'หัวใจ๋ข้า หัวใจ๋เจ้า ห้อยอยู่เก๊าเดียวกั๋น' *
*คลิกเพื่ออ่านคำแปลเจ้า :)
~ข้อปฏิบัติที่ลัดสั้น ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๓)

...
เมื่อรู้อย่างนี้ ก็เลยมารู้เรื่องศาสนา รู้พุทธศาสนา ศาสนาทีแรก อาตมาเข้าใจว่าคือวัด หรือพระพุทธรูป หรือมีโบสถ์ มีสิม มีพระสงฆ์องค์เณร เข้าใจอย่างนั้น แต่ก่อนเข้าใจอย่างนั้น พุทธศาสนานั้นก็นึกว่าเป็นตัวคัมภีร์ หรือพระพุทธเจ้า เข้าใจไปอย่างนั้น

แต่เมื่อมารู้แล้ว มันไม่ใช่เป็นอย่างนั้น ตัวศาสนานี้ คือตัวคนทุกคนเลย เข้าใจอย่างนี้ ผู้หญิงก็เป็นศาสนา ผู้ชายก็เป็นศาสนา คนไทย คนจีน คนฝรั่งอังกฤษ คนอเมริกา คนเขมร คนญวน คนลาว ใครๆ ก็ตาม จะถือศาสนาไหนก็ตาม นุ่งผ้าสีอะไรก็ตาม ตัวศาสนาคือตัวคนทุกคนเลย เข้าใจอย่างนี้


ตัวพุทธศาสนา คือตัวสติ ตัวปัญญาเข้ามารู้ตัวเองนี่แหละ เรียกว่า พุทธะ จึงแปลว่าผู้รู้ ก็เลยเข้าใจอย่างนั้น บาป...บัดนี้ บาปคือความไม่รู้ ว่าอย่างนั้น อันความไม่รู้นี้ เป็นบาปหนักที่สุด บุญคือรู้ อันรู้เนี่ยะ เป็นต้นบุญ ก็เลยเข้าใจอย่างนั้น รู้อย่างนี้แล้วก็เลย...ไม่มีทุกข์ เรื่องสมมุตินี้ไม่มีทุกข์

แต่คราวนั้น อาตมายังไม่รู้ความคิด ยังไม่รู้จริงๆ แต่มันรู้...มันติดรู้ มันติดรู้ ก็เลยเป็นวิปัสสนู เป็นวิปัสสนู...ก็เลยไม่รู้ตัวเอง เป็นวิปัสสนูตั้งแต่เช้าเย็น ตั้งแต่เช้าจนเย็นนะ มันเป็นวิปัสสนู มันรู้...รู้ไปทั้งหมดเลย มันก็เลยไปติดความรู้ มันเข้าไปในความคิดแล้ว อันนี้แหละ

ดังนั้น ที่มาที่นี่ ต้องทำตัวทุกๆ คน ให้เป็นเม็ดข้าวอ้วนๆ เต็มๆ จะเป็นข้าวเจ้าก็ตาม ข้าวเหนียวก็ตาม คำว่าข้าวเจ้า ข้าวเหนียว นี่ก็หมายถึง บวชก็ได้ ไม่บวชก็ได้ เป็นผู้หญิงก็ได้ เป็นผู้ชายก็ได้ นุ่งผ้าสีอะไรก็ได้ เนี่ยะ...หมายถึงข้าวเปลือก ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว แต่มันมีใน มันเต็มดี เอาไปเพาะ..แตกขึ้นมา งอกขึ้นมาทันที ถ้าเป็นข้าวเจ้า ข้าวเหนียวก็ตาม ถ้าไม่มีใน เขาเรียกว่าข้าวลีบ เอาไปเพาะ...ไม่งอก

ดังนั้น เรามาฟังนี้ก็เหมือนกัน ต้องฟังด้วยความจริงใจ และฟังด้วยความซาบซึ้งจริงๆ เราก็รู้ ที่พูดให้ฟังนี่ รู้แล้วเนี่ยะ แต่พยายามให้ความรู้ ให้เรารู้ตามคำพูดอันนั้น แต่อย่าให้รู้ตามอาตมา ให้รู้ตามคำพูดอันนั้น.. พิจารณาให้เห็นอันนั้นจริงๆ เป็นอย่างนั้น

บัดนี้ ความรู้อันนี้มันดีใจ ยังไม่ไช่เป็นใจดี มันดีใจ พอมันดีใจ มันก็เลยไปภูมิในความรู้อันนั้นเลย...ภูมิใจ รู้แล้ว...โอ้โถ...แสดงธรรมนี่ไม่เกาะไม่ข้อง ใครจะมาถามยังไง แก้ปัญหาคนได้ทุกแง่ทุกมุมจริงๆ อันนี้แหละเราไม่รู้ แต่ความรู้นั้น เรื่องปัญญา รู้จริงๆ นั้น...คือรู้เรื่องรูป-นาม รูปทำ นามทำ หรือทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดถึงบาป-บุญนี่ อันนั้นเป็นความรู้ของปัญญา เป็นวิปัสสนาพื้นๆ อันเนี่ยะ เรียกว่า ยังไม่ใช่เป็นวิปัสสนาอย่างแท้จริง ความรู้แบบนี้ฟังแล้วเกิดปัญญารู้..อันนี้ และคนมีปัญญาอย่างแหลมคม หรือดอกไม้เฉพาะมันจะบานแล้วนี่ พอดีแสงตะเว็นออกมา โผล่ออกมา...ก็รู้ทันที

อย่างท่านมานั่งฟัง ก็...โอ๊...จริง รู้ได้จริงๆ อันนี้ ดอกไม้มันบานได้ สมมุตินะนี่ แต่ดอกที่สองนั้น ฟังสองครั้งสามครั้ง...ไม่เข้าใจ...บางคน เพราะไม่ตั้งใจฟังนี่ ดอกที่สามก็ยิ่งแล้วไป เว่าให้ฟังตั้งเก้าหนสิบหน ก็ยังไม่เข้าใจ เหล่าที่สี่นั้น...ยังเฉยอยู่ แน่ะ...ยังเฉย ยังไปติดอารมณ์อะไร....(มีเสียงคนคุยกันแทรกขึ้นมา).เลยไม่ได้ยินกัน สมมุติเทศน์กันเป็นจำนวนมากๆ นี่ บางคนไม่ฟังเลย ไม่สงวนเรื่องอะไรนะ...ไม่รู้เลย....อันนี้เป็นอย่างนั้น

บัดนี้ ตอนแลงมา(ตอนเย็น) อาตมาไปสรงน้ำ เดิน..บัดนี่ เดินไป เดินมา เดินไป เดินมา เรียกว่า เดินจงกรม คล้ายๆ คือมีคนมาผลักดันข้างอาตมานี่แหละ....วูบหนึ่ง อาตมา...เอ๊ะ...มันเป็นอะไรอย่างหนึ่ง เลยหา หามันไม่เจอ..ไม่เห็นอะไรเลย เพราะความคิดมันไม่มีตัวไม่มีตน ก็เลยหาความคิดไม่เห็นด้วยตา แล้วจับก็ไม่ได้...บัดนี่ ก็เลยเดินไป เดินมา มันคิดวูบขึ้นมาครั้งที่สองนี่ อาตมา...อื๊อ...ความคิด...มันคิดมาจากที่ไหน ก็มองอย่างนั้น....หา...ยังไม่ได้สมุฏฐาน ยังไม่ได้ที่เลย

เดินไป เดินมา มันคิดขึ้นมาวูบที่สามนี่ อาตมารู้ทันที จับได้เลย เอ๊....มันคิดมาจากที่นี่ ว่าซั่น เราต้องทำเหมือนแมวกับหนู ว่าอย่างนั้น เพราะอาตมาจึงว่าเป็นนิสัยเรื่องแมวกับหนู เลยพูดเรื่องนี้มา คอยดูหนูมันออกมา...เเมวมันจ้องจับทันที

อันนี้ อาตมาก็เลยมาคอยดูความคิดของอาตมา มาดูไป...ดูมา มันคิดขึ้นมาก็รู้ รู้เท่า รู้ทัน รู้จักกัน รู้จักแก้จริงๆ รู้จริงๆ ในขณะนั้น


บัดนี้ ตอนรู้ขณะนี้แหละ มันรู้จักวัตถุ สมุฏฐานของความคิดทุกแง่ทุกมุม แม้วัตถุที่นำ(อยู่ติด)เนื้อนำหนังเราเนี่ยะ..รู้จัก แม้ต้นไม้ ภูเขา ดินฟ้าอากาศ เป็นวัตถุ ภายนอก ภายใน เป็นวัตถุของจิตใจ อาตมารู้จริงๆ ในขณะนั้น คำว่าปรมัตถ์นี่ ปรมัตถ์แปลว่าของจริง

ปรมัตถ์นี่มีสองความหมาย พ้นไปจากสมมุติก็ได้ หรือกำลังเห็นอย่างที่เรามานั่งอยู่นี่ เห็นอาตมาพูดเดี๋ยวนี้เนี่ยะ แล้วก็ฟังเสียงก็ได้ยิน อันนี้ก็เป็นปรมัตถ์เนี่ยะ ปรมัตถ์จึงมีสองแง่สองมุม


เมื่อเห็นอย่างนี้ ก็เห็นอาการ ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจ....อาตมารู้จริงๆ เมื่อรู้อย่างนี้ ลักษณะโทสะ มันคิดอย่างนั้น ลักษณะโมหะ มันเป็นอย่างนั้น ลักษณะโลภะ มันเป็นอย่างนั้น

แต่ความจริง มันไม่ได้มีที่เรา คือมันมีอยู่ในความคิด ลักษณะความคิดขึ้นมานี่ เราคิดไปแล้ว เราไม่เห็น ไม่รู้ความคิด แล้วลักษณะนั้นน่ะ โทสะ โมหะ โลภะ มันมาซ้อนอยู่ในความคิดนั้น แต่ความคิดนั้นมันไม่ได้มีที่เรา มันคิดขึ้นมา สิ่งนั้นมันเข้ามาทันที

อาตมาก็เลยรู้สมุฏฐานอันนี้ จึงว่านำมาสอนพวกเรา หรือนำมาเล่าให้พวกเราฟัง ให้พวกเราพยายามดูการเคลื่อนไหว และให้พวกเราพยายามดูความคิด ที่อาตมาพูดอย่างนี้ คือไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรทั้งหมดเลย รับรองได้จริงๆ นี้ตั้งแต่บัดนั้นมา อาตมา...เรื่องความโกรธนี้มันหายไปเอง ความโลภมันก็หายไป ความหลงมันก็หายไป เพราะมันไม่มีนี่ มันไม่มี มันจะไปหามาที่ไหน หาความโกรธไม่มี หาความโลภไม่มี หาความหลงไม่มี มันไม่มีจริงๆ เรามาทำความตื่นตัว ความรู้สึกตัวนี่แหละ เข้ามาให้เรามากๆ











Create Date : 12 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2550 12:28:53 น. 0 comments
Counter : 508 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

แม่ไก่
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 184 คน [?]




**หลังไมค์เจ้า**





Cute Clock Click!



เออสิ,มาอยู่ใยในโลกกว้าง
เฉกชลคว้างมาเมื่อไรไม่นึกฝัน
ยามจากไปก็เหมือนลมรำพัน
โบกกระชั้นสู่หนไหนไม่รู้เลย


รุไบยาต ~ โอมาร์ คัยยัม
สุริยฉัตร ชัยมงคล : แปล




Latest Blogs

~ท่านหญิงในกระจก/แสงเพลิง ~

~เพชรรากษส/อลินา ~

~มนตร์ทศทิศ/ราตรี อธิษฐาน ~

~เมื่อหอยทากมีรัก 1-2/"ติงโม่"เขียน/พันมัย แปล ~

~ให้รักระบายใจ/"ณกันต์"เขียน ~

~ผมกลายเป็นแมว/Abandoned/Paul Gallico เขียน(ภูธนิน แปล) ~

~พ่อค้าซ่อนกลรัก & หมอปีศาจแสนรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~อาจารย์ยอดรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~จอมโจรพยศรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~


สารบัญหนังสือ: รวมลิงก์หนังสือที่รีวิวในบล็อก # ๑ + ๒



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่ไก่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.