ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 กรกฏาคม 2561
 
All Blogs
 
พบหนังสือเคลือบยาพิษ 3 เล่ม






นวนิยายหนังสือมรณะ Aristotle ของ Umberto Eco ในปี 1980
ชื่อ The Name of The Rose ที่เล่าเรื่องราวบาทหลวง Benedictine ที่วิกลจริต/บ้าคลั่ง
ที่ใช้หนังสือเล่มนี้สร้างความหายนะให้กับบาทหลวงในอารามอิตาลี ในศตวรรษที่ 14
เพราะหนังสือเล่มนี้จะฆ่าผู้อ่านทุกคนที่เลียนิ้วมือ
เมื่อพยายามพลิก/เปิดหน้าหนังสือที่เคลือบยาพิษ
เรื่องราวเหล่านี้เคยเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หนังสือเคลือบยาพิษ






งานวิจัยล่าสุดของคณาจารย์ University of Southern Denmark
พบว่า มีหนังสือ 3 เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือเก่าแก่หายากมาก
หัวข้อเรื่องประวัติศาสตร์ต่าง ๆ
เป็นงานสะสมของห้องสมุด University of Southern Denmark’s library
พบว่ามีสารหนูจำนวนมากที่เคลือบอยู่บนหน้าปกหนังสือ
หนังสือเหล่านี้ผลิตขึ้นมาในศตวรรษที่ 16 และ 17

คุณสมบัติของการเป็นพิษบนหนังสือเหล่านี้
ถูกตรวจพบโดยการวิเคราะห์ X-ray fluorescence analyses (Micro-XRF)
เทคโนโลยีนี้จะแสดงสเปกตรัมองค์ประกอบของสารเคมีวัตถุ
ด้วยการวิเคราะห์คุณลักษณะของรังสีชั้นที่ 2 ที่ปลดปล่อยออกมาจากรงควัตถุ
ในช่วงการฉายแสงอย่างแรงจากเครื่อง X-ray ที่ใช้เทคโนโลยี Micro-XRF
ซึ่งมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในด้านโบราณคดีและงานศิลปะ
เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบทางสารเคมีของเครื่องปั้นดินเผาและภาพวาด





สีเขียวแวววาว

เหตุผลที่ต้องนำหนังสือหายากจำนวน 3 เล่มนี้
ไปยังห้องทดลองเพื่อทำการเอ็กซ์เรย์
เพราะบรรณารักษ์ห้องสมุดพบว่า
มีเศษชิ้นส่วนต้นฉบับหนังสือยุคกลาง
เช่น สำเนาของกฎหมายโรมัน และกฎหมายบัญญัติ
ถูกนำมาใช้ซ้ำอีกครั้งเพื่อทำหน้าปกหนังสือเหล่านี้
ทั้งนี้ยังมีบันทึกในอดีตที่ระบุไว้ว่า
ปกหุ้มหนังสือและรองในหนังสือ
ในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17
มักจะนิยมใช้กระดาษเก่ามา Reuse ใช้ซ้ำอีกครั้ง


หลังจากที่นักวิจัยพยายามจะระบุว่า
ข้อความภาษาละตินด้านใน หรืออย่างน้อยก็ให้อ่านเนื้อหาบางส่วนได้
แต่แล้วก็พบว่าข้อความภาษาละตินในปกของหนังสือทั้ง 3 เล่ม
อ่านได้ยากมากเพราะมีสีเขียวทีบแสงมาก
จนปิดบังตัวหนังสือที่เขียนด้วยลายมือยุคเก่า

ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องนำหนังสือเหล่านี้ไปยังห้องแล็บ
โดยมีแนวคิดว่า จะทำการกรองผ่านชั้นของสีโดยใช้ micro-XRF
และมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบทางเคมีของหมึกด้านล่าง
เช่น เหล็กและแคลเซียม โดยหวังว่าจะทำให้นักวิจัย
จะสามารถอ่านตัวอักษรออกได้มากขึ้น

แต่ผลการวิเคราะห์ XRF
พบว่าชั้นเม็ดสีเขียวเป็นสารหนู Arsenic
สารเคมีนี้เป็นหนึ่งในสารที่เป็นพิษมากที่สุดในโลก
และการสัมผัสสารหนู อาจนำไปสู่อาการข้างเคียงต่าง ๆ
อาการเป็นพิษ การพัฒนาของมะเร็ง และนำไปสู่ความตาย
สารหนู (As) เป็น Metalloid ธาตุกึ่งโลหะ
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างแพร่หลาย

ในธรรมชาติสารหนูมักจะปะปนเข้ากับธาตุอื่น ๆ
เช่น คาร์บอนและไฮโดรเจน ที่เรียกว่าสารหนูอินทรีย์
สารหนูอนินทรีย์สารหนูอาจเกิดขึ้นในรูปแบบโลหะบริสุทธิ์
รวมทั้งสารประกอบตัวแปรที่เป็นอันตรายมากยิ่งกว่า
ความเป็นพิษของสารหนูไม่ลดลงตามระยะเวลา

อาการต่าง ๆ ของการเป็นพิษจากสารหนู
ได้แก่ อาการท้องร่วง กระเพาะอาหารระคายเคือง ท้องเสีย ท้องร่วง
การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง และการระคายเคืองของปอด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดสารหนูและระยะเวลาที่สัมผัสกับสารหนู



อุบัติเหตุจากสารพิษ และสภาพสีเขียว ในปี 1859 © Wellcome Collection, CC BY-SA



สีเขียวที่อยู่บนปกหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้
เป็นสีเขียวปารีส Paris green
copper(II) acetate triarsenite กับ copper (II) acetoarsenite Cu (C₂H₃O₂) ₂· 3Cu (AsO₂) ₂
ที่รู้จักกันและเรียกว่า สีเขียวมรกต เพราะเป็นสีเขียวที่สะดุดตาคล้ายคลึงกับสีอัญมณียอดนิยม







โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 19
สีจากสารหนู - เป็นผงผลึกละเอียด
ผลิตได้ง่ายและมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย
มีการใช้งานกันหลากหลายวัตถุประสงค์
ขนาดของผงที่บดละเอียดเหมือนผงแป้ง มีผลต่อการปรับแต่งสี
ตามที่ยังเห็นได้ในภาพสีน้ำมันและแลคเกอร์
ผงสารหนูที่มีขนาดใหญ่(ไม่ละเอียด)
จะทำให้เกิดสีเขียวคล้ำขึ้น
ผงสารหนูเม็ดเล็กกว่าจะมีสีเขียวอ่อน
เม็ดสีเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สำหรับการสร้างความเข้มของสี
และความต้านทาน/ทนทานต่อการซีดจาง


เม็ดสีในอดีต


การผลิตสีเขียวปารีส เชิงอุตสาหกรรมเริ่มต้นในยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
จิตรกร Impressionist และ Post-impressionist มักจะใช้สีที่แตกต่างกัน
เพื่อสร้างผลงานชิ้นเอก ผลงานที่เร้าใจของจิตรกร
นั่นหมายความว่า ภาพวาดในพิพิธภัณฑ์หลายชิ้นในปัจจุบันยังมีพิษอยู่
ในช่วงนิยมสีเขียวปารีส จึงมีการใช้สีนี้กันอย่างแพร่หลายมาก
ใช้กันในทุกประเภทของวัสดุ เสื้อผ้า แม้กระทั่งปกหนังสือ
ก็มักจะเคลือบสีเขียวปารีสสีเขียว เพื่อความงดงาม
แน่นอนการที่ผิวหนังสัมผัสสารหนูอย่างต่อเนื่อง
จึงนำไปสู่อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากพิษของสารหนู




Paris Green Chris Goulet/Wikimedia Commons, CC BY-SA



ต่อมา ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19
อาการเป็นพิษของสารหนู จึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
และผงฝุ่นสารหนูที่ใช้ผสมเป็นสีต่าง ๆ ก็เลิกใช้งานไป
เพราะมีการค้นพบสีเขียวปารีสจากวัตถุอื่นทดแทนได้
จึงมีการนำไปใช้ในงานจิตรกรและอุตสาหกรรมสิ่งทอ

แต่สีเขียวปารีส/สารหนูกลับนำไปใช้เป็นสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่เพาะปลูก
เพราะได้ผลดีกว่าสารเคมีชนิดอื่น ๆ

ในกรณีที่หนังสือทั้ง 3 เล่มที่มีการใช้สารหนู
คงไม่ใช่ใช้เพื่อความสวยงามแต่อย่างใด
คำอธิบายที่เป็นไปได้คือ การประยุกต์ใช้
ซึ่งมีความเป็นไปได้ในศตวรรษที่ 19
สีเขียวปารีสในหนังสือเก่าที่พบนั้น
อาจใช้เพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อหนังสือ




Wilhelm Grimm (ซ้าย) กับ Jacob Grimm ในปี 1856 วาดโดย Elisabeth Jerichau-Baumann
ผู้รวบรวมและเรียบเรียงนิทานพื้นบ้าน




ภายใต้สภาพแวดล้อมบางอย่างของสารหนู
เช่น arsenates และ arsenites
อาจเปลี่ยนองค์ประกอบย่อยลงเป็น arsine (AsH₃)
ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่มีกลิ่นคล้ายกลิ่นกระเทียม
นิทานของ Grimm ที่มีเรื่องราวที่น่ากลัวของ green Victorian wallpapers
กระดาษปิดผนังสีเขียวแบบวิกตอเรีย
ที่คร่าชีวิตเด็กในห้องนอน
จึงเป็นเรื่องที่มีเค้าโครงจากเรื่องจริง

ทำให้ตอนนี้ทางบรรณารักษ์ได้แยกหนังสือ 3 เล่มนี้
นำไปเก็บรักษาไว้ในกล่องกระดาษพร้อมกับป้ายเตือนอันตราย
ทั้งยังมีแผนการที่จะทำเป็นหนังสือดิจิตอลออีกจำนวนหลายเล่ม
เพื่อลดอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดจากหนังสือได้




The Arsenic Waltz’. © Wellcome Collection, CC BY-SA




เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2KzZnt0
https://bit.ly/2yYxSIo
https://dailym.ai/2KBd2QR





บันทึกสั่งตายของ Marie Curie


ภาพเพิ่มเติม




Fig. 1 – Leiden, University Library, 583, งานพิมพ์ (ศตวรรษที่ 16)
พร้อมกับเศษชิ้นส่วนเอกสารยุคกลางภายใน (ศตวรรษที่ 12) – © EK



Fig. 2 – Leiden, University Library, เศษชิ้นส่วนจากเอกสารสะสม BPL collection – © Julie Somers – Source



Fig. 3 – Rembrandt, Old Man with a Beard (ซ้าย) และภาพวาดตนเอง (ขวา) ที่ซ่อนอยู่ด้านล่างชั้นสี



Fig. 4 – The MA-XRF-เครื่อง scanner พัฒนาโดย Joris Dik กับทีมงานที่ Delft University – © EK



Fig. 5 – The head of the MA-XRF scanner ขณะทำงานตรวจสอบหนังสือศตวรรษที่ 16 Leiden, University Library, 617 F 19



Fig. 8 – Leiden, University Library, 180 E 18: เศษชิ้นส่วนเอกสารขนาดใหญ่ภายในชั้นที่ปกปิด – © Anna Käyhkö



Martin Engelbrecht งานลงสีด้วยมือ dominotière
หรือลายพิมพ์ผ้า/กระดาษ พร้อมกับชุดสวมใส่ตัวอย่างลาย Wallpaper
(Germany, 1735–40) (งานสะสม Bibliothèque des Arts Décoratifs, Paris)



เครื่องจักรผลิต Wallpaper ที่พิมพ์สีได้ด้วย คิดค้นโดย Charles Potter ในปี 1839
อุตสาหกรรมนี้แพร่หลายมากใน Victorian England’s Peak District (งานสะสมส่วนตัว)



วารสารทางการแพทย์ฝรั่งเศส ปี 1859
ภาพประกอบอธิบายถึงอันตรายจากสารหนู
ที่มีสาเหตุมาจากการปนเปื้อนจากผงสารหนู ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสี
อาการพิษที่มีผลต่อเส้นเลือดและปรากฏร่องรอยสีเขียวขึ้นมา
ลักษณะเฉพาะของผิวหนัง กระเนื้อขนาดเล็ก และ รอยด่างดำหลังอาการอักเสบ
(งานสะสม Wellcome Library ใน London)



“ นี่คืออาการหลังจากกินยาชั้นเยี่ยม ARSENIC ”
การ์ตูนอังกฤษในปี 1850 เจ้าแห่งความตายโผล่ขึ้นด้านหลังผู้ป่วย
ที่มีผลข้างเคียงจากการกินยาที่มีส่วนผสมสารหนู (งานสะสม Wellcome Library ใน London)



Pages from ‘Bitten by Witch Fever’ (© the author for Hyperallergic)



Pages from ‘Bitten by Witch Fever’ (© the author for Hyperallergic)



Grid of wallpaper by C. E. & J. G. Potter, Lancashire, UK (1856);
James Boswell, Dublin, Ireland (1846);
Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1860);
C. E. & J. G. Potter, Lancashire, UK (1856) (© 2016 Crown Copyright)



Wallpaper by Corbière, Son & Brindle, London, UK (1879) (© 2016 Crown Copyright)



Grid of wallpaper by Heywood, Higginbottom, Smith & Company, Manchester, UK (1857);
C. E. & J. G. Potter, Lancashire, UK (1856);
Corbière, Son & Brindle, London, UK (1877);
Jules Desfossé, Paris, France (1880) (© 2016 Crown Copyright)



Wallpaper by John Todd Merrick & Company, London, UK (1845) (© 2016 Crown Copyright)



Grid of wallpaper by Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1862);
Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1862);
Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1862);
Christopher Dresser for Jeffrey & Company, London, UK (1863) (© 2016 Crown Copyright)



Wallpaper by Scott, Cuthbertson & Company, London, UK (1874) (© 2016 Crown Copyright)



Grid of wallpaper by Christopher Dresser for William Woollams & Company, London, UK (1863);
Lightbown, Aspinall & Company, Lancashire, UK (1881);
William Cooke, Leeds, UK (1880); Christopher Dresser for Jeffrey & Company, London, UK (1863);
Alexander J. Duff, London, UK (1880); William Cooke, Leeds, UK (1880);
William Cooke, Leeds, UK (1880); James Toleman, London, UK (1856) (© 2016 Crown Copyright)



Wallper by Jules Desfossé, Paris, France (1879) (© 2016 Crown Copyright)



Wallpaper by Corbière, Son & Brindle, London (1877) (© 2016 Crown Copyright)







Create Date : 01 กรกฎาคม 2561
Last Update : 1 กรกฎาคม 2561 8:19:46 น. 2 comments
Counter : 2644 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณRananrin


 
เรื่องราวหนังสือ น่าอ่าน
แต่เรื่องราวด้านล่าง น่ากลัว


โดย: inmemoir วันที่: 1 กรกฎาคม 2561 เวลา:19:20:06 น.  

 
เลี่ยงไม่อ่านมานาน
เพราะรู้สึกว่ามันน่ากลัว
แล้วมันก็น่ากลัวจริงๆ

กว่าวิทยาการจะก้าวหน้า
จนสามารถระบุได้ว่าสิ่งใดมีพิษ
ก็ใช้เวลานาน

และก็คงยังมีอีกหลายอย่าง
ที่จะต้องค่อยๆ พบเจอต่อไป


โดย: เพรางาย วันที่: 4 กรกฎาคม 2561 เวลา:17:42:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.