Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
23 กุมภาพันธ์ 2559
 
All Blogs
 
ทริบอุดร-หนองคาย ตอนที่2 หลุมขุดค้นทางโบราณคดี,ศูนย์จำหน่ายสินค้าบ้านเชียง

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี บ้านเชียง(อยู่ในวัดโพธิ์ศรีใน)
ย่ามาเพิ่มลิงค์แผนที่ของหลุมขุดค้นทางโบราณคดี บ้านเชียง(อยู่ในวัดโพธิ์ศรีใน) คลิ๊กที่ชื่อลิงค์ด้านบนนะคะ มันจะพาไปยังแผนที่ในGoogle map ค่ะ
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน อุดรธานี 41320
(เพิ่มลิงค์แผนที่ เมื่อวันที่ 4/5/2560)


หลังจากที่พวกเราไปชมทะเลบัวแดงกันแล้ว หมุดหมายต่อไปของเราก็คือพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง
โดยลืมไปว่าวันที่ 8 นั้นเป็นวันจันทร์ พิพิธภัณฑ์ปิดทำการ
แต่ไหนๆก็มาถึงแล้ว เที่ยวสถานที่ข้างเคียงก็แล้วกัน

หิวแล้วพักทานอาหารกันก่อน หาร้านอาหารแถวนั้นทานกัน จากนั้นก็ข้ามฝั่งมาชม
ศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เทศบาล ต.บ้านเชียง



เป็นแหล่งชมวัฒนธรรมและแหล่งช๊อปปิ้ง



จุดบริการเขียนลายไห



ผ้าพันคอสีสันหลากหลายมีให้ซื้อหา



ย่าซื้อผืนนี้ มาช่วงอากาศเย็นอยู่พอดี ลายถูกใจมาก



หรือจะซื้อเป็นของชิ้นเล็กๆ เป็นของฝาก ก็มี



ไหชิ้นเล็กๆน่ารัก ลายบ้านเชียง



สถานที่เขาจัดทำได้สวยงาม น่าเดินช๊อปเป็นอย่างยิ่ง



เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าชมชน หนองหาน อุดรธานี



ถ่ายไอเดียการนุ่งผ้าไทยแบบเก๋ๆมาให้ดูกัน



เสื้อเดี่ยวเนื้อผ้านุ่มน่าใส่



ป้ายจุดบริการเขียนลายบ้านเชียง ดีจังอยากเห็นขั้นตอนการเขียนลายมานานแล้ว


ปั้นหม้อ เขียนสี ของดีบ้านเชียง

.""

สีที่ใช้เขียนเป็นดินสีแดงจากแหล่งเดียวกันนำมาบดให้ละเอียด เป็นวัตถุดิบหลัก



คุณลุงมือนิ่งมาก มือเหมือนวงเวียนเลยทีเดียว วาดเป๊ะมาก สอบถามคุณลุงว่าต้องฝึกนานไหม
กว่าจะได้แบบนี้ ลุงบอกว่าประมาณ 6 เดือน ก็ได้แล้ว



ฝีมือลูกศิษย์บ้าง คุณลุงบอกว่าที่จำหน่ายในราคา 20 บาทได้เพราะเป็นการลงสีโดยไม่ได้อบอีกที
จึงเอาไปตั้งโชว์ได้แต่ใสน้ำไม่ได้เพราะสีจะลอกออกมา



มาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทองกวาวบานสะพรั่ง ดอกไม้สกุลเดียวกับทองกวาว จะมีพวงโกเมน
พวงหยก ซึ่งลักษณะดอกจะเหมือนลายกนก สวยมาก ย่าดาเคยเอาดอกพวงหยกดอกร่วง
มาเรียงเป็นลายสวยๆ ถ่ายทำเป็นแบคกราวน์หน้าบล๊อก สวยมากทีเดียว หน้าบล๊อกนั้น
ยังอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ ไว้ว่างๆจะไปดูซะหน่อย



จากนั้นก็เดินไปยังโซนหน้าพิพิธภัณฑ์ สักการะ ขุนเชียงสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งชุมชนบ้านเชียง



ขุนเชียงสวัสดิ์ ได้แบคกราวน์เป็นต้นทองกวาว กำลังออกดอกสวยทีเดียว



จุดถ่ายรูปริมฝั่งโขงศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เทศบาล ต.บ้านเชียง



ลานหน้าพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง



อาคารภายในวัดศรีโพธิ์ใน ซึ่งอยู่หลังพิพิธภัณฑ์



วัดโพธิ์ศรีใน
วัดโพธิ์ศรีใน สร้างเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๙๐ เดิมชื่อ วัดใน เนื่องจากตั้งอยู่กลางชุมชน
ต่อมาได้ย้ายมาตั้งวัดใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน ห่างจากวัดเดิมไปทางทิศตะวันตก ประมาณ
๒๐๐ เมตร ด้วยพื้นที่ใหม่นี้มีต้นโพธิ์ที่ขึ่นอยู่แต่เดิมหลายต้น จึงตั้งชื่อว่า วัดศรีโพธิ์ใน
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๕ พระครูวิมลปัญญากร ได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคที่ดินให้
กรมศิลปากรทำการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งต่อมาได้จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถาน
กลางแจ้งหลุมขุดค้น วัดโพธิ์ศรีในและเปิดให้เข้าชมจนถึงปัจจุบัน



๒๐-มีนา ๒๕๑๕ เสด็จพระราชดำเนินทอดเนตรการขุดค้นทางโบราณคดี
หลุมขุดค้นทางโบราณคดีวัดศรีโพธิ์ศรีใน
พิกัด 17°24'06.2"N 103°13'54.2"E
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับบ้านเชียง
การค้นพบแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติการตั้งถิ่นฐาน
ของมนุษย์บนผืนแผ่นดินไทย จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การขุดค้นทางโบราณคดีที่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๕ และได้มีพระราชกระแสเกี่ยวกับการแสวงหาความร่วมมือ
จากต่างประเทศเพื่อศึกษาวิจัยหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้า
ในงานโบราณคดีของไทยเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริในการพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงให้เป็นแหล่งศึกษาหา
ความรู้ของประชาชน เกิดโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงขึ้นเพื่อเป็น
พิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งโบราณคดี และทำการรักษาสภาพหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน
ไว้ให้ประชาชนได้เยี่ยมชมเพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่า และความสำคัญขอ
งแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งนี้ที่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดก
โลกทางวัฒนธรรมลำดับที่ ๓๕๙ ของโลก



ประวัติ
เดิมชาวบ้านเชียงเป็นชาวพวน เมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ได้อพยพหนีภัยสงคราม
กลางเมืองและหาแหล่งที่ทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์แห่งใหม่ เมื่อปี ๒๓๒๗ โดยมีผู้
อพยพมาอาศัย ๔ ครอบครัวและได้มาตั้งหลักปักฐาน ในบริเวณปัจจุบันดั้งเดิมเป็นป่า
ที่มีความอุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่านานาชนิด ชื่อว่า “ ดงแพง” เริ่มแรกได้มีประมาณ
๓-๔ หลังคาเรือน ต่อมาญาติพี่น้อง ทางเมืองพวนทราบข่าว จึงได้อพยพตามมา
ตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหมู่บ้านหนาแน่นบนเนินดินใหญ่และ
เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “บ้านเชียง “ ในเวลาต่อมาโดย ขุนเชียงสวัสดิ์



การขุดค้นทางโบราณคดี

นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ เป็นต้นมา กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นทาง
โบราณคดีที่บ้านเชียงหลายครั้ง โดยเฉพาะพื้นที่ในบริเวณเนินดินด้านทิศตะวันออก
หลักฐานทางโบราณคดี ที่พบส่วนใหญ่ คือ หลุมศพกว่า ๔๐๐ หลุม เป็นโครงกระดูก
ของมนุษย์ฝังร่วมกับสิ่งของเครื่องใช้ โดยวัดโพธิ์ศรีในเป็นพื้นที่ดำเนินงานที่สำคัญแห่งหนึ่ง
เนื่องจากพบหลุมศพของมนุษย์เป็นจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงอนุรักษ์ไว้และจัด
แสดงหลุมขุดค้นในลักษณะพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง มีการขุดค้นเพิ่มเติมและสร้าง
อาคารคลุม เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕

กระทั่ง ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ เกิดอุทกภัย น้ำซึมเข้าหลุมขุดค้นจนโบราณวัตถุที่จัด
แสดงได้รับความเสียหาย กรมศิลปากรจึงดำเนินการเก็บโบราณวัตถุขึ้นมาทำการ
อนุรักษ์ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ และได้จำลองหลุมขุดค้นในลักษณะเดิม เพื่อให้
ประชาชนได้ชมร่องรอยการทำงานทางโบราณคดีเหมือนครั้งอดีต และโบราณวัตถุ
ที่ผ่านการอนุรักษ์แล้วนั้น ได้นำมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง



๕,๐๐๐ ปีที่แล้ว ณ บ้านเชียง
เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่บนเนินดิน
ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านเชียงในปัจจุบัน ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาของป่าและทำการ
เกษตรกรรม เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าว การหัตถกรรม เช่น ทำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า
จักสาน เครื่องใช้ และประเครื่องประดับ ต่อมาราว ๒,๘๐๐ ปี จึงเรียนรู้ที่จะนำเอา
เหล็กมาผลิตเป็นเครื่องมือสำหรับใช้งาน และนิยมนำสำริตไปผลิตเป็นเครื่องประดับ
เนินดินบริเวณที่เป็นที่ตั้งของวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการฝังศพเป็นป่าช้าหรือ
สุสานของคนในสมัยนั้น โดยเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตก็จะนำมาฝัง
บางครั้งพบว่ามีการนำเศษภาชนะชิ้นใหญ่มาวางเรียงตั้งเป็นแนวขอบหลุม ปูรองหรือ
คลุมศพ บางศพมีการนำเอาเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับและอาหารมาฝังร่วม
เป็นของอุทิศ ได้แก่ เครื่องมือเหล็ก หินดุ ภาชนะดินเผา กำไลและปลอกคอสำริด
กรามหมู กะโหลกหมู ชิ้นส่วนวัว ควาย กวาง เต่า และข้าว
การฝังศพในวัฒนธรรมบ้านเชียง สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงเวลา ได้แก่ สมัยต้น
สมัยกลาง และสมัยปลาย



สมัยต้น
(ราว ๕,๖๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว)
ประเพณีการฝังศพ ในสมัยต้นนี้พบอย่างน้อย ๓ แบบ ได้แก่
-การฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาว โดยมีภาชนะดินเผาวางไว้บริเวณขาหรือศีรษะ
-การฝังศพแบบนอนงอเข่า พบทั้งแบบที่มีของอุทิศและไม่มีของอุทิศ เป็นรูปแบบที่พบไม่มากนัก
-การฝังศพเด็กลงไปในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ นิยมใช้ฝังศพเด็กทารกอายุไม่เกิน ๓ ขวบ
ภาชนะดินเผารูปแบบเด่น ที่พบในสมัยต้น แบ่งตามช่วงเวลาได้ดังนี้
ราว ๕,๖๐๐ - ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ได้แก่ ภาชนะมีฐานเตี้ยสีดำ ครึ่งบนตกแต่งด้วย
เส้นขีดเป็นลายขด ครึ่งล่างตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ

ราว ๔,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้แก่ ภาชนะขนาดใหญ่สำหรับใส่ศพเด็ก และภาชนะ
ขนาดเล็กที่นิยมตกแต่งด้วยเส้นขีดคดโค้ง

ราว ๔,๐๐๐ -๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว ได้แก่ ภาชนะทรงกระบอก และภาชนะก้นกลม
คอตั้งตรง ตกแต่ด้วยลายเชือกทาบ และพบหลักฐานทางโลหกรรมที่สำคัญ คือ
ใบหอกสำริดที่เก่าที่สุดของบ้านเชียง พบในหลุมศพที่ฝังแบบนอนงอเข่า
ราว ๓,๕๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้แก่ ภาชนะก้นกลมตกแต่งไหลภาชนะ
ด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้งผสมการเขียนสีแดงและตกแต่งส่วนอื่นด้วยลาย
เชือกทาบ เรียกภาชนะดินเผาแบบนี้ว่า"แบบบ้านอ้อมแก้ว" ที่ขุดพบ ณ
แห่งโบราณคดีบ้านอ้อมแก้ว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเชียงนัก


สมัยกลาง
(ราว ๓,๐๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
ประเพณีการฝังศพในสมัยกลางนิยมฝังแบบนอนหงายเหยียดยาว แล้วทุบภาชนะดินเผาให้แตก
เพื่อนำมาโรยคลุมศพ มีภาชนะดินเผาแบบเด่น คือ ภาชนะผิวนอกสีขาวนวล ทำไหลภาชนะเป็น
สันหักมุม มีทั้งแบบก้นแหลมและก้นกลม บางครั้งตกแต่งบริเวณไหลภาชนะด้วยลายขีดและ
ลายเขียนสีแดง ตอนปลายของสมัยกลางมีการตกแต่งด้วยการทาสีแดงที่ปากภาชนะ
หลุมศพที่สำคัญในสมัยนี้ คือ หลุมศพโครงกระดูกเพศชาย อายุประมาณ ๔๕ - ๕๐ ปี
นอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศใต้ สวมกำไลสำริดที่แขนซ้าย มีเศษภาชนะ
ดินเผาแบบมีสันทีไหล่สีขาวนวล จำนวน ๙ ใบ คลุมทับอยู่ เป็นหลักฐานสำคัญแสดง
ให้เป็นว่ามีความนิยมนำเอาภาชนะดินเผาที่สมบูรณ์มาทุบให้แตกเพื่อนำมาคลุมทับศพ
สมัยปลาย
(ราว ๒,๓๐๐ - ๑,๘๐๐ ปี มาแล้ว)
ประเพณีการฝังศพในสมัยปลายนิยมฝังแบบนอนหงายเหยียดยาว แล้วนำภาชนะดินเผาทับไว้บนศพ
ในช่วงต้นของสมัยปลายนิยมผลิตภาชนะดินเผาที่เขียนลวดลายสีแดงบนพื้นขาวนวล แต่ช่วงกลาง
ของสมัยปลายเป็นต้นมา นิยมผลิตภาชนะดินเผาที่ตกแต่งด้วยลายเขียนสีแดงบนพื้นสีแดง
นอกจากนี้ยังพบว่าการฝังศพเด็กในสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียงนั้น มีการนำเอาลูกกลิ้งดินเผา
สลักลวดลายต่างๆ ฝังร่วมกับศพด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากแผ่นพับจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
(หากท่านไปชมเองจะได้รายละเอียดมากกว่านี้)
ย่าดารายงาน


Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 4 พฤษภาคม 2560 15:20:58 น. 11 comments
Counter : 4442 Pageviews.

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ สมาชิกหมายเลข 2788242 เรียบร้อยแล้วนะคะ..

ถ้าไปอุดรแล้วไม่แวะบ้านเชียง

ถือว่ายังไม่ถึงอุดรนะค่ะ..




โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:12:04:07 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ดา ดา เรียบร้อยแล้วนะคะ

copy ผิดไปค่ะย่าดา..ขอประทานโทษด้วยค่ะ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:12:05:14 น.  

 
ยังไม่เคยไปเลยค่ะ อยากไป
+


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:14:52:00 น.  

 
ตามย่าดามาเที่ยวด้วยคนค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:23:57:35 น.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:2:32:32 น.  

 
ผ้าทอสวยมาก งานปั้นก็มีเสน่ห์ค่ะ


โดย: mariabamboo วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:11:28:36 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยคนนะคราบ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:13:01:17 น.  

 
ขอบคุณหนูแอ้มแอ้มสำหรับการแปะหัวใจ
คุณ tuk-tuk@korat,หนูอุ้มสี,Kavanich96,คุณmariabamboo และ คุณทนายอ้วน ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมบล๊อกและคอมเม้นท์ค่ะ
กำลังทำตอนที่3 นะคะ คาดว่าจะอับบล๊อกได้วันนี้ค่ะ


โดย: ดา ดา วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:11:50:30 น.  

 
สวัสดี ป้าดา ไว้เจอกันที่วังโบราณนะ

คุณได้ทำการแปะ หัวใจ ให้กับคุณ ดา ดา เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 0 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


โดย: ป้าเก๋า (ชมพร ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:12:03:55 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยค่ะ ผ้าสวยเลยนะคะ ได้ดูการเขียนลายบ้านเขียงด้วย

เจอกันวันเสาร์งานบล็อกนะคะ



โดย: kae+aoe วันที่: 1 มีนาคม 2559 เวลา:15:47:16 น.  

 
สรุปแล้วย่าไม่ได้ไปสามีไม่ค่อยสะบายค่ะ


โดย: ดา ดา วันที่: 13 มีนาคม 2559 เวลา:14:20:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.