ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2561
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 สิงหาคม 2561
 
All Blogs
 
สตรีนกขมิ้น : ภัยพิบัติช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1







1. คนงานในโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ National Shell Filling Factory No.6,
ที่เมือง Chilwell แคว้น Nottinghamshire ปี 1917. Photo credit: Imperial War Museum




บทบาทสตรีที่ร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
เป็นเรื่องราวที่รู้จักกันดีและน่าชื่นชม
เพราะในขณะที่บุรุษต้องมุ่งสู่แนวหน้าที่ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม
เพื่อทำการสู้รบกับยันกองทัพปรัสเซีย(เยอรมันนี)

Birmingham University ได้แปรสภาพเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่
มีนางพยาบาลหลายร้อยคนดูแลคนเจ็บมากกว่า 64,000 ราย
ตำแหน่งงานต่าง ๆ ภายในโรงงานก็ขาดแคลนกำลังแรงงาน
ทำให้สตรีต้องเข้าไปทำงานทดแทน
และทำงานในโรงงานอย่างรวดเร็ว
มีผลทำให้โรงงานแต่ละแห่งเต็มไปด้วยสตรี


สตรีทำงานในสายการผลิต สตรีขับรถบรรทุก สตรีเป็นนางพยาบาล
สตรีทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มกันการโจมตีทางอากาศ สตรีทำงานด้านการสื่อสาร
สตรีทำหน้าที่ประมวลข่าวกรอง และทำหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายร้อยหน้าที่
ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างมากในการทำสงคราม


แต่อีกบทบาทหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของสตรี
คือ เพื่อให้แน่ใจว่าทหารในแนวหน้ามีอาวุธยุทโธปกรณ์เพียงพอ


ตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เริ่มปะทุขึ้นมา
อังกฤษประสบปัญหาอย่างมากในการผลิตอาวุธและกระสุนจำนวนมาก
ตามที่กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ต้องการ
หลังจากที่ฝ่ายค้านในรัฐสภาได้อภิปรายโจมตีการทำงานของรัฐบาล
และสื่อมวลชนได้กระจายข่าวเรื่อง Shell crises of 1915
รัฐบาลอังกฤษจึงได้ประกาศพระราชบัญญัติ Munitions of War Act 1915
กระทรวงยุทโธปกรณ์ ที่มีการตั้งขึ้นมาใหม่
David Lloyd George เป็นรัฐมนตรีคนแรก
กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธยุทธภัณฑ์มีผลบังคับใช้ทันที
ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มการกำกับดูแลของรัฐบาล
และใช้บังคับแทนกฎหมาย/กฎระเบียบของโรงงานอุตสาหกรรม
โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มากที่สุด







บริษัทเอกชนที่ทำหน้าที่ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
รวมทั้งโรงงานผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์ของรัฐถูกตั้งขึ้นมา
สตรีถูกเรียกให้ลงทะเบียนเพื่อเข้าทำงาน
แรงงานฝีมือได้รับค่าจ้างอัตราเช่นเดียวกับผู้ชาย
เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว มีจำนวนสถานประกอบการ
ของเอกชน 4,285 แห่งที่ควบคุมโดยรัฐ
และของรัฐจัดตั้งเอง 103 แห่ง
โรงงานเหล่านี้กระจายไปทั่วทั้งอังกฤษ
โดยเฉพาะในลอนดอนเขตตะวันออกและกลาสโกว์
โดยมีสตรีทำงานอยู่ถึงเกือบ 1,000,000 คน


ค่าจ้างแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน และเงื่อนไขการทำงาน
ได้รับการควบคุมตามกฎหมายฉบับใหม่ทั้งหมด
การนัดหยุดงานเป็นเรื่องต้องห้ามโดยเด็ดขาด
คนงานทุกคนถูกห้ามไม่ให้ลาออกจากงาน
โดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายจ้าง
พระราชบัญญัตินี้ยังบังคับให้ใช้กับโรงงานที่จ้างสตรีด้วย
เพราะผลจากการขาดแคลนชายฉกรรจ์ซึ่งส่วนใหญ่ต้องไปทำสงคราม


ในปี 1915 รัฐบาลไม่เพียงแต่สร้างโรงงาน
ยังสร้างชุมชนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ Gretna และ Eastriggs
บัานพักและแฟลตถูกสร้างขึ้นสำหรับพนักงานและคู่สมรส
ซึ่งมีมาตรฐานสูงจนใช้งานได้จนถึงทุกวันนี้
ใกล้กับโรงงานมีการสร้างค่ายทหารที่เลียนแบบกระท่อม 85 หลัง
เป็นร้านค้าสวัสดิการของสตรีทำงาน เช่น
ร้านอาหาร ร้านขนมปัง อาคารสันทนาการ โบสถ์
และรางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่ระยะทางยาว 9 ไมล์


คนงานสตรีชาวไอริชมากกว่า 30,000 คนที่นำเข้ามา
ส่วนใหญ่ทำงานก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ
ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 1916
ซึ่งเป็นผลงงานที่น่าทึ่งมากในการก่อสร้าง
โดยรัฐบาลใช้จ่ายไป 5 ล้านปอนด์


ในปี 1917 โรงงาน HM Factory ที่ Gretna
ผลิตชนวนระเบิดได้ 800 ตัน/สัปดาห์
มากกว่าทุกโรงงานที่ผลิตชนวนระเบิดรวมกัน


ในขณะที่สตรีทำงานในสายการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
ต่างต้องแบกรับกับความกล้าหาญในการทำงาน
เพราะมีภยันตรายที่คอยคุกคามอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
เพราะโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
มักจะตกเป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีทางอากาศของศัตรู
ด้วยการใช้เครื่องบินทำการทิ้งระเบิดเป็นประจำ
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการระเบิดขึ้นเองภายในโรงงาน


Nancy Evans รำลึกถึงตอนทำงานที่โรงงาน Rotherwas ใน Herefordshire
" เราต่างเหมือนนกขมิ้น
เราต่างมีสีเหลืองตามผิวหนัง
ผมก็เปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์
ยกเว้นตรงกลางที่ผมยังเป็นสีเดิม "


Dr Helen McCartney ที่ King's College London
ระบุว่า คนงานสตรีบางคนคลอดบุตรสีเหลืองสดใส


Gladys Sangster ซึ่งแม่เธอทำงานที่โรงงาน
National Filling Factory Number 9 ใกล้ Banbury, Oxford คือ หนึ่งในนั้น
ได้ให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่า
" ฉันเกิดตอนช่วงมีสงคราม และผิวของฉันเป็นสีเหลือง
นั่นทำให้พวกเขาเรียกพวกเราว่า ทารกนกขมิ้น Canary Babies
ทารกเกือบทุกคนที่เกิดมามีสีเหลือง
แต่ตอนโตขึ้นก็จางหายไป
แม่ฉันบอกว่าเธอได้รับมันมาเป็นของขวัญ
มันเคยเกิดขึ้นและนั่นคือเรื่องราวคราก่อน."


Amy Dale นักวิจัยให้สัมภาษณ์กับ BBC
" ในโรงงานเหล่านี้ พวกเธอจะได้รับปลอกกระสุน/ปลอกลูกระเบิด
แล้วเติมผงเคมีที่จุดฉชนวน/ผงระเบิดลงไป
พร้อมกับปิดปลอกระเบิดด้านบน ด้วยการเคาะมันลงไป
ถ้าเคาะแรงเกินไป เกิดผิดพลาดขึ้นมา
มันก็จะเกิดการระเบิดขึ้นมาทันที

เรื่องแบบนี้ มันเคยเกิดขึ้นกับสตรีคนหนึ่งที่กำลังตั้งครรภ์ในเวลานั้น
และทำให้เธอต้องตาบอดและสูญเสียมือทั้งสองข้าง "




2. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์ 2 รายกำลังยืนทำงานข้างปลอกลูกระเบิด
ที่ National Shell Filling Factory No.6 เมือง Chillwell แคว้น Nottinghamshire
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Photo credit: Imperial War Museum




ทั้งนี้ ยังมีคำสั่งห้ามใช้ผ้าไหม
เนื่องจากวัสดุเหล่านี้จะสร้างไฟฟ้าสถิตย์
สามารถสร้างประกายไฟที่อาจทำให้เกิดการระเบิดได้
สตรีทุกคนจะถูกตรวจค้นและคัดกรองก่อนเข้าทำงานทุกวัน
ทุกคนจะต้องฝากเสื้อผ้าต้องห้าม ข้าวของเครื่องใช้ที่มีโลหะไว้ก่อนเข้าทำงาน
รวมทั้งยกทรงที่มีเข็มกลัดเป็นโลหะและปิ่นปักผมโลหะ
ถ้าเกิดตรวจพบจะถูกปรับเงิน 6 เพนนี


อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการระเบิดกลายเป็นเรื่องปกติ
ทำให้คนงานสตรีตายหรือบาดเจ็บเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง
มีการระเบิดเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งในช่วงนี้
ทำให้มีคนตายมากกว่า 300 คนและบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน
ทั้งนี้ อันตรายในการทำงานในโรงงานผลิตอาวุธ
ยังมีอีกอย่างคือ การได้รับสารเคมีที่เป็นพิษอย่างต่อเนื่อง


สตรีหลายคนต้องทำงานอยู่กับ Trinitrotoluene (TNT)
ซึ่งใช้ในการผลิตวัตถุระเบิดและชนวนระเบิด
เพื่อใช้ในการทำลูกกระสุนปืนและลูกระเบิด
เมื่อชนวนถูกจุดให้ลุกไหม้ขึ้นมา
ก็จะปลดปล่อยก๊าซที่ขยายตัว
ทำหน้าที่ขับเคลื่อนหัวกระสุนปืน
หรือทำให้ปลอกหุ้มระเบิดฉีกขาดออกจากกัน


การผลิตทั้ง TNT และ ชนวนจุดระเบิด
ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสารกัดกร่อน
เช่น กรดซัลฟิวริก sulfuric และกรดไนตริก nitric
ควันจากกรดเหล่านี้ มีผลทำให้ผิวหนังและผม
ของสตรีหลาย ๆ คน กลายเป็นสีเหลือง
ทำให้พวกเธอได้ชื่อเล่นว่า
สตรีนกขมิ้น Canary Girls




3. กรรมกรสตรีทำงานที่ห้อง Finishing Room, No. 14 National Filling Factory
Hereford. Photo credit: Imperial War Museum




ที่โรงงาน HM Factory ในเมือง Gretna
ทางตอนใต้ของสกอตแลนด์
เป็นโรงงานผลิตชนวนระเบิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น
มีการจ้างตรีทำงานแบบนี้มากกว่า 12,000 ราย
ทำให้พวกเธอมีชื่อเล่นว่า Female munitionettes สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์
พวกเธอมีหน้าที่กวนสารเคมีด้วยมือเปล่าในถังขนาดใหญ่
การทำงานที่เสี่ยงตายอย่างยิ่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า ข้าวโอ้ตปีศาจ Devil's Porridge
โดย Sir Arthur Conan Doyle ผู้เขียนนวนิยายชุด Sherlock Holmes
ท่านที่มีชื่อเสียงแล้วตอนที่ได้ไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1916
ท่านรู้สึกประทับใจในการทำงานของพวกสตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
" ที่นี่อาจเป็นสถานที่โดดเด่นที่สุดในโลก
เพราะกองทัพไม่เพียงแต่ให้อุปกรณ์ดำรงชีพที่จำเป็นเท่านั้น
ภายในชุมชนยังมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีโรงหนังและสถานที่เต้นรำ

บรรดาสาว ๆ สวมชุดสุกากี ต่างยิ้มแย้ม
ขณะที่กวนสารเคมีด้วยมือของพวกเธอ
โดยไม่สำนึกถึงความจริงที่ว่า
พวกเธออาจจะถูกระเบิดกลายเป็นจุลได้ในทันที
หากมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นมา "

Rebecca West นักเขียนนวนิยายได้เขียนว่า
" ชีวิตข้างในไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน
บรรดาสาวสวยต่างต้องอยู่ภายในค่ายทหาร
ที่อยู่กันเหมือนอยู่ในรวงผึ้งและมีทหารยามลาดตระเวน
ความเพลิดเพลินและสิ่งอำนวยความสะดวกของชุมชนก็ถูกจำกัด
ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน
บางครั้งก็ต้องทำงานล่วงเวลาในตอนกลางคืน

วันว่างของพวกเธอ คือ วันอาทิตย์เท่านั้น
และการเดินทางสาธารณะก็ถูกจำกัด
รถไฟที่จะไปยัง Carlisle ก็ถูกยกเลิก
เพราะมีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นั่น
แม้การเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวก็ยังเป็นปัญหา

พวกเธอต่างพักอาศัยอยู่ภายในกระท่อม
ที่มีห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบเฉพาะสร้างจากไม้
ส่วนมากมักจะนั่งและนอนอยู่ในห้องนอนขนาดเล็กที่มีผ้าม่าน
แต่ไม่มีประตู มีเสียงบ่นถึงความหนาวเย็น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูหนาวที่หนาวจัดในปี 1917

รายได้ของพวกเธออยู่ระหว่าง 30 ชิลลิงและ 2 ปอนด์ต่อสัปดาห์
(20 ชิลลิงเป็น 1 ปอนด์ ถ้าของไทย 4.-บาทเป็น 1 ตำลึง 20.-ตำลึงเป็น 1 ชั่ง)
แน่นอนว่าสูงกว่าค่าจ้างเดิมที่พวกเธอเคยรับมาก่อน
แต่ก็มีการหักค่าใช้จ่ายรายการสำคัญเป็นค่าที่พักและอาหาร "


อันที่จริง ยังมีอันตรายต่อสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งในการทำงานในโรงงาน TNT
สีเหลืองที่ดูเหมือนว่าเป็นอันตรายเพียงเล็กน้อย
และอาการสีเหลืองที่เกิดขึ้นก็จะจางหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์
บางครั้งคนงานสตรีก็นอนหลับภายในโรงงาน
และตายโดยไม่ทราบสาเหตุ


แต่ TNT มีผลเป็นพิษต่อตับ
และการได้รับสารนี้เป็นเวลานาน
ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางและโรคดีซ่าน
ซึ่งทำให้ร่างกายมีสีเหลืองแตกต่างกัน
มีคนไข้ที่เป็นโรคกระเพาะจำนวนราว 400 ราย
มีการบันทึกไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
มีผู้เสียชีวิต 100 ราย
คนงานบางรายมีรายงานทางการแพทย์ว่า
เกิดอาการสลายตัวของกระดูกในร่างกายในภายหลัง
ในขณะที่คนอื่น ๆ มีปัญหาทางช่องคอ
และโรคผิวหนังที่เกิดจากการย้อมสีของ TNT
สตรีบางรายยังให้กำเนิดทารกสีเหลืองสดใส
ทารกเหล่านี้เรียกว่า เด็กนกขมิ้น Canary Babies


ทุกวันนี้ มีพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ใกล้ Gretna
เพื่อสำรวจประวัติความเป็นมาของ HM Factory
และเน้นบทบาทผู้หญิงที่มีส่วนร่วมในสงคราม
ที่เรียกว่า The Devils Porridge Museum



เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2OdDTUf
https://bit.ly/2OI5del
https://bbc.in/2LSdGOq







4. การกวนข้าวโอ๊ตปีศาจ Devil’s Porridge ที่ HM Factory Gretna. Photo credit: the Devil’s Porridge Museum, Gretna.



5. สตรีกำลังเตรียมสาร Nitre ที่โรงงานผลิตอาวุธ Gretna Photo credit: Science & Society Picture Librar/SSPL


6. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตลูกระเบิด
แผนกหนึ่งขอโรงงาน Vickers Limited พฤษภาคม 1917. Photo credit: Imperial War Museum


7. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังปรับแต่งลูกระเบิดขนาด 4.5 นิ้วที่โรงงานในเขต Birmingham
มีนาคม 1918. Photo credit: Imperial War Museum


8. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังเจาะรูลูกระเบิดขว้างในโรงงานแห่งหนึ่ง Photo credit: Imperial War Museum


9. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังตรวจสอบลูกระเบิดขว้างในโรงงานแห่งหนึ่ง Photo credit: Imperial War Museum


10. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์ทำงานในโรงงานที่ปิดลับ Photo credit: Imperial War Museum


11. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังระบายสีลูกระเบิดในโรงงานที่ปิดลับ Photo credit: Imperial War Museum


12. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังช่วยกันขนลูกระเบิดที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ทางการแล้ว
มิถุนายน 1918. Photo credit: Imperial War Museum


13. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังระบายสีลูกระเบิดในโรงงาน มิถุนายน 1918. Photo credit: Imperial War Museum


14. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังคัดแยกอุปกรณ์ระเบิดในโรงงานปิดลับ
ช่วงเดือนมีนาคม 1918 Photo credit: Imperial War Museum


15. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังขนถ่ายจัดเรียงปลอกระเบิด Howitzer ขนาด 6 นิ้ว
ที่โรงงานอาวุทธยุทธภัณฑ์ Chilwell ใน Nottinghamshire, UK. กรกฎาคม 1917 Photo credit: Imperial War Museum


16. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์รวมตัวกันที่ Recreation Room ทึ่โรงงานอาวุธยุทภัณฑ์ Cubitts
มีนาคม 1918 Photo credit: Imperial War Museum















Turra Coo แม่วัวที่ทำให้ทั้งเมืองจลาจล




David Lloyd George เป็นชาว Welsh
Leeks คือ สัญลักษณ์ประจำชาติ Welsh
ท่านคือผู้ที่เสนอออกกฎหมายประกันสังคมแห่งชาติ
ทำให้เกิดการจราจลเพราะแม่วัวชื่อ Coo ตัวเดียว
มีการประท้วงด้วยคำว่า จากฟาร์ม Lendrum to the Leeks
ด้วยการเขียนที่ลำตัวแม่วัว Coo ก่อนที่จะเกิดจลาจลในเวลาต่อมา
จนคำว่า Turra Coo คือ การประท้วงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล


Create Date : 06 สิงหาคม 2561
Last Update : 7 สิงหาคม 2561 21:40:42 น. 0 comments
Counter : 1642 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.