ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
4 พฤศจิกายน 2561
 
All Blogs
 

ม้าลากเรือ






เรือรุ่นเก่าของอังกฤษที่ลากด้วยม้า ใน Cromford Canal ใกล้กับ Matlock ใน UK
Credit : David Muscroft / Shutterstock.com




ก่อนที่จะมีเครื่องจักรดีเซลและไฟฟ้าใช้ในเรือทั่วไปกับเรือบรรทุกสินค้า
คนยุคก่อนต้องใช้พายในการพายหรือการดึงเรือให้เคลื่อนที่
หลายประเทศในยุโรป เช่น เนเธอแลนด์ อังกฤษ
และบางพื้นที่ของฝรั่งเศส เยอรมันนี และเบลเยี่ยม
ม้าลากเรือเป็นเรื่องธรรมดามาก
มีการใช้งานม้า ลา ล่อ ในการเดินไปตามลำคลอง
โดยลากเรือบรรทุกผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า
เพราะเรือเคลื่อนที่อยู่ในน้ำ จะมีแรงเสียดทาน/แรงต้านน้อยมาก
ทำให้สามารถลากน้ำหนักได้มากกว่าถึง 50 เท่า
ของน้ำหนักบรรทุกปกติที่ลากบนเส้นทางบก


เป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว
ที่เรือมักจะลากด้วยผู้ชาย
เพราะตามตลิ่งมักจะเป็นที่ดินส่วนตัว
ยังไม่มีการสร้างทางให้สัตว์พาหนะเดิน
ทำให้พวกผู้ชายมักจะเดินลุยตามตลิ่ง
เหยียบย่ำจนเกิดเป็นเส้นทางเดินลากเรือ


จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18
อังกฤษจึงเริ่มสร้างเส้นทางบนตลิ่งตามแม่น้ำและคลอง
ทำให้มีการใช้สัตว์พาหนะทำงานแทนคน เช่น ม้า ลา ล่อ
แต่ส่วนมากนิยมจะใช้ม้าลากเรือมากกว่า
ม้าจะลากเรือสินค้า ไปรษณีย์ภัณฑ์ และผู้โดยสาร
ยิ่งในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีการขนส่งข้าวของจำนวนมาก
ม้าจะทำหน้าที่นี้อย่างหนักมากภายในประเทศและพื้นที่ต่าง ๆ


ในช่วงปีค.ศ.1770 ถึงปีค.ศ.1830
เป็นยุคที่อังกฤษบูมมากในการสร้างคลอง
หรือเรียกกันว่ายุคทองของคลองอังกฤษ
Golden Age of British canals
ในยุคนั้นมีการสร้างคลองจำนวนมากมาย
แม้ว่าคลองหลายเส้นจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย
ทำให้มีคลองรวมกันยาวเกือบ 4,000 ไมล์
มีการตั้งบริษัทขุดคูคลองจำนวนมาก
และต่างแข่งขันกันในการทำธุรกิจนี้

เพราะต่างเก็งกำไรหวังรายได้จากธูรกิจนี้


คลองที่ขุดขึ้นในศตวรรษที่ 18
ค่อนข้างแคบมากและใช้ได้กับเรือลำที่ไม่กว้างมาก
บางแห่งมีความกว้างคลองน้อยกว่า 2 เมตรในการเดินเรือ



2.



จุดเปลี่ยนเส้นทางบนสะพานสายคลอง Macclesfield Credit : Mike Serigrapher / Flickr



ทำให้ต้องหาทางแก้ไขสายลากเรือที่อาจจะพันกัน
ในช่วงย้ายสลับข้างจากตลิ่งคลองด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
(ขาล่องเรือลง หรือขาล่องเรือขึ้น)
มีการสร้างวงเวียนเพื่อให้ม้ากลับตัวขากลับ
หรือตารางหมากรุกในเส้นทางตัดผ่านกัน
สร้างทางเดินภายเป็นอุโมงค์ใต้สะพานสายต่าง ๆ

สร้างทางลาดให้สอดคล้องกับเส้นทางเดินบนตลิ่ง
เวลาม้าลากเรือขึ้น/ลงบนทางลาดเพื่อข้ามสะพาน
เพื่อลากเรือไปตามเส้นทางเป้าหมายต่อไป


สะพานหลายแห่งจะมีทางเดินลอดผ่านใต้สะพาน

แต่ถ้าไม่มีอุโมงค์ใต้สะพานหรือไม่มีทางลอดผ่าน

ม้าจะถูกปลดเชือกที่เชื่อมโยงกับเรือสินค้าออกก่อน
แล้วลากจูงให้เดินไปข้างหน้า หรือสับเปลี่ยนม้าอีกชุดหนึ่ง


ส่วนคนเรือจะถูกบังคับให้ใช้ ขา ดันเรือสินค้าผ่านอุโมงค์

ด้วยการนอนราบหรือนอนหงายบนเรือ

แล้วใช้ขายัน/ดันบนผนังอุโมงค์หรือด้านบนสะพาน

ทั้งนี้เพื่อผลักดันเรือให้เดินไปข้างข้างหน้า

การใช้ขายัน/ดันให้เรือเดินหน้า
เป็นเรื่องที่อันตรายและยากลำบากมาก

เจ้าของเรือสินค้าส่วนใหญ่จึงมักจะจ้างคนงาน
คนงานมืออาชีพที่ชำนาญการเรื่องนี้ทำงานแทน

ยิ่งอุโมงค์ยิ่งยาวไกลยิ่งต้องจ้างมืออาชีพทำงานแทน



3.



สะพานที่มีทางลอดไว้เดินภายใน Credit : Ronald Saunders / Flickr




ในประเทศเนเธอร์แลนด์การคมนาคมบนคลอง

มีนัยสำคัญมากกับเรือลากจูงสินค้าต่าง ๆ

มีการดำเนินการมานานกว่าศตวรรษก่อนหน้าอังกฤษ

คนในท้องถิ่นพวกเขาเรียกว่า Trekschuit



Trekschuit สายแรกเริ่มต้นในปีค.ศ.1632

ระหว่าง Amsterdam กับ Haarlem

สามารถบรรทุกคนโดยสารได้ 30 คน

คลองถูกขุดเป็นเส้นตรงเพื่อให้ระยะทางสั้นที่สุด

แต่ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนเรือโดยสารกลางทาง
การหยุดพักกลางทางเพื่อรอเปลี่ยนเรือ

กลายเป็นชื่อเรียกว่า Halfweg หรือ halfway ครึ่งทาง 

Trekschuit ประสบความสำเร็จอย่างมาก

ทำให้เกิดเส้นทางระหว่าง Haarlem กับ Leiden 
ในอีกสองทศวรรษต่อมา


หมายเหตุ


ที่สงขลา มีจุดพักครึ่งทาง 6 กิโลเมตรพอดี
จากระยะทางรวม 12 กิโลเมตร
ใช้การเดินเท้าพอเหนื่อยพอดีแบบมาตรวัดยุคโบราณ
เส้นทางระหว่างตำบลปาดังเบซาร์กับที่ว่าการอำเภอสะเดา
ชาวบ้านเรียกชื่อกันว่า ปั้วโหล่เตี่ยม อยู่ที่บ้านทับโกบ
ปั้ว=ครึ่ง โหล่=ทาง เตี่ยม=ที่พักโรงเตี้ยม

สมัยก่อนเป็นจุดกึ่งกลาง
เพื่อรอสายข่าวตรวจสอบสภาพ
ประเมินสถานการณ์ภายในภายนอก
พวกนายด่านศุลกากรกับตำรวจ
ก่อนที่จะขนสินค้าชายแดน(หนีภาษี)
ผ่านอำเภอสะเดาเข้าปาดังเบซาร์
หรือเข้าหาดใหญ่โดยกองทัพมด
ซึ่งจะมีรายย่อยทำงานจำนวนมากเหมือนฝูงมด


เมื่อถึงช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 18 

เครือข่ายการให้บริการเรือ Trekschuit
และเรือข้ามฟาก
ได้เชื่อมโยงเมืองสำคัญทั้งหมด
ตามชายฝั่งทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์ 

การเดินทางโดย Trekschuit มีความน่าเชื่อถือ สะดวกสบายและราคาถูก
และความเร็วประมาณ 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเร็วกว่าการเดินเท้า
และสะดวกสบายกว่าการนั่งโดยรถโค้ชที่ใช้ม้าลาก
ระบบนี้กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
และมีการขุดคลองแบบเดียวกันที่ Ohio กับ Erie Canal ในสหรัฐฯในยุค 1820


แต่การถือกำเนิดของรถไฟ
ม้าลากเรือกลายเป็นธุรกิจที่ล้าสมัย
แต่ยังมีอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งในสหราชอาณาจักร
เช่นที่ Foxton, Godalming, Tiverton, Ashton-under-Lyne, Newbury และ Llangollen


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2QhJ1Z5
https://bit.ly/2qnowyO





4.



เรือลากจูงที่เดินทางบน Grand Western Canal ใน Devon ประเทศอังกฤษ Credit : dcurzon / Shutterstock.com


5.



เส้นทางเดินตัดผ่านหินข้างแม่น้ำ Lot ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส Credit: Sylvain Crouzillat / Wikimedia


6.



ม้าลากเรือปากแคบบนคลอง Kennet และ Avon ที่ Kintbury ใน Wiltshire Credit: Anguskirk / Flickr


7.



ชายและหญิงลากเรือบรรทุกสินค้าผ่านคลองในเนเธอร์แลนด์ 1931


8.



ผู้หญิงกำลังลากเรือในคลองที่ Netherlands (ไม่ระบุวันเดือนปี)


9.



ม้าลากเรือ ที่ Finowkanal ใน Germany ช่วงปี 1880


10.



ม้าสองตัวลากเรือ ที่ Ohio-Erie Canal, 1902



Chinese Laborers pull boats upstream from a river which runs between high mountai...HD Stock Footage




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2561
0 comments
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2561 8:22:03 น.
Counter : 1434 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.