Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
เที่ยวหัวใจใหม่เมืองไทยยั่งยืน เรียนรู้ประวัติและความเป็นมาของงานถือศีลกินผักจ.ตรัง ตอนที่ 6








จากที่พวกเราไปชมศาลเจ้าฮกเกี้ยนกันแล้ว เราก็ไปกันต่อยังสถานีรถไฟกันตัง

เอาความเป็นมาของสถานที่มาฝากค่ะ


-----------

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2456 สถานีรถไฟกันตัง เปิดทำการเดินรถเป็นครั้งแรก

ต้นทางจากสถานีกันตัง ปลายทางสถานีห้วยยอด นับถึงปัจจุบันเกือบ 100 ปี

แล้วที่ สถานีรถไฟกันตังตั้งอยู่เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่

ช่วยบอกเล่าความเป็นมาอันเก่าแก่ของเมืองกันตัง ที่เป็นเมืองท่าขนส่งสินค้า

รวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ในอดีตที่นำเข้าจากต่างประเทศผ่าน

ทาง สิงคโปร์ มาขึ้นท่าที่เมืองกันตังก่อนส่งต่อไปยังอำเภอทุ่งสง ชุมทางรถไฟ

สำคัญของภาคใต้ ด้วยเหตุนี้ที่ดินในบริเวณสถานีรถไฟกันตังจึงเป็นที่ตั้งของ

โรงงานชั่วคราวประกอบรถจักรและล้อเลื่อน ทำให้การเดินทางและการขนส่ง

พัสดุภัณฑ์ต่างๆทางเรือจากภูเก็ต พังงา กระบี่ สตูล และปีนัง จะเข้ามารับส่ง

ผู้โดยสารและสินค้าที่ท่าเรือกันตัง แล้วโดยสารรถไฟต่อไปยังที่อื่นๆ เส้นทาง

รถไฟจากสถานีกันตังจึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก

ของไทย และถือเป็นสถานีสุดท้ายปลายทางเส้นทางรถไฟฝั่งตะวันตก สถานีรถไฟ

จึงถือได้ว่าเป็น “สุดเส้นทางรถไฟสายอันดามัน”





ในปัจจุบันพื้นที่ในบริเวณสถานีรถไฟยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็น

วัตถุ และสิ่งก่อสร้าง ที่ช่วยบอกเล่าความเป็นมาอันเก่าแก่ของสถานีรถไฟกันตัง

เช่น ที่กลับกลับหัวรถจักรแบบหมุนได้ (สำหรับกลับหัวรถจักรไอน้ำ) บ่อน้ำ หอถัง

เก็บน้ำเหล็ก รวมทั้ง แนวคานคอนกรีตโครงสร้างของโรงงานประกอบและซ่อมหัว

รถจักร ซึ่งปัจจุบันหลักฐานทางประวัติศาสตร์เหล่านี้อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม

อยู่ในที่ดินรกร้างไม่มีการใช้ประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางเทศบาลจึงมีนโยบาย

พัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว ให้มีคุณค่าพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวเมืองกันตังสืบต่อไป





ข้อมูลโครงการ

ตามที่เทศบาลเมืองกันตัง มีความประสงค์จะพัฒนาพื้นที่รกร้างบริเวณที่ดินย่าน สถานี

รถไฟกันตัง ให้เกิดการใช้ประโยชน์และสอดคล้องกับ โครงการซ่อมแซมปรับปรุง

โบราณสถาน“อาคารสถานีรถไฟกันตัง” และโครงการก่อสร้างห้องสมุดรถไฟ ซึ่งทั้ง 2

โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยภาพรวมของโครงการทั้งหมด ทาง

เทศบาลมีความต้องการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดศักยภาพด้านการท่องเที่ยว

รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวภายในจังหวัดตรัง ได้มีสถานที่ท่องเที่ยว

เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล ท่องเที่ยวทางทะเล เพราะพื้นที่ดังกล่าว

มีความเหมาะสมต่อการพัฒนา ให้สามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีภาพ

ลักษณ์โดดเด่นและมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมือง

กันตัง รวมทั้งช่วยประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง

และเมืองกันตังว่ามีความหลากหลายในการท่องเที่ยวนอกเหนือจากไปจาก การท่อง

เที่ยวทางทะเลที่เป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวโดยทั่วไปอยู่แล้ว


นอกจากนี้พื้นที่รกร้างบริเวณดังกล่าวยังสามารถพัฒนาพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ใน

การช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนในชุมชนท้องถิ่น ให้สามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียว

สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการนันทนาการ โดยการ

พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวยังช่วยทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองกันตังมีความสวยงามน่าอยู่อาศัย

ช่วยเพิ่มพื้นที่สร้างออกซิเจนให้กับชุมชนเมือง เพิ่มพื้นที่ออกกำลังกายให้ประชาชน

ซึ่งส่งผลทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือการเพิ่มระดับคุณภาพ

ชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนชาวเมืองกันตังนั่นเอง นอกจากนี้การปรับปรุงภูมิทัศน์ใน

บริเวณดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้โครงการห้องสมุดรถไฟที่จะเกิดขึ้น มีสภาพแวดล้อม

ที่สวยงามร่มเย็น ช่วยดึงดูดใจให้กลุ่มผู้ใช้และเยาวชน ที่สนใจจะเข้ามาใช้เป็นแหล่ง

การเรียนรู้ และหาข้อมูลทางการศึกษา และส่งเสริมภูมิทัศน์ที่สวยงามให้แก่ตัวโบราณ

สถาน อาคารสถานีรถไฟ ที่กำลังได้รับการปรับปรุงซ่อมแซม ทางเทศบาลเมืองกันตัง

จึงเห็นความจำเป็นจะต้องมีโครงการเพื่อพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ที่ดินในย่านบริเวณดังกล่าว





ที่ตั้งโครงการ

ที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณสถานีรถไฟกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่ง

เทศบาลเมืองกันตังได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดิน ในการใช้เพื่อประโยชน์

สาธารณะโดยมีที่ดินทั้งหมด จำนวน5 แปลง ที่ทางเทศบาลเมืองกันตังได้ขออนุญาตจาก

การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอใช้สิทธิเหนือพื้นดิน เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม โดยต้องการ

ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม ส่งเสริมโครงการปรับปรุงตัวอาคารสถานีกันตังที่เป็น

โบราณสถาน และส่งเสริมกับโครงการห้องสมุดรถไฟที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง

อ่านข้อมูลต่อได้จากลิงค์ด้านล่างค่ะ


//www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1035221&page=295





โดยภาพรวมแล้วยังรักษาเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชการที่ 6ไว้เป็นอย่างดี





ได้รับการอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน แต่ยังคงใช้งาน โดยมีรถไฟวิ่งกรุงเทพฯ กันตัง ทุกวัน

----

ห้องขายตั๋ว





ด้านข้างห้องขายตั๋วมีพวงกุญแจเป็นรูปบัตรรถไฟเหมาะสำหรับซื้อเป็นของที่ระลึก

สนใจรับพวงกุญแจเป็นของขวัญของฝากบ้างไหมคะ





ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรังจากกรมศิลปากรตั้งแต่พ.ศ.

2539 เป็นต้นมา





สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2456

ในอดีตถูกใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีราง

รถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร จากตัวสถานีถึงท่าเทียบเรือกันตัง ซึ่งเป็น

ท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณปัจจุบันทางรถไฟส่วนนี้ถูกชาวบ้านรุกล้ำที่ และไม่มีรางรถไฟ

ส่วนนี้แล้ว


การรถไฟไทยยุคแรกๆนั้นคือหัวรถจักรรุ่นต่างๆ ตลอดจนโบกี้รถไฟที่ผลิตในต่างประเทศ

เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรืออินเดีย โดยจะมาทางเรือและขึ้น เทียบท่าที่กันตังก่อนออก

วิ่งบนรางรถไฟต่อมายังกรุงเทพ อีกที


เมื่อกาลเวลาผ่านไปเส้นทางในการส่งสินค้าแปรเปลี่ยนไปตามแหล่งผลิต เช่นการที่รถไฟหัน

ไปสั่งหัวรถจักรมาจากญี่ปุ่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เส้นทางรถไฟฝั่งอันดามันที่ต่อเชื่อม

ไปยังท่าเรือกันตังถูกทิ้งร้างลงดังเช่นทุกวันนี้


ตัวสถานรถไฟกันตังเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล อันเป็น

คู่สีหลักที่คุ้นตาของอาคารรถไฟทั่วไป ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวอาคารและ

ชานชาลาด้านหน้าของอาคารมีมุขยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วย ลวดลายไม้ฉลุ ส่วนตัว

อาคารที่ทำเป็นห้องมีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่าพร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทะแยง บานประตูไม้

แบบเก่าส่วนที่เป็นห้องโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็กหน้ารักกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน


ส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหาก โดยเสารับหลังคานชานชาลานี้

มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร





ภายในสถานียังพอมีข้าวของเครื่องให้ในอดีตคงเหลืออยู่บ้าง โดยภาพรวมแล้วยังรักษาเอกลักษณ์

เดิมตั้งแต่สมัยรัชการที่ 6 ไว้เป็นอย่างดี นับเป็นสถานีรถไฟที่มีความสวยงามเป็นพิเศษ จากสถานะ

ที่มีความสำคัญต่อกิจการรถไฟดังที่กล่าวมา ทำให้ไม่แปลกใจว่าทำไมสถานีรถไฟเล็กๆ แห่งนี้จึง

ถูกออกแบบอย่างพิถีพิถันเช่นนี้ ซึ่งเป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

ของจังหวัดตรังจากกรมศิลปากรตั้งแต่พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา


ฉะนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง และเทศบาลเมืองกันตัง และ

หน่วยงานทางราชการอื่น เล็กเห็นความสำคัญที่จะพัฒนา และบูรณะสถานีกันตังให้กลับมามี

ศักยภาพที่จะรอรับทางคนที่โดยสาร-สินค้า และรวมถึงการท่องเที่ยวที่จะเป็นโครงการนำร่องที่

จะมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จ และกระตุ้นให้กำลังใจ และกำลังทุนที่จะพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ของ

การรถไฟให้คืนชีวิตชีวาได้ต่อไป

(คัดลอกมาจากป้ายแสดงประวัติที่ติดอยู่ด้านข้าง)





สุดทางรถไฟฝั่งอันดามัน





สับหลีก





ห้องสมุดรถไฟ เสร็จแล้วรอวันเปิดตัว





ต่อเติมด้านข้างเป็นเหมือนที่พักสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด



ภาพรวมของห้องสมุดรถไฟ





ที่กลับหัวรถจักรซื้อจากลอนดอน ได้รับการบอกเล่ามาว่าขณะนั้นทางไทยถูกมองว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวย
สามารถซื้อที่กลับหัวรถจักรมาใช้งานได้ ตรงส่วนนี้จะถูกเก็บรักษาให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา


เดิมทีย่าถ่ายเป็นช๊อตๆ เพื่อจะทำเป็นไฟล์ animation gif บังเอิญว่าคุณเลเซอร์ถ่ายเป็นvedioเอาไว้แล้ว

ขอเอามาลงประกอบภาพเพื่อให้เห็นลักษณะการทำงานของเครื่องกลับหัวรถจักรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณคุณเลเซอร์ สำหรับไฟล์vedio ที่นำมาลงไว้








ลาสถานนีกันตังด้วยภาพนี้ค่ะ เพราะเราจะไปยังจุดหมายถัดไปค่ะ ต้องทำเวลากันหน่อย





ขึ้นรถกันได้แล้วค่ะ





จุดหมายต่อไปที่พวกเราจะไปกันเป็นไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งหากไม่ได้มาก็เหมือนไม่ถึงตรังค่ะ

นั่นคือพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแห่งคุณค่าของเจ้าเมืองที่ได้พัฒนาเมือง

ตรังให้เป็นที่ประจักษ์ในหลายๆด้าน โดยคณะครูโรงเรียนกันตังพิทยาร่วมกับเทศบาลตำบล

กันตังและจังหวัดตรัง ขอใช้บ้านหลังนี้จาก ดาโต๊ะเบียนเจง ซึ่งเป็นหลานของพระยารัษฎาฯ

และได้รับอนุญาต เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ปี ๒๕๓๕





เมื่อเข้าสู่บริเวณบ้านเลขที่ ๑ ถนนค่ายพิทักษ์ที่ตั้งอยู่บนเนินจะพบกับความสงบร่มรื่นของต้นไม้

นานาชนิดและดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมอบอวล ปะปนไปกับรัศมีแห่งบารมีของพระยารัษฎาฯที่นั่งอยู่

ภายในบ้าน แม้จะเป็นเพียงหุ่นจำลองก็ตาม





พระยารัษฎาฯมาเป็นเจ้าเมืองตรังในปี พ.ศ.๒๕๓๓ จนกระทั่งได้รับตำแหน่งข้าหลวงเทศภิบาล

มณฑลภูเก็ต ยังคงเดินทางมาเมืองตรังอยู่เป็นระยะจนกระทั่งถึงแก่อนิกรรมในปี พ.ศ. ๒๔๕๖





ปัจจุบันหากถามผู้เฒ่าผู้แก่ในจังหวัดเกี่ยวกับพระยารัษฎาฯ ก็จะได้ยินเรื่องเล่าถึงกุศโลบายต่างๆ

ที่ท่านพระยารัษฎาฯ หรือเจ้าคุณเทศาที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก ใช้ในการปกครองลูกบ้าน เช่น

เมื่อเห็นต้นไม้ตามบ้านราษฎรมีกาฝากขึ้นเต็ม จึงให้ป่าวประกาศว่าท่านป่วย ต้องให้กาฝากทำยา

ชาวบ้านทราบก็ฏเก็บกาฝากส่งมาให้ที่จวนเป็นจำนวนมาก เมื่อกาฝากเริ่มหมดไปท่านก็ให้แจ้งว่า

หายป่วยแล้ว


----------

แสงแห่งอดีตกาลยังคงส่องสว่าง





เรื่องส่งเสริมอาชีพ ให้ทุกบ้านปลูกพืชผักอย่างละ ๕ ต้น และเลี้ยงไก่บ้านละ ๕ ตัว เมื่อชาวบ้านทำได้ผลก็เอาใส่
ตะกร้ามาให้ท่าน ท่านก็คืนให้ชาวบ้านเก็บไว้กินเอง ชาวบ้านเห็นประโยชน์กก็ทำต่อโดยไม่ต้องบังคับอีก





คณูประการอันยิ่งใหญ่ของพระยารัษฎาฯที่ส่งผลต่อเรษฐกิจเมืองตรัง ภาคใต้ และภาคอื่นๆของประเทศไทย

คือการส่งเสริมการปลูกยางพาราที่ชาวบ้านยังคงเรียกันติดปากว่า"ยางเทศา"


ส่วนเคล็บลับการบริหารบ้านเมืองของพระยารัษฎาฯก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคำคมของสมเด็นกรมพระยาดำรง

ราชานุภาพที่มีต่อพระยารัษฎาฯ ว่า

"ทำอย่างไรจึงจะเป็นเจ้าเมืองที่ดี" คำตอบโดยไม่รีรอของพระยารัษฎาฯก็คือ

"ต้องนอนซดน้ำชาอยู่ที่จวน ซดเสร็จแล้วก็ไปเที่ยวคุยกับราษฎรบ้านโน้นบ้านนี้"


การซดน้ำชาอยู่ที่บ้าน คือการใช้เวลาวางแผนมอบหมายสั่งงาน แล้วค่อยไปติดตามตรวจสอบประเมินผล

ด้วยการไปคุยกับราษฎรนั่นเอง





ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎาฯ ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ของทางราชการและไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ ส่วนบุคคลแต่เป็น

พิพิธภัณฑ์ที่ชาวตรังมีส่วนร่วม ในการเป็นลูกหลานของพระยารัษฎาฯ เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มต้นด้วย

เงินบริจาค ปัจจุบันมีการจัดทำรูปหล่อสำริดแสดงกุศโลบายของท่านเจ้าเมืองไว้นอกบ้าน





ตรงสนามหน้าบ้านมีหินลูกโม่ขนาดใหญ่ หินลูกโม่นี้ได้มาจากนาโรงหัด บ้านจุปะ หมู่ที่ ๓ ตำบลกันตังใต้

เป็นลูกโม่หีบอ้อยของโรงงานน้ำตาลทรายแดง ส่งขายปีนัง สมัยพระยารัตนเศรษฐี(คอซิมก๊อง ณ ระนอง)

มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตนราง ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๒๘ เมื่อพระยารัตนเศรษฐีกลับระนองโรงาน

ก็เลิกไป


ขออภัยย่าไม่ทันได้ถ่ายเพราะ ต้องขึ้นรถไปต่อแล้ว ขอเอาภาพภายในพิพิธภัณฑ์มาลงเป็นการแก้ตัวนะคะ

เครื่องกรองน้ำ จากลอนดอน





เก้าอี้พักผ่อนหน้าห้องนอน





โคมไฟโบราณ





รูปเก่าๆที่บันทึกเรื่องราวในอดีต





อั้งยกเลี่ยน-เธอมีธิดา 3 คนจากพระยารัษฎาฯ ที่ระนอง(ภาพซ้าย) ,แคล้ว ณ ระนอง -เมื่อสิ้น

พระยารัษฎาฯ เธอคือประธานของบ้าน(ภาพขวา)





เตียงนอน





ขาตั้งกล้องสมัยก่อน เป็นไม้





ข้าวของเครื่องใช้ของพระยารัษฎาฯ





ภาพกลาง ฮวงซุ้ยของพระยารัษฎาฯ





พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎาฯ เปิดให้เข้าชมได้ระหว่างวันอังคารถึงวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา ๙.น๐๐ น.-๑๖.๓๐ น.

ยกเว้นวันจันทร์ แต่หากตรงกับวันหยุดราชการ จะเปิดเป็นพิเศษ และหยุดชดเชย

ในวันต่อไป สำหรับหมู่คณะที่ต้องการวิทยากรบรรยาย สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ที่โรงเรียน

กันตังพิทยากร อำเภอกันตัง





ดอกระฆังทองหน้าพิพิธภัณฑ์ ย่าถ่ายมาฝากเพื่อนๆผู้ชื่นชอบดอกไม้ค่ะ





ปาล์มเจ้าเมืองตรังที่หน้าทางเข้าสวนด้านข้างพิพิธภัณฑ์ ย่าเข้าใจว่าต้นพันธุ์ที่

เราเห็นอยู่ในสวนสมเด็จ และที่อื่นๆคงได้ชื่อมาจากที่นี่ค่ะ





ขอขอบคุณ คุณวิ ผช.ผอ.แห่ง ท.ท.ท. สำหรับข้อมูล เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

เวลาของการเยี่ยมชมหมดแล้ว ย่าเดินออกจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยมีต้นเฟื่องฟ้า

โบกกิ่งก้านอำลา พร้อมทั้งฝากความทรงจำอันน่าประทับใจให้กับย่า ลาก่อน..หาก

มีโอกาสได้มาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้อีก ย่าหวังว่าจะได้เข้าไปชมสวนอันร่มรื่นด้านข้าง

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ และสำรวจพันธุ์ไม้ภายในสวนค่ะ





บล๊อกนี้ภาพเยอะหน่อยนะคะขออภัยหากต้องโหลดนาน





Create Date : 07 ตุลาคม 2554
Last Update : 7 ตุลาคม 2554 11:59:32 น. 5 comments
Counter : 3948 Pageviews.

 
ขออภัยย่าอับตั้งแต่เช้าแล้วแต่เพิ่งสังเกตุเห็นว่ากำหนดกรุ๊ปบล๊อกผิด มันก็เลยไม่ขึ้นเป็นหน้าดีฟ้อลให้ แก้ไขแล้วค่ะ


โดย: ดา ดา วันที่: 7 ตุลาคม 2554 เวลา:18:28:54 น.  

 

หมูย่างที่สั่งไว้นำมาส่งให้แล้วค่ะย่าดา
อิอิอิ อุ้มแวะมาอยี่ยมๆ มองๆ ภาพงามๆ ค่ะ
ตอนที่ 6 แล้วนะคะย่าดา
แหล่มค่ะแหล่ม


โดย: อุ้มสี วันที่: 7 ตุลาคม 2554 เวลา:21:10:59 น.  

 
สวัสดีค่ะย่าดา


โห แต่ละที่ที่ได้ไปเที่ยวกันนี่ต้องบอกว่า มาแนวท่องเที่ยว
แบบ ททท. ที่แบบว่าเห็นภาพแล้วก็อยากตามรอย
ไปด้วยจริงๆ ค่ะ


โดย: JewNid วันที่: 8 ตุลาคม 2554 เวลา:13:53:26 น.  

 
สวัสดีค่ะทุกท่าน ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมหน้านี้นะคะ


โดย: ดา ดา วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:11:05:54 น.  

 
ที่บ้านมีเครื่องกรองน้ำแบยเดียวกัน ชอบมากครับ สำหรับเรื่องราว ดีๆ
ผมนิยมความคิดของคนสมัยก่อนครับ มักจะมองถึงผลระยะยาว มากกว่า ผลระยะสั้นๆ


โดย: เหยี่ยว ตลิ่งชัน IP: 27.55.12.125 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:8:13:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.