Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
2 กันยายน 2552
 
All Blogs
 

Hanafubuki The Legendary Dance of Japan ตอนที่ 2+Origami,Shodo&Ikebana







ย้อนกลับไปดูตอนที่1ค่ะหากยังไม่ได้ชมคลิ๊ก


ชุดต่อไปเป็นการแสดงการต่อสู้ พัดในที่นี้คือดาบ





สวยงามไม่แพ้ชุดแรก แต่ถ่ายยากกว่าเยอะ





คู่ต่อสู้มาแล้ว





เผชิญหน้ากัน





ชิงไหวชิงพริบ





โชวลีลา





ควงดาบพริ้วสะบัด





***





ท่วงท่าสวยงาม





ควงพัดก็คือการควงดาบ





สองรุมหนึ่งเชียวหรือนี่





ควงซะหมุนติ้ว





ประดาบกันแล้ว





***





แข็งแกร่งดุดัน





คาระวะท่านผู้ชม

จบการแสดงชุดที่สอง





แผ่นป้ายการแสดงสวยมาก ถ่ายไว้เป็นที่ระลึก





เดี๋ยวนำภาพเครื่องแต่งกายที่โชว์มาต่อในกระทู้นี้เลยดีกว่าค่ะ


----


โชว์เวที เป็นภาพความงดงามของอุทยานในฤดูร้อน





ด้านข้างเวทีตกแต่งเป็นส่วนหินสไตล์ญี่ปุ่น





สาวในชุดกิโมโนโทนสีคลาสสิค ไม่ทราบว่าเธอเป็นพรีเซนเตอร์ของงานนี้

หรือว่าเป็นผู้ชมแต่งกายให้เข้ากับบรรยากาศของงานก็ไม่ทราบค่ะ

สวยนุ่มนวลน่ารัก ย่าจึงขอเธอถ่ายภาพมาฝากท่านผู้ชม





กิโมโนแอ๊บแบ้ว





ซุ้มประตูตรงบริเวณงาน





เวทีการแสดง ย่าไปก่อนเวลาเพื่อไปจับจองด้านหน้าเวที

แต่ปรากฎว่าใกล้เวลาการแสดง มีพนักงานมาบอกว่าสามแถวด้านหน้า

เขากันไว้สำหรับแขก VIP

อ้าวทำไมไม่บอกตั้งแต่แรก หรือไม่ก็น่าจะทำป้ายแจ้งไว้ จนคนจับจอง

หมดแล้วเพิ่งมาบอก โดนท่านผู้สวดชะยันโต ซะตามระเบียบ (รวมทั้งย่าด้วย 555)





การแต่งกายชุดกิโมโนสำหรับการแสดง

การแต่งกายในชุดกิโมโนสำหรับการแสดงนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความโดดเด่น

ชุดยาวที่คลุมทับกิโมโนดูสวยงามและสง่า โอบิ(สายคาดเอว) ก็สวยสะดุดตา

ทรงผมที่ตกแต่งด้วยปิ่นปักผมประดับประดาด้วยอัญมณีงดงาม เสริมแต่งและ

สร้างสรรค์เอกลักษณ์ของชุดกิโมโน


1.ชุดยาวคลุมชุดกิโมโน(Uchikake)

ชุดยาวคลุมทับกิโมโนปักลวดลายเกี่ยวกับ เรื่องของ"มิยาโมโตะ โยชิทซุเนะ"

(อุชิวะ คะมะรุ)ซามุไรที่ยิ่งใหญ่


เมื่อครั้ง อายุได้ประมาณ 2 ขวบ ตระกูลของเขาได้พ่ายแพ้ในการทำสงคราม

กับตระกูลเฮเกะ "โทกิวะ โกะเซน" ผู้เป็นแม่ได้อุ้มเขาขณะพาหนีไปยังหุบเขา

ที่เมือง ยามะโตะ(จังหวัดนาระในปัจจุบัน) พร้อมพี่ชายของเขาอีก 2 คน คือ

อิมะวะกะ และ โอะโทะวะกะ


ลาดลายบนชุดปักด้วยด้ายทองและด้ายเงิน แสดงให้เห็นภาพของหิมะที่กองทับถม

กัน และ สายสัมพันธ์ที่ไม่สามารถตัดขาดของแม่และลูก สื่อความงามแห่งศิลปะ

ชั้นเลิศสบนชุดยาวคลุมทับกิโมโน


ช่างทำชุดคลุมยาวชุดนี้ได้ทุ่มเทการทำจากใจ เริ่มจากการปักลวดลายบนผ้า

ด้วยมือ ลักษณะพิเศษคือส่วนปลายของชุดเป็นสีแดง ลายพื้นดินปักโดยใช้สีดำ

และใช้สีขาวเป็นลายหิมะ ทำให้มีรูปลักษณะที่ดูภูมิฐานยามแสดง





close up ให้เห็นลวดลายฝีเข็มที่ปักผ้า





2.ผ้าคาดเอว(Manaita-Obi) ผ้าคาดเอวปักลวดลายเดียวกันกับชุด

ยาวคลุมชุดกิโมโนเป็นภาพของ"โทกิวะ โกะเซน" ซึ่งโดดเด่นด้วยการใช้สีดำ

และพื้นสีขาว ภาพของกอไผ่ที่หิมะปกคลุม ผ้าคาดเอวเป็นผ้ายาวชิ้นเดียวที่มี

สีสดใสเพื่อสร้างความสมดุล และ ทำให้ชุดยาวคลุมชุดกิโมโนนั้นดูสง่างาม


ภาพปักจากเรื่องเล่า"โทกิวะ โกะเซน" ใช้เทคนิคการปักผ้าที่พิเศษไม่เหมือน

ใคร เป็นการปักผ้าไล่สีจนดูผ้ามีสีเข้มเมื่อมองจะให้ความรู้สึกว่ามีสีต่างๆเหลือบ

ในผ้าสีเข้ม





3. ชุดอุฉิกิ(Uchigi)"ชุดอุฉิกิ" หรือ "ชุดข้างใน" เป็นอีกชุดหนึ่งชุด

ที่มีความสวยงามของการเล่นสี ได้งดงาม ไม่แพ้ชุดยาวคลุมทับกิโมโน ชุดอุฉิกิ

เป็นสีขาวดุจดั่งหิมะที่อ่อนละมุน ส่วนบนของชุดเป็นสีแดงเข้ม ประดับตกแต่ง

ด้วยลวดลายต่างๆที่เปรียบเหมือนหัวใจของความเป็นประเทศญี่ปุ่น ดอกบ๊วยสีแดง

ดอกบ๊วยสีขาว ตัดกับสีเขียวของใบไผ่ทำให้ดูเด่น แขนเสื้อให้สีม่วงเพิ่มความสง่างาม

การเล่นสีทำให้ชุดอุฉิกิชุดนี้สวยงามมาก





หมายเหตุ อันดับ 4 เป็นผ้าคาดเอว(Manaita-Obi) อีกเส้นหนึ่งย่าไม่ได้ถ่ายมาค่ะ


5.วิกผม(Katsura) วิกมวยผมขนาดใหญ่นั้นเป็นสัญญลักษณ์ของชุด

กิโมโนสำหรับการแสดงอย่างหนึ่งสิ่งที่โดดเด่นที่สุดคืออัญมณีที่ประดับตกแต่งในส่วน

ต่างๆอย่างละเอียด ปิ่นปักผม และ เชือกถักร้อยรัดด้านหน้าและด้านหลัง


ปิ่นปักผมทำจากวัสดุหลายชนิด มีทั้งสักษณะเป็นแบบแบนและกลม วัสดุที่ใช้ทำปิ่น

เป็นวัสุดจากธรรมชาติ เช่น ปะการัง และกระดองเต่า วิธีการเสียบปิ่นปักผมสามารถ

บ่งบอกสถานะของผู้ใช้ปิ่นประดับว่าอยู่ในระดับสูงสุด ดอกไม้ที่ประดับบนปิ่นปักผม

จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลทั้งสี่ฤดู บ่งชี้ว่าขณะนี้อยู่ในฤดูกาลใด ยามที่ก้าว

เดินปิ่นปักผมที่ห้องระย้าจะสะบัดพลิ้วไหว ช่วยทำให้ดูสวยและสง่างาม





วิคผมดูใกล้ๆ





พัดและรองเท้าที่ใช้ในการแสดง


----


6. พัด(Sensu)

ในการร่ายรำแบบโบราณที่สืบทอดกันมา สิ่งสำคัญยิ่ง คือ พัดสำหรับการแสดง

โดยปกติไม่ว่าการร่ายรำของทั้งไมโกะ และ เกอิชา ต่างก็พิถีพิถันเลือกคัดลวดลาย

และสีสันของพัดทั้งเริ่มต้นและสิ้นสุดการร่ายรำ ผู้แสดงจะนั่งในท่าคุกเข่าและวางพัด

ไว้ที่ข้างหน้าของหัวเข่า ถือเป็นสิ่งกั้นระหว่างนักแสดงกับผู้ชม และเพื่อบ่งบอกว่า

การแสดงได้สิ้นสุดลง


ขณะร่ายรำ ผู้ชมจะเห็นทั้งความสง่างาม และความอ่อนโยน ยามผู้แสดงคลี่พัด

เมื่อเวลาหุบพัด ก็ยังสามารถนำมาใช้เป็น ดาบ ทวนหรือไม้พายได้ ดังนั้นพัดจึงเป็น

สิ่งสำคัญและจะขาดไม่ได้ในการร่ายรำ





วิคผมดูใกล้ๆ





ภาพนี้สำหรับคอแฟนคลับญี่ปุ่นจ๊ะ





นอกจากจะมีการแสดงแล้วยังมี

1.การสาธิตศิลปะการพับกระดาษ(Origami)

2.การสาธิตศิลปะการเขียนพู่กันญี่ปุ่น(Shodo)

3.การสาธิตศิลปะการจัดดอกไม้(Ikebana)

ย่าเอามาโพสต่อเลยดีกว่านะคะ





ขั้นตอนการพับ พับเสร็จแล้วนำมาต่อกันเป็นทรงกลมเหมือนกับภาพข้างบนค่ะ





ฝีมือน้องๆที่ไปหัดพับ คนสอนแถมวิธีการพับนกพับเต่า ให้เป็นของแถม





การสาธิตศิลปะการเขียนพู่กันญี่ปุ่น(Shodo)

ทายซิหนุ่มยุ่นคนนี้เขาเขียนคำว่าอะไร





เฉลยจ้าชื่อย่าเอาแหละ สุดา นะคะ ไม่ใช่ย่าดา อิอิ

ได้แผ่นนี้กลับไปเป็นที่ระลึกจ๊ะ





รายการสุดท้าย

การสาธิตศิลปะการจัดดอกไม้(Ikebana)





อุปกรณ์สำหรับจัดดอกไม้

เที่ยวนี้ใช้แป้นกลมที่มีเข็มแหลมๆ วางไว้ก้นแจกัน

เป็นตัวยึดกิ่งก้านของดอกไม้ค่ะ





ไหว้สวยแถมยังยิ้มหวานด้วยค่ะ

บูธนี้ได้รับความสนใจรุมกันเต็มเลยค่ะ

ย่าต้องหามุมถ่ายแทบแย่กว่าจะได้ภาพ


จะสังเกตุว่าการจัดดอกไม้ของญี่ปุ่นจะใช้ดอกไม้

และใบไม้เพียงไม่กี่ช่อ ก็ดูเก๋ได้ โดยอาศัยหลัก

ในการจัดเป็นทรงเรขาคณิต ดูมีเสน่ห์น่ารักดีค่ะ

ทำให้นึกถึงงานกระเจียวที่อิมโพเรี่ยม ก็มีโชว์การจัด

ดอกไม้แบบนี้เหมือนกันค่ะ ถ่ายมาแต่ยังไม่ได้เอามานำเสนอค่ะ





เสร็จแล้วค่ะสวยไหมคะ





อีกแบบหนึ่ง เปลี่ยนดอกไม้ เปลี่ยนรูปทรงการจัด

สังเกตุไหมคะ ว่าเขาจะใช้ดอกซ่อนกลิ่น

ถ้าเป็นบ้านเราเอามาจัดคงมีคนมองด้วยความกระอักกระอ่วนใจ

เพราะไทยเราถือดอกซ่อนกลิ่นเป็นดอกไม้ที่ใช้ในงานศพ

ซ่อนกลิ่น,ซ่อนชู้ แหมแต่ละชื่อดีๆทั้งนั้น ช่างน่าสงสารเจ้าซ่อนกลิ่นเสียจริง

บ่นเสร็จก็ขอจบงานนี้ไว้เพียงเท่านี้ สวัสดีค่ะ







 

Create Date : 02 กันยายน 2552
11 comments
Last Update : 3 กันยายน 2552 13:37:14 น.
Counter : 6250 Pageviews.

 

กำลังคิดหนักว่าจะไปญี่ปุ่นดีไหมน็อ... พอมาดูรูปแล้วยิ่งคิดหนักเข้าไปอีกค่ะย่า

 

โดย: dark side 2 กันยายน 2552 18:38:27 น.  

 


ย่าดาขา
ตัวหนังสือสีขาว
จมไปกับพื้นกล่องเม้นท์
อ่านไม่ออกเลยค่ะว่าอุ้มพิมพืไปผิดไหมเนี่ย

 

โดย: อุ้มสี 2 กันยายน 2552 21:10:38 น.  

 

เห็นแล้วอยากกลับญี่ปุ่นเจงๆ

 

โดย: Tukta21 2 กันยายน 2552 22:41:36 น.  

 

Thanks ja หนูอุ้ม ย่าลืมเปลี่ยนสีตัวหนังสือไปเลย ท้วงมาอย่างนี้ดีแล้วค่ะ
ย่าเปลี่ยนสีเรียบร้อยแล้วนะคะ

สวัสดี คุณ Tukta21 แสดงว่าเคยไปเที่ยวแล้ว หรือไปอยู่คะ

หนู dark side ไปซิคะ จัดทริปไปตอนเที่ยวชมซากุระนะ มาชวนย่าด้วย อิอิ

 

โดย: ดา ดา 3 กันยายน 2552 13:40:51 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

โอเย้.......เม้นท์ได้ชัดเจนเลยจ๊ะ
ดีใจจังค่ะย่าดา
ว่าแต่วันที่ 10-11 ตุลา ย่าดาไปไหนหรือเปล่าค่ะ
ไปทอดผ้าป่าที่สวนผึ้งกันนะคะ
คิดถึงย่าดาเสมอ...หลับฝันดีค่ะ

 

โดย: อุ้มสี 3 กันยายน 2552 22:23:13 น.  

 

 

โดย: นายแจม 4 กันยายน 2552 16:13:43 น.  

 


เอารอยยิ้มพ่อหลวงมาฝาก
ขอให้มีรอยยิ้มทุกวันนะครับ





โจจัง

 

โดย: พลังชีวิต 4 กันยายน 2552 20:45:36 น.  

 

มาเยี่ยมเยือนบ้านที่สวยงามครับ แวะแล้วขอดูความงามรอบๆบ้านก่อนนะครับ

 

โดย: ขนุน (หล่อเกินระบบจะรองรับจ้า) IP: 125.27.123.204 5 กันยายน 2552 17:22:40 น.  

 

โอ้ว คนญี่ปุ่นนี่เค้าสุดยอดจริงๆ

ป.ล.ชอบบีจีมากเลยค่ะ เข้ากับเรื่อง

 

โดย: grappa 7 กันยายน 2552 11:19:33 น.  

 

อาจจะมาโพสช้าไปหน่อยแต่มีของดีมาแจก
หากใครสนใจอยากได้โปรเตอร์หรือดีวีดีการแสดงแบบฟรีๆเรามีแจกให้
ถ้าสนใจก็มารับได้ที่ อาคารพญาไท พลาซ่า ชั้น 7 ห้อง จี หรือโทรมาสอบถามได้ที่ 026121520-1
และทางคณะแสดงจะมาแสดงอีกในปีหน้าสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับชมค่ะ
แจกฟรีไม่มีเงื่อนใขจ้า

 

โดย: เมย์ IP: 58.8.252.126 2 ตุลาคม 2552 13:37:26 น.  

 

ขอบคุณ คุณเมย์ หากใครสนใจกก็ติดต่อไปนะคะ ว่าแต่ปีหน้าเป็นการแสดงชุดเดิมหรอคะ หากเป็นชุดใหม่อย่าลืมแจ้งข่าวนะคะ ย่าจะได้ไปเก็บภาพมานำเสนอในบล๊อกอีกค่ะ

 

โดย: ดา ดา 4 ตุลาคม 2552 11:27:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.