ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2561
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 พฤษภาคม 2561
 
All Blogs
 

ธงแดงโบกสะบัดเหนืออาคาร Reichstag ในเยอรมันนี







Iwo Jima 23 กุมภาพันธ์ 1945 ที่มา https://bit.ly/2wAmTnh



Joe Rosenthal ช่างภาพที่ได้ถ่ายภาพนาวิกโยธินและทหารเรือสหรัฐ
กำลังโบกสะบัดธงชาติสหรัฐหลังมีชัยชนะต่อกองทัพญี่ปุ่นที่ Iwo Jima
ช่างภาพรายนี้ไม่เคยคาดคิดเลยว่า ภาพนี้จะกลายเป็นหนึ่งในภาพที่โด่งดัง
และมีคนจดจำมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
มีการตีพิมพ์เผยแพร่ภาพนี้มากกว่าหลายพันครั้ง
แม้กระทั่งมีภาพดังกล่าวปรากฎอยู่ในแสตมป์ที่ระลึก
ทุกวันนี้ก็ยังมีอนุสาวรีย์ Marine Corps War Memorial ใน Virginia


แต่ที่ Moscow ห่างออกไปหลายพันไมล์เช่นกัน
ด้วยแรงบันดาลใจจาก Joseph Stalin ก็ทำให้มีภาพชัยชนะครั้งสำคัญ
ของทหารกองทัพแดง Red Army ที่โบกสะบัดธงชาติโซเวียตรัสเซีย
(Joseph Stalin น่าจะเคยเห็นภาพนี้มาก่อน จึงได้สร้างแรงบันดาลใจและมีดำริห์ในเรื่องนี้)



ธงแดงที่โบกสะบัดเหนืออาคาร Reichstag เยอรมันนี
ถ่ายภาพโดย Yevgeny Khaldei คือหนึ่งในภาพสัญลักษณ์ที่สำคัญมากที่สุด
ในประวัติศาสตร์การยึดนคร Berlin ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2



Yevgeny Anan'evich Khaldei คือ เจ้าหน้าที่กองทัพแดงและเป็นช่างภาพสงคราม
มันเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้วที่กองทัพนาซีเยอรมันได้รุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941
Yevgeny Khaldei ได้ทำหน้าที่ถ่ายภาพในสนามรบอย่างกระตือรือล้น
โดยถ่ายทอดภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามที่พบเห็นในสงคราม
ท่านเป็นลูกหลานครอบครัวชาวยิว ที่ภูมิลำเนาอยู่ใน Ukraine ทุกวันนี้
ท่านมีความหลงใหลและชื่นชอบการถ่ายภาพตั้งแต่ตอนยังเป็นเยาวชน
หนึ่งในกล้องสมัครเล่นอันแรกสุดของท่าน ทำขึ้นมาจากแว่นตาของยายท่านเอง

ในช่วงท่านทำหน้าที่ช่างภาพสงคราม
ท่านได้บันทึกภาพความตายและหายนะในเขตแนวหน้าด้านตะวันออก
ตั้งแต่ Sevastopol, Murmansk, Manchuria
และท้ายสุดตลอดเส้นทางไปยึดนคร Berlin
ท่านยังได้ถ่ายภาพการเจรจาของสามมหาอำนาจ Potsdam Conference
และการตัดสินคดีอาชญากรสงครามที่ Nuremberg Trials

ในระหว่างช่วงวันสุดท้ายของการรบ
(ซึ่งเยอรมันเริ่มขอเจรจาสงบศึกยอมแพ้แบบหมดทางสู้แล้ว)
กองทัพแดงได้บุกยึดเมืองหลวงนาซีเยอรมัน
เป้าหมายหลักคือ อาคาร Reichstag
ที่ตั้งศูนย์กลางปกครอง/อำนาจของจักรวรรดิเยอรมันนี
ถึงแม้ว่าจะมีการสู้รบประปรายจากพวกนาซีเยอรมันนี้ในบริเวณอาคาร Reichstag
แต่การยึดอาคารได้คือ สัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างแรกที่สุดของกองทัพแดงในเชิงสัญลักษณ์




สภาพอาคาร Reichstag ใน Berlin วันที่ 3 มิถุนายน 1945 Photo credit: Imperial War Museums




30 เมษายน 1945 หลังจากการรบเพียงหนึ่งวัน
กองทัพโซเวียตรัสเซียได้ยึดอาคาร Reichstag ได้
แม้ว่ามีการสู้รบกันภายในอาคารบ้างเล็กน้อย
แต่มีทหารโซเสียตรัสเซียส่วนหนึ่งขึ้นไปบนหลังคาอาคาร Reichstag ได้
แล้วโบกสะบัดธงแดง Red Flag บนยอดอาคาร Reichstag
แต่มันเป็นช่วงเวลากลางคืน จึงยังไม่มีใครถ่ายภาพนี้ได้

วันที่ 2 พฤษภาคม 1945
ตอนที่ Yevgeny Khaldei เดินทางมาถึงนคร Berlin
พร้อมกับกล้องถ่ายรูป ­Leica III rangefinder
พร้อมกับธงแดง Red Flag ที่ลุงของท่านตัดเย็บให้ที่ Moscow
โดยตัดเย็บจากผ้าปูโต๊ะที่ขโมยมาจากที่ทำการรัฐการ
ท่านพบว่าท่านมาสายไปสองวันแล้ว
เพราะ Adolf Hitler ได้ยิงตัวตายไปสองวันก่อน
และทหารนาซีเยอรมันต่างยอมจำนนแล้ว

แต่ Yevgeny Khaldei รู้ดีว่าต้องถ่ายภาพให้ได้
“ นี่คือ เรื่องที่ผมรอคอยมาถึง 1,400 วันแล้ว ”




Khaldei ได้ถ่ายภาพไว้หลายสถานที่ ภาพแรกคือที่ Tempelhof Airport ภาพที่สองคือ Brandenburg Gate




Yevgeny Khaldei จึงขอให้ทหาร 3 คน
ที่กำลังเดินลาดตระเวนอยู่บนท้องถนน
ช่วยปีนขึ้นบนยอดอาคาร Reichstag
และแสดงอาการโบกสะบัดธงแดงประวัติศาสตร์
พลทหาร Alexei Kovalyov วัย 18 ปีจาก Kiev เป็นผู้โบกธง
ขณะที่ Abdulkhakim Ismailov จาก Dagestan
และ Leonid Gorychev จาก Minsk อยู่ร่วมด้วย
Yevgeny Khaldei ได้ถ่ายภาพดังกล่าวจนหมดม้วนถึง 36 ภาพ
หนึ่งในภาพที่ถูกคัดเลือกและตีพิมพ์โดยนิตยสาร Ogoniok ในวันที่ 13 พฤษภาคม 1945

ย้อนกลับไปที่ Moscow
เจ้าหน้าที่ฝ่ายกลั่นกรองภาพถ่ายพบว่ามีปัญหาอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
เพราะมีทหารรัสเซียคนหนึ่งสวมนาฬิกาที่ข้อมือทั้งสองข้าง
ซึ่งแน่นอนว่านาฬิกาดังกล่าวมาจากการปล้นสะดมมาอย่างแน่นอน
ภาพดังกล่าวนี้ ถ้าปรากฎออกสู่สายตาชาวโลก
จะแสดงถึงความเลวร้ายของทหารโซเวียตรัสเซีย

Yevgeny Khaldei จึงได้รับการขอร้องให้ลบนาฬิกาออกจากภาพนี้
ท่านจึงขูดมันออกด้วยเข็ม และเติมความหมองหม่นลงไปในภาพด้วย
ด้วยการเพิ่มเงามืดบนท้องฟ้า กลุ่มหมอกควันไฟ ในด้านหลังภาพนี้
เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ภาพดังกล่าวที่เกิดขึ้นมา

ตราบจนวันสิ้นลมหายใจ
Yevgeny Khaldei ยังยืนหยัดและชื่นชอบภาพนี้มาก
" มันเป็นภาพที่ดีและเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ "
แม้ท่านจะรู้ว่า ภาพนี้จะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อก็ตาม
แต่ท่านเชื่อว่า เรื่องราวนี้มีสาเหตุความเป็นมา
เพราะในช่วงรัสเซียทำสงครามกับพวกสมุนบริวาร Hitler
ท่านต้องสูญเสียบิดาและน้องสาวสามคนจากสี่คนพี่น้อง
ด้วยการฆ่าของฆาตกรนาซีเยอรมันนีในช่วงสงคราม

“ผมให้อภัยพวกมัน แต่ผมไม่เคยลืมพวกมันเลย "
ท่านกล่าวจนกระทั่งวันสิ้นลมในเดือนตุลาคม 1997




ภาพตกแต่ง ให้สังเกตสีดำ กลุ่มขมุกขมัวของควัน
และภาพนาฬิกาโจรที่หายไปด้านขวามือทหารโจร



ภาพเปรียบเทียบธงสะบัด



อาคาร Reichstag ในทุกวันนี้ Photo credit: Roman Lashkin/Flickr





Iwo Jima 23 กุมภาพันธ์ 1945 ที่มา https://bit.ly/2wAmTnh


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2rCECp9
https://bit.ly/2GaYxzR




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2561
0 comments
Last Update : 13 พฤษภาคม 2561 1:11:04 น.
Counter : 2007 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.