กรกฏาคม 2564

 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
4 กรกฏาคม 2564
All Blog
แทนคำขอบคุณ
เรามีคนไข้คนนึงต้องผ่าตัดภายใต้ยาชากับเราหลายครั้ง
เพราะเขามีกระดูกต้องแต่งก่อนใส่ฟันปลอมเยอะมาก

การนัดเขา ทำไม่ต่ำกว่า 5-6 ครั้ง
รวมเพิ่มเบิ้ลรอบตัดไหม ที่บางครั้งเราไม่ได้ทำต่อให้ทันทีต้วย
ไหนจะเราไม่อยู่ ไหนจะติดสถานการณ์โควิด

คนไข้ถูกเลื่อนก็หลายครั้ง
นัดซ้อนกับที่อื่นแต่คนไข้เลือกมาหาเราก็อีก

คนไข้คนนี้เมื่อทำเสร็จจะมาไหว้เรากับผู้ช่วยทุกครั้ง
ปกติเราทำหัตถการเสร็จต้องนั่งเขียนบัตรกับลงประวัติในคอมพิวเตอร์
แล้วผู้ช่วยเราก็เด็กมาก บางครั้งคนไข้ก็รอเรานานมาก
กว่าจะได้ทำ
ดูน่าโกรธจนอาจไม่มีแรงมาขอบคุณ
แต่เขาก็ขอบคุณทุกครั้ง :)
------

สมัยที่เรากำลังเรียนปริญญาตรี
ตอนนั้นพี่ชายเราไปอเมริกา
ทำงานพิเศษ ซึ่งอยู่ไทยก็ไม่เคยทำ
พี่เราสอนเราว่า คำว่า thank you นั้น
ฝรั่งเขาถือว่าเป็น magic word

เราจำคำนี้ได้
และเราก็พยายามหัดพูดเสมอ
เราพูดกับยามทุกครั้งที่รับและส่งบัตรที่คณะแพทย์ จุฬาฯ
เพราะเราต้องเอารถยนต์ ข้ามจากถนนอังรึดูนังต์มาออกถนนวิทยุ
ต้องผ่านจุฬาฯ เพื่อเลียบเข้าราชดำริ
แล้วมาข้างสวนลุมพินี เข้าวิทยุ

จริงๆ เราก็ลืมเรื่องนี้ไป จนวันนึง
เรากำลังคุยสาย PCT โทรศัพท์บ้านมือถือ
แล้วเราพูดว่า ขอบคุณค่ะ
น้องในสายบอกว่า พี่กำลังผ่านคณะแพทย์ใช่ไหม
น้องคนนี้นั่งรถเรากลับบ้านบ่อย เขาจำได้ว่าเราต้องพูดทุกครั้ง

เราก็เลยนึกได้ว่า ตอนนั้นเราตั้งใจมากๆ
ที่จะเป็นคนที่พูดขอบคุณให้บ่อยขึ้น
รวมทั้งเวลาเข้าจอดรถที่ต้องรับบัตร เราพูดตลอด
ถึงจะขับรถทักษะเห่ย
(เราขับรถตั้งแต่ขึ้นคลินิก เพราะแม่เราไปทำงานองค์กรต่างประเทศ
แล้วเราต้องพายายไปโรงพยาบาล)
ขูดขีดทุกมุม

แต่สื่งที่เราพยายามจะให้ตัวเองมีติดตัว
คือไม่ลืมคำขอบคุณ
(เอาว้า พัฒานาได้อย่างนึง)

--------

เมื่อเรามาเรียนต่อที่ชลบุรี
สิ่งที่เราเรียนรู้จากอาจารย์คือความอ่อนน้อม
ทั้งที่เราก็ได้สิ่งนั้นมาน้อยหน่อย (เราว่าเราไม่เท่าอาจารย์)
แต่เราไม่เคยลืม สองเรื่อง

เรื่องแรกคือ อาจารย์ท่านหนึ่งพูดกับเด็กว่า ขอบคุณครับ
ตอนนั้นเราคิดว่า อาจารย์ต้องใช้คำว่า ขอบใจ สิ
แต่เรามาเข้าใจว่า ที่อาจารย์พูดแบบนั้น
อาจจะเพราะอาจารย์สอนเรามาเหมือนลูก

และเป็นคำที่ใช้กับเด็กที่เด็กกว่ามากๆ
เพราะรักและเอ็นดู
คือเป็นแรงแมตตา
ให้เหมือนว่า สิ่งที่เด็กทำมีค่ามาก

เรื่องนี้เรารู้สึกตอนที่เราจบเฉพาะทางมาอีกหลายปีถึงรู้สึกได้

เรื่องที่สองคือ การตอบรับคำขอบตุณ
อาจารย์ท่านนึงชอบมาสอนพวกเราดึกๆ
ไปราวน์คนไข้ตอนสามทุ่ม
เพราะอาจารย์ไปทำคลินิกมา
บางทีก็ผ่าตัดที่เอกชน

พาเราราวน์รอบดึก จนสี่ทุ่ม
เมื่อพวกเรากล่าวขอบคุณ ไหว้ สวัสดีอาจารย์ทุกครั้ง
อาจารย์จะพูดว่า ยินดีจ้ะ

ตอนนั้นเราไม่คุ้น
แต่เมื่อเรากลับมาสอนน้อง
เมื่อน้องเราพูดคำว่าขอบคุณ
เราก็จะตอบว่า ยินดีค่ะ

เมื่อเวลาผ่านไป เราจึงได้คิด (มากกว่าที่ลอกอาจารย์เฉยๆ)
คือเราคิดว่า น่าจะแปลมาจาก You're welcome.
ยินดี นั่นไง ยินดีช่วย

จนเมื่อปีที่แล้ว เราไปอยู่ที่โรงพยาบาลในฐานะญาติ
เราต้องขอบคุณคนไม่รู้กี่พันกี่หมื่นครั้ง
เขาก็มีคำตอบหลายๆ แบบ ทั้ง It's OK., No problem.
(ซึ่งก็มียูทูปพูดถึงเรื่องนี้เหมือนกันว่าตอบอะไรได้บ้าง)
ทำให้เรารู้ว่า มารยาทที่ดี และ soft ยิ่งขึ้นของคนที่โดแล้ว
คืออะไร

ย้อนกลับมาเรื่องสุดท้ายที่อยากบันทึก
วิธีการขอบคุณที่ละมุนมากขึ้นอีก
คือใส่ชื่อคนที่เราจะขอบคุณลงไปด้วย

เช่น ขอบคุณค่ะป้าแมว

เรื่องนี้เราสังเกตเห็นพี่หมอคนนึงในไลน์ จะทำทุกครั้ง
ไม่ว่าจะไลน์ส่วนตัวหรือกลุ่ม
เราก็ว่า มันก็รู้อยู่แล้ว ว่าเรื่องนี้ขอบคุณใคร
แต่
แต่มันละมุนกว่า และใส่ความตั้งใจกว่าจริงๆ
นี้เป็นรายละเอียดที่เราค้นพบ
พอเราบอกพี่ (พี่เราคนที่สอนเรา)
พี่บอกว่า ก็เคยบอกแล้วนะ ควรใส่ชื่อคนด้วย
เชิ้บ

ก็ค่อยค้นพบไป

สิ่งที่แทนคำขอบคุณอาจจะมีหลายอย่าง
แต่คำขอบคุณ ก็ยังมีค่าในตัวของมันเองเสมอ

เหนือสิ่งอื่นใด
ขอบคุณคนอ่านที่อ่านจนจบค่ะ ^^



Create Date : 04 กรกฎาคม 2564
Last Update : 4 กรกฎาคม 2564 11:42:35 น.
Counter : 617 Pageviews.

0 comments

สุขใจพริ้ว
Location :
บุรีรัมย์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



เป็นบันทึกเรื่องราวทั่วไป ตามที่ใจนึกอยาก
ของคนทำงานไกลบ้าน