ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2561
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 สิงหาคม 2561
 
All Blogs
 
จากเมล็ดต้นสนเพียงต้นเดียวที่ปลูกทั่วประเทศออสเตรเลีย






World War I: Gallipoli Campaign



The Lone Pine Cemetery at Gallipoli. Photo credit: Jorge Láscar/Flickr


อนุสรณ์สถานที่เกี่ยวกับสงครามหลายแห่งทั่วประเทศออสเตรเลีย
จะมีการปลูกต้นสนในบริเวณดังกล่าว
ต้นไม้เหล่านี้เรียกว่า Lone Pines
และบรรพบุรุษของต้นสนเหล่านี้
จะสามารถสืบย้อนกลับไปยังต้นสนเพียงต้นเดียว
ที่ยืนตระหง่านอยู่ในบริเวณสนามรบที่นองเลือดมากที่สุด
คือ สงครามขั้นแตกหัก Gallipoli Campaign ที่เคยเกิดขึ้นที่นั่น


สงคราม Lone Pine มีการสู้รบกันรอบ ๆ อ่าวเล็ก ๆ Anzac Cove
หรือที่เรียกกันว่า Plateau 400 แถวคาบสมุทร Gallipoli ในประเทศตุรกี
ในปี 1915 สงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังเข้าขั้นแตกหัก
กลุ่มพันธมิตรที่มีกองกำลังผสมออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์
ที่ต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันที่คาบสมุทร Gallipoli
เริ่มส่ออาการไม่ค่อยดีแล้วในการสู้รบ
กลุ่มพันธมิตรจึงได้ตัดสินใจที่จะเบี่ยงแบนสนใจ
ไม่ให้จักรวรรดิออตโตมันรุกรบเอาชัยที่ Anzac Cove
โดยการไปโจมตีหนักที่ Sari Bair Chunuk Bair และ Hill 971 เนินเขาสูงสุดของบริเวณสู้รบ




400 Plateau Aerial GALLIPOLI



วันที่ 6 สิงหาคม 1915
2 วันก่อนที่จะเริ่มทำการโจมตี Chunuk Bair
กองทหารราบที่ 1 ของออสเตรเลียได้ทำการรุกหนักที่ Plateau 400 in Anzac Cove
บนสันเขาแนวราบสูงเคยปกคลุมไปด้วยต้นสนจำนวนหลายต้น
เป็นต้นสนพื้นเมืองของตุรกี สายพันธุ์ Pinus brutia
แต่กองทัพตุรกีได้ตัดต้นสนทิ้งเพื่อเสริมสร้างร่องคูแนวรบของพวกตน
เหลือแต่เฉพาะต้นสนเพียงต้นเดี่ยวที่ยืนโด่เด่ไว้
แต่ไม่นาน หลังการสู้รบที่รุนแรงในเวลาต่อมา
ต้นส้นต้นนั้นก็ถูกทำลายฉีกขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย



กองทัพออสเตรเลียต้องใช้เวลาเพียงแค่ 20 นาที
ในการบุกเข้าแนวป้องกัน/ค่ายคูสนามรบของตุรกี
แต่การสู้รบที่ดุเดือดเลือดพล่านกลับต้องใช้เวลาถึง 4 วัน
ภายในค่ายคูสนามรบที่เสมือนเขาวงกต
ที่ค่อนข้างคับแคบและสลับซับซ้อนเป็นของร่องลึก
ทั้งทหารออสเตรเลียและทหารตุรกีต่างต่อสู้กัน
ด้วยการขว้างปาระเบิดมือและใช้ดาบปลายปืนเข้าต่อสู้ซึ่งกันและกัน
แทนที่จะยิงปืนเข้าใส่เพราะอาจจะเสี่ยงต่อยิงถูกเพื่อนทหารด้วยกันในความมืดมิด
บางครั้งพวกทหารต่างขว้างระเบิดใส่ซึ่งกันและกัน
แต่ระเบิดมือมีช่วงปลอดระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระเบิด
ทำให้มักจะมีการโยนกลับหรือโยนไปข้างหน้าก่อนที่จะระเบิด

ผลการสู้รบที่ Lone Pine
ทหารออสเตรเลียเสียชีวิตประมาณ 2,300 ราย
และทหารตุรกีเสียชีวิตประมาณ 7,000 ราย





Detail from “The taking of Lone Pine”, 1921, oil-on-canvas, by Fred Leist.


หลังจากการสู้รบยุติลง
ทหารออสเตรเลียบางรายได้หยิบกรวยสนหลายลูก
(กรวยสนจะมีเมล็ดสนอยู่ภายในหลายเมล็ดมาก)
กรวยสนที่ปะปนอยู่กับกิ่งก้านและต้นสน
ที่ทหารตุรกีตัดลงมาเพื่อทำที่กำบังในค่ายคูสนามรบ
ทหารออสเตรเลียหลายคนได้หยิบกรวยสนกลับบ้านที่ออสเตรเลีย
มีความเชื่อกันว่า จ่า Keith McDowell จากกองพันที่ 23
ได้หยิบกรวยสนจากซากต้นสนที่เหลือเป็นต้นสุดท้าย (Lone Pine Tree)
ท่านได้ใส่กรวยสนไว้ในกระเป๋าเป้สะพายหลังของท่าน
เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการรบที่ผ่านมา
และเมื่อท่านเดินทางกลับถึงบ้านที่ออสเตรเลีย
ท่านได้มอบกรวยสนลูกนี้ให้กับ Emma Gray ป้าของท่าน
ที่พักอาศัยอยู่ใกล้กับ Warrnambool รัฐ Victoria






หลายปีต่อมา
Emma Gray ได้นำกรวยสนลงดินเพื่อปลูก
และมีต้นกล้า 4 ต้นที่งอกขึ้นมา
ซึ่งต้นกล้าดังกล่าวได้มีการนำไปปลูก
ในสถานที่ต่าง ๆ 4 แห่งในรัฐ Victoria
Wattle Park และ Shrine of Remembrance ใน Melbourne
Soldiers Memorial Hall ที่ The Sisters ใกล้กับ Terang และ Warrnambool Botanic

สิบตรี Benjamin Smith จากกองพันที่ 3 ทหารอีกคนหนึ่ง
ได้หยิบกรวยสนจากสถานที่รบและส่งกลับไปให้แม่ที่ออสเตรเลีย
อีก 13 ปีต่อมา
แม่ของ Benjamin Smith พยายามที่จะเพาะต้นสน
และเมล็ดสนงอกขึ้นบางส่วน มีเพียงกล้าสน 2 ต้นที่รอดตาย
ต้นหนึ่งจึงปลูกไว้ที่บ้านเกิดของเธอ Inverell ในรัฐ New South Wales
และอีกต้นนำไปปลูกที่ Australian War Memorial ใน Canberra

ในทุก ๆ ปีเมล็ดต้นสนหลายร้อยเมล็ด
จะถูกเก็บรวบรวมจากต้นสนเหล่านี้
และนำไปปลูกไว้ทั่วประเทศออสเตรเลีย
เพื่อรำลึกถึงการสู้รบที่รุนแรงที่เมือง Gallipoli เมื่อ 100 กว่าปีก่อน
ทุกวันนี้ยังสามารถซื้อกล้าของต้นสน Lone Pine
ได้ที่ Australian War Memorial
และที่ The Gallipoli lone pine



เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2Lm95Pd
https://bit.ly/2Mr0AYC
https://bit.ly/2wjE0Xe
https://bit.ly/2BRXJDt










A trench at Lone Pine after the battle, showing Australian and Turkish dead on the parapet.




1st Battalion troops having taken 80 yards of a Turkish trench, waiting near Jacob's Trench 
for relief by the 7th Battalion. Photo credit: Australian War Memorial




Photo credit: ArchivesACT/Flickr




Lone Pine at the Australian War Memorial in Canberra. Photo credit: Bidgee/Wikimedia




Lone Pine at Wattle Park, Melbourne. Photo credit: Melburnian/Wikimedia



















เรื่องเล่าไร้สาระ


มีรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ที่ระบุว่า ต้นตาลโตนด มีสายพันธู์มาจากอินเดีย
โดยพ่อค้า นักเดินเรือ นักบวช นำมาปลูกหรือทิ้งให้งอกในพื้นที่
ต่อมา มีการนำไปปลูกขยายพันธุ์มากแถวสุโขทัย เพชรบุรี เขมร
ที่เขมรจะนิยมปลูกต้นตาลโตนดเป็นแนวรั้ว/แนวเขตเมือง
จนมีคำพูดกันเล่นว่า จะดูว่าเป็นเขตเขมรหรือญวน ให้ดูที่ต้นตาล
แต่สายพันธุ์ต้นตาลโตนด ยังไม่มีการนำไปตรวจ DNA อย่างจริงจัง


ที่สงขลา มีอำเภอชื่อ ระโนฎ
ระโนฎ สะกดตามพงศาวดารเมืองสงขลา
โดย พระยาวิเชียรคิรี(ชม) เจ้าเมืองสงขลา
สอบถาม แปฏง มหา บุญเรือง คัชมาย์
ท่านว่ามาจากคำ ตะโนด ตะโหนด
ภาษาเขมรคือ ต้นตาลโตนด


มีคำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ จำนวน 1,320 คำ
ในจำนวนนี้มีอยู่ 573 คำ ที่ตรงกับคำยืมเขมรในภาษาไทยมาตรฐาน
และมีอยู่ 394 คำ ที่เป็นคำยืมเขมรที่ปรากฎเฉพาะในภาษาไทยถิ่นใต้
ที่มา เปรมินทร์ คาระวี


สมัยก่อนที่คาบสมุทรจะทิ้งพระ
แถวอำเภอจะทิ้งพระ อำเภอระโนฏ
จะมีการปลูกต้นตาลโตนดจำนวนมาก
นัยว่าเป็นแนวเขตที่ดินของแต่ละคน
ทั้งยังช่วยชักน้ำจากดิน ดูดความชื้นจากอากาศ เป็นร่มเงา
เป็นที่ล่ามวัว ทั้งนำมาใช้สารพัดประโยชน์
และที่นิยมมากที่สุดคือ น้ำตาลเมา หรือ หวาก
ต้องใส่เศษต้นเคี่ยมเล็กน้อย
เพื่อกันบูดและให้มีรสชมแบบ Hop ที่ใส่ในเบียร์


จนมีตำนานเวลาสู่ขอลูกสาว
ระหว่างคนจะทิ้งพระกับคนระโนฎ
ต่างฝ่ายต่างต้องถ่อมตน/ไว้เล่ห์(เหลี่ยม)โดยบอกว่า
ต้นตาลแถวบ้านตนน้อยกว่าบ้านเติน ต้นเดียว
แบบกลัวไม่ได้แต่งงานหรือได้ลูกสาวอีกฝ่ายมาเป็นภริยา


เติน เป็นคำเรียกอีกฝ่าย มี 2 นัยแบบคำไทยโบราณ สู คิง แก มึง เอ็ง
ที่ใช้แบบกันเอง หรือใช้เหยียด(หยาม)อีกฝ่าย)


ยังมีตำนาน สมเด็จวัดพะโคะ หรือ หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้
ตอนที่ท่านยังเป็นทารก พ่อแม่ต้องไปทำนา
แม่ท่านได้วางท่านนอนหลบแดดที่ใต้ต้นตาล
แล้วขอฝากพระแม่ธรณีและสิ่งศักดิสิทธิ์คุ้มครองท่าน
พอพ่อแม่ท่านไถนาเสร็จกลับไปดูท่าน
ก็เจอทวดงูบ้องหลา(จงอาง) แผ่แม่เบี้ยป้องแดดเหนือศีรษะของท่าน
(ทวด คือ ตัวใหญ่มาก อายุมาก ศักดิ์สิทธิ์มาก)
พ่อแม่จึงสวดอ้อนวอนขอชีวิตท่าน
ทวดงูจึงคายลูกแก้วดวงหนึ่งไว้ที่พื้นก่อนเลื้อยหายไป
ทุกวันนี้ ลูกแก้วในตำนานยังอยู่ที่วัดพะโคะ
แต่ถูกผู้ชายบ้าคนหนึ่งลักขโมยไปทุบแตก 
จนต้องรวบรวมขึ้นเป็นลูกแก้วแล้วเก็บรักษาไว้






ต่อมาถึงยุคกุ้งกินโหนด
คือ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำแล้วขาดทุน
จนต้องขายที่ขายทาง
โฉนดที่ดินถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด


ที่ระโนฏก็มีการรื้อที่นาเพื่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำกันมาก
จนที่นาต้นตาลโตนดที่ใกล้กับนากุ้งกุดาดำ
ค่อย ๆ ทะยอยตายซากเพราะน้ำเค็ม


ยิ่งตอนที่มีนายทุนใหญ่อังกฤษไปร่วมลงทุน
สร้าง Jetty คลองชักน้ำจากทะเลรวม 10 ตัว
เพื่อนำน้ำทะเลเข้าไปเลี้ยงกุ้งกุดาดำ
ยิ่งมีการขยายพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำ
ผลของการขยายพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำ
มีเครือข่ายและเกษตรกรร่วมวงศ์ไพบูลย์หลายพันนาย
ที่นาเดิมกลายเป็นนากุ้งกุลาดำหลายพันไร่
จนต่อมามีมหกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นจนเป็นตำนาน
ผมยังเคยไปดูตัว Jetty และรับฟังตำนานคราวนั้น


ผลของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวนมากครานั้น
ทำให้ต้นตาลโตนดตายไปเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งที่นาใกล้เคียงเสียหาย


ที่ดินเลี้ยงกุ้งกุลาดำเสียหาย/ฟื้นฟูยากมาก
แม้ว่าจะมีการปลูกปาล์มน้ำมันในที่ดินที่เคยเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
แต่ต้องยกร่องและปรับปรุงคุณภาพดินมาก เพราะดินเค็ม




ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/2BGNpxJ



Create Date : 24 สิงหาคม 2561
Last Update : 24 สิงหาคม 2561 23:52:42 น. 1 comments
Counter : 1830 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ


 
สุดยอด


โดย: อุ้มสี วันที่: 27 สิงหาคม 2561 เวลา:16:57:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.