ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
15 กรกฏาคม 2561
 
All Blogs
 
ชาวบ้าน Imber กับ Tyneham ถูกรัฐบาลเบี้ยวสัญญาหลังสงครามสิ้นสุด







โบสถ์ ใน Imber Photo credit: Ed Webster/Flickr




ราวต้นเดือนพฤศจิกายน ในปี 1943
ชาวบ้าน Imber ชุมชนที่ค่อนข้างเงียบสงบ
ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ Salisbury Plain
ต่างถูกเชิญมาร่วมประชุมกันที่โรงเรียนหมู่บ้าน
และทางการแจ้งข่าวว่า ให้เวลาชาวบ้าน 47 วัน
เพื่อเก็บข้าวของและย้ายออกจากหมู่บ้านทุกคน
เพราะ War Department ของกระทรวงกลาโหม
ต้องการใช้สถานที่ดังกล่าวให้ทหารอเมริกาซ้อมรบ
การสู้รบในใจกลางเมืองกับพวกนาซีเยอรมันนี
ที่กำลังยึดครองยูโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสที่จะม่ีชัยชนะในการยกพลขึ้นบกที่ Normandy



30 ภาพในอดีตกับตอนนี้ (ครบรอบ 70 ปีวัน D-Day)





การบังคับอพยพชาวบ้านจากหมู่บ้านแบบทันทีทันใด
สร้างความโศกเศร้าเสียใจให้กับชาวบ้านจำนวนมาก
Albert Nash ช่างตีเหล็กในหมุบ้านกว่า 40 ปี
หัวใจสลายและตายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากทราบประกาศดังกล่าว
แต่รัฐบาลอ้างว่าไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว
นอกจากให้ชาวบ้านอพยพออกไปทั้งหมด
ขณะเดียวกันหลายปีก่อนหน้าที่จะม่ีสงครามโลกครั้งที่ 2
War Department ได้ทะยอยซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรอบ ๆ หมู่บ้าน Imber
โดยยังคงมีอาคารบ้านเรือนหลงเหลืออยู่หลายหลังมาก
เช่น โบสถ์ของหมู่บ้าน ที่พักบาทหลวง วิหาร โรงเรียน และโรงเต็ยม
ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับทางการ




ส่วนหนึ่งของสถานที่ฝึกการรบในเมือง



ประกาศสถานที่ทางทหาร





แต่ทั้งนี้ ชาวบ้านทุกคนยังมีความหวัง
เพราะชาวบ้านได้รับคำมั่นสัญญาจากทางการว่า
ทุกคนจะได้กลับคืนสู่หมู่บ้านหลังจากสงครามสิ้นสุดลง
และในช่วงเวลานั้น สำนึกรักชาติกำลังมาแรงมาก
ทำให้ชาวบ้านหลายคนต่างสำนึกว่าเป็นหน้าที่ของตน
ในการสนับสนุนการทำสงครามของรัฐบาล
และต่างคิดว่าการอพยพเป็นเรื่องชั่วคราวกินเวลาไม่นานนัก
ชาวบ้านหลายคนต่างทิ้งเครื่องเรือนและสมบัติต่าง ๆ ไว้ข้างหลัง
แม้กระทั่งอาหารกระป๋องไว้ในครัว
ในตอนนั้นหมู่บ้านแห่งนี้มีคนอาศัยอยู่เพีย 150 คน


แต่แล้วรัฐบาลกลับมีโครงการอื่นอีก
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
หมู่บ้านกลับถูกใช้เป็นสถานที่ซ้อมรบของกองทัพ
ขณะเวลาเดียวกันนั้น สถานะการณ์ทางการเมืองและสังคมใน Northern Ireland
กำลังคุกรุ่นและมีสงครามการเมืองและก่อการร้าย
ยิ่งทำให้รัฐบาลยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการหาสถานที่ซ้อมรบ
ทำให้หมู่บ้าน Imber ไม่เคยส่งมอบคืนให้ชาวบ้านอีกเลย



ท่อนฮุก Zombie ที่โด่งดัง




เพลง Zombie มีที่มาจาก
การรำลึกถึงการตายของเด็กชาย Johnathan Ball กับ Tim Parry
ที่ถูกการลอบวางระเบิดของกลุ่มก่อการร้าย IRA Irish Republican Army ใน Warrington
โดยไม่มีการประกาศเตือนล่วงหน้าแบบทุกครั้งที่เคยทำมาในอดีต
ใจความเพลงเป็นการประชดจิตสำนึกและมันสมองผู้ก่อการร้ายว่า
พวกมันไม่แตกต่างจากผีดิบซอมบี้ที่ไร้สมองไร้จิตวิญญาณ

หลังจากเพลงนี้เปิดได้ไม่นานก็โด่งดังไปทั่วประเทศ/ทั่วโลก
ในไอริชเกิดการประท้วงและสนับสนุนจากชาวบ้านให้ยุติสงครามกลางเมือง
ด้วยการกระหน่ำและเปิดเพลงนี้จนดังไปทั่วทั้งไอริช
จนกองโจร IRA ต้องออกมาขู่ว่าจะทำร้ายคนเปิดเพลงนี้
และจะวางระเบิดสถานีวิทยุทุกแห่งที่เปิดเพลงนี้เช่นกัน
แต่เรื่องนี้ ยิ่งทำให้แนวร่วมและคนสนับสนุนพวกกองโจรก่อการร้าย IRA ลดลง
ตามมาด้วยแกนนำ/หัวหน้ากองโจรก่อการร้าย IRA ในไอร์แลนด์เหนือ
ถูกยิงทิ้งและถูกจับกุมจำนวนหลายคนตามมา
จนแกนนำ/ผู้นำรุ่นสุดท้ายต้องยอมเจรจายุติศึก
ก่อนที่จะไร้ดินแดนและที่ยืนในสังคมอีกต่อไป
เพราะลึก ๆ แล้วพ่ายแพ้อย่างไร้หนทางต่อสู้อีกต่อไป


ที่มา ปีศาจที่หลบซ่อนในร่าง Dolores O'Riordan นักร้องเพลง Zombie






" ไม่มีใครโกรธ ท้อแท้ หรือผิดวังในเวลานั้น
ใช่เลย ความโกรธที่เกิดขึ้นใช้เวลานานมาก
พวกเรารู้สึกว่า พวกเราได้ช่วยเหลือประเทศนี้
และช่วยเหลือทางการในการทำสงคราม
และต่างคนต่างคิดว่าจะได้กลับมาที่นี่อีก "
Ken Mitchell มีอายุ 17 ปีในตอนที่ครอบครัวถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่

หลายปีที่ผ่านมาอาคารบ้านเรือนในหมู่บ้าน Imber
จำนวนหลายหลังมากที่ได้รับความเสียหายจากรูกระสุนและระเบิด
จนมีสภาพชำรุดทรุดโทรมและปลักหักพังลง


หลังจากที่ชาวบ้านที่เคยอยู่ในหมู่บ้าน Imber
ต่างทำการประท้างรัฐบาลหลายครั้งแล้ว
ทำให้รัฐบาลเห็นพ้องด้วยที่จะรักษาโบสถ์ไว้
และอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านได้เพียงปีละหนึ่งวัน
ทุกวันเสาร์ที่ใกล้กับวันของนักบุญ Saint Giles

ชะตากรรมของชาวบ้าน Imber
ก็ไม่แตกต่างกับชาวบ้าน Tyneham ใน South Dorset
เพราะเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1943
ชาวบ้านจำนวน 225 คนในหมู่บ้านทุกคน
ต่างได้รับหนังสือทางการจาก War Office
ระบุว่าทุกคนต้องย้ายออกภายใน 1 เดือน
" รัฐบาลขอยกย่องทุกคนว่า
นี่ไม่ใช่การเสียสละเพียงเล็กน้อยจากพวกท่าน
แต่รัฐบาลมั่นใจว่าการเสียสละของพวกท่านในครั้งนี้
จะเป็นการเติมเต็มชัยชนะในสงคราม
ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นและเสียสละของพวกท่าน "

ชาวบ้าน Tyneham ก็เช่นเดียวกับชาวบ้าน Imber
ต่างได้รับคำมั่นสัญญาว่า ทุกคนต่างจะได้กลับบ้านหลังจากสงครามสิ้นสุดลง
ขณะที่ชาวบ้านคนหนึ่ง ได้เขียนบันทึกบนกระดาษ
ไว้ที่ประตูโบสถ์ St. Mary ว่า


" โปรดระมัดระวัง ช่วยรักษาโบสถ์และบ้านด้วย
พวกเราได้ทิ้งที่พักอาศัยที่เคยอยู่กันมาหลายชั่วอายุคน
เพื่อช่วยให้รัฐบาลมีชัยในสงครามและปลดปล่อยทุกคนจากนาซีเยอรมันนี
พวกเราจะกลับมาในวันหน้า และขอบคุณที่รักษาหมู่บ้านพวกเราอย่างดี "

แต่หลังจากสงครามสิ้นสุดลง
ชาวบ้าน Tyneham ต่างเรียกร้องและประท้วงให้คืนหมู่บ้านกลับมา
แต่ในปี 1948 ความหวังทั้งหมดต่างสิ้นสลายและถูกทำลายลง
เพราะกองทัพใช้กฎหมายบังคับซื้อทรัพย์สินทั้งหมดจากชาวบ้าน
และใช้เป็นสถานที่ซ้อมรบของทหารนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อาคารในหมู่บ้านหลายหล้ังต่างทรุดโทรมและสลักหักพังลง
เพราะได้รับความเสียหายจากลูกกระสุนและระเบิด
มีแต่ โบสถ์และโรงเรียนที่ยังได้รับการรักษาไว้
มีเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์เพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ที่หมู่บ้านแห่งนี้จะเปิดโอกาศให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชม



Tyneham St Mary's Church



Tyneham School House




ไม่ใช่มีเพียงแค่ชาวบ้าน Imber กับ Tyneham
ที่ต่างต้องสูญเสียบ้านเรือนและที่ดินทำกินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่ Norfolk บนชายฝั่งตะวันออกของประเทศ
ชาวบ้านจำนวน 6 หมู่บ้านต่างต้องสูญเสียบ้านเรือนและที่ดินทำกิน
เพราะพื้นที่ทั้งหมดกลายเป็น Stanford Battle Area
หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนชื่อเป็น Stanford Training Area
ชาวบ้านทุกคนต่างได้รับคำมั่นสัญญาที่เป็นเท็จเช่นกันว่า
ทุกคนจะได้กลับบ้านหลังจากสงครามสิ้นสุดลง

หลายคนต่างสูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกตน
ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินและเจ้าของบ้านอีกเลย
รวมทั้งชาวบ้านที่ย้ายออกไปก็ได้รับค่าชดเชยน้อยมาก


Simon Knott ผู้ดูแลโบสถ์ของ Norfolk เชื่อว่า
หมู่บ้านควรจะถูกละทิ้งไปแล้ว
เพราะแทบจะไม่คุ้มค่าที่จะกลับมาอยู่อาศัยและทำมาหากินอีก
มีบ้านน้อยหลังมากที่จะมีน้ำหรือไฟฟ้า
สภาพที่ดินที่จะทำการเพาะปลูกก็ไม่ดีนัก
และชาวบ้านต่างต้องดิ้นรนในการเลี้ยงชีพ
ในขณะที่ชาวบ้านที่ย้ายออกมานานแล้ว
ต่างมีที่อยู่ที่พักอาศัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม
และมีงานการที่ดิในที่ดิน ในโรงงานและร้านค้าในตอนนี้

" ในขณะที่ พวกคุณคาดหวังว่า
ชาวบ้านจะหวนคำนึงถึงบ้านเกิดที่จากมา
แต่ความจริง มีชาวบ้านเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ที่อยากจะกลับไปใช้ชีวิตแบบเก่า " บันทึกของ Simon Knott

หมู่บ้านทั้ง 6 แห่งไม่มีสภาพหลงเหลืออยู่อีกต่อไปแล้ว
นอกเหนือจากสภาพอาคารสถานที่ปรักหักพังและโบสถ์ที่หลงเหลืออยู่
อาคารส่วนที่เหลือส่วนใหญ่จะถูกรื้อถอนและทำลายลง
ส่วนอาคารสถานที่ยังเหลืออยู่ก็ใช้สำหรับการฝึกซ้อมรบสงครามกลางเมือง
เหลือไว้แต่เครื่องหมายแผ่นโลหะ ที่ระบุสถานที่ตั้งอาคารสำคัญบางหลังของหมู่บ้าน



เรียบเรียง/ที่มา



https://bit.ly/2L8NNsq





ซากรถถังที่ Salisbury Plain ใกล้กับ Imber. Photo credit: Scott Wylie/Flickr



ซากบ้านใน Imber Photo credit: ndl642m/Flickr



อาคารสร้างใหม่เพื่อฝึกการรบของทหารใน Imber Photo credit: Michael Day/Flickr



คำสั่งให้ชาวบ้าน Tyneham ย้ายออก Photo credit: https://www.tynehamopc.org.uk



Photo credit: Dan Meineck/Flickr



Photo credit: Alistair/Flickr



Tyneham St Mary's Church. Photo credit: Liz & Johnny Wesley Barker/Flickr



ซากรถถังที่ Tyneham Photo credit: Damien Everett/Flickr



ซากบ้านใน Imber



สุสานใน Imber



ซากบ้านใน Imber




The former Seagrams Farm 



Houses สำหรับการฝึกรบ




The Bell Pub ในอดีต




ซากบ้านใน Imber



ซากบ้านใน Imber




อนุสรณ์สถานเหยื่อจากคนขับรถยนต์ Imber Range



บ้านใน Tyneham - บ้านคนเลี้ยงแกะ, ไปรษณีย์และตู่โทรศัพท์



Worbarrow Bay และ Mupe Rocks เบื้องหลังบ้านที่ปรักหักพัง



Tyneham St Mary's Church – 2009







เพลงปฏิวัติ-ควนกาหลง




เรื่องเล่าไร้สาระ


การบังคับให้ย้ายจากถิ่นที่อยู่ของไทย
มีในยุคเผด็จการทหารของไทยในอดีต
หมู่บ้านที่อยู่ในเขตสู้รบกับพวกสหาย
หรือมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้สนับสนุนสหายคอมมิวนิสต์
หรือคนที่มีประวัติว่าจะเป็นพวกมีปัญหากับคนของรัฐบาล
ก็จะมีคำสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่
ด้วยการส่งตัวไปอยู่ตามนิคมสร้างตนเอง
ในภาคใต้ก็มีหลายแห่งมาก
โดยคนที่ถูกย้ายไปอยู่นิคมสร้างตนเอง
มีทั้งคนที่สมัครใจเองกับถูกรัฐบังคับให้ย้าย
ด้วยเงื่อนไขทางการให้ที่ดินทำกิน
และให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ไกลจากที่เดิมมาก

บางคนอพยพไปอยู่แถวจังหวัดชายแดนภาคใต้
บางคนเป็นชาวอีสานก็เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามเลยก็มี
ซึ่งจะเห็นได้จากนามสกุลเดิมที่มีร่องรอยของคนต่างถิ่น
เพราะความห่างไกลบ้านและครอบครัวเดิมมาก

ในสมัยน้นการเดินทางไปมาหาสู่
และการติดต่อกันระหว่างจังหวัดลำบากมาก
ถนนหนทางและทางรถไฟก็ยังไม่ทั่วถึง
คนรู้หนังสือก็ยังมีน้อย
การติดต่อสะดวกและรวดเร็วที่สุดคือ โทรเลข
ซึ่งจัดว่ามีราคาแพงกว่าการเขียนจดหมายหากัน
โทรศัพท์บ้านก็เป็นอะไรที่แพงมากในยุคนั้น
และมีการใช้งานเพียงไม่กี่อำเภอในประเทศไทย


แต่ในตอนนี้ คนที่อยู่ในนิคมสร้างตนเอง
มีความเจริญมากกว่าในอดีตมาก
เช่น นิคมสร้างตนเองที่ควนกาหลง รัตภูมิ เป็นต้น


ในยุคก่อนรัฐบาลทหารทำได้ดีและมีผล
เพราะ L'etat est l'etat.
เพราะรัฐ คือ รัฐ รัฐทำได้ทุกเรื่อง
ในยุคนั้นอาศัยอำนาจมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญปกครองชั่วคราว
ทำให้ไม่มีคนกล้าหือหรือลองดีแต่อย่างใด
เช่น คำสั่งประหารชีวิตด้วยมาตรา 17 ในยุคก่อน


ดาวหางในเพลงควนกาหลง
ท่อนที่ว่า ดาวหางพราวทิศบูรพา
น่าจะเป็น ดาวหางอิเกะยะ-เซะกิ (C/1965 S1)
เป็นดาวหางคาบยาว ค้นพบโดยชาวญี่ปุ่นสองคน
เป็นดาวหางอีกดวงหนึ่งที่มองเห็นได้ในเวลากลางวัน
มีอันดับความสว่าง -10 ดาวหางดวงนี้แตกเป็นสามส่วนก่อนที่จะเข้าถึงดวงอาทิตย์
เป็นดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ในกลุ่มครอยทซ์ เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ 0.008 หน่วยดาราศาสตร์
คนที่อยู่ในวัยกลางคนขึ้นไปน่าจะเคยเห็นดวงนี้ทุกคน
ที่มา https://bit.ly/2LmwJfD



เพลงควนกาหลง มีตำนานที่มาจาก
เพื่อนผองน้องพี่คนแต่งเพลงดังกล่าว
ถูกทางการบังคับให้อพยพไปอยู่ที่
อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูลในช่วงปี 2508
ซึ่งหลังจากเหตุการณ์วันเสียงปืนแตก
7 สิงหาคม 2508 เพียงไม่นานนัก
และจำเหตุการณ์สำคัญในช่วงนั้นได้ดี
คือ เห็นดาวหางในทิศบูรพาที่แจ่มจรัสมาก
ส่วนการถูกบังคับให้อพยพอาจจะหลังจากการเห็นดาวหางก็ได้




7สิงหาสู้บนทางปืน



ผู้อพยพชุดนี้ต้องนั่งรถไฟมาสุดสายที่ชุมทางหาดใหญ่
ก่อนที่จะขึ้นรถยนต์บรรทุกไปที่สตูล
เพื่อไปแผ้วถางและบุกเบิกนิคมควนกาหลง
โดยเส้นทางรถไฟสายใต้ที่เลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
จะสามารถมองเห็นท้องทะเลได้ในบางจุด

ควนกาหลง
ควน คือ ภูเขาเตี้ย ๆ ในภาคใต้
กา คือ อีกา
หลง คือ หลงทาง
ควนกาหลง คือ พื้นที่ภูเขาขนาดย่อมที่อีกาบินหลงทาง
เพราะมีพื้นที่ขนาดกว้างและหลายควนสลับซับซ้อนมาก



ย้อนอดีตนักโทษประหาร ม.17 ถูกยิงเป้าที่สงขลา




จอมพลถนอม กิตติขจร



Create Date : 15 กรกฎาคม 2561
Last Update : 16 กรกฎาคม 2561 0:39:13 น. 2 comments
Counter : 1605 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี


 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
วลีลักษณา Literature Blog ดู Blog
Rananrin Book Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
tangkay Dharma Blog ดู Blog
พายุสุริยะ Travel Blog ดู Blog
ruennara Literature Blog ดู Blog
Max Bulliboo Klaibann Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Review Food Blog ดู Blog
ravio Education Blog ดู Blog

ขอบคุณที่นำความรู้ดีดีมาฝากเสมอ


โดย: อุ้มสี วันที่: 15 กรกฎาคม 2561 เวลา:20:56:52 น.  

 
เป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3445381 วันที่: 16 กรกฎาคม 2561 เวลา:2:59:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.