มนต์เสน่ห์ ลับแล ชมงานประเพณีค้างบูยา สัมผัสวิถีชาวบ้าน ตอนที่ 3 พิพิธภัณฑ์ผ้าซิ่นตีนจก
ที่แรกว่าจะพาเดินตลาดก่อน บังเอิญการเดินทางเที่ยวนี้คุณนิดเป็นพลขับย่านั่งยาวๆงีบมาในรถจนอิ่ม
กลางคืนเลยนอนไม่หลับ แล้วห้องนอนของเราก็ติดกันพิธิภัณฑ์ซึ่งท่านเจ้าของบ้านเปิดไฟทิ้งไว้ให้ชม
ช่างโชคดีจริงๆชมพิพิธภัณฑ์ผ้าซิ่นตีนจก จากลับแลกันกลางดึกกันเลยทีเดียว ดีเหมือนกัน ไปชมกันเลยค่ะ
-------
ซิ่นตีนจกโบราณ

โคมไฟ

หมอน และอุปกรณ์การทอผ้า

ตู้บรรจุผ้าทอโบราณ

ภาพนี้ครูต๋อม ประธานกลุ่มบังใบมอบให้คุณ กัญญาวีร์

พระบรมฉายาลักษณ์

ซิ่นลับแลอายุประมาณ๕๐ปี

ทุกชิ้นถูกจัดวางไว้อย่างสวยงาม

กรอบรูปสลักเสลาเป็นช่อกุหลาบสวยงาม

close up ซิ่นตีนจก สวยมหัศจรรย์

close up ลายที่หมอนน่าจะเป็นลายหงส์

close up ซิ่นตีนจกโบราณ จากภาพแรก

ภาพตกแต่งที่ผนัง

หุ่นโชว์ผ้าซิ่นตีนจก

บทประพันธ์ของอ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

***

เซ็นต์สมุดเยี่ยม

เครื่องปั่นด้าย

ลวดลายวิจิตร ขออภัยแสงน้อยมากมุมไหนๆก็สะท้อนกระจก

สวยหมดตั้งผ้า,ตู้และหมอน

พิธิภัณฑ์ผ้าซิ่นตีนจกที่ม่อนลับแล

วิถีการซอเมืองลับแลง
สมัยก่อน ชาวลับแลง หรือ ว่าชาวลับแล ขับซอกันระบำใดบ้างนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด
จากพระราชหัตถเลขา ของรัชกาลที่ ๕ เมื่อคราว เสด็จเยือนเมืองลับแลนั้น กล่าวว่า การละเล่น
ของชาวลับแลนั้น กล่าวว่า ในตอนหัวค่ำ ได้มีราษฏร กลุ่มหนึ่ง มาแสดง การร้องเพลงโต้ตอบกัน
ระหว่างชายหญิง ที่เรียก ว่า ---ว่าเหล้น
---
นี่เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษรชิ้นแรก ของ เมืองลับแลง หรือ ลับแล ในอดีต ชาวลับแล
นิยมเรียกซอ ว่า ยิ้น ซึ่งปัจจุบัน ไม่มีใครใช้คำนี้ แล้ว จะเห็นได้ว่า ชื่อของการขับลำนำนั้น จะ
แบ่งเป็น สามชื่อ คือ ยิ้น ว่าเหล้น และก็ ซอ
จากการสอบถามคนเฒ่า คน แก่ พบว่า ซอ นั้น มักจะนิยมเล่นกันในงานมงคลต่างๆ รวมถึง
เวลาขอฝน และ งานเข้าทรงผีอารักษณ์หลักเมืองต่างๆ ก็จะใช้ซอ สื่อสารกับผีอารักษณ์ หลักเมือง
ซึ่งถือ ว่า เป็นเพลงที่ใช้ในพิธีกรรม ได้เช่นกัน
การซอนั้น จะซอเข้า ปี่จุม ๓ หรือ ๕ ไม่นิยมซอเข้าซึง หรือว่า สะล้อ หรือ ที่ชาวลับแลง เรียกว่า
-หม่าล้อสีซอ- จนมีคำติดปากว่า -หลู้หลี้ช่างปี่- คือ เจ้าชู้เหมือนช่างปี่ เป็นต้น
ช่างซอผู้ชาย สมัยก่อนนิยมใส่ผ้าต้อย หรือ ถ้าอย่างหรู ที่เป็นงานใหญ่ จะนิยมใส่ผ้าม่วง และมีผ้า
คล้องใหล่ เป็นต้น ลักษณะการขับซอ นิยมมีคู่ถอง หกญิง ชาย และที่พิเศษ คือ มี ช่าง ซอ ๓ คน
หรือ ที่เรียกว่า -ซอสามขอน-
เวลาขับซอ ช่างซอ จะนิยมคีบดอกไม้ใว้ในมือทั้งสองข้าง หรือ จะเป็นใบเล็บครุฑก็ได้ แล้ววาดแขน
ฟ้อนไปมา ไม่มีการยืนฟ้อน ในขณะที่เว้นจังหวะ ให้ปี่บรรเลง ช่างซอ ก็จะฟ้อน แวดผาม โดยการ
นั่งเข่าฟ้อนไปรอบวง หรือ นั่งยองๆ ไม่มีการลุกขึ้นยืนฟ้อนโดยเด็ดขาด และ ไม่มีการฟ้อนแง้นด้วย
ซึ่งทางช่างซอ เมืองลับแลง ให้ความเห็นว่า เป็นการฟ้อนที่ไม่สุภาพ ในบางโอกาสก็มีการลุกขึ้นฟ้อน
ด้วย หลังจากจบบทซอใหว้ครู แต่เป็นการยืนฟ้อน ไม่มีการก้าวขา หรือ เดินฟ้อนเลย
ระบำซอ ที่นิยมเป็นพื้น นั้น ช่างซอ เรียกว่า ซอดาด หรือ ซอลับแลง ซึ่งจะเป็นการซอที่ใช้เสียง
เอื้อนยาว และเล็กแหลม อาจจะมีการเปลี่ยนทำนอง เป็นระบำเมืองน่าน บ้าง ตามเหมาะสม
ในสมัยหลังก็จะมีซอ จากเมืองเชียงใหม่เข้ามามีบทบาท เช่น ซอ นางบัวคำ ซอเก็บนก เป็นต้น
ซึ่งบทซอเหล่านี้ ถือ ว่าเป็นการขับซอ แบบ จิปาถะ หรือ เรียกว่า -ซอขี้เหล้า (หรือ อาจเข้าข่ายที่
เรียก ว่า --ว่าเหล้น-- ก็เป็นได้ ) ไม่นิยม มาขับในพิธีกรรมต่างๆที่เป็นทางการ
-----
ปัจจุบันนี้ คาดวา ไม่มีช่างปี่ หลงเหลืออยู่แล้ว จะมีแต่ช่างซอ ที่ลาผาม หรือ สมัครเล่นแล้วเท่านั้น
ปัจจุบัน ในพิธี สรงน้ำลักษณ์ หลัก เมือง หรือ เรียกว่า - แห่น้ำขึ้นโรง-- ก็จะมีการซอครั้งหนึ่ง
โดยช่างซอ ดังที่กล่าวไว้แล้วนั้น
ตั้งกระทู้โดย : โยนกบุตรพันตน , 2548-12-16 / 11:10:22 IP :203.170.255.249
//www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=22548

ขั้นตอนการรังสรรสี
เมื่อได้กำหนดสีที่จะใช้ทอแล้วชาวบ้านจะไปหาวัสดุธรรมชาติ ที่ได้จากผลไม้ และพรรณไม้ในท้องถิ่นเพื่อเข้าสู่วิธีการย้อมตามภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้สืบต่อกันมา หากต้องการสีอ่อนจะย้อมเพียง ๑-๒ ครั้ง และหากต้องการสีเข้ม สามารถเพิ่มน้ำหนักความเข้มของสีด้วยการเพิ่มจำนวนครั้งในการย้อมหลังจากที่ตากแห้ง หลังจากได้สีที่ต้องการแล้ว เพื่อการติดคงทนของสีที่ย้อม ชาวบ้านนิยมนำมาต้มกับน้ำส้มป่อย
และวัตถุธรรมชาติอื่นๆ ก่อนนำไปทอ

ขอบคุณคุณกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์ ที่ให้ย่าได้พักห้องลูกสาวของเธอ ลายผ้าห่มสวยหวานมากค่ะ

กลับมาได้ทันดูช่องทรู ก่อนนอน

โคมไฟที่หัวเตียง ชอบช้างหมอบเซอรามิคจัง

ต้องนอนแล้ว เกรงใจคุึณนิดเหนื่อยขับรถมาทั้งวัน

เช้าแล้วพวกเรานัดคุณรัศมีแต่เช้าเพราะจะไปดูหมอกกัน หนูมิ้นท์นอนห้องเดี่ยวถัดไป ได้เวลารวมพลที่ห้องเรา แต่บังเอิญฝนตกหนัก การขึ้นภูเขาไปดูหมอกก็เลยต้องพับไป รอสายหน่อยค่อยไปตลาดกัน ---------- ขอบคุณ คุณกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์ คุณธีรภาพ โลหิตกุล และ คุณรัศ เสือน้อย เป็นอย่างยิ่งที่เปิดโลกทัศน์ให้ได้เห็นแง่มุมงามๆ ณที่แห่งนี้ ---------- มนต์เสน่ห์ ลับแล ชมงานประเพณีค้างบูยา สัมผัสวิถีชาวบ้าน ตอนที่ 1 ม่อนลับแล
มนต์เสน่ห์ ลับแล ชมงานประเพณีค้างบูยา สัมผัสวิถีชาวบ้าน ตอนที่ 2 วิธีทำค้างบูยา
ลิงค์ของคุณนิดนรี(ภาษาหลากสี)
ชุมชนลับแล เมืองวิถีพุทธ ในอ้อมกอดของภูเขา ตอนที่ 1 วิธีธรรมชาตินำชุมชน
ชุมชนลับแล เมืองวิถีพุทธ ในอ้อมกอดของภูเขา ตอนที่ 2 วิธีธรรมชาตินำชุมชน
ชุมชนลับแล เมืองวิถีพุทธ ในอ้อมกอดของภูเขา ตอนที่ 3 วิธีธรรมชาตินำชุมชน
ขอบคุณ คุณธีรภาพ โลหิตกุล คุณกัญญาวีร์ กาญจนรักษ์ และ คุณรัศมี เสือน้อย ที่เปิดมุมมองณที่แห่งนี้ให้ย่าได้รู้จักค่ะ
Create Date : 19 กันยายน 2555 |
Last Update : 20 กันยายน 2555 16:28:12 น. |
|
5 comments
|
Counter : 4548 Pageviews. |
 |
|
ด้วยผ้าซิ่น กับเสื้อพื้นเมือง เด็กชายก็เช่นกัน นุ่งกาง
เกงขาก๊วย ไม่แน่ใจว่าวันศุกร์หรือวันพฤหัส
ดูสวยงาม ยิ่งมาเห็นผ้าข้างบน สวยจริง ๆ
ห้องพักน่าพักมากครับ