'หัวใจ๋ข้า หัวใจ๋เจ้า ห้อยอยู่เก๊าเดียวกั๋น' *
*คลิกเพื่ออ่านคำแปลเจ้า :)
~ข้อปฏิบัติที่ลัดสั้น ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๖)

...
สมถะกรรมฐานเป็นอุบายให้สงบ เหมือนกับเอาหินทับหญ้า เอาหินออกแล้ว หญ้างามเหมือนเดิม หรือบางครั้งบางคราวอาจจะงามกว่าเดิมก็ได้ คนไปทำความสงบแบบนั้นนะ บางทีคนอื่นมาพูดให้....โกรธเร็วกว่าเดิม แล้วก็หนักแน่นกว่าเดิมอีกซะด้วยเนี่ยะ อันนั้นแหละ เราไม่รู้ แต่เรารู้จำ เรารู้มาจากครูบาอาจารย์ ไม่ได้เป็นความรู้ของตัวเอง ไม่ใช่เป็นความรู้แจ้ง ไม่ใช่เป็นความรู้จริง...เรื่องนี้ อาตมารับรองได้จริงๆ เรื่องนี้


อาตมาจึงไม่ทำ เรื่องนั้นก็มา...ก็เลิกได้ เลิกได้จริงๆ เรื่องนี้ แล้วก็เดินไปเดินมา ตอนนี้เป็นสองครั้ง รู้จักศีล รู้จักความสงบ เดินไปเดินมา ก็เลยมาเห็นสภาพ หรือภาวะความเป็นอยู่ของตัวเอง อาตมาเคยพูดอย่างนี้ เอาเชือกมาผูกไว้ทางนั้นส้นนึง ผูกทางนี้จึงมีหลัก แล้วตัดตรงกลาง เมื่อตัดตรงกลางแล้ว มันขาดออกจากกัน มันก็เลยไม่ถึงกัน เมื่อไม่ถึงแล้วบัดนี้เราไปแก้ทางส้นนั้นมา แก้ส้นนี้มา เอามาถึงตรงกลาง สองส้นไม่ถึงแล้ว บัดนี้เรามาเอาแก้ไปถึงสองส้น ตรงกลางไม่ถึงแล้ว อันนี้อาตมาเปรียบเทียบตัวเองนะ...อันนี้

แต่ลักษณะนั้นมันปรากฏขึ้นมา มันจืด....(ลากเสียงยาว)...หมดทั้งตัวทั้งตนทีเดียว เหมือนเอาสำลีไปชุบน้ำแล้วบีบน้ำออกเลย สำลีมันก็แห้งอยู่แล้ว แต่เราเอาไปชุบน้ำเท่านั้นเอง เมื่อเราไม่เอาสำลีไปชุบน้ำ สำลีมันเป็นธรรมชาติ มันแห้งอยู่แล้ว แต่สำลีมันเอาน้ำเร็ว

อันนี้แหละ ครูบาอาจารย์ก็เลยนำไปสอนเอาไว้ว่า อายตนะภายนอก-ภายใน อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก เรียกว่าเป็นอายตนะสิบสอง...ท่านว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นภายใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นภายนอก มันจะกระทบเข้ากัน ท่านว่าเห็นแล้วอย่ายึดมั่นถือมั่น อันนั้นเป็นคำพูด


แต่เรื่องนี้เราไปถึงจุดหมายปลายทางมันแล้ว ไม่ต้องพูดอะไร ก็มันมีสภาพอย่างนั้นอยู่แล้ว มันไม่ถึงกันอยู่แล้ว มันจะ...มันจะจุกันได้ยังไง อาตมาก็เลยมาสมมุติว่า เกลียวน็อต หรือเเหวนน็อตที่มันเป็นรถน่ะ ทีแรกมันมีเกลียวมีแหวน เอาไปหันเข้ากัน มันก็จุเข้ากันได้ เอาไปขันน็อต มันก็แน่นทีเดียว บัดนี้ ทำให้เกลียวมันหวาน เกลียวแหวนก็หวาน เกลียวน็อตก็หวาน แต่มันเอาเข้ากันได้ มันไม่จุกันเลย เอา...เอาเข้า มันก็ปุ๊กลงนี่เลย นี่..ทิ่มมันก็ลงไปเลย เอาไปทำรถ รถไม่วิ่งเลย

อันนี้ก็เหมือนกัน ทำที่สุดของทุกข์ ต้องทำที่ตรงนี้ เมื่อไม่รู้อย่างนี้แล้ว มีความสงสัยลังเลใจอยู่ตลอดเวลา อาตมาก็เลยหมดความสงสัย ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ เรื่องพุทธศาสนานี่...ไม่สงสัยจริงๆ ใครจะพูดยังไงก็ฟังได้ แต่ไม่สงสัยกับใคร เรื่องความทุกข์นี้แหละ ก็เลยว่าไม่มีทุกข์แล้วบัดนี้ ใครจะว่าทุกข์ ก็เรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา

คนนี่มันไม่เข้าใจหลักพุทธศาสนา เรื่องนี้มันไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการให้ทาน ไม่เกี่ยวข้องเรื่องการรักษาศีล ไม่เกี่ยวข้องกับการทำสมถะกรรมฐาน ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญวิปัสสนา ถ้าพูดอย่างนี้ก็หาว่า...โอย...เต็มทีแล้ว ทำลายพุทธศาสนา ก็จะหาว่าอย่างนั้นก็ได้

แต่ความจริงอันนี้แหละ ทำให้พุทธศาสนาเจริญ อันนี้แหละที่อาตมาพูดนี่แหละ เป็นการส่งเสริมพุทธศาสนาจริงๆ ให้เรากลับมาดูตัวเรา เราจะเห็น เราจะรู้ เราจะเข้าใจ คนเราเมื่อรู้ เมื่อเห็นแล้ว ก็อยากเอาของนี่ไปให้คนอื่นรู้ด้วย อยากให้คนอื่นเห็นด้วย เพราะเรามีของสิ่งที่มันประเสริฐอยู่ในเราแล้ว ก็อยากให้คนอื่นรู้ได้เหมือนกัน เนี่ยะ...เมื่อพูดอย่างนี้ ก็จะสมมุติให้ฟัง เพชรเนี่ยะมีน้ำหนัก..เออะ..มี..มีค่าร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือทองคำก็ได้ น้ำหนักบาทนึงก็ได้ หรือเพชรก้อนนึงก็ได้ ถ้าทองคำไม่ปลอมนะ สีมันก็ดี เอาไปทำเป็นสร้อยคอ สีมันก็ไม่ตก ราคามันก็คงเดิม เนี่ยะ...มันเป็นอย่างนั้น

บัดนี้ ถ้าเพชรบัดเนี่ยะ เพชรที่ก้อน ถ้าเราเจียรนัยแล้ว โรงงานมันบดออกมาแล้ว เอาไปวางขายในตลาด ก็ราคามันก็ดีเหมือนกัน แต่เพชรที่มันถูกแร่อมอยู่นั่นน่ะ มันก็มีน้ำเพชรร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน ถ้าเอาไปถลุงออกมาแล้ว เอาไปวางในตลาดขาย ก็มีน้ำเพชรเหมือนกัน

ดังนั้น คนทุกคนนี่สามารถที่จะรู้ได้เหมือนกัน จะถือศาสนาไหนก็ได้ อาตมาเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ อาตมาจึงว่าไม่ใช่เกี่ยวข้องเรื่องการให้ทาน ไม่ใช่เกี่ยวข้องเรื่องการรักษาศีล ไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องสมถะกรรมฐาน ไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องวิปัสสนา ทำไมไม่เกี่ยวข้อง อันนั้นมันเป็นเพียงสมมุติพูด..เท่านั้นเอง

ดังนั้น จึงให้รู้จักสมมุติจริงๆ เนี่ยะอันนี่ มันเป็นสมมุติ จึงว่าสมมุติบัญญัติ ปรมัตถ์บัญญัติ อรรถะบัญญัติ อริยะบัญญัติ บัญญัติสี่ข้อเนี่ยะ เราไม่เข้าใจ สมมุติบัญญัตินั้น ตามโวหารชาวโลก เป็นตัวบทกฎหมาย เช่น กระดาษเนี่ยะ เรามาว่าเป็นเงิน...ก็เป็นเงินได้ เมื่อหมดสิทธิแล้วก็เป็นกระดาษตามเดิม

อาตมาไปเมืองลาว เพราะอยู่ใกล้เมืองลาว...คราวนั้น กระดาษเมืองลาวนี่มีค่า เดี๋ยวนี้ไม่มีค่าเลย แน่ะ...มันสมมุติพูดเท่านั้นเอง แม้ละคนทุกคนนี่น่ะ เราควรศึกษาให้รู้จักสมมุติจริงๆ ถ้าหากเราไม่รู้จักสมมุติ เราจะมีความสงสัย ลังเลใจ เมื่อเราไม่เข้าใจธรรมะหลักพุทธศาสนาแล้ว เราจะมีทุกข์ ความทุกข์นั้นมีหลายประเภท ทุกข์ไม่มีเงิน ไม่ต้องพูดถึง ทุกข์เจ็บหัวปวดท้อง ไม่..ไม่ต้องพูดถึง ทุกข์อะไรๆ ไม่ต้องพูดถึง ทุกข์เรื่องสงสัยนี่แหละ มันทุกข์อย่างหนัก ตายแล้วเกิดมั้ย ทำบุญแล้วไปเกิดสวรรค์มั้ย ทำบุญแล้วไปนิพพานมั้ย ทำบาปแล้วไปตกนรกมั้ย โอ๊....มันสงสัยเรื่องนี้มามาก ก็เลยเป็นทุกข์

ทุกข์นี้ก็เรียกว่าอุปาทาน ทุกข์นั้นน่ะเรียกว่าเป็นตัวกรรม ทุกข์นั้นน่ะเป็นกิเลส โอ๊ย...พูดมาก มันก็เลยมาก แต่ความจริงสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงสมมุติเท่านั้น ให้เราปฏิบัติเห็น รู้ เข้าใจ เรื่องนี้แล้ว หมดสงสัยเลย หมดสงสัยจริงๆ อยู่ที่ไหนก็ไม่มีทุกข์ แล้วก็คนไม่มีทุกข์แล้วก็เอาแล้ว..อาตมาว่า...







Create Date : 15 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2550 11:34:06 น. 1 comments
Counter : 639 Pageviews.

 

มาอ่านข้อคิด ธรรมะคำสอน ของท่านหลวงพ่อครับ

สาธุ ... ครับ

อิอิ


โดย: อาคุงกล่อง (อาคุงกล่อง ) วันที่: 15 พฤศจิกายน 2550 เวลา:12:07:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

แม่ไก่
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 184 คน [?]




**หลังไมค์เจ้า**





Cute Clock Click!



เออสิ,มาอยู่ใยในโลกกว้าง
เฉกชลคว้างมาเมื่อไรไม่นึกฝัน
ยามจากไปก็เหมือนลมรำพัน
โบกกระชั้นสู่หนไหนไม่รู้เลย


รุไบยาต ~ โอมาร์ คัยยัม
สุริยฉัตร ชัยมงคล : แปล




Latest Blogs

~ท่านหญิงในกระจก/แสงเพลิง ~

~เพชรรากษส/อลินา ~

~มนตร์ทศทิศ/ราตรี อธิษฐาน ~

~เมื่อหอยทากมีรัก 1-2/"ติงโม่"เขียน/พันมัย แปล ~

~ให้รักระบายใจ/"ณกันต์"เขียน ~

~ผมกลายเป็นแมว/Abandoned/Paul Gallico เขียน(ภูธนิน แปล) ~

~พ่อค้าซ่อนกลรัก & หมอปีศาจแสนรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~อาจารย์ยอดรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~จอมโจรพยศรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~


สารบัญหนังสือ: รวมลิงก์หนังสือที่รีวิวในบล็อก # ๑ + ๒



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่ไก่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.