๆ ไว้น้อยเหลือเกิน
     กลับมาสู่เรื่อง “วินิศวานิชคำฉันท์” เนื้อเรื่องนั้นคงรับรู้กันดีอยู่แล้ว

     แต่ฉากที่สำนวนดีเด่นนั้น ไม่ตรงกับ “เวนิสวาณิช” พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6

     ฉากว่าความในศาล เรื่อง “วินิศวานิชคำฉันท์” ใช้ฉันทลักษณ์ ฉบับ 16 เขียนได้ดีมาก แต่ข้าพเจ้าขอละไว้ไม่นำมาเสนอ (หนังสือนี้ต้องการบันทึก “ฉันท์” ให้มากที่สุด จึงไม่ยกตัวอย่างบทที่เป็น ฉบับ 16 และ สุรางคนางค์ 28)

     ฉากที่เด่นใน “วินิศวานิชคำฉันท์” เป็นตอนที่บัสสานิโอ กลับไปพบกับนางปอเทีย แล้วนางปอเทียตัดพ้อที่แหวนซึ่งนางมอบให้บัสสานิโอนั้นหายไปจากนิ้วมือของบัสสานิโอ (อันที่จริงตัวนางเอง ตอนที่ปลอมเป็นทนายความ ได้ขอเอาไป) นางรำพันว่า
      วสันตดิลกฉันท์ 14

      ๐ นางฟังก็แสร้งอุระสอื้น                     ชลเนตรนองไหล
      อ้าพ่อ บ ควรกลพิไร                          พจนาดถกล่าวเกลา
      หนึ่งธรรมดาบุรุษเล่ห์                          กลล้วนฉลาดเชาวน์
      สัตรี บ ตรองกมลเฉา                          จิตรโฉดก็ชวนฟัง
      หลงใหลละเลิงมธุรสุน –                       ทรชิวหชายหวัง
      ถือแท้ บ ตรองวิมุติกัง –                        ขก็คงจะหลงลม
      เปนหญิงนิยากกมลแท้                          ผิวต้องบุรุษชม
      เฉกบุบผเกสรระบม                              ตำนิด้วยภมรตอม
      นับวันจะโรยรสสุคน –                           ธจรุงจะแรมหอม
      มีแต่จะตกคะมุกคะมอม                          ยลดาษฉมามูล
      ตั้งแต่จะเศร้าสริรทราม                           สิริรูปจะซูบสูญ
      แม้ลาญมลายชนมพูล                            สุขกว่าจะทรงอาย
      อ้อนพลางก็ผลักกรสลัด                          และตระปัดตระป่องกาย
      ข่วนค้อนชำเลืองนยนะพราย                      ชลจักษุธารา ๐
     ความใหม่แปลกของฉันท์เรื่องนี้ เราต้องย้อนจิตไปว่า กำลังอ่านเรื่องนี้ในรัชสมัยรัชกาลที่ห้า ซึ่งผู้คนคุ้นชินกับวรรณคดีที่ยืมเนื้อเรื่องจากอินเดีย ครั้นมาได้อ่านคำฉันท์ที่มีเนื้อเรื่องชาวยุโรป มีภาษาอังกฤษในคำฉันท์ ฯ   ก็ย่อมจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจ
      ๐ สำเนานิทานวจนะนี้                          นฤใช่สยามภา –
       ษาแปลยุโรปกิรสา –                           ธกะเพื่อประโยชน์สาร
       บรรเลงชเลงลักษณกลอน                      เสนาะสุนทราการ
       จำลองและลงวชิรญาณ                        สฤษดิโดยพยายาม ๐
Cr: //goo.gl/3wfDH3  คำฉันท์(12)/โชติช่วง นาดอน


ความในใจของ
ทองแถม นาถจำนง  (โชติช่วง นาดอน)  :  หนึ่งในนักแปลดีเด่น  รางวัลสุรินทราชา ปี พ.ศ.๒๕๕๔

โลกของเรามีมากมายหลายภาษา  วัฒนธรรมก็มีมากมาย แต่ว่าคนเราต้องอยู่กันแบบโลกาภิวัตน์ เพราะฉะนั้นงานล่ามและงานแปลจึงมีความสำคัญมากๆ  สมัยก่อนที่ผมเป็นนักเรียนก็เรียนภาษาอังกฤษ  ก็อ่านตำราอ่านวรรณกรรมได้ ก็คิดว่าพอแล้ว  เมื่อได้ไปอยู่ประเทศจีน  ต้องเรียนภาษาจีนเพิ่มอีก  ตอนแรกก็รู้สึกเสียดายเวลาว่าทำไมจำเป็นจะต้องเรียน แต่เมื่อได้เรียนรู้ภาษาจีนแล้วก็รู้สึก  ว่าภาษาอังกฤษภาษาเดียวไม่พอหรอก  พอได้ภาษาจีนอีก มันเปิดโลกขึ้นอีกเยอะ  และตอนนี้ผมก็แปลและเขียนได้มีภาษาลาวขึ้นมาอีก  ภาษาลาวนี้ก็เพิ่งจะมาเห็นความสำคัญทีหลัง  โดยเฉพาะงานค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ที่จะต้องอ่านจากภาษาลาวด้วยตัวเอง 

ผมทำงานแปลมาตั้งแต่เริ่มต้น  ก็เกือบ  ๓๐ ปีแล้ว  ได้เลือกทำงานที่ตัวเองรัก  ใครมาจ้าง ไม่ชอบก็ไม่ทำ  เราทำเฉพาะในสิ่งที่เรารักก็เป็นความสุขในชีวิตของเรา  ทีนี้เมื่อได้รับรางวัลเกียรติยศครั้งนี้ ก็แน่นอนครับว่าเป็นปุถุชนก็ย่อมจะยินดี  แต่สำหรับบทเรียนการแปล  ผมขออนุญาตอ้างคำครูนะครับ  คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช  ซึ่งท่านกล่าวไว้  เขียนไว้ตอนที่มีผู้แปลหนังสือเรื่อง  ปรัชญาของเพลโต  นะครับ  ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ให้สำหรับนักแปลได้  คือท่านบอกว่า  “ผู้ถ่ายทอดเรื่องเพลโตจะต้องรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษากรีกโบราณ  ตลอดจนวัฒนธรรมของกรีกโบราณดี” อันนี้เป็นอันที่หนึ่ง  สังเกตนะครับ ไม่ใช่รู้ภาษาอย่างเดียว แต่ต้องเข้าใจวัฒนธรรมกรีกโบราณ อันที่สองต้องรู้ภาษาไทยดี  อันที่สามต้องรู้หลักปรัชญาดี เพราะเรื่องที่แปลเป็นปรัชญา อีกอย่างต้องรู้ว่าตนกำลังทำอะไรอยู่  เพื่อวัตถุประสงค์อะไร  คือทำอะไรอยู่นะครับ  มานั่งแปลคัมภีร์โบราณ  มันหาเงินไม่ได้หรอกครับ ถ้าจะหาเงินต้องทำอย่างอื่นซะ  และต้องรู้ว่าคนอ่านเป็นคนอย่างไรด้วย  ก็หมายความว่าสังคมไทยเราจะรับการสื่อสารได้ระดับไหน  ผมก็ได้นำบทเรียนที่ท่านหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้สอนไว้  ก็นำมาสรุป ก็เป็นหกข้อ 

กราบขอบพระคุณ  รุ่นครู  รุ่นอาจารย์ที่ท่านให้เกียรติผมในวันนี้ครับ
ขอบพระคุณครับ
เครดิต //www.oknation.net/blog/nonglakspace/2011/04/29/entry-1
Smileyบล็อกหมวด ความรู้ทั่วไป Education Blog ขอบคุณค่ะ




 

Create Date : 31 มกราคม 2559
13 comments
Last Update : 31 มกราคม 2559 8:34:47 น.
Counter : 3207 Pageviews.

 

สวัสดียามเช้าครับพี่โอพีย์

ผมชอบงานแปลของุคณโชติช่วงในชุดที่แปลคัมภีร์จีนโบราณครับ
อย่าเต้าเต๋อจิงนี่ชอบมากที่สุดเลยครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 31 มกราคม 2559 6:56:20 น.  

 

ขอบคุณค่ะคุณก๋า สมัยก่อนตอนบ้าอัพบล็อกทั้งวันทั้งคืนฮ่า พี่ได้นำบทเขียน คุณ โชติช่วง นาดอน ในคอลัมน์ นสพ สยามรัฐ มาลงไว้ในบล็อกแก๊งเยอะมาก
ชอบที่แกเอาเรื่อง เก่าๆนำมาลง สนุกดี (เพิ่งรู้ตัวเองว่าชอบของโบราณค่ะ) และเมื่อปีก่อนมั่ง พี่โดนทางบริษัทบล็อกแก๊ง ขึ้นตัวแดง เรื่องการลงภาพ
และมีข้อความกำกับ ไว้ว่า ทางบล็อก ต้องเสียค่าใช้จ่าย ด้วยให้ช่วยประหยัดทรพยากร /พี่เลยคิดว่าเออใช่ กะไปลบภาพที่ลงไว้ แต่ทำไม่ได้ มันเยอะจริงๆ อารมณ์เสียด้วย
เลยตัดสินใจลบทั้งเนื้อหา และจากนั้นก็ตามลบภาพจนเกลี้ยง เหลืออยู่ที่รักมากๆราวๆ 100กว่าภาพ.. มาคิดถึงตอนนี้ก็เสียดายเนื้อหาดีดี ที่เราลบออกไป
พอหลังจากนั้นราว สามเดือน บล็อกแก๊ง เปลียน นโยบาย ว่าให้ลงภาพโตๆได้เลย ภาพ ขยายได้โตกว่าเก่าด้วย ปังมาก ขุ่นแม่ อยากเอาหัวโขกกะรั่วล้านครั้ง
นี้มันเกิดอะไรขึ้น ภาพโตๆใหญ่กว่าเก่า เนทเรากำลังน้อย เข้าไปบล็อกที่มีภาพโตโห้แม่จ้าว
แทบคลานกลับบ้านไม่ถูกฮ่าๆ หากขอร้องได้ อยากให้เห็นใจ หน่อยจ้ะ เนทของโอพีย์ กำลังนิดเดียว เองช่วยลดขนาดภาพนิดนึงจะกราบขอบคุณมากๆฮ่าๆ
อ้าวเขียนเรื่อง คุณ โชติช่วง นาดอน งั้ยยาวไปถึงเรื่องการลงภาพ อ้อใช่ๆ มันเกียวกันค่ะ เพราะช่วงทำบล็อกแรกๆ บางครั้ง ภาพเดียวเราลง ทั้งหลายครั้ง
เพราะทางบล็อกแก๊ง ไม่ได้โชว์ ภาพ ซ้ำๆที่ไม่ใช้ให้เราดู เหมือนยุคปัจจุบันค่ะ ... จบก่อนดีกว่า/ขอบคุณค่ะ

 

โดย: โอพีย์ (Opey ) 31 มกราคม 2559 9:02:21 น.  

 

กลอนสังขลิก ดูแต่งง่ายดีเหมือนกัน ไม่มีข้อบังคับอะไรมาก แต่สมัยที่เรียนไม่มีพูดถึงกลอนสังขลิกเลยครับ

ไม่ได้ติดตามผลงานท่านเลยครับ

+

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 31 มกราคม 2559 12:23:02 น.  

 

ที่บล็อก ผมลงแค่บล็อกอย่างเดียวครับ ไม่ได้มีไปลงหนังสือ แค่รีวิวธรรมดาๆ เองครับ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 31 มกราคม 2559 12:23:47 น.  

 

ปัจจุบันการลงรูปในเว็บน่าจะง่ายและลงภาพได้เยอะขึ้นนะครับพี่
ทางบล็อกคงปรับในเรื่องนี้เหมือนกัน
ไม่งั้นก็แข่งขันกับเว็บอื่นยากมากๆ

คิดดูแล้วก็เหมือนคอมของผมในห้องเลยครับ
ความจุ 500 GB แต่ตอนนี้เค้าว่ากันเป็น TB แล้ว 5555

 

โดย: กะว่าก๋า 31 มกราคม 2559 14:28:19 น.  

 

กลอนสังขลิก ไม่คุ้นเลยค่ะ ไม่ค่อยคุ้นชื่อหนังสือด้วย

ได้ความรู้มากมาย ขอบคุณค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
Opey Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 31 มกราคม 2559 19:12:08 น.  

 

ตื่นมา6.30 น เช้านี้ วันอาทิตย์ ที่ อเมริกา กำลังเตรียมตัวไปวัดทำบุญตามปกติค่ะ/ ขอบคุณจ้ะ คุณ สายหมอกฯสำหรับคอมเม้ทน์และคะแนนโหวต/คุณต่อ การ์ตูน..ขอบคุณจ้ะทั้ง2คอมเม้นท์/คุณก๋า... ขอบคุณค่ะ/ขอตัวก่อนนะค่ะ ไว้จะนำบุญมาฝากค่ะ ทุกๆท่าน....

 

โดย: โอพีย์ (Opey ) 31 มกราคม 2559 20:39:36 น.  

 

Opey Education Blog ดู Blog
โหวตก่อนนอน ค่ำนี้ที่เมืองไทยค่ะโอพี

 

โดย: หอมกร 31 มกราคม 2559 22:45:17 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่โอพีย์


ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตด้วยนะครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 1 กุมภาพันธ์ 2559 6:37:28 น.  

 

หลวงธรรมาภิมณฑ์ท่านจากไปแล้ว
แต่ฝากผลงานกวีนิพนธ์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษานะคะ
กลอนสังขลิก บทร้องของเด็กๆ น่ารักดีค่ะ
เพิ่งรู้จักกลอนนี้ค่ะคุณ Opey

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

Opey Education Blog ดู Blog

--------------------------------

 

โดย: Sweet_pills 1 กุมภาพันธ์ 2559 7:53:37 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Opey Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: **mp5** 1 กุมภาพันธ์ 2559 8:05:57 น.  

 

อรุณสวัสดิ์จากฝังไทยคร้าคุณ Opey
นั่นจิ ออสซี่ เวลาใกล้เคียงกับเมืองไทยเราเลยได้ชมสดแบบสบายๆหน่อย
ฝีมือโนวัคยังพัฒนาต่อยอดขึ้นได้เรื่อยๆแบบนี้ มีความหวังในการสร้างประวัติศาสตร์
แห่งวงการเทนนิสในตนเองและประเทศชาติอย่างยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่องแน่นอน
เราว่าเป็นไอดอลให้คนรุ่นใหม่ได้ ต่อเนื่องจากพี่เฟดคะ

จากบล๊อกของ จขบ.วันนี้เราอ่านได้สาระความรู้ทางวิชาการได้มากขึ้นเลยคะ
มีคำศัพท์หลายคำที่เราก็เพิ่งได้รู้จักจากที่นี่ ขอบคุณมากมายที่ค้นหา
มาให้ได้อ่านเพิ่มความรู้ตามเจตนาของ จขบ.คร้า...

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
หอมกร Movie Blog ดู Blog
Opey Education Blog

 

โดย: Tui Laksi 1 กุมภาพันธ์ 2559 8:46:34 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
Opey Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


ขอบคุณสำหรับแปะนะคะ

 

โดย: mariabamboo 1 กุมภาพันธ์ 2559 11:45:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


โอพีย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




Occupation A Certified Nursing Assistant(CNA)@ USA
and Blogger at Bloggang Thailand.




BlogGang Popular Award #10

BlogGang Popular Award #11

Free counters!
Friends' blogs
[Add โอพีย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.