The Year My Parents Went on Vacation โฮม อะโลน กับเปเล่
The Year My Parents Went on Vacation โฮม อะโลน กับเปเล่พล พะยาบ คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 20 เมษายน 2551 แม้ช่วง 4-5 ปีหลังหนังบราซิลจะไม่เปรี้ยงปร้างบนเวทีหนังโลกเหมือนช่วงปลายทศวรรษ 1990 ต่อต้นศตวรรษใหม่ ที่มีหนังเด่นอย่าง Central Station(1998) และ City of God(2002) แต่ก็ใช่ว่าวงการหนังแดนกาแฟจะซบเซาหรือขาดแคลนหนังดีไปเสียทั้งหมด ตรงกันข้าม หนังบราซิลในระดับน่าชื่นชมยังมีออกมาอยู่เสมอ The Year My Parents Went on Vacation คือตัวอย่างของหนังดีจากบราซิลที่ออกมาอวดโฉมให้โลกได้รู้จักเมื่อปี 2007 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการได้เข้าชิงหมีทองที่เบอร์ลิน และได้รับเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมเป็นตัวแทนชิงออสการ์หนังภาษาต่างประเทศ ซึ่งถือว่าพลิกโผและสร้างความแปลกใจพอสมควร เพราะหนังที่เป็นตัวเต็งตอนแรกคือ Tropa de Elite หรือ The Elite Squad ของโจเซ่ พาดิลญ่า ซึ่งจับประเด็นแรงๆ เกี่ยวกับหน่วยตำรวจพิเศษของบราซิล และได้รางวัลหมีทองที่เบอร์ลินช่วงต้นปี 2008 อย่างไรก็ตาม แม้จะถูกเลือกมาอย่างผิดคาด แต่ The Year My Parents Went on Vacation ก็ดีพอจนเข้าไปถึงรอบ 9 เรื่องสุดท้าย น่าสนใจตรงที่ทั้ง The Year My Parents Went on Vacation และ Tropa de Elite มี บรอลิโอ แมนโตวานี เป็นหนึ่งในผู้เขียนบท ซึ่งนายแมนโตวานีคนนี้เคยเข้าชิงออสการ์บทดัดแปลงยอดเยี่ยมมาแล้วจาก City of God หากจะบอกว่าเขาเป็นคนเขียนบทมือทองของบราซิลในยุคนี้ก็คงไม่ผิดนัก The Year My Parents Went on Vacation มีองค์ประกอบน่าสนใจมากมาย โดยที่บางองค์ประกอบดูเผินๆ ไม่น่าจะรวมอยู่ในเรื่องเดียวกัน หนังมีเด็กเป็นตัวเดินเรื่อง รูปแบบเนื้อหาจึงว่าด้วยการ เติบใหญ่ในช่วงวัย (coming of age) มีตัวละครจำนวนมากเป็นชาวยิว เหตุการณ์สำคัญในหนังคือฟุตบอลโลกปี 1970 ที่ว่ากันว่าทีมชาติบราซิลเป็นทีมที่ดีที่สุดตลอดกาล จึงมี เปเล่ ทอสเทา ริเวลิโน ฯลฯ อยู่ในบทสนทนาและภาพการแข่งขัน แต่ฉากหลังสำคัญกว่านั้นคือการกวาดจับ-ทรมาน-สังหารกลุ่มผู้ต่อต้านโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร หนังเริ่มต้นที่เมืองเบโล ฮอริซอนเต ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล เด็กชายเมาโรวัย 12 ขวบ ผู้หลงใหลในเกมฟุตบอลเหมือนเด็กบราซิลทั่วไปถูกพ่อกับแม่พามายังเมืองเซาเปาโล เพื่อให้พักอยู่กับปู่ในย่านชาวยิว พ่อกับแม่บอกว่าเมาโรต้องอยู่ที่นี่ตลอดช่วงที่ทั้งสองไปพักผ่อนวันหยุด โดยพ่อสัญญาว่าจะกลับมาให้ทันเชียร์ทีมชาติบราซิลในฟุตบอลโลกร่วมกัน ความจริงของการพักผ่อนวันหยุดที่เมาโรไม่รู้คือ พ่อกับแม่ต้องหลบหนีการตามล่าของทางการในข้อหาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ โชคร้ายที่ปู่ของเมาโรหัวใจวายเสียชีวิตในวันเดียวกับที่พ่อ-แม่พาเมาโรมาส่งหน้าอพาร์ตเมนต์ เมาโรจึงรู้สึกคว้างท่ามกลางคนแปลกหน้าและสถานที่ไม่คุ้นเคย ยังดีที่ชายชราชื่อ ชโลโม เพื่อนบ้านและเป็นเพื่อนของปู่พาเมาโรมาอยู่ด้วย แต่ทั้งสองดูจะเข้ากันไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยวัย ภาษา (ชโลโมมักจะพูดภาษายิดดิช) และการใช้ชีวิตในแบบของชาวยิวซึ่งต่างจากเมาโร วันรุ่งขึ้นเมาโรจึงย้ายมาอยู่ตามลำพังในห้องของปู่ วันผ่านไปโดยไร้ข่าวคราวของพ่อ-แม่ เมาโรเริ่มปรับตัวได้และคุ้นเคยกับชโลโมมากขึ้น รวมถึงเพื่อนบ้านที่ผลัดกันดูแลเรื่องอาหารการกิน มีเด็กหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันชื่อ ฮันนา มาตีสนิทและสนใจเมาโรเป็นพิเศษ กับเด็กชาย 3-4 คน ที่รับเมาโรเข้าแก๊ง ได้รู้จักกับหญิงสาวใจดีชื่อไอรีนซึ่งใครต่อใครรวมทั้งเมาโรแอบปลื้ม แต่เธอมีแฟนเป็นหนุ่มลูกครึ่งแอฟริกันและเป็นผู้รักษาประตูจอมหนึบของทีมฟุตบอลท้องถิ่น นอกจากนี้ เมาโรได้พบกับ อิตาโล หนุ่มนักศึกษาเชื้อสายอิตาเลียนซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล และบอกว่ารู้จักพ่อของเมาโรเป็นอย่างดีเมื่อฟุตบอลโลกที่เม็กซิโกเริ่มขึ้น และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสด ทุกคนต่างตื่นเต้นและเฝ้ารอชม มีเพียงเมาโรที่ไม่เพียงจดจ่อกับการแข่งขัน (เมาโรใส่เสื้อทีมชาติบราซิลเบอร์ 10 ซึ่งเป็นเบอร์ของเปเล่) เขายังตื่นเต้นที่จะได้พบพ่อกับแม่ตามที่ให้สัญญาไว้ด้วย แต่ระหว่างที่แต่ละเกมการแข่งขันดำเนินไป เหตุการณ์รอบตัวก็ดูจะวุ่นวายและตึงเครียดมากขึ้น บางทีชัยชนะของบราซิลอาจไม่มีความหมายสำคัญสำหรับเมาโรอีกต่อไปแล้ว เรื่องราวดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากความทรงจำของ เคา ฮัมบูร์เกอร์ ผู้กำกับหนุ่มใหญ่ซึ่งพ่อของเขาที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเซาเปาโลกับแม่เคยถูกจับกุมตัวระยะสั้นๆ ในปี 1970 ข้อหาช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ขณะนั้นเคาอายุ 8 ขวบ ถูกส่งตัวมาอยู่กับย่าในย่านชาวยิว เนื่องจากพ่อมีเชื้อสายเยอรมัน-ยิว ส่วนแม่เป็นคาทอลิกอิตาเลียน ตัวละครในหนังจึงมีคนเชื้อสายอิตาเลียน และตัวละครเมาโรซึ่งเปรียบเหมือนตัวแทนของเคาจึงไม่ได้ขริบอวัยวะเพศแบบชาวยิว แม้ฉากหลังจะเป็นเรื่องการเมืองที่ถือว่าหนักและมีความรุนแรง แต่หนังนำเสนอด้วยท่าทีสนุกสนาน มีชีวิตชีวา เน้นความไร้เดียงสาของเด็กและสีสันของเกมฟุตบอลที่อยู่ในสายเลือดของชาวบราซิล แทรกเป็นระยะด้วยภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองในระดับไม่เกินสายตาและความเข้าใจของเด็กอย่างเมาโร หนังจึงเข้าถึงง่าย ไม่ตึงเครียดเมื่อถึงฉากที่ตัวละครถูกกระทำ อย่างไรก็ตาม สีสันของเกมฟุตบอลที่ชาวบราซิลเอาใจจดจ่อกับเหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งไม่ถูกเน้นมากนักนี่เองคือแก่นสารของหนัง ในช่วงเวลานั้นรัฐบาลเผด็จการทหารปิดกั้นสื่อทุกประเภทยกเว้นเพียงข่าวและเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกหนที่สามของทีมชาติบราซิล เพื่อหันเหความสนใจของผู้คนจากเรื่องทางการเมืองและการใช้ความรุนแรงต่อผู้ต่อต้านรัฐบาล หนังสะท้อนภาพเช่นนั้นผ่านผู้คนแวดล้อมของเมาโรที่นั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์ชมการถ่ายทอดสดนัดชิงชนะเลิศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่นานเพิ่งมีการกวาดล้างนักศึกษาในมหาวิทยาลัย หนังให้เมาโรผละจากหน้าจอโทรทัศน์ก่อนจบเกมการแข่งขัน และให้เมาโรมอบลูกฟุตบอลคู่ชีพแก่ฮันนา เพื่อสื่อว่าสุดท้ายแล้วเมาโรก็คิดได้ว่าอะไรสำคัญและมีความหมายมากกว่าเกมฟุตบอล อันที่จริง นี่ไม่ใช่หนังบราซิลเรื่องแรกที่ใช้เกมฟุตบอลสะท้อนภาพเผด็จการทหาร เมื่อปี 1982 หนังเรื่อง Pra Frente, Brasil หรือ Go Ahead, Brazil มีภาพการทรมานนักโทษในห้องใต้ดินขณะที่ตามท้องถนนประชาชนกำลังเฉลิมฉลองแชมป์ฟุตบอลโลก หนังถูกแบนและทำให้ผู้บริหารสตูดิโอที่สร้างหนังเรื่องนี้ถูกไล่ออก สารอีกประการหนึ่งที่หนังนำเสนอคือ การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนของคนต่างเผ่าพันธุ์-เชื้อชาติในเซาเปาโลหรือในบราซิล อาจเนื่องจากความประทับใจส่วนตัวของผู้กำกับฯเพราะเขามีส่วนผสมหลายเชื้อชาติอยู่ในตัว นอกจากความสนุกสนานมีชีวิตชีวาแล้ว ส่วนดีอีกอย่างหนึ่งของหนังคือ ผู้สร้างปล่อยให้เรื่องราวดำเนินไปโดยไม่ได้เน้นใส่อารมณ์ให้หนักมือจนซ้ำรอยกับหนังแนวใกล้เคียงกันนี้เรื่องอื่นๆ เช่นฉากที่เมาโรได้พบแม่อีกครั้งในช่วงท้าย หนังไม่ได้เน้นให้ซาบซึ้งน้ำตาท่วม หรือส่วนที่เกี่ยวกับความผูกพันระหว่างเพื่อนต่างวัย(ชโลโมกับเมาโร) ซึ่งมีหนังนับไม่ถ้วนเคยทำมาแล้ว หนังก็ไม่ได้ขยายให้ลึกซึ้งเกินความจำเป็น รายละเอียดของยุคสมัยถูกใส่เข้ามาเพื่อรองรับและรื้อฟื้นความทรงจำของผู้ชม เช่น สมุดภาพนักฟุตบอลทีมชาติซึ่งเมาโรเก็บสะสม บทเพลงร็อคแอนด์โรล บทสนทนาเกี่ยวกับคำพูดของ ซาลดันญ่า โค้ชทีมชาติบราซิล(ภายหลังถูกเปลี่ยนตัวก่อนฟุตบอลโลกเริ่มต้น) ที่บอกว่าเปเล่และทอสเทาไม่ควรเล่นด้วยกันเพราะเหมือนกันเกินไปซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ในยุคนั้น รถโฟล์คเต่าของพ่อที่เมาโรเฝ้าคอยว่าเมื่อไรจะปรากฏให้เห็นก็เป็นที่นิยมในช่วงเวลาดังกล่าวเนื่องจากบราซิลเป็นหนึ่งในประเทศที่มีโรงงานผลิต และผู้ว่าการเซาเปาโลได้มอบรถโฟล์คเต่าเป็นของขวัญแก่นักฟุตบอลชุดแชมป์โลกปี 1970 ทุกคน (ต่อมาเขาถูกดำเนินคดีว่าไม่ได้ใช้เงินส่วนตัวซื้อ)รายละเอียดแห่งยุคสมัยนี่เองทำให้หนังมีอารมณ์ถวิลหาลอยอ้อยอิ่งอบอวลอยู่ด้วย บล็อกที่เกี่ยวข้อง : โฮม อะโลน กับเปเล่ : อีกครั้งกับความมักง่ายของบริษัทดีวีดี
Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2552
3 comments
Last Update : 30 มกราคม 2553 7:16:42 น.
Counter : 2479 Pageviews.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [? ]
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................select movie / blog ....... --international-- ....... The Walking Dead I Wish I Knew 127 Hours The Expendables vs. Salt No puedo vivir sin ti Bright Star The World is Big and Salvation Lurks Around the Corner Sin Nombre Invictus Afghan Star Moon Gigante The Promotion An Education Up in the Air Snow (Snijeg) Liverpool Tahaan Lion's Den Tulpan Everlasting Moments Absurdistan Topsy-Turvy Ramchand Pakistani The Pope's Toilet Antonio's Secret พลเมืองจูหลิง Flashbacks of a Fool And When Did You Last See Your Father? The Boy in the Striped Pyjamas Gran Torino Departures Gomorra Abouna + Daratt Grace Is Gone The Road to San Diego Into the Wild Slumdog Millionaire The Silly Age The Year My Parents Went on Vacation It's Hard to Be Nice Ben X Caramel The Class Kings จาก Kolya ถึง Empties The Unknown Woman Dokuz Heima Cocalero The Blood of My Brother & Iraq in Fragments 12:08 East of Bucharest Rescue Dawn Mongol 6 : 30 Something Like Happiness To Each His Cinema The Counterfeiters ข้างหลังภาพ Lions for Lambs + Michael Clayton Father and Daughter Possible Lives กอด The Buried Forest รัก-ออกแบบไม่ได้ Lights in the Dusk The Piano Teacher Do You Remember Dolly Bell? Sisters in Law Al Otro Lado A Time for Drunken Horses Zelary Bug The Invasion The Science of Sleep Paris, I love you Still Life The Lives of Others Heading South Renaissance ABC Africa The Death of Mr. Lazarescu Maria Full of Grace The Last Communist Eli, Eli, lema sabachthani? 4 : 30 Late August, Early September The Circle The Cave of the Yellow Dog Italian for Beginners Love/Juice Your Name is Justine The Syrian Bride Dragon Head Reconstruction Eros The Scarlet Letter The Night of Truth Familia Rodante Bonjour Monsieur Shlomi Lantana Flanders Tokyo . Sora The World Whisky Buffalo Boy S21 : The Khmer Rouge Killing Machine Fire, Earth, Water C.R.A.Z.Y. All about My Mother Jasmine Women Battle in Heaven The Day I Became a Woman Man on the Train CSI : Grave Danger Innocence Life Is a Miracle Drugstore Girl Der Untergang The Bow Happily Ever After The Wayward Cloud The House of Sand Or, My Treasure Janji Joni Moolaade Vodka Lemon Angel on the Right Twentynine Palms The Taste of Tea ....... --independent-- ....... Goodbye Solo The Hurt Locker (500) Days of Summer Towelhead Kabluey Three Burials of Melquiades Estrada Titus Chuck & Buck The Woodsman Pollock Last Days The Limey Inside Deep Throat Coffee and Cigarettes Garden State My Name is Joe Sexy Beast Real Women Have Curves The Brown Bunny Before Sunset Elephant Bubble You Can Count on Me 9 Songs ....... --classic-- ....... Memories of Underdevelopment (1968) The Last Laugh The Snows of Kilimanjaro The Cabinet of Dr.Caligari Nanook of the North The Apu Trilogy ....... --หนังมีไว้ให้คิด-- ....... The Schoolgirl's Diary Long Road to Heaven The Imam and the Pastor Maquilapolis ....... --what a film!-- ....... Kabuliwala (1956) Macunaima (1969) Kozijat rog (1972) The Girl and the Echo (1964) Fruits of Passion (1981) Happy Gypsies (1967) ....... --introducing-- ....... Death Race 2000 (1975) ซอมบี้ปากีฯ+ผีดิบมาเลย์+ซูเปอร์แมนตุรกี Zinda Muoi Father and Daughter ....... --directed by-- ....... Ouran (1968) Pierwsza milosc (1974) Salome (1978) 4 หนังสั้น เคียรอสตามี recommended ....... - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับภาพยนตร์ - เทมาเส็ก พิคเจอร์ส - Heading South - Still Life - The Apu Trilogy - The Day I Became a Woman - จาก Fire, Earth สู่ Water พญาอินทรี ศราทร @ wordpress
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28