ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
10 พฤศจิกายน 2561
 
All Blogs
 
ลูกปลาหมึกยักษ์หลายพันตัวในตู้ปลา






UGA Aquarium: Octopus

1.




เมื่อตอนที่ University of Georgia’s Marine Education Center and Aquarium
ได้รับปลาหมึกยักษ์ตัวหนึ่งมาเมื่อไม่นานมานี้ (8 สิงหาคม 2018)
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยกลับได้อะไรมากกว่าที่เคยคาดคิดไว้
ในตอนแรกนักวิจัยต่างคิดว่า ปลาหมึกยักษ์ตัวนี้เป็นเพศผู้
นักวิจัยจึงตั้งชื่อเธอว่า Octavius
แล้วปล่อยให้เธออยู่ในตู้ปลาเพียงลำพังตัวเดียว
เธอเป็นสัตว์สังคมชอบร่ายรำ แม้ว่าเธอจะเป็นสัตว์น้ำก็ตามที
แต่เธอชอบแกว่งหนวดปลาหมึกหลายอันของเธอไปที่ข้างตู้ปลา
เพื่อสำรวจและตรวจสอบสัตว์บกที่อยู่ด้านนอกของตู้ปลา


แต่แล้วในวันหนึ่ง Octavius เธอกลับว่ายถอยหลัง
เข้าไปซ่อนตัวอยู่ในโพรงหินเป็นเวลาหลายวันมาก
และหลังจากนั้นหนึ่งวันก่อนสิ้นเดือนตุลาคม 2018
Devin Dumont ภัณฑรักษ์พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ได้ไปทำความสะอาดตู้ปลา
ก็พบว่ามีเศษอนุภาคขนาดเล็กสีขาวเกือบพันชิ้นที่ลอยอยู่ในตู้ปลา


" ผมสังเกตเห็นจุดที่เป็นกลุ่มก้อนสีขาวขยับไปมา แล้วผมก็ตระหนักว่า
โอ้พระเจ้า เธอกำลังมีลูก มีลูกน้อย ลูกปลาหมึกยักษ์ทุกตัวเลย
และแล้วผมก็ตื่นตระหนกขึ้นมาเลย
ผมรีบค่อย ๆ ตักพวกมันออกมาทันที
แล้วตักลงในถัง ถังแล้วถังเล่า จำนวนหลายถัง
ทุกถังต่างเต็มไปด้วยลูกปลาหมึก octopi ตัวเล็ก ๆ "
Devin Dumont ให้สัมภาษณ์ใน Savannah Now


การตักลูกปลาหมึกยักษ์ขึ้นมา
เพื่อทำการอนุบาลและให้อาหาร
สร้างโอกาส/อัตรารอดตายให้มากขึ้น


เพียงชั่วข้ามคืนที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ UGA Marine Extension และ Georgia Sea Grant
มีลูกปลาหมึกจากแม่ปลาหมึกยักษ์ตัวหนึ่งนับหลายพันตัว
นักวิจัยต่างรู้ดีว่าชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นนี้
คือการเริ่มต้นของจุดจบชีวิตของ Octavius


ตอนนี้เห็นได้ชัดเลยว่า Octavius เป็นปลาหมึกยักษ์เพศเมีย
ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ผิดพลาดที่เข้าใจได้ง่ายมาก
ลักษณะเพศสภาพของปลาหมึกยักษ์บางสายพันธุ์
แทบจะไม่แตกต่างกันเลย
เบาะแสหลักที่ต้องสังเกตอย่างแรง
คือความแตกต่างทางกายภาพเล็กน้อย
ตรงหนวดข้างที่สามของปลาหมึกยักษ์
ปลาหมึกยักษ์เพศผู้ใช้ในการผสมพันธุ์
และหลังจากผสมพันธุ์เสร็จก็รอวันตายเช่นกัน
เพราะมักจะตกเป็นอาหารปลาหมึกยักษ์เพศเมีย


Devin Dumont กับเพื่อนร่วมงานต่างคิดว่า
Octavius ​​ต้องตั้งครรภ์ก่อนที่เธอจะมาถึง
แต่เธอก็รอคอยที่จะวางไข่
จนกระทั่งเธอรู้สึกสบายใจในบ้านหลังใหม่ของเธอ
Octopuses สามารถเก็บน้ำอสุจิได้นานหลายสัปดาห์
หลังจากที่เธอผสมพันธุ์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสม
ก่อนที่จะวางไข่และให้ลูกปลาหมึกยักษ์เจริญเติบโต


แต่น่าเสียดายที่เมื่อปลาหมึกยักษ์เพศเมียวางไข่
พวกเธอก็เริ่มต้นนับวันตายอย่างช้า ๆ เพื่อรอวันตาย
พวกเธอจะเริ่มหยุดกินอาหารและอุทิศตนเอง
เพื่อปกป้องและป้องกันบรรดาไข่ที่ฟักในคราวเดียวกัน
และในที่สุดพวกเธอก็ตายไป
เช่นเดียวกับปลาหมึกยักษ์เพศผู้ที่มักจะไม่รอดตาย
หลังจากที่ได้ผสมพันธุ์กับปลาหมึกยักษ์เพศเมีย


ในที่สุดไข่ชุดสุดท้ายของปลาหมึกยักษ์ก็ฟักตัว
และว่ายหมุนวนเวียนรอบตู้ปลาของ Octavius
พฤติกรรมของลูกปลาหมึกยักษ์คล้ายกับตัวอ่อนหอยนางรม
ที่ค่อนข้างตอบสนองต่อสารเคมีบางอย่างหรือทางกายภาพ
ตัวอ่อนแต่ละตัวยังมองไม่เห็นเหมือนตาบอด
และพวกมันดูเหมือนกลุ่มก้อนเมฆสีขาวที่ลอยละล่อง


แต่ถ้าส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
จะมองเห็นหนวดของลูกปลาหมึกยักษ์
องคาพยพหนวดแปดเส้นหลัก
รวมทั้งตาที่ปูดโปนและลำตัวที่เป็นกระเปาะ
อวัยวะที่เปลี่ยนสีของพวกมันที่เรียกว่า chromatophores
มีลักษณะเป็นจุดเมื่อพวกมันกระดิกตัวไปมาในจานแก้ว
จำนวนและโอกาสรอดของลูกปลาหมึกยักษ์ไม่แน่นอน
ได้แต่หวังว่าเรื่องนี้คงจบลงด้วยดี




Baby Octopuses at the UGA Aquarium



" ขอให้มีโชค เพราะทุกคนต่างต้องการเรื่องนี้มาก "
Lisa Olenderski ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ให้สัมภาษณ์


สำหรับ Octavius ​​จุดเริ่มต้นการวางไข่ของเธอ
คือจุดเริ่มต้นการตายของเธอ
สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ Octopus vulgaris
จะมีอายุประมาณ 18 เดือน
และเพศเมียจะตายหลังจากออกไข่


" แม่ปลาหมึกยักษ์จะปกป้องไข่ในที่หลบภัย
ด้วยการเป็นที่พักพิง โบกหนวดไปมา
หรือทำให้น้ำกระเพื่อมหรือทำให้พวกมันเคลื่อนไหว
หลังจากที่ลูกเธอได้ฟักตัวหมดแล้ว
เธอก็จะตายไปในไม่ช้าหลังจากนั้น "
Devin Dumont ให้สัมภาษณ์


แม้ว่า Octavius ​​จะตายไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
แต่บรรดาลูก ๆ ของเธอจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ทั้งในธรรมชาติและในตู้ปลาที่เพาะเลี้ยง
บางตัวจะได้รับปล่อยลงในชายฝั่ง Skidaway ของท้องถิ่น
แต่ลูกปลาหมึกยักษ์ตัวอื่น ๆ อาจจะโตขึ้นในถังเพาะ
และยังคงมีการเลี้ยงดูเพื่อใช้ในการศึกษามากขึ้น
ใน Shellfish Research Lab ที่อยู่ใกล้เคียง


ปลาหมึกยักษ์มักจะจบชีวิตของตนเอง
พวกเธอเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาดมาก
พวกเธอยอมเสียสละชีวิตตนเองเพื่อลูกหลานของตนเอง
นั้นคือ วัฏจักรของชีวิตปลาหมึกยักษ์


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2PhOlz8
https://bit.ly/2JtVzd7
https://bbc.in/1SP2fzU



2.



Octopus vulgaris Merculiano

3.



2 วันของการจับคู่ (Octopus cyanea) (Credit: Georgette Douwma / NPL)

4.



การเริ่มต้นเพศสัมพันธุ์ของปลาหมึกยักษ์ (Credit: Pierangelo Pirak)

5.



ปลาหมึกยักษ์แปซิฟิค Giant Pacific (Enteroctopus dofleini) ที่ทัองทะเล (Credit: Jeff Rotman / NPL)

6.



ปลาหมึกยักษ์ Algae เพศผู้ (Abdopus aculeatus) จับคู่ในระยะห่างเพื่อป้องกันการถูกจับกิน (Credit: Roy Caldwell)
7.



ปลาหมึกยักษ์ Wunderpus (Wunderpus photogenicus) จับคู่ (Credit: Roy Caldwell)

8.



ปลาหมึกยักษ์ Algae (Abdopus aculeatus) จับคู่ (Credit: Roy Caldwell)

9.



ปลาหมึกยักษ์ Argonauts การจับคู่ คือ ชีวิตที่ต้องตาย (Credit: David Shale / NPL)

10.



ปลาหมึกยักษ์ Greater blue-ringed (Hapalochlaena lunulata) จับคู่ (Credit: Roy Caldwell)

11.



ปลาหมีกยักษ์ Pacific striped ขนาดเล็ก (Octopus chierchiae) (Credit: Roy Caldwell)

12.



หนวดพัวพันกันระหว่างการจับคู่ปลาหมึกยักษ์ Larger Pacific Striped Octopus
A) การสอดหนวดปลาหมึก hectocotylized arm ของเพศผู้ (ซ้าย) เข้าในโพรงเก็บกักน้ำเชื้อเพศเมีย (ขวา)
B) เพศเมีย (ขวา สีจาง) ค่อย ๆ ตอบรับจากเพศผู้ (ซ้าย) ระหว่างการจับคู่
C) การจัดให้เข้าที่เข้าทางระหว่างการจับคู่
D) การจัดให้เข้าที่เข้าทางระหว่างการจับคู่ที่มีการสอดใส่เข้าในโพรงเก็บกักน้ำเชื้อ
E) การสอดหนวดปลาหมึก Hectocotylus ในระยะห่างระหว่างที่หนวดพัวพันกัน (เพศผู้ ซ้าย เพศเมีย ขวา)
Credit : RLC https://bit.ly/2DwdW0V

13.



Hectocotyle octopodis


14.




15



Chromatophores ในปลาหมึก

16.



ปลาที่ไม่ใช่ปลา


ผู้อ่านหลายคนเมื่อเห็นชื่อเรื่องแล้วคงมีคำถามขึ้นในใจว่า
มีด้วยหรือปลาที่ไม่ใช่ปลา แล้วสิ่งที่ว่านี้คืออะไร
ผู้เขียนมีข้อมูลที่จะให้คำตอบในเรื่องนี้


ในช่วงแรกเริ่ม องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์ 
การกำหนดชื่อ การตรวจสอบชนิดจากลักษณะรูปพรรณสัณฐาน
ลักษณะนิสัย และถิ่นอาศัย รวมทั้งความสัมพันธ์ทางสายพันธุ์ 
ที่ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า animal taxonomy 
หรือที่ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติคำไทยขึ้นใช้ว่า อนุกรมวิธานสัตว์ นั้น 
มีต้นกำเนิดมาจากนักอนุกรมวิธานชาติตะวันตก 
โดยได้จัดจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำไว้ในกลุ่มเดียวกัน 
และกำหนดชื่อเรียกให้มีคำ fish ต่อท้าย เช่น star fish jelly fish 
เมื่อองค์ความรู้เหล่านี้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย 
คนไทยจึงกำหนดชื่อเรียกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำโดยมีคำ “ปลา” 
นำหน้าเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลาดาว ปลาโลมา ปลาวาฬ ปลาพะยูน ปลาหมึก 


ต่อมาเมื่อศาสตร์สาขาวิชานี้มีความก้าวหน้าและเกิดการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น 
จึงพบว่าแท้ที่จริงแล้วสัตว์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำ
และมีชื่อเรียกกันมาแต่เดิมโดยมีคำ “ปลา” นำหน้านั้น ไม่ใช่ปลา 
แต่เป็นสัตว์อีกกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะรูปพรรณสัณฐาน ลักษณะนิสัย 
และถิ่นอาศัย รวมทั้งความสัมพันธ์ทางสายพันธุ์ต่างออกไป 
เช่น ดาวทะเลหรือที่เรียกว่าปลาดาวนั้นเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
วาฬ โลมา และพะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกลุ่มเดียวกับมนุษย์ 
หมึกเป็นสัตว์พวกหอย อย่างไรก็ตาม 


ยังมีนักภาษาบางคนเห็นว่า ในเมื่อชื่อเรียกเหล่านี้เป็นชื่อที่นิยมเรียก
และใช้กันมานานมากจนเป็นที่เข้าใจตรงกัน 
อย่างปลาวาฬ ปลาหมึก ปลาโลมา ก็ควรจะอนุโลมให้ใช้ได้ต่อไป 
จึงยังคงพบการใช้คำว่า “ปลา” เรียกสัตว์ที่ไม่ใช่ปลาตามความนิยมแต่เดิม 
แต่เป็นปลาที่ไม่ใช่ปลา

Credit : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา




ที่มา  https://bit.ly/2oLNLYT




Create Date : 10 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2561 21:52:22 น. 1 comments
Counter : 3064 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี


 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
NENE77 Home & Garden Blog ดู Blog
ravio Education Blog ดู Blog

ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 11 พฤศจิกายน 2561 เวลา:8:17:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.