สหรัฐอเมริกาส่งคืนระฆังโบสถ์ให้ฟิลิปปินส์
History of the Ninth US Infantry, 1799-1909" โดย Fred R. Brown แสดงภาพทหารสหรัฐฯ นำเสนอระฆัง Balangiga ใน Calbayog, Samar ช่วยเมษายน 1902 ทำเนียบประธานาธิบดี Malacañang รายงานวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า พร้อมทำงานร่วมกับสหรัฐอเมริกาในการรับคืนระฆังโบสถ์ Balangiga ที่ถูกกองทัพสหรัฐอเมริกายึดไปในสงครามเดือดเลือดพล่านในปี ค.ศ.1900-1901 Harry Roque โฆษกทำเนียบประธานาธิบดี ให้สัมภาษณ์ว่า ทางทำเนียบประธานาธิบดีได้รับรายงาน จากหน่วยงานกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาว่า พร้อมจะส่งคืนระฆังให้กับ Philippines " เรายินดีที่มีการพัฒนาความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน ระหว่างสหรัฐอเมริกาให้มีความคืบหน้าระหว่างกัน หลังจากที่สหรัฐได้เปิดทางส่งระฆังคืนให้กับฟิลิปปินส์ " เสียงระฆังของโบสถ์ใน Balangiga เขตตะวันออกของ Samar ส่งสัญญาณให้ทหารกองโจรฟิลิปปินส์ (Filipinos) ทำการโจมตีกองทัพสหรัฐอเมริกา กรมทหารราบที่ 9 (9th US Infantry RegimentX ทำให้ทหารตายในการรบจำนวน 48 นาย เหตุการณ์ครั้งนี้รู้จักกันในชื่อว่า การสังหารหมู่ Balangiga ทหารสหรัฐอเมริกาจึงทำการล้างแค้นแทนพวกตนที่ตายในครั้งนั้น ด้วยการเปลี่ยนให้เมือง Samar กลายเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่าขนาดใหญ่ ด้วยการฆ่าผู้ชายฟิลิปปินส์ทุกคนในเมืองทิ้งมากกว่า 2,500 ราย ทหารสหรัฐอเมริกันได้ถอดระฆังจำนวน 3 ใบ ออกจากโบสถ์คริสตจักรในเมือง และถือว่าเป็นถ้วยรางวัลชัยชนะในสงครามปราบกบฏชาวพื้นเมือง ระฆัง 2 ใบที่ระบุ Franciscan Order ลงปี 1863 และ 1889 เก็บรักษาไว้ที่ฐานทัพสหรัฐฯ ใน Cheyenne รัฐ Wyoming และอีกใบระบุ Franciscan Order ลงปี 1896 เก็บรักษาไว้ที่ 9th US Infantry Regiment ในค่าย Camp Red Club เกาหลีใต้ ในปีพ. ศ. 2537 ฟิลิปปินส์ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Fidel Ramos ได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริการคืนระฆังที่ยึดไปทั้งหมด แต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาไม่ยอมตอบรับแต่อย่างใด ในช่วงสมัยที่ 2 ของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาคืนระฆัง Balangiga อีกครั้ง " มันเป็นของเรา มันเป็นของชาวฟิลิปปินส์ มันเป็นส่วนหนึ่งของมรดกแห่งชาติ โปรดคืนระฆังมา นั้นคือ สัญญลักษณ์ความเจ็บปวดของพวกเรา " Aquilino Pimentel III วุฒิสมาชิกก็ยังสนับสนุนประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ในการเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาคืนระฆัง Balangiga และยังระบุว่า ทหารสหรัฐยังยึดปืนใหญ่ที่อังกฤษสร้างในปี 1557 ในสงครามครั้งอื่นด้วย เพื่อเป็นรางวัลเฉลิมฉลองชัยชนะ จัดแสดงที่ฐานทัพอากาศ Trophy Park of the F. E. Warren Air Force Base ใน Cheyenne รัฐ Wyoming " และการที่เราเรียกร้องให้คืนระฆัง Balangiga การคืนระฆังจะช่วยฟื้นฟูหลายอย่างที่ทำให้มีสถานะเท่าเทียมกัน และช่วยเยียวยาความเดียดแค้นที่ฝังใจ ของบรรดาลูกหลานกบฏ Balangiga กับทหารสหรัฐฯ ท่าทีอเมริกันเรื่องนี้ได้รับความสนใจมาก เพราะไม่ใช่เพียงแค่การปิดบาดแผลสงครามฟิลิปปินส์ - อเมริกัน แต่จะเป็นการประกาศศักราชใหม่ของสันติภาพและความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2011 Aquilino Pimentel III ได้ยื่น Senate Resolution 610 เพื่อย้ำเตือนให้มีการเรียกร้องให้สหรัฐฯ ส่งคืนระฆัง Balangiga และข้าวของอื่น อื่น ๆ จากสงครามปล้นสะดมของทหารสหรัฐฯ Aquilino Pimentel Jr. พ่อของ Aquilino Pimentel III ก็เคยยื่อข้อเรียกร้องดังกล่าวแล้วในครั้งแรกช่วงปี 2002 ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ยังเคยยื่นข้อเรียกร้องนี้กับ Kim ที่มาเยือนฟิลิปปินส์ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ในขณะที่ประธานาธิบดีกำลังกล่าวสุนทรพจน์สรุปสถานการณ์ของประเทศ ทูตสหรัฐฯได้เห็น Kim ถอดหูฟังออก ในขณะที่ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte กำลังพูดถึงปัญหานี้ " ระฆังเหล่านี้เป็นการย้ำเตือนความกล้าหาญและวีรกรรม ของปู่ย่าตายายที่ต่อต้านระบอบอาณานิคมสหรัฐฯ และการเสียสละชีวิตของพวกท่านในการรบ " สถานทูตสหรัฐฯในกรุงมะนิลาได้ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พร้อมที่จะส่งคืนระฆังให้ฟิลิปปินส์ โดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ลงอนุมัติเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่มีการกำหนดวันที่ชัดเจนในการส่งคืนระฆัง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมาชิกรัฐสภาชาวอเมริกันบางรายได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับ การส่งคืนระฆังให้ฟิลิปปินส์โดยอ้างเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ถูกกล่าวหาว่ามีหลายคดีเกิดขึ้นภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี Rodrigo Duterte James McGovern ผู้แทนพรรค Democratic Randy Hultgren ผู้แทนพรรค Republican และ Tom Lantos ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ต่างระบุว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯไม่ควรส่งคืนระฆังให้ฟิลิปปินส์ จนกว่าฟิลิปปินส์จะพยายามทำอย่างชัดเจนและสามารถวัดผลได้ ในการยุติการพิจารณาคดีแบบพิเศษด้วยการฆ่าทิ้งผู้ต้องหา ในสงครามปราบปรามยาเสพติด " ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ได้กล่าวปฏิเสธ การอนุมัติการฆ่าโดยมิชอบด้วยกฎหมายในการปราบปรามยาเสพติด เพียงแต่ได้สั่งให้ตำรวจยิงผู้ต้องหายาเสพติด ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของตำรวจได้ " Alexis Romeroเรียบเรียง/ที่มา https://bit.ly/2MbG3HE https://bit.ly/2Ml13KZ https://bit.ly/2vFJwns https://bit.ly/2KNTIif
Create Date : 13 สิงหาคม 2561
Last Update : 13 สิงหาคม 2561 15:55:08 น.
0 comments
Counter : 1572 Pageviews.
Location :
สงขลา Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [? ]
เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้ ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน