Group Blog
 
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
30 มกราคม 2559
 
All Blogs
 

เกร็ดความรู้เรื่องบทกลอนไฮกุ

อนุสาวรีย์ของบะโชในเมืองโองะกิ จังหวัดกิฟุ
รู้สึกว่าเมื่อหลายเดือนก่อน ไปเจอบทกลอน ไฮกุ ที่บล็อกของคุณ กะว่าก๋า  แต่ตัวเราเองไม่ทราบเรื่องความเป็นมา ตำนานหรือประวัติของ ไฮกุ เลยวันนี้มีโอกาสได้เจอประวัติตำนาน ไอกุ อีกครั้ง รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเลยนำมาฝากจ้ะ
Smiley
ประวัติไฮกุ
ไฮกุมาจากบทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ไฮไค (Haikai) หรือ เร็งกุ (Renku) ต่อมาในสมัยเอโดะ ท่านปรมาจารย์ มะสึโอะ บะโช(ค.ศ. 1644-1694) ได้ขัดเกลาและสร้างแบบแผน ซึ่งต่อมาในสมัยเมจิได้มีการเรียกการประพันธ์ในแบบนี้ว่าไฮกุ ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นที่นิยมแต่งไฮกุถึง 10 ล้านคน และชาวต่างประเทศที่รักการแต่งไฮกุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งในหมู่ชาวไทย
Smiley
ไฮกุ (俳句, haiku) เป็นบทกวีญี่ปุ่น มีบทบาทมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไฮกุเป็นบทกวี โดยที่กวีอื่นมีความยาวมากน้อยต่างกันและมีบังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์ ทำให้บทกวีดังกล่าวไม่เหมาะกับการแสดงออกถึงปรากฏการณ์ทางจิต-วิญญาณและความลึกซึ้งออกมาได้ เนื่องจากบทกวีได้ถูกบังคับยึดติดกับรูปแบบและข้อจำกัดตายตัว แต่บทกวีไฮกุได้ตัดทอนลงให้เหลือเพียงตัวอักษร 3 วรรค ยาว 5-7-5 รวมเป็นตัวอักษรเพียง 17 ตัวเท่านั้น ไฮกุ มีพื้นฐานคือ เรียบง่าย และ ดั้งเดิม จึงไม่ยึดติดกับแบบแผน ไม่มีข้อจำกัด ไหลเรื่อยตามธรรมชาติ สั้นกระชับที่สุด ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน ตามสภาวะสัจจะล้วนๆ เรียบง่ายและตรงความรู้สึก ออกมาจากใจของกวี โดยปราศจากอุปสรรคขวางกั้น แสดงความงาม ความเศร้า ความสงบ ความปิติ ความเก่าแก่ เปลือยเปล่าอยู่ภายใต้แสงแดดอันอบอุ่น ในวินาทีแห่งการสร้างสรรค์สิ่งอัศจรรย์ที่ไฮกุได้ถือกำเนิดขึ้น

「朝顔に釣瓶とられてもらひ水」

อา เจ้าดอกบานเช้า
ถังน้ำถูกเถาของเจ้าพัวพัน
ฉันวอนขอน้ำน้อยหนึ่งได้ไหม
--ชิโย
ในครั้งกระนั้นกวีหญิงชิโยมาตักน้ำในบ่อน้ำเธอได้พบว่าที่ตักน้ำได้ถูกเกี่ยวกระหวัดไว้ด้วยเถาของดอกบานเช้า (มอร์นิงกลอรี เธอได้ตะลึงงันด้วยความงามของมันจนลืมนึกถึงงานที่จะต้องทำ เมื่อมีสติ จึงนึกถึงภาระที่ต้องทำขึ้นมาได้ แต่เธอก็ไม่อยากจะไปรบกวนดอกไม้นั้น เธอจึงไปตักน้ำที่บ่อของเพื่อนบ้านแทน

「艸の葉を遊びありけよ露の玉」

เริงรำจากใบหญ้าใบนี้
สู่ใบโน้น
หยกหยาดน้ำค้าง

--รานเชตสุ
บทกวีรานเชตสุแสดงออกถึงความปิติรื่นเริงเบิกบานอย่างแท้จริง เมื่อชีวิตได้รับการหล่อเลี้ยงจากความงาม ย่อมเต็มเปี่ยมด้วยปิติสุข น้ำค้างเป็นตัวแทนของความปิตินี้ ไหลหยดย้อยด้วยลีลาของธรรมชาติ ดั่งการร่ายรำของหยาดน้ำค้าง จากใบหญ้าใบนี้สู่ใบโน้น น้ำค้างที่บริสุทธิสะอาดและประกายแวววับดุจหยกเมื่อต้องแสงอาทิตย์

จิตวิญญาณของกวีไฮกุ ได้ถ่ายทอดอย่างตรงไปตรงมาและมีความเกี่ยวข้องกับลัทธิเต๋าและนิกายเซนอย่างที่สุด
Smiley
รายชื่อนักกวีไฮกุที่สำคัญ
มะสึโอะ บะโช (Matsuo Bashō - 松尾芭蕉)มะสึโอะ บะโช
มะสึโอะ บะโช [ ญี่ปุ่น : 松尾芭蕉 Matsuo Bashō, พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ] หรือ บะโช เป็นนามแฝงของ มะสึโอะ มุเนะฟุซะ (Matsuo Munefusa) เป็นกวีชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งได้รับสมญานามเป็นปรมาจารย์ทางด้านบทกวีไฮกุ (Haiku) ในงานกวีที่เขาได้แต่งขึ้นเขียนเพียงชื่อ 芭蕉 (はせを ฮะเซะโอะ) เขาเป็นหนึ่งในกวีที่อยู่ในช่วงยุคสมัยเอะโดะ (edo)
Smiley
บะโช เกิดในอิงะ (Iga) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิเอะ (Mie prefecture) ในตระกูลซามูไร ภายหลังจากการใช้ชีวิตหลายปีภายใต้วิถีชีวิตซามูไร เข้าได้ค้นพบว่าการเป็นนักประพันธ์นั้นเหมาะกับเขามากกว่า เขาจึงได้ละทิ้งวิถีชีวิตซามูไร บะโชได้เริ่มใช้ชีวิตแบบกวีเมื่อได้รับใช้เจ้านายในฐานะซามูไร ในตอนแรกเขาได้ตั้งชื่อตนเองว่า โทะเซ (桃青 Tosei) ตามบทกวีโทะเซ ซึ่งหมายถึงผลพีชเล็ก ๆ (unripe peach) ด้วยบะโชมีความยกย่องนับถือในตัวกวีจีนชื่อหลี่ไป๋ (李白 Lǐ Bó) ซึ่งหมายถึงลูกพลัมสีขาว
Smiley
ในปี ค.ศ. 1666 เมื่อเจ้านายเก่าได้สิ้นชีวิตลง และมีเจ้านายใหม่ซึ่งเป็นพี่น้องของเจ้านายเดิมขึ้นมาปกครอง เขาได้เลือกกลับไปบ้าน แทนที่จะรับตำแหน่งต่อในฐานะซามูไร และย้ายไปเอะโดะในปี ค.ศ. 1675 (ปัจจุบันคือโตเกียว) ต่อมาในปี ค.ศ. 1678 ที่เอะโดะ เขาได้รับตำแหน่งให้เป็นปรมาจารย์ไฮกุ [Haiku master (Sosho)] และเริ่มชีวิตของกวีอาชีพ ในปี ค.ศ. 1680 ได้ย้ายไปยังฟุกุงะวะ (ส่วนหนึ่งของเอะโดะ) และได้เริ่มปลูกต้นบะโช (芭蕉 Bashō ต้นกล้วย) ที่เขาชื่นชอบในบริเวณสวน ภายหลังจากเขาที่ได้ใช้ชื่อตัวเองว่าบะโช
Smiley
ในช่วงชีวิต บะโชได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปหลายแห่ง สถานที่ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และสถานที่ที่ปรากฏในงานประพันธ์ การท่องเที่ยวเหล่านี้มีส่วนสำคัญในงานเขียนของเขา สถานที่บางแห่งได้ส่งเสริมให้มีจินตนาการที่ยิ่งใหญ่ ในการเดินทางบะโชได้พบสานุศิษย์ และสอนพวกเขาด้วยเร็งงะ (連歌 renga)
Smiley
หนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ เส้นทางสายเล็ก ๆ ไปสู่ทางเหนือ (The Narrow Road Through the Deep North, 奥の細道 Oku no Hosomichi) เขียนขึ้นภายหลังจากการเดินทางของบะโชและลูกศิษย์ ซึ่งเริ่มจากเอะโดะในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1689 และพวกเขาเดินทางไปโทโฮะกุและโฮะกุริกุ จากนั้นจึงกลับสู่เอะโดะในปี ค.ศ. 1691 การเดินทางในหนังสือนี้จบลงที่โองะกิและมิโนะ (ปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ) ด้วยบทหนึ่งในไฮกุที่เขาแสดงความหมายโดยนัยว่า จะเดินทางไปศาลเจ้าอิเซะต่อ ภายหลังจากการพักอยู่ที่โองะกิ
Smiley
บะโชเสียชีวิตเพราะโรคภัยไข้เจ็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1694 ที่โอซากา ภายในบ้านของลูกศิษย์ที่เขาร่วมเดินทางไปด้วย ก่อนสิ้นใจ บะโชได้เขียนไฮกุสุดท้าย

ในการเดินทางฉันป่วย
ความฝันวิ่งอยู่รอบกาย
ในทุ่งที่ปกคลุมด้วยหญ้าแห้ง
Tabini yande
Yume ha kareno wo
Kake meguru
On travel I am sick
My dream is running around
A field covered with dried grasses
Smiley
บทกวีที่มีชื่อเสียงของบะโช
"ในสระเก่า" "furuike ya" ('oh, old pond!')
อา ในสระเก่า
กบกระโดด
ป๋อม!
Furuike ya
Kawazu tobikomu
Mizu no oto
Oh, an old pond!
A frog jumps in
The sound of water
Smiley
เกร็ด
เกี่ยวกับ บะโช Bashō (芭蕉) หรือ ต้นกล้วย

เนื่องจากสภาพอากาศนั้นหนาวเย็นเกินกว่าที่กล้วยจะมีผลได้ ว่ากันว่า เขาตั้งใจว่าจะสื่อความหมายของบทกวีที่มิอาจมีผล หรือไร้ผล (useless poet) และเนื่องจากบะโชได้ศึกษาเซน เช่นนี้ เป็นไปตามแนวคิดของเซน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บล็อกหมวด ความรู้ทั่วไป Education Blog ขอบคุณค่ะ




 

Create Date : 30 มกราคม 2559
11 comments
Last Update : 30 มกราคม 2559 0:48:55 น.
Counter : 1679 Pageviews.

 

เท่าที่ดูๆไฮกุ จะเขียนยากเลย เขียนอะไรก็ได้ ที่พบเห็นหรือรู้สึก
เหมือนกะไปคนละเรื่องกันด้วยซ้ำในวรรคเดียวกัน
หากว่าคนเขาอ่านแล้ว ไม่ทราบว่าเรากำลังเขียนบทกลอนไฮกุ อยู่คงจพแย่เหมือนกันนะ

 

โดย: ผมไม่ได้บินคนเดียวสู่โลกฯ (เตยจ๋า ) 30 มกราคม 2559 4:22:47 น.  

 

ไม่รู้จักก็ได้รู้จักที่นี่แหละค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
Opey Education Blog ดู Blog

 

โดย: ALDI 30 มกราคม 2559 4:28:28 น.  

 

โหวต Education Blog ครับพี่โอพีย์

ผมชอบเขียนไฮกุมาก
มันตรงไปตรงมากับความรู้สึกของเราขณะเขียนดีครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 30 มกราคม 2559 6:59:37 น.  

 

ท่าทางเห็นว่า ท่านขุน ต้องมาหัดเขียน ไฮกุ มั่งดีกว่า เพราะว่าปกติเป็นคนไม่เอาไหนเรื่องกลอน แต่สำหรับไฮกุละก้อเข้าทางเลยฮ่า

 

โดย: ขุนเพชรขุนราม 30 มกราคม 2559 9:13:58 น.  

 

.โหวตหมวด Education Blog แล้วค่ะ
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยม

 

โดย: ป้าเก๋า (ชมพร ) 30 มกราคม 2559 9:46:15 น.  

 

ขอบคุณมากนะคะที่ไปอ่านงานตะพาบและโหวตให้กำลังใจค่ะ ตามมาอ่านประวัติของไฮกุ ขอบคุณมากนะคะเพิ่งทราบเหมือนกันค่ะ โหวตให้เลยค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Opey Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: กิ่งฟ้า 30 มกราคม 2559 10:53:44 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับพี่


ภาพในบล็อกผมทั้งหมด
แกะสลักจากงาช้างครับ
เป็นงานสะสมฝีมือช่างจีนครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 30 มกราคม 2559 15:36:24 น.  

 

อ่านดูแล้วการเขียนกวีไฮกุเหมือนจะง่าย แต่ก็ไม่ง่ายนะคะ
เพราะว่า ใช้คำน้อยๆแต่ให้ใด้ความครบก็ไม่ง่ายเลย
แต่เด่นตรงเขียนออกมาจากความรู้สึกไม่บังคับสัมผัสนี่ละ

 

โดย: ที่เห็นและเป็นมา 30 มกราคม 2559 16:59:28 น.  

 

เขียนบ้างเหมือนกัน แต่ก็ไม่ถนัด
แนวเขียนปีะเภทกวีนิพนธ์ทุกประเภท
แต่ก็ชอบอ่านนะคะ

ขอบคุณที่นำมาฝากกันค่ะ
Opey Education Blog ดู Blog

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 30 มกราคม 2559 19:30:30 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
Opey Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


มีสาระและได้ความรู้เพียบค่าบล๊อกนี้

 

โดย: mariabamboo 30 มกราคม 2559 21:48:21 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
ไอเอิร์ธ Cartoon Blog ดู Blog
Opey Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


ได้อ่านมาบ้างจากบล๊อกของท่านอื่น ๆ
แต่เพิ่งรทราบละเอียดวันนี้นี่เองค่า ขอบคุณนะคะ

 

โดย: Close To Heaven 30 มกราคม 2559 23:49:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


โอพีย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




Occupation A Certified Nursing Assistant(CNA)@ USA
and Blogger at Bloggang Thailand.




BlogGang Popular Award #10

BlogGang Popular Award #11

Free counters!
Friends' blogs
[Add โอพีย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.