ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2561
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
8 ธันวาคม 2561
 
All Blogs
 
Halifax Gibbet เครื่องตัดศีรษะที่มีก่อน Guillotine


1.



Credit: Robert Lennon/Flickr




Halifax Gibbet ยืนตระหง่านใจกลางพื้นที่ว่างเปล่า
พร้อมกับฉากหลังต้นไม้จำนวนหนึ่ง
ในเมือง Halifax ที่ West Yorkshire
มันเป็นเครื่องมือประหัตประหารที่น่ากลัว
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตะแลงแกง Gibbet
ที่ใช้ตัดหัวนักโทษมานานกว่า 350 ปี
แม้ว่าจะเป็นโทษเล็กน้อย/อาชญากรรมที่ไม่รุนแรง
เช่น การลักขโมยทรัพย์สินในยุคนี้ไม่ถึงกับต้องประหารชีวิต


Halifax Gibbet ประกอบขึ้นจากโครงสร้างหลักคือ เสาไม้ 2 ต้น
มีใบมีดคมยึดติดตรึงตรากับท่อนไม้
ที่แขวนอยู่ด้านบนห่วง/รอกที่ผูกด้วยเชือก
นักโทษประหารจะถูกจับมัดอย่างแน่นหนา
พาดคอไว้ร่องไม้รอใบมีดที่จะหล่นลงมา
เมื่อเพชฌฆาตปล่อยเชือกที่รั้งใบมีดไว้
โดยปลดเชือกออกจากตะขอมัดเขือก
มีการใช้วัว/ม้าลากเชือกที่รั้งใบมีดขึ้นบน
เมื่อปลดเชือกออกจากตะขอ บางครั้งก็ใช้ดาบฟันเชือก
ใบมีดขนาดใหญ่จะหล่นลงมาตัดคอนักโทษประหารชีวิต
ศีรษะนักโทษประหารจะกระเด็นแยกออกจากร่างกาย
บางคนคิดว่า อุปกรณ์นี้คือ กิโยติน (Guillotine)
ที่ใช้ประหัตประหารผู้คนจำนวนมากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789
แต่ Halifax Gibbet มีการใช้งานก่อน Guillotine นานกว่า 5 ศตวรรษแล้ว


ในยุคนั้น การตัดหัวนักโทษประหารด้วยดาบหรือขวาน
เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอังกฤษ
แต่ถ้าดาบ/ขวานที่ไม่คม หรือฟันพลาดไป
ยิ่งทำให้นักโทษต้องทนทุกข์ทรมานมากยิ่งขึ้น
จึงเชื่อกันว่า Halifax Gibbet คือ เครื่องจักรสังหาร
เพื่อการลงโทษประหารชีวิตที่ใช้งานสะดวกที่สุด


ในปีค.ศ.1286 มีบันทึกการใช้งาน Halifax Gibbet
โดย Lord of the Manor ขุนนางศักดินาเจ้าที่ดิน
ที่มีลำดับล่างสุดในพวก Lord
แต่มีอำนาจตัดสินประหารชีวิตนักโทษ
เช่น รายใดที่ขโมยข้าวของสินค้า
ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 เพนนีครึ่ง
เรื่องนี้ทำให้กฎหมาย Halifax Gibbet Law
เลื่องชื่อลือชาว่ามีบทลงโทษที่รุนแรงมากในยุคสมัยนั้น





นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า กฎหมาย Halifax Gibbet Law
คือ ร่องรอยประเพณีดั้งเดิม Infangthief ของพวก Anglo-Saxon
ซึ่งอนุญาตให้เจ้าที่ดินสามารถบังคับกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
รวมถึงการลงโทษประหารชีวิตพวกโจรที่ถูกจับได้ภายในเขตที่ดินของพวกเจ้าที่ดิน
กฎหมายดังกล่าวเป็นมาตรฐานทั่วไปของเจ้าที่ดินท้องถิ่น/ขุนนางท้องถิ่น
จนกระทั่งถูกยกเลิกไปในรัชสมัย พระเจ้า Edward III


แต่ที่ Halifax ยังมีการลงโทษประหารชีวิตอยู่
เพราะการประหารชีวิตใน Yorkshire
ได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์


ในปีค.ศ. 1278 มีรายงานสรุปว่า
มีตะแลงแกงและที่แขวนคอนักโทษถึง 94 แห่งในอังกฤษ


การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
ทำให้เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี
John Taylor กวีชาวอังกฤษ
ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่า The Water Poet
ได้ร่ายบทกวีเรื่อง Beggar's Litany ในปีค.ศ.1622 ว่า


มีคำพังเพยและคำอธิษฐาน
สามสถานที่ไม่ควรจะไป
ที่ Hull ที่ Halifax ที่ Hell (นรก)
ทั้งสามสิ่งนี้พระเจ้ามอบให้แก่เรา


Hull เครื่องมือประหารเช่นเดียวกับ Halifax
Hull ใช้กับนักโทษประเภทขโมยกับขอทาน
ซึ่งเป็นพวกไม่พึงประสงค์อย่างมากในยุคนั้น
Halifax นักโทษจะถูกใบมีดตัดหัวให้ขาดกระเด็น
Hull นักโทษจะถูกมัดติดกับลานประหาร
ขังอยู่ภายในกรงขังที่จำกัดการเคลื่อนไหว
วางไว้ปากแม่น้ำ Humber ช่วงน้ำทะเลลง
เพื่อรอให้น้ำทะเลขึ้นท่วมกรงขังจนนักโทษจมน้ำตาย


Halifax Gibbet จะประหารชีวิตนักโทษในวันที่มีตลาดนัด
เพื่อให้มีชาวบ้านมาชมการประหารให้มากที่สุด
ก่อนจะทำการประหารชีวิตนักโทษ
นักโทษจะถูกล่ามโซ่แล้วแห่ประจานเป็นเวลา 3 วันตลาดนัด
พร้อมกับนำตัวนักโทษมาแสดงตัวที่ใจกลางเมือง
พร้อมกับข้าวของที่ขโมยมาให้ชาวบ้านชม


ในวันประหารชีวิต
นักโทษจะถูกนำตัวไปยังลานประหาร
ชายแดนของเมืองอยู่ห่างราวครึ่งกิโลเมตร
จากเขตอำนาจศาล/อำนาจในการจับกุมลงโทษ
เพราะตามกฎหมายอังกฤษเดิมระบุว่า
การลงโทษต้องทำในพื้นที่แยกต่างหากออกไปจากชุมชน
โดย Halifax เป็นส่วนหนึ่งของป่าไม้ Forest of Hardwick
ถ้านักโทษหลบหนีไปได้และข้ามเขตแดน/เขตอำนาจศาล ไปแล้ว
เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถนำตัวกลับมาลงโทษได้


มีผู้รอดตายจากการหลบหนีไปได้ 2 รายคือ
นักโทษชาย Dinnis วิ่งหนีไปเกิน 500 เมตร
อีกรายคือ นักโทษชาย Lacey ก็หนีออกไปได้
แต่อีก 7 ปีต่อมาได้ย้อนกลับมาที่ Halifax
จึงถูกจับกุมคุมขังและประหารชีวิตในปีค.ศ.1623 ในวันที่จับกุมได้


27 ปีต่อมา (ปีค.ศ.1650)
Halifax Gibbet มีการใช้ลงโทษครั้งสุดท้าย
คือการตัดศีรษะนักโทษ 2 คนในวันเดียวกัน คือ
Abraham Wilkinson ข้อหาขโมยผ้ายาว 16 หลา
Anthony Mitchell ข้อหาขโมยม้าและนำไปขายรวม 2 ตัว


ต่อมามีการยกเลิกบังคับใช้
กฎหมาย Halifax Gibbet Law
ทำให้ Halifax Gibbet สิ้นสุดการใช้งาน
แต่มีนักโทษไม่เกินกว่า 100 คน
ที่ตายเพราะเครื่องจักรสังหารตัวนี้


Oliver Cromwell (25 เมย.1599 – 3 กย.1658
Lord Protector of the Comonwealth of England, Scotland, and Ireland
คือ ผู้ออกกฎหมายยกเลิกการประหารชีวิตด้วย Halifax Gibbet
แต่ในที่สุด Oliver Cromwell ก็ถูกนำโครงกระดูก
มาตัดศีรษะด้วยดาบในเวลาต่อมา
3 ปีหลังจากตายและฝังศพไปแล้ว


ในปี 1974 ตะแลงแกง Gibbet ใน Halifax
มีการจำลองแบบขึ้นด้วยการวางบนลานหินเดิม
โครงไม้ประกอบหลักประหารเดิมถูกรื้อถอดออกไป
หลังจากเลิกใช้งานในปีค.ศ.1650
แต่ใบมีดตัดศีรษะคนยังถูกเก็บรักษาไว้
และยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Bankfield Museum
ใน Boothtown ชานเมือง Halifax
พร้อมกับการจารึกชื่อนักโทษ 52 รายทั้งชายและหญิง
ที่ทราบชื่อว่าถูกตัดศีรษะด้วยเครื่องจักรสังหารตัวนี้


คาดว่า Halifax Gibbet มีการสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16
ก่อนหน้านี้การประหารชีวิตนักโทษจะใช้ดาบ หรือ ขวาน ตัดคอนักโทษ
เครื่องจักรสังหารของอังกฤษชิ้นนี้
ประกอบด้วยเสาไม้ 2 ต้นสูง 15 ฟุต(4.6 เมตร) มีคานขวางยึดเสา/รับน้ำหนักใบมีด
พร้อมกับติดห่วงเหล็กเพื่อทำหน้าที่เป็นรอกชักเชือกขึ้นลงด้วยวัวหรือม้า
ท่อนไม้ขนาด 4 ฟุต 6 นิ้ว(1.37 เมตร)
ด้านปลายท่อนไม้จะติดหัวขวานหนัก 7 ปอนด์ 12 ออนซ์(3.5 กิโลกรัม)
เครื่องจักรสังหารจะวางบนลานประหารก้อนหินเรียง
บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส 9 ฟุต (2.7 เมตร)
ความสูงจากพื้นดิน 4 ฟุต (1.2 เมตร) มีทางบันได้ขึ้นลง


แม้ว่า กิโยติน Guillotine จะเป็นเครื่องจักรสังหาร
ที่ประหารชีวิตคนมากที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 ที่เริ่มใน ค.ศ.1789
แต่ในปี ค.ศ.1792 จึงเริ่มใช้ Guillotine ตัดศีรษะนักโทษประหาร
ประมาณการว่ามีการตัดศีรษะนักโทษไม่น้อยกว่า 17,000 ราย
แต่เครื่องจักรสังหารรูปทรงและประเภทอื่น ๆ ที่ใช้ตัดศีรษะนักโทษ
ก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากในยุโรปมาก่อนหน้านี้แล้ว


เรื่องแบบนี้ทำให้ไม่แน่ใจว่า Dr.Joseph-Ignace Guillotin
จะคุ้นเคยหรือเคยเห็น Halifax Gibbet หรือไม่
แต่รูปลักษณ์และการออกแบบคล้ายกับไปคัดลอกจาก
James Douglas 4th Earl of Morton
ผู้ริเริ่มให้สร้างเครื่องจักรสังหารชื่อว่า Scottish Maiden ในปี ค.ศ.1564
เลียนแบบ Halifax Gibbet ด้วยนิยามว่า งานสะอาด
แล้วต่อมาผู้ริเริ่มก็ถูกตัดหัวด้วยเครื่องจักรนี้ในปี 1581
ทำให้มักจะมีการมโน/สร้างตำนานว่า
คนสร้าง Guillotine ถูกตัดหัวด้วยในภายหลัง
ทุกวันนี้ Scottish Maiden วางแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์
National Museum of Scotland


Scottish Maiden มีความสูงน้อยกว่า Halifax Gibbet
มีความสูงเพียง 10 ฟุต(3.0 m) เท่ากับ French guillotine


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2E669X3
https://bit.ly/2Ek6Tci
https://bit.ly/2Qgv1D1
https://bit.ly/2RN00mV



2.


ใบมีดจำลองแบบจากของเดิม Credit: August Schwerdfeger/Wikimedia


3.




4.



5.



6.



7.



8.


รายชื่อนักโทษประหารที่ใช้ Halifax Gibbet


9.


Scottish Maiden ปีที่ผลิต 1564


10.


Guillotine ปีที่เริ่มใช้งาน 1792


11.



Fallbeil Drop-Axe ของเยอรมันนี
มีการสันนิษฐานว่า เยอรมันนีคยมีการใช้งานมาก่อนแล้วยุติไป
ก่อนพัฒนาขึ้นมาใหม่หลายรุ่นมากหลังปี ค.ศ.1800 หลังยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส
สมกับสินค้าเยอรนี ที่มีคุณภาพ ทนถึก สะดวก แบบใช้ทน ใช้นาน ใช้จนรำคาญ


เรื่องเดิม
พิพากษาลงโทษจำเลยอย่างรุนแรงที่สุดอีกหลังมรณกรรม





การประหารชีวิต Oliver Cromwell, Henry Ireton และ John Bradshaw ในปีค.ศ. 1661


ภาพทัณฑ์ทรมานในยุคอดีต





Create Date : 08 ธันวาคม 2561
Last Update : 8 ธันวาคม 2561 13:00:18 น. 1 comments
Counter : 1252 Pageviews.

 
เห็นเครื่องน่ากลัวเลยนะคะ
ใบมีดคงคมมากเลยค่ะ
เจิม


โดย: อุ้มสี วันที่: 8 ธันวาคม 2561 เวลา:18:02:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.