Group Blog
 
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 มกราคม 2559
 
All Blogs
 

ตำนานความเป็นมาขนมไทย"กระยาสารท" สูตรกระยาสารท พร้อมวิธีทำ


กระยาสารท กับขนมที่..."สืบมาแต่พุทธกาล"
ประเพณีวันสารท ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ การทำบุญในประเพณีนี้ อาหารหวานที่ใช้ถวายพระในวันนั้นคือ กระยาสารท สังเกตได้ว่า การทำบุญวันสารททุกวัด จะแน่นไปด้วยมหกรรมกระยาสารท ร้อยบ้านก็ร้อยรสชาติ

  ในอดีตเมื่อถึงเทศกาลสารทไทย จะมีการกวนกระยาสารทแข่งกันเป็นที่สนุกสนาน และตามธรรมเนียมแล้ว คนรุ่นเก่าจะนิยมนำกระยาสารท ซึ่งถือเป็นขนมชั้นดีไปมอบให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ หรือแลกกันกินเป็นการประชันฝีมือกันอีกด้วย และถ้าจะกินกระยาสารทให้ครบเครื่องจริงๆ จะต้องมีมะพร้าวขูดโรยบนกระยาสารทแล้วกินคู่กับกล้วยไข่ 

 การทำบุญในเทศกาลสารทนี้ ทั่วทุกภูมิภาคของไทยจะทำบุญวันสารทไทยเหมือนกัน แต่เรียกชื่อต่างกันไป ในภาคใต้เรียก "ประเพณีชิงเปรต" ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก "ทำบุญข้าวสาก" ภาคเหนือเรียก "ตานก๋วยสลาก"

  อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาก็เป็นไปในทางเดียวกัน คือ ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ปู่ย่าตายายและญาติมิตรทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง

พระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต วัดราชบุรณราชวรวิหาร และผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ฝ่ายกิจการต่างประเทศ บอกว่า ในทางพระพุทธศาสนาได้บันทึกไว้ในอรรถกถาเมตตาภาวสูตรบทที่ว่า สรทสมเย ได้แก่ ในสารทกาล (ฤดูใบไม้ร่วง) เดือนอัสสยุชะ (เดือน ๑๑) และเดือนกัตติกะ (เดือน ๑๒) ท่านเรียกฤดูสารทในโลก (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่ม ๑ ภาค ๔)


 จึงเป็นอันสรุปได้ว่า "สารทเป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารช่วงปลายฤดูฝนเริ่มเข้าต้นฤดูหนาว โดยเหตุที่ความเชื่อของชาวอินเดียผูกพันอยู่กับเทพเจ้าในธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อได้ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวคราวแรกจึงนำไปบวงสรวงบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน ซึ่งความเชื่อเช่นนี้ คงมีอยู่ทั่วไปในสังคมบรรพกาลทั่วโลก"

  สารท (สาด) นี้ เป็นคำที่เรายืมอินเดียมาใช้ทั้งคำ ต่างแต่อินเดียจะออกเสียงว่า สา-ระ-ทะ และไม่ได้ใช้เรียกเฉพาะวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เท่านั้น แต่ยังเป็นชื่อของฤดูกาลในประเทศอินเดียอีกด้วย ซึ่งจะตกอยู่ในช่วงเดือน ๑๐-๑๒ ตามปฏิทินจันทรคติ


 ของที่ทําในเทศกาลสารทถวายพระสงฆ์นี้ เรียกว่า "กระยาสารท" แปลว่า "อาหารที่ทําให้ฤดูสารท" กระยาสารทนี้คงจะเนื่องมาจากข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารของชาวอินเดีย ใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน และไม่กําหนดว่าทําเฉพาะฤดูสารท บางทีเขาทํากินกันเอง เช่น ที่นางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าก็เป็นเวลาเดือนหก


 เฉพาะในประเทศไทย ที่ได้รับอิทธิพลความเชื่อจากอินเดียผ่านอารยธรรมยุคต่างๆ ในภูมิภาคแถบอุษาคเนย์นี้ ก็คงเลือกรับปรับประยุกต์เข้ามาเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตบ้างไม่มากก็น้อย กระทั่งเมื่อประชาชนได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนามากขึ้น การเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้าด้วยผลผลิตจากการเพาะปลูกจึงเคลื่อนตัวมาเป็นการทำบุญถวายทาน ตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา


 แต่ถึงกระนั้น ก็มิได้หมายความว่า ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในธรรมชาติจะหมดไปเสียทีเดียว ดังจะพบได้จากพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่โพสพ เช่น การทำพิธีรับขวัญข้าว เป็นต้น


 "ผู้ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์แล้วกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงคราวที่เคยทําบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ก็จัดทําถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทําแก่พราหมณ์ ถือกันว่า การทําบุญด้วยของแรกได้เป็นผลานิสงส์อย่างยิ่ง และเมื่อทําบุญแล้ว มักจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทําพิธีอุทิศให้แก่ผู้ตายของชาวฮินดูเรียกว่า ศราทธ์ เสียงเหมือนกับคําว่า สารท ในภาษาไทยซึ่งเป็นชื่อฤดู" พระมหาสุเทพกล่าว

Smiley
ขนมที่..."สืบมาแต่พุทธกาล
พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทฺโธ) พระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย ประธานสงฆ์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย ปฏิบัติการเจ้าอาวาส วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล บอกว่า นอกจากกระยาสารทที่มักทำเฉพาะเทศกาลสารทแล้ว ก็ยังมีข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส และข้าวทิพย์ ซึ่งแม้จะเรียกต่างกัน แต่ปัจจุบันจะหมายรวมๆ กันไป

ข้าวยาคู มีตำนานเล่ามาว่า มีชาวนาพี่น้องสองคน คนโตชื่อว่า มหาการ น้องชื่อ จุลการ มีไร่นา กว้างใหญ่ ในฤดูที่ข้าวตั้งท้องออกรวง คนน้องเห็นว่าควรจะนำข้าวนั้นมาทำอาหารถวายพระพุทธเจ้า ผู้ทรงนามว่า วิปัสสี แต่พี่ชายไม่เห็นด้วย เพราะจะต้องเสียข้าวในนาจำนวนไม่น้อย น้องชายจึงแบ่งไร่นาและนำเมล็ดข้าวในสวนไร่นาของตนไปทำอาหารที่เรียกว่า ข้าวยาคู ไปถวายพระวิปัสสี และอธิษฐานขอให้เกิดในบวรพระพุทธศาสนา ซึ่งภายหลังจุลการได้เกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะ
 สำหรับข้าวยาคูนี้ จุลการได้นำข้าวสาลีที่กำลังท้องฉีกรวงข้าวอ่อนออกมา แล้วต้มในน้ำนมสด เจือด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด
Smiley
 ส่วนข้าวมธุปายาส คือข้าวที่หุงเจือด้วยน้ำนม และน้ำผึ้ง มีตำนานเล่าว่า นางสุชาดา ลูกสาวเศรษฐีปรุงขึ้นเป็นอาหารไปแก้บน และได้เห็นพระพุทธเจ้า เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ประทับใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร) ก็เข้าใจพระองค์เป็นเทพยดา จึงนำอาหารนั้นไปถวาย พระโพธิสัตว์จึงได้เสวยข้าวมธุปายาสเป็นอาหารมื้อสุดท้าย ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

 จึงมีความเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาส เป็นอาหารวิเศษ ผู้ใดมีวาสนาได้กินแล้วจะมีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย อุดมด้วยสติปัญญา และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

Smiley
สำหรับข้าวทิพย์ จะหมายถึง อาหารอันโอชะ ที่มีเครื่องปรุงถึง ๑๐๘ ชนิด (หากทำแบบโบราณ) แต่โดยหลักๆ ก็มี ๙ อย่าง คือ น้ำนมข้าว เนย น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำตาล นม ถั่ว งา และข้าวเม่า ซึ่งการกวนแต่ละครั้งก็ต้องประกอบพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ต้องใช้สาวพรหมจารีย์กวน ฟืนที่ใช้ต้องเป็นไม้ชัยพฤกษ์ หรือไม้พุทรา เท่านั้น ส่วนไฟก็ต้องเกิดจากแดดผ่านแว่นขยายที่เรียกว่า “สุริยกานต์” เป็นต้น

Smiley
"การทำบุญในเทศกาลสารท ไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาก็เป็นไปในทางเดียวกันคือ ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ปู่ย่าตายายและญาติมิตรทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง"
0 เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0


กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนของนายมีว่า

เมื่อเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพาน พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ
กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย

นอกจากนี้ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานกวนกระยาสารท กล้วยไข่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา ในวันงานจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทอดผ้าป่าแถว การประกวดพืชผลทางการเกษตร เช่น กล้วยไข่ รวมทั้งการแสดงสินค้าพื้นเมืองด้วย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เครดิตภาพ pantip.com
ส่วนผสมและสัดส่วน กระยาสารท
1. ข้าวตอก 1 ½ กิโลกรัม
2. ถั่วลิสง 6 กิโลกรัม
3. งาขาวคั่ว 5 กิโลกรัม
4. ข้าวเม่า 12 กิโลกรัม
5. แบะแซ 8 กิโลกรัม
6. น้ำตาลปี๊บ 15 กิโลกรัม
7. กะทิ 12 กิโลกรัม
วิธีปรุง กระยาสารท
1. นำถั่วลิสง งา ข้าวเม่า มาคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วพักไว
2. นำกะทิมาเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ จนน้ำตาลละลาย จากนั้นใส่แบะแซลงไปผสม เคี่ยวให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน หรือจนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม
3. ใส่ถั่วลิสง ข้าวตอก ข้าวเม่า งาขาวที่คั่วเตรียมไว้ลงไปผสมในน้ำกะทิ เคี่ยวไปเรื่อยๆโดยใช้ไฟอ่อน ประมาณ30 นาที
4. ตักใส่ถาดสี่เหลี่ยม พักไว้พออุ่น ตัดเป็นสี่เหลี่ยม พักไว้ให้เย็น
SmileyCr: //goo.gl/V0TuZY




 

Create Date : 31 มกราคม 2559
2 comments
Last Update : 31 มกราคม 2559 0:39:41 น.
Counter : 6980 Pageviews.

 

ดีจังเลยค่ะ มีประวัติพร้อมวิธีืทำด้วย

 

โดย: sawkitty 31 มกราคม 2559 19:14:05 น.  

 

น่าทานค่า

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 5329215 15 สิงหาคม 2562 10:53:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


โอพีย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




Occupation A Certified Nursing Assistant(CNA)@ USA
and Blogger at Bloggang Thailand.




BlogGang Popular Award #10

BlogGang Popular Award #11

Free counters!
Friends' blogs
[Add โอพีย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.