happy memories
Group Blog
 
<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
8 กันยายน 2564
 
All Blogs
 
ชุดกิโมโนเชื่อมสัมพันธ์ในโตเกียวโอลิมปิก ๒๕๖๔











กีฬาโอลิมปิกปิดฉากไปพักใหญ่แล้ว เราไม่ได้ตามดูเท่าไหร่เพราะไม่ใช่คอกีฬา ได้แต่ผ่านตาข่าวโอลิมปิคจากทีวีไม่ก็ออนไลน์ ประทับใจองค์ประกอบและการจัดการของประเทศเจ้าภาพมากกว่า หนึ่งในนั้นคือ ชุดกิโมโนที่ออกแบบสำหรับตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน กิโมโนของชาติแรกที่ได้เห็นคือ ประเทศไทย เป็นชุดที่สวยมาก เลยคลิกเข้าไปดูชุดของชาติอื่น ๆ แล้วก็ตามไปหาข้อมูลต่อ ประทับใจกิโมโนแต่ละชุด ทั้งสีสันและการออกแบบลวดลายงามได้ใจ นำจุดเด่นและเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศมาไว้บนชุดได้อย่างลงตัว เห็นภาพเดินโชว์บนเวทีก็นึกว่ากิโมโนจะได้ออกงานอวดสายตาชาวโลกวันเปิดโอลิมปิก อ่านข้อมูลแล้วถึงได้รู้ว่าโครงการนี้ถูกระงับไว้ เสียดายแทนทีมงานที่ทำกิโมโนจริง ๆ ค่ะ แต่ก็ดีใจที่มีโอกาสได้เห็นกิโมโนงาม ๆ แบบนี้ หาภาพชุดและเบื้องหลังการทำงานมาให้ชมเป็นบางส่วน คลิกลิงค์ท้ายบล็อกตามไปชมภาพเต็ม ๆ ได้เลยค่ะ





เมื่อเอ่ยถึงเอกลักษณ์ประจำชาติญี่ปุ่น เชื่อว่าหลายคนนึกถึง “ชุดกิโมโน” ที่มีทั้งความงาม และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาช้านาน ดังนั้นในโอกาสที่ “ประเทศญี่ปุ่น” เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก ๒๐๒๐ ที่กรุงโตเกียว ทาง “Imagine One World Incorporation” ซึ่งเป็นองค์กรไม่ใช่ของรัฐบาล และเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นโดย “Yoshimasa Takakura” ประธานบริษัท Choya Japanese Kimono & Obi จำกัด ตั้งใจใช้โอกาสนี้ในการโปรโมต “ชุดกิโมโน” ให้คนทั่วโลกได้รับรู้ถึงความงาม และศิลปะของคนญี่ปุ่น

จึงได้เกิดโครงการ “Imagine One World Kimono Project” ซึ่งเปิดตัวโครงการเมื่อ ๔ ปีที่แล้ว เพื่อสร้างสรรค์ชุดกิโมโน ที่เป็นตัวแทนของแต่ละประเทศจำนวน ๑๙๖ ประเทศ ที่คาดว่าจะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก “Tokyo 2020” โดยตั้งเป้าจะออกแบบและผลิตเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในปี ๒๐๒๐ ซึ่งเป็นปีที่จัดโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของ Imaging One World Kimono Project ประกอบด้วย ๓ เป้าหมาย คือ

๑. นำ “กิโมโน” (Kimono) และ “โอบิ” (Obi) ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของชาวญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่สืบทอดรุ่นต่อรุ่นมาถึงทุกวันนี้ มาสร้างสรรค์ลวดลายโดยช่างฝีมือ โดยดึงจุดเด่น หรือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ๒๐๒๐ มาไว้บนกิโมโน และโอบิ เพื่อให้แต่ละชุดสื่อถึงสัญลักษณ์ของประเทศนั้น ๆ

๒. ต้องการส่งข้อความไปยังทั่วโลกในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และแบ่งปันความงาม และศิลปะผ่านกิโมโน และโอบิ

๓. อนุรักษ์ และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้แก่คนรุ่นต่อไป เนื่องจากยุคหลังสงครามโลกเป็นต้นมา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกเข้ามามีบทบาทและอยู่ในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น ส่งผลให้ความต้องการสวมใส่เสื้อผ้าแบบดั้งเดิมลดลง ดังนั้น “Imagine One World Incorporation” มุ่งหวังให้จะช่วยฟื้นฟูการผลิตและการสวมใส่กิโมโนกลับมา

“พวกเรายังคงทำงานอย่างเต็มที่เพื่อโครงการ “Imagine One World Kimono" จนกว่าจะถึงวันเปิดการแข่งขันโอลิมปิก ๒๐๒๐ โดยเราต้องการสร้างสรรค์ชุดกิโมโนให้เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ซึ่งขณะนี้ชุดกิโมโน ๑๐๐ ชุดเสร็จสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้เราหวังว่าโครงการนี้จะมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดสันติภาพบนโลกใบนี้ และอนุรักษ์เครื่องแต่งกายดั้งเดิมของญี่ปุ่นไว้ ด้วยลวดลายที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ” Yoshimasa Takakura เล่าวัตถุประสงค์ของการทำ Imaging OneWorld Kimono Project

“กิโมโน และโอบิ” สำหรับประเทศไทยออกแบบลวดลายเป็น “ดอกราชพฤกษ์” ซึ่งเป็นดอกไม้มงคล และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพื่อเป็นการระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนี้บนชุดยังมี “ช้าง” และ “โคมยี่เป็ง” เอกลักษณ์ประจำชาติไทยด้วย

โครงการ Kimono Project เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ๒๐๑๔ โดยคุณทาคาคุระ โยชิมาสะ นักทำกิโมโนรุ่นที่สามจากเมืองคุรุเมะ ที่มีความฝันว่าอยากจะใช้กิโมโนสร้างความสามัคคีกันระหว่างทุกประเทศทั่วโลก หลังจากที่เขาได้ไปร่วมงานแฟชั่นโชว์ที่ปารีสเมื่อปี ๒๐๑๓ และกิโมโนของเขาได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในปัจจุบันนักทำกิโมโนก็เหลือน้อย คนเก่า ๆ ได้จากไป ส่วนเด็กรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำต่อก็น้อยลง เขาจึงอยากจะทำให้กิโมโนกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง

กิโมโนประจำชาติที่ถูกออกแบบลวดลายสำหรับทุกประเทศ รวมถึงผู้อพยพที่เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมด ๒๑๓ ชุด มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ ถูกออกแบบและตัดเย็บด้วยมือ มีต้นทุนชุดละประมาณ ๑-๒ ล้านเยน ซึ่งเงินทุนที่ใช้ในโปรเจ็คนี้มาจากการระดมทุนบริจาคทั้งจากในและต่างประเทศ และมีแผนว่าจะเปิดตัวในงานโอลิมปิก ๒๐๒๐ และในงาน Osaka and Kansai Expo ปี ๒๐๒๕ แต่เราก็ไม่พบกิโมโนที่สวยงามเหล่านี้ในงานพิธีเปิดโอลิมปิกนี้เลยทั้ง ๆ ที่กิโมโนทุกชุดถูกตัดเย็บเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สาเหตุของเรื่องนี้ ได้ถูกเปิดเผยทาง FB ของคุณทาคาคุระเองเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า ผู้บริหารคนใหม่ขององค์กรไม่แสวงหากำไร Imagine Oneworld ที่ดูแลโปรเจ็คนี้อยู่ พยายามจะปรับเปลี่ยนโปรเจ็คนี้ โดยเปลี่ยนพนักงานที่เป็นช่างฝีมือผู้หลงใหลในกิโมโน และเป็นผู้ที่ทำงานตั้งแต่เริ่มต้นโปรเจ็คนี้ออกไป แล้วนำพนักงานใหม่ ๔๐ คนที่ไม่มีความรู้เรื่องกิโมโนเลยมาแทนที่ ซึ่งเป็นจำนวนสองในสามของพนักงานทั้งหมด และพนักงานที่เพิ่งเข้ามาใหม่นี้จะมีสิทธิ์ในการร่วมโหวตในการประชุมของโปรเจ็คนี้ด้วย คุณทาคาคุระจึงตัดสินใจที่จะต้องหยุดโปรเจ็คนี้ไว้ (อ่านเวอร์ชั่นภาษาปะกิตแบบเต็ม ๆ ได้ที่เพจ Yoshimasa Takakura)


ภาพกิโมโนทั้งหมดแยกตามทวีป
kimono.piow.jp

เคยอัพเรื่องเกี่ยวกับปรมาจารยืกิโมโนไว้เมื่อหลายปีก่อน บล็อกนี้ค่ะ
Kimono as Art
































































































































































ภาพและข้อมูลจาก
brandbuffet.in.th
Toneri ญี่ปุ่น
Imagine Oneworld Kimono Project






บีจีจากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor





Create Date : 08 กันยายน 2564
Last Update : 10 กันยายน 2564 0:25:35 น. 0 comments
Counter : 1600 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSweet_pills, คุณกะว่าก๋า, คุณทนายอ้วน, คุณทูน่าค่ะ, คุณkatoy, คุณtuk-tuk@korat, คุณInsignia_Museum, คุณสองแผ่นดิน, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปรศุราม, คุณ**mp5**, คุณtoor36, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณSertPhoto, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณอุ้มสี, คุณเริงฤดีนะ, คุณหอมกร, คุณThe Kop Civil, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณlovereason, คุณชีริว, คุณเนินน้ำ, คุณดาวริมทะเล, คุณmariabamboo, คุณโอพีย์, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณตะลีกีปัส, คุณญามี่, คุณNoppamas Bee, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณมยุรธุชบูรพา, คุณnonnoiGiwGiw


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.