Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
ภาพถ่ายหมู่ของข้าราชการ ปากพนัง-พัทลุง

โดย Insignia Museum

เมืองปากพนัง
เมืองปากพนังมีมาแต่สมัยใดไม่พบหลักฐานปรากฏชัดเจน เดิมอำเภอปากพนังมีชื่อว่า อำเภอเบี้ยซัด
หมายถึง สถานที่ที่คลื่นซัดเอาหอยเบี้ยจากทะเลขึ้นฝั่ง ซึ่งสมัยโบราณเขาใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตรา
แลกเปลี่ยนสินค้าได้ อำเภอ "เบี้ยซัด" ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอปากพนังเมื่อ 22 มี.ค. 2445
หมายถึงเมืองที่มีแหลมตะลุมพุกเป็น "พนัง" หรือกำบังลมนั่นเอง

เบี้ยที่ใช้แทนเงิน

"แหลมตะลุมพุก"
เป็นเสมือนกำบังลมให้เรือสำเภาที่เดินทางเข้าค้าขายกับเมืองนครศรีธรรมราช
จอดทอดสมอเรือได้อย่างปลอดภัย อาจกล่าวได้ว่าในสมัยโบราณเมืองปากพนังเป็นท่าเรือสำเภา
นานาชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งในแหลมมาลายู ในยุคที่เฟื่องฟูสุดๆนั้น เมืองปากพนังเคยมีเงิน
ที่ใช้กันภายในเมือง เรียกว่า อีแปะปากพนัง

ลุ่มน้ำปากพนังเคยเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญของเมืองไทย และส่งข้าวขายต่างประเทศโดยตรง
ผู้คนเมืองนี้มั่งคั่งร่ำรวย ปัจจุบันเหตุการณ์พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังกลายเป็น
พื้นที่ที่ยากจนของภาคใต้ เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การส่งออกข้าวรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพ
ข้าวที่ส่งออกเป็นข้าวจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่ใช่ลุ่มน้ำปากพนังอีกต่อไป อีกทั้งมีการทำลายป่าไม้
ที่ปากพนังมาก เกิดน้ำเค็มหนุ่นเข้ามามาก ทำให้ผลผลิตตกต่ำลง

แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ทำนา และยังสร้างรายได้เข้าท้องถิ่นจำนวนมาก ได้แก่ ธุรกิจ
รังนกนางแอ่น ผู้เขียนเคยไปทำงานที่อำเภอปากพนังช่วงสั้นๆ นานมาแล้ว มีนกนางแอ่งเข้ามา
อาศัยที่บ้านหลังหนึ่งในเมือง ในชั้นสองของบ้าน บ้านอื่นไม่ยอมเข้า เจ้าของบ้านจึงมีรายได้
จากการเก็บรังนกขาย โดยไม่ต้องปีนป่ายให้หวาดเสียว ปัจจุบันเข้าใจว่ามีหลายบ้านเรียนรู้
นิสัยนกมากขึ้น สร้างบ้านให้นกอยู่โดยเฉพาะ เคยได้ยินว่าบางคนสร้างเป็นคอนโดสำหรับ
นกอาศัยกันเลย สมกับชื่อเดิมของปากพนัง "เบี้ยซัด" แต่ซัดเบี้ยมาทางอากาศโดยนกนางแอ่น

ปากพนัง สโมสร

Photobucket


เมืองพัทลุง
พัทลุงเป็นเมืองที่มีมาก่อนประวัติศาสตร์ เพราะขุดพบขวานหินซึ่งเป็นโบราณวัตถุในหลายท้องที่
สมัยศรีวิชัยที่รุ่งเรือง ราวพันสองร้อยปีมาแล้ว เมืองพัทลุงได้รับอารยธรรม พุทธศาสนาลัทธิมหายาน
จากอินเดีย

ยุคอาณาจักรอยุธยา ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ พัทลุงเป็นเมืองชั้นตรีอยู่ที่สทิงพระ
(จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน) แต่โชคร้ายที่เมืองพัทลุงมักถูกปล้นสดมภ์จากโจรสลัดอยู่บ่อยๆ
ถึงกับถูกเผาบ้านเผาเรือนถึง 2 ครั้ง

จะว่าไปแล้วคนพัทลุงกับคนอินโดนีเซียใกล้ชิดกันมาก หากเดินทางทางทะเล ดังเช่น
ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ดะโต๊ะโมกอล ชาวมุสลิม ย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองสาเลห์ เกาะชวา
เข้ามาตั้งบ้านเรือนเพื่อทำมาค้าขายอยู่ที่สทิงพระ ต่อมามีผู้คมเข้ามาอยู่กันมากขึ้น
สทิงพระจึงกลายเป็นเมืองท่าทางทะเลของเรือสินค้า (เรือสำเภา)

พระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดะโต๊ะโมกอล เป็น "ข้าหลวงใหญ่" ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ต่อมา
คือท่านสุไลมาน บุตรชายคนโต มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาความสงบของพื้นที่ตั้งแต่ตอนล่าง
ของนครศรีธรรมราช มาจดเขตปัตตานี ครอบคลุมครึ่งล่างของเมืองตรัง ปะเหลียน พัทลุง
และสงขลา นอกจากนี้ก็ต้องเก็บส่วยสาอากรส่งถวายพระเจ้าแผ่นดินที่กรุงศรีอยุธยา
ท่านสุไลมานก็ได้ทำหน้าที่นี้เรียบร้อยด้วยดีมาตลอด ต่อมาได้ย้ายเมืองสงขลาจากสทิงพระ
มายังหัวเขาแดงซึ่งมีชัยภูมิป้องกันตนเองได้ดีกว่า

ในสมัยสุลต่านสุไลมาน บุตรของดะโต๊ะโมกอล ได้ส่ง ฟาริซีน้องชายซึ่งเป็นปลัดเมือง
มาสร้างเมืองใหม่ที่เขาชัยบุรี เพื่อป้องกันศัตรูที่จะมาโจมตีเมืองสงขลาทางบก ภายหลัง
ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองพัทลุง และได้ย้ายเมืองพัทลุงออกจากเมืองสงขลาตั้งแต่นั้น
และตั้งเมืองอยู่ที่เขาชัยบุรี ตลอดมาจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2310

ยุคธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ ได้ย้ายที่ตั้งเมืองหลายครั้ง เป็นช่วงที่เจ้าเมืองพัทลุงได้นำ
ความเจริญมาสู่เมืองพัทลุงค่อนข้างมาก อาทิเช่น พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก)
พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว) พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทร์โรจน์วงศ์) ในยุคนี้ คนพัทลุง
ได้เข้าร่วมในการสงครามหลายครั้ง เช่น สงครามเก้าทัพ หรือเข้าร่วมสงครามปราบกบฏ
ในแหลมมลายู เช่น กบฏไทรบุรี พ.ศ.2373 และ พ.ศ.2381

เมืองพัทลุงในปัจจุบันย้ายครั้งที่ 12 มาจากตำบลลำปำ เมื่อพ.ศ. 2467 มาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์
ซึ่งใกล้เส้นทางคมนาคมทางรถไฟ และติดต่อกับเมืองต่างๆได้สะดวกขึ้น

ในปี พ.ศ. 2476 ทางการได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เริ่มมีการแบ่งเขต
จังหวัดและอำเภอ พัทลุงจึงได้ยกฐานะจากเมืองเป็นจังหวัด ประกอบด้วย 11 อำเภอมา
จนถึงปัจจุบัน

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
เมื่อทหารญี่ปุ่นเกณฑ์ชาวอินโดนีเซียเป็นเชลยศึกผ่านเข้ามาทางพัทลุง เพื่อขึ้นรถไฟมุ่งสู่
ภาคกลางของประเทศไทย ขณะที่ตั้งค่ายพักที่พัทลุง คนพัทลุงเกิดความสงสารเชลยเหล่านั้น
ในเวลากลางคืนจึงลักลอบเข้าไปในค่ายเชลย ปล่อยเชลยชาวอินโดนีเซียเป็นอิสระ
และหาที่ทำกินให้ พร้อมกับตั้งชื่อเชลยที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นชื่อไทยๆ เช่น นายบุญนำ,
นายบุญนึก, นายบุญถึง, นายบุญเหลือ เป็นต้น พวกเขาได้ออกลูกออกหลานเป็นคนพัทลุง
ในปัจจุบันอยู่หลายครอบครัว หรือว่าคนไทยที่ช่วยเชลยนี้ ก็มีเชื้อสายมาจากอินโดนีเซีย
แต่นานมาแล้ว

สุขศาลาพัทลุง ก่อนที่จะมาเป็นโรงพยาบาลพัทลุงในปัจจุบัน
Photobucket



Create Date : 03 สิงหาคม 2551
Last Update : 7 สิงหาคม 2551 20:18:28 น. 14 comments
Counter : 8389 Pageviews.

 
เข้ามาเก็บรับความรู้เช่นเคยครับ

เรื่องคอนโดนกนางแอ่นนี่ เคยได้ยินแต่เขาเล่ามา แต่ยังไม่เคยเห็นจริง ๆสักที

ถ้ามีอยู่จริง ก็นับว่าเป็นธุรกิจที่คุ้มค่าจริง ๆ นะครับ นกมาอาศัยแล้วจ่ายค่าเช่าเป็นรังนก

ไม่แน่ใจว่า การเก็บรังนกแบบนี้ จะต้องจ่ายค่าสัมปทาน เหมือนการเก็บรังนกในถ้ำหรือเปล่า ถ้าไม่ต้องจ่ายก็นับว่าเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนทีเดียว

พูดถึงเรื่องเงิน "เบี้ย" เคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่เคยเห็นจริง ๆ สักครั้งว่า หน้าตามันเป็นอย่างไร?

เก็บเอาหอยเบี้ยมาใช้เป็นเงินได้เลยหรือเปล่าครับ? หรือจะต้องตีตรา หรือมีกระบวนการอย่างไรก่อน

ที่สงสัยเพราะถ้าลำพังเก็บเอาหอยเบี้ยมาจากหาดแล้วใช้เป็นเงินได้เลย คนก็คงพากันไปเก็บมาจนเบี้ยกลายเป็นของไร้ค่าไป

รบกวนช่วยให้ความรู้หน่อยครับ ถ้ามีรูปได้ยิ่งดีครับ


โดย: ลุงแว่น วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:16:15:34 น.  

 
๒๔๗๗ เหรอคะ
หูววว ์เก็บของเก่งจังค่ะ


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:19:56:41 น.  

 
ตอบคุณลุงแว่น
คอนโดนกนางแอ่นที่ปากพนัง มีคนสร้างจริงๆครับ ต่างจากคอนโดที่คนอาศัย ตรงที่ไม่มีหน้าต่าง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ใดใด ไม่ต้องทำห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เปลืองงบประมาณ แต่ทำช่องไว้ให้นกบินเข้าไปอาศัยอยู่ โดยจะมีแผ่นไม้ไว้ให้นกทำรังด้วย รังนกดิบๆ ราคาประมาณกิโลกรัมละ 5-7 หมื่นบาททีเดียวครับ

"เบี้ย" เป็นเงินปลีกย่อยที่ใช้มาตั้งแต่กรุงสุโขทัย จำนวนเบี้ย 6,400 ตัว เท่ากับเงิน 1 บาท (ตามภาพประกอบที่ผมเพิ่งถ่ายในวันนี้เอง) สมัยเด็กๆ อ่านเรื่องพระร่วง กล่าวถึง "มะกะโท" พบเบี้ยตัวหนึ่ง แล้วนำเบี้ยไปซื้อเมล็ดพันธุ์ผักจากคนจีน คนขายไม่รู้จะขายอย่างไร จึงให้จุ่มนิ้วมือลงในเมล็ดพันธุ์ หากติดมาเท่าไร ก็ให้เก็บไปเท่านั้น มะกะโทจึงใช้นิ้วแตะน้ำลาย แล้วไปแตะเมล็ดพันธุ์จึงได้เม็ดพันธุ์ผักมาจำนวนมาก
เบี้ยเลิกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะเริ่มมีเงินเหรียญดีบุกออกใช้ ซึ่งคนนิยมมากกว่า


โดย: Insignia_Museum วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:21:14:48 น.  

 
พรุ่งนี้มาอ่านต่อน่ะค่ะง่วงแร้น
แต่ขอทอฟไฟน่ะ
ไม่ลืมดูแน่นอนค่ะ
เมื่อกี๊ก้อดูของช่องสามอยู่ค่ะ






โดย: Fullgold วันที่: 8 สิงหาคม 2551 เวลา:1:07:49 น.  

 
ภาพดูคลาสสิคสุดๆค่ะ

ข้าราชการสมัยก่อน แต่งตัวดูดีมีสกุล ท่าทางเรียบร้อย



โดย: ทากชมพู วันที่: 9 สิงหาคม 2551 เวลา:5:57:55 น.  

 


สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ค่ะ

นี่ถ้าเรายังใช้เบี้ยแทนธนบัตรได้ก็ดีนะคะ


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:7:44:25 น.  

 
ทยอยมาอ่าน ทยอยมาชมค่ะ

มีอยู่ช่วงนึงค่ะ ที่แอบติดอกติดใจเรื่องราวในอดีต

ในรั้วในวัง แบบว่าลงทุนซื้อหนังสือมาอ่านเลยทีเดียว

แต่ก็เป็นไปพักนึง

เบี้ยที่ใช้แทนเงินที่เห็น คล้าย ๆ กับของประดับเหมือนกันนะคะ เอามาคล้องมือล่ะใช่เลย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ เรื่องราวของประวัติศาสตร์ยังคงคุณค่าเสมอ


โดย: วันวานที่ผ่านมา วันที่: 20 สิงหาคม 2551 เวลา:23:42:19 น.  

 
ปัจจุบันคนใต้ยังเรียกเงินว่าเบี้ย เรียกคนรวยว่า "คนยังเบี้ย"


โดย: คนลุงมาเอง IP: 202.12.73.4 วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:06:49 น.  

 
อ่านเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ได้สาระดี ขอคุยด้วยคนนะ...ณ พ.ศ. นี้ถ้ากำหนดให้เงิน 1 บาท ขนาดเท่าลูกเปตอง 1 ลูก (เก้บที่บ้าน ห้ามฝากแบงค์ ห้ามบรทุกยานพาหนะเวลาไปวื้อของหรือใช้จ่าย)
คงจะสนุกพิลึกนะฮับ ฯพณฯ...หลายท่านทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศขณะนี้ จะซื้อเสียง ซื้อรถ ซื้อประเทศ ควจะลำบากน่าดู
นะพี่น้อง..........หรือท่านคิดไง 5555555


โดย: Phoenix IP: 61.7.218.26 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา:19:22:06 น.  

 
น่าจะเป็นกุศโลบายที่ดีนะครับ หากหาวิธีอื่นแก้ปัญหาคอรัปชั้นไม่ได้


โดย: Insignia_Museum วันที่: 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา:22:23:03 น.  

 
นานเหลือเกินครับ กว่าที่ผมจะได้เข้ามาเห็น.


โดย: เจียวต้าย วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:11:03:43 น.  

 
ขอบคุณครับที่มาชมภาพเก่าๆครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:21:43:04 น.  

 
เราคนนครแต่ตอนนี้อยู่นนท์ คิดถึงบ่้านจังเลย


โดย: ยาว เด็กนคร IP: 110.49.226.162 วันที่: 28 กรกฎาคม 2554 เวลา:22:54:46 น.  

 
ชื่นชมความใจดีของคนไทยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 31 มกราคม 2555 เวลา:13:56:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.