ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กันยายน 2561
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
19 กันยายน 2561
 
All Blogs
 
ชาวประมงบนอานม้ารุ่นสุดท้ายที่จับกุ้งทะเล







Shrimp fishing on horseback in Oostduinkerke




ที่ชายฝั่งทะเลช่วงสั้น ๆ ด้านตะวันตกของ Belgium
ห่างจาก Dunkirk ของ France ราว 20 กิโลเมตร
ชายฝั่งที่เรียกว่า Oostduinkerke (ความหมาย East Dunkirk)
ชาวประมงในพื้นที่นี้มีรูปแบบการทำประมงแตกต่างจากที่อื่น
แทนที่จะใช้เรือประมงจับกุ้งจับปลาในทะเล
ชาวประมงเหล่านี้กับนั่งบนอานม้า
แล้วลุยน้ำทะเลลงไปทำการประมงจับกุ้ง
ด้วยแหที่ลากไปตามพื้นทรายเพื่อจับกุ้ง


ชาวประมงเหล่านี้กำลังหากุ้ง Crangon crangon
หรือเป็นกุ้งที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น กุ้งสีเทา
ซึ่งพบได้เฉพาะในเขตภาคใต้ของทะเลเหนือ
และเป็นอาหารอันโอชะใน Belgium


นับเป็นเวลากว่า 500 ปีแล้ว
ที่การทำประมงจับกุ้งบนหลังม้า
โดยม้าที่ผ่านการการฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่างดี
ทั่วชายฝั่งทะเลเหนือจากฝรั่งเศสไปจนถึงเนเธอร์แลนด์
และแม้แต่ทางตอนใต้ของอังกฤษ


ในทุกวันนี้ การประมงจับกุ้งบนอานม้า
มีเพียงแค่ไม่กี่ไมล์บนชายฝั่งทะเลใน Oostduinkerke
พื้นที่ครั้งหนึ่งในอดีต เคยเป็นอาชีพประมง
แต่ตอนนี้เริ่มกลายเป็นงานอดิเรกเท่านั้น
มีการจัดกิจกรรมเพื่อการแสดงให้นักท่องเที่ยวชม
จากชาวประมงบนอานม้าจับกุ้งทะเลรุ่นสุดท้ายของเมืองนี้


1.


Credit : Michel VR / Wikimedia




การทำประมงจับกุ้งเริ่มต้น
ในช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้น
ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน
สิงหาคม - ตุลาคม ในแต่ละปี
ซึ่งกุ้งจะมีรสชาติ/คุณภาพดีในช่วงนี้
เพราะน้ำทะเลไม่เย็นจัดจนเกินไป
กับไม่มีน้ำแข็งล่องลอยเกะกะในทัองทะเล
และจะทำได้ในช่วงน้ำลดวันละราว 1 ชั่วโมงครึ่ง


ชาวประมงจะขึ้นบนหลังม้าด้วยการสวมเสื้อผ้าสีเหลืองสดใส
สวมรองเท้ายางกันน้ำรัดข้อแล้วขับขี่ม้าไปตามชายฝั่ง
พร้อมกับแหตาเล็กขนาดใหญ่ด้านหลังม้า
ที่ลากคราดไปบนหน้าทรายตามหลัง
ปากแหแผ่กว้างได้ราว 10 เมตร
แล้วยาวเรียวไปถึงปลายราว 30 เมตร
รูปทรงคล้ายโพงพางจับปลาในทะเล
เพื่อดักจับกุ้งและปลาอื่น ๆ ขนาดเล็กที่แหวกว่ายในคลื่น
การลุยผ่านน้ำทะเลเป็นกิจกรรมที่ม้าต้องใช้แรงมาก
เหมาะสำหรับม้าที่ทั้งทนทั้งถึกอย่างพันธุ์ Brabant
ซึ่งเป็นรู้จักกันดีถึงแรงม้าขนาดยักษ์ของม้าสายพันธุ์นี้
ที่เดิมนิยมไว้ลากของหนักกับไถนาในบางพื้นที่
ชาวประมงกับม้าต่างต้องรู้ใจซึ่งกันและกันในการประมงจับกุ้งทะเล


ดังนั้น ชาวประมงกับม้าจะต้องรีบไปรีบกลับ
ในช่วงเวลาได้กุ้งพอสมควรแล้ว หรือ ทุก ๆ 30 นาที
ทั้งคู่จะกลับเข้าฝั่งเพื่อให้ม้าได้พักผ่อน
ส่วนชาวประมงจะลากแหขึ้นบนฝั่ง
แล้วเลือกกุ้งขึ้นมาก่อนโยนปู ปลา ปลาดาว ที่ไม่ต้องการทิ้งลงทะเล
แล้วรวบรวมกุ้งใส่ลงในตะกร้าสองข้างที่แขวนไว้บนหลังม้า
ซึ่งในแต่ละครั้งจะได้กุ้งเต็มที่ราว ๆ 10-20 กิโลกรัม
หลังจากนั้นจะรวบรวมกลับบ้านเพื่อต้มกับน้ำเค็ม
ก่อนผึ่งให้แห้งเพื่อเตรียมเป็นอาหารต่อไป


เมื่อ 500 ปีก่อนนี่เป็นวิธีเดียวที่จะจับกุ้งได้
แต่เพราะความต้องการในเชิงพาณิชย์
และอุปสงค์กุ้งที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
ชาวประมงจึงเริ่มลงเรือลุยไปในท้องทะเลเพื่อจับกุ้ง
แทนที่จะรอให้ฝูงกุ้งล่องลอยมาตามกระแสน้ำ


แม้แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
การจับกุ้งบนหลังม้าก็เริ่มเป็นจุดสนใจ
ที่เห็นกันได้ทั่วไปตามแนวชายฝั่งของทะเลเหนือ


แต่ทุกวันนี้ มีชาวประมงบนอานม้าเพียงแค่ 15 คนใน Oostduinkerke
ที่ยังทำหน้าที่ผู้รักษาวัฒนธรรมพื้นเมืองแห่งนี้ที่ยังหลงเหลืออยู่
หลายคนต่างไม่ใช่ชาวประมงอาชีพที่ทำงานเต็มเวลา
บางคนเป็นช่างฝีมือในท้องถิ่น บ้างก็เป็นชาวนา


ม้า และ การประมงจับกุ้งในทะเล
เป็นเรื่องของคนที่รักและหลงใหลเท่านั้น
เหตุผลที่ว่า ทำไมการประมงจับกุ้งจึงมีที่ Oostduinkerke
เพราะมีบริเวณชายฝั่งที่กว้างมาก
ไม่มีหินโสโครกมากในท้องทะเล
ซึ่งเศษหินอาจจะทำให้แหฉีกขาดหรือติดพันได้
ภูมิประเทศจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับการจับกุ้ง


ตั้งแต่ปี 1950 จะมีมหกรรม Shrimp Festival
จัดขึ้นเพียง 2 วันในช่วงปลายเดือนมิถุนายนทุก ๆ ปี ใน Oostduinkerke
เพราะเป็นช่วงย่างเข้าฤดูร้อนของแต่ละปี
จะมีการแสดง Concerts ตลาดนัดท้องถิ่น และขบวนพาเหรดเต็มไปด้วยสีสรรค์
ที่มีการเตรียมการมานานหลายเดือน
เพื่อต้อนรับผู้ชมที่มาจากที่ต่าง ๆ มากกว่า 10,000 คนในแต่ละปี


การประมงจับกุ้งบนหลังม้าหาดูได้ยากแล้ว
ในปี 2013 UNESCO ได้มอบรางวัลให้สถานที่แห่งนี้
เป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2OArKth
https://bit.ly/2NjVazc




2.



Photo credit: David Edgar/Wikimedia


3.


Photo credit: icmmonline.org


4.



Statues of horseback fishermen in Oostduinkerke. Photo credit: The Land/Wikimedia


5.





6.




7.




8.




9.




10.




11.




12.








ม้าไถนาชาวอามิชในอเมริกา


13.





เรื่องเดิม

สตรี 7 คนช่วยชีวิตฝูงม้า 100 กว่าตัวจากน้ำท่วมในเนเธอแลนด์









เรื่องเล่าไร้สาระ


แถวบ้านที่จะนะ เทพา และสงขลา
ผมมักจะเห็นชาวบ้านรุนเคย
โดยแรงคนหรือใช้เรือลาก
ชาวบ้านมักจะนิยมนำมาแปรรูป
ถนอมอาหารเป็นกะปิหรือเคย
เพราะเก็บรักษาได้นานกว่า
ถ้าเหลือเฟือก็นำมาวางขายตามท้องตลาด
เพราะได้ราคาดีกว่าการขายเป็นของสด


แต่กะปิที่ขายได้ราคาดีและรู้จักกันทั่วไป
มักมาจากแหล่งผลิตที่เกาะยอสงขลา
เพราะผู้ผลิตกะปิที่ส่งขายให้กับร้านดังสงขลา 2 ร้าน
จะตำจนละเอียดและเนื้อจะเนียนกว่าไม่หยาบมาก
รสชาติออกกลาง ๆ ซึ่งคนมาเลย์/คนสยามในมาเลย์
มักจะชอบกว่ารสชาติออกเค็มหรือเนื้อหยาบ


14.



15.



อุปกรณ์ผลิตเคยแบบชาวบ้าน ใช้สากตำเคยก่อนโม่ให้ละเอียด แล้วผสมเกลือใส่ไหรอขาย
ปัญหาการผลิตที่พบคือ ชาวบ้านใช้ประสบการณ์ผลิต ทำให้รสชาติไม่นิ่ง
เว้นแต่จะมีการชั่งตวงวัดให้ได้ค่ามาตรฐาน  Credit : สดใส สันติวรพงษ์





เคย
Krill เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกุ้ง
ในกลุ่มกุ้ง-กั้ง-ปู ซึ่งเป็นสัตว์สำคัญแพลงก์ตอน
ที่เป็นอาหารของ วาฬบาลีน ปลากระเบนราหูน้ำเค็ม
ปลาฉลามวาฬและแมวน้ำกินปู
รวมทั้งนกทะเลบางสปีชีส์ที่กินเคยแต่เพียงอย่างเดียว


กุ้งเคยจัดเป็นครัสเตเชียนขนาดเล็ก
รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ตัวเล็กกว่า
และไม่มีกรีแหลมๆที่บริเวณหัวเหมือนกุ้ง
ตัวสีขาวใส มีตาสีดำ มีขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
มีเปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่ตามบริเวณรากไม้
ตามป่าชายเลน เช่น ต้นโกงกาง แสม ลำพู


ชาวบ้านมักจะออกช้อนตัวเคยกันในเวลาเช้า
ช้อนกันได้ทุกวันเพราะมีอยู่มากทุกฤดูกาล
จะดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงไป
ซึ่งอาจจะอยู่ในน้ำลึกประมาณหน้าแข้งถึงระดับหน้าอก
ในแถบขั้วโลกใต้จะเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดใหญ่
มันจะเป็นอาหารที่สำคัญของปลาวาฬ


ส่วนในอ่าวไทยเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดเล็ก
อยู่ตามชายฝั่ง ในนากุ้งและบ่อปลา
ลักษณะที่สำคัญคือ
ในตัวเมียจะมีถุงไข่ที่ติดอยู่กับท้องตั้งแต่กำเนิด
จึงมีชื่อเรียกว่า กุ้งโอปอสซั่ม (Opossum shrimp)

16.






อนึ่ง คำว่า เคย ในภาษาถิ่นใต้บางแห่ง
จะขึ้นกับบริบทในการใช้คำคำนี้
เพราะความหมายมีการเบี่ยงแบนไปจากเดิมมาก
แบบคำเดิมที่มีความหมายดีดี เช่นคำว่า จิ๋ม หม้อ


เคย อาจจะหมายถึงเด็กหญิงตัวนุ้ย หนุ่ย
นุ้ย คือ เล็ก ๆ น่ารัก หรือ ไข่นุ้ย เป็นต้น
หนุ่ย แทนสรรพนามตนเองว่า หนู ในภาษาบางกอก
เวลาพูดกับพ่อแม่ หรือผู้อาวุโสกว่าตน


เคย อาจหมายถึงอวัยวะเพศสตรีที่ให้กำเนิดบุตรก็ได้
จึงพึงระมัดระวังเวลาใช้พูดกับสาวใต้
เพราะอาจจะก่อปัญหาทะเลาะวิวาทได้
หรืออาจจะมีสีแดงปนเปื้อนที่บริเวณปากคนพูดได้


Create Date : 19 กันยายน 2561
Last Update : 19 กันยายน 2561 22:09:33 น. 0 comments
Counter : 1461 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.