The Last Communist คอมมิวนิสต์คนสุดท้าย
The Last Communist คอมมิวนิสต์คนสุดท้ายพล พะยาบ คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 3 ธันวาคม 2549 The Last Communist เป็นหนังสารคดีจากมาเลเซีย ผลงานของ อามีร์ มูฮัมหมัด ว่าด้วยประวัติชีวิตของ จิน เป็ง หรือ เฉิน ผิง ในภาษาจีนกลาง อดีตหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์มลายาซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทย เพราะถูกทางการมาเลย์ห้ามกลับเข้าประเทศ ขณะที่หนังชีวประวัติของเขาเรื่องนี้ก็ถูกห้ามฉายในมาเลเซีย คือ จิน เป็ง คนเดียวกับที่ปรากฏในข่าวเกี่ยวกับความไม่สงบทางภาคใต้เมื่อเร็วๆ นี้(2549) จากคำพูดของ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ขณะยังไม่ได้เป็นประธาน คมช. ว่าลูกน้องของจิน เป็ง หรือ โจรจีนคอมมิวนิสต์ ในอดีต เกี่ยวข้องกับขบวนการป่วนใต้ ดังนั้น ก่อนจะเข้าเรื่องจึงต้องบอกกล่าวไว้ก่อนว่า แม้เนื้อหาใน The Last Communist จะมีส่วนที่พูดถึงชายแดนไทย-มาเลเซีย รวมทั้งเข้ามาถ่ายทำใน อ.เบตง จ.ยะลา แต่ไม่มีตอนใดกล่าวถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเรา นอกจากนี้ แม้หนังจะถูกห้ามฉายในมาเลเซีย แต่เนื้อหาโดยรวมไม่ได้หมิ่นเหม่หรือสร้างความเสื่อมเสียให้แก่ใครหรือฝ่ายใด ที่ถูกแบนคงเป็นเพราะหนังกล่าวถึง บุคคลต้องห้าม ของทางการอย่างเรียบง่ายจนเกินไป กระทั่งผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลคนหนึ่งออกมาระบุว่า ที่ต้องแบนหนังเรื่องนี้เพราะหนังไม่มีความรุนแรงเพียงพอ จึงถือเป็นการบิดเบือนอดีต ขอเล่าย้อนไปอีกหน่อยว่า ตอนแรกคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของมาเลเซียพิจารณาหนังเรื่องนี้แล้วให้ผ่านโดยไม่มีการตัดฉากใดๆ และนับเป็นหนังสารคดีสัญชาติมาเลย์ซึ่งฉายในวงจำกัดเรื่องแรกที่ได้เรต U หรือเหมาะสำหรับทุกวัย จากนั้น The Last Communist ได้เดินทางไปฉายตามเทศกาลหนังต่างๆ ทั่วโลก แต่เมื่อจวนจะฉายในบ้านเกิด หนังสือพิมพ์ภาษามาเลย์แนวอนุรักษนิยมฉบับหนึ่งได้ออกมาต่อต้านการฉายหนังเรื่องนี้ จนกลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางแม้แต่ในสภา กระทั่งมีการกลับคำตัดสินดังกล่าว เส้นทางชีวิตของ จิน เป็ง หรือ เฉิน ผิง สู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เริ่มจากการเข้าเป็นสมาชิกพรรคและร่วมรบในกองกำลังชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนต่อต้านญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนได้ความดีความชอบจากอังกฤษซึ่งปกครองมาเลเซียในขณะนั้น แต่เมื่อสงครามโลกสิ้นสุด สถานะของจิน เป็ง พลิกผันไปสุดขั้วเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มลายาเปลี่ยนเป้าหมายจากการต่อต้านญี่ปุ่นเป็นต่อต้านอังกฤษเจ้าอาณานิคม เหตุการณ์ทวีความรุนแรงเมื่อผู้บริสุทธิ์รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงชาวอังกฤษถูกสังหาร จิน เป็งและพรรคคอมมิวนิสต์ถูกปราบปรามอย่างหนัก โดยอังกฤษใช้สารพัดวิธีเพื่อตัดการช่วยเหลือจากประชาชน การสู้รบดำเนินต่อเนื่องกว่าทศวรรษภายใต้การประกาศภาวะฉุกเฉิน กระทั่งปี 1955 อังกฤษเริ่มให้มาเลเซียปกครองตนเองในบางด้าน จิน เป็งจึงต้องการวางอาวุธและนำพรรคคอมมิวนิสต์เข้าสู่เวทีการเมือง แต่การเจรจาสงบศึกระหว่างจิน เป็ง กับตัวแทนมาเซียและอังกฤษไม่สามารถหาข้อยุติได้เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้จิน เป็ง ยอมแพ้จิน เป็งลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและอาศัยอยู่ในไทยตั้งแต่ตอนนั้น โดยไม่เคยยอมแพ้หรือละวางอุดมการณ์ต่อต้านชาติตะวันตกเจ้าอาณานิคม ประวัติของจิน เป็ง ที่เล่ามานี้อยู่ใน The Last Communist ในรูปของข้อความสั้นๆ ที่ใส่เข้ามาเป็นระยะ โดยที่ตลอดทั้งเรื่องเราจะไม่ได้เห็นหน้าของจิน เป็ง ไม่ว่าจะเป็นภาพในอดีตหรือปัจจุบัน จะมีแค่เพียงภาพการ์ตูนจำลองเหตุการณ์การเจรจาสงบศึกระหว่างจิน เป็ง กับฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น ขณะที่การสัมภาษณ์ผู้คนในเมืองหรือสถานที่ที่จิน เป็งเคยผ่านพักอาศัยซึ่งผู้สร้างได้เดินตามรอยไปนั้น มีเพียงครั้งเดียวที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงเรื่องราวของจิน เป็ง และมีไม่กี่ฉากที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงพรรคคอมมิวนิสต์มลายาและเหตุการณ์ในอดีต (ในจำนวนไม่กี่ฉากนี้ กว่าครึ่งคือการสัมภาษณ์อดีตลูกน้องของจิน เป็ง ในหมู่บ้านสันติที่เบตง) ดังนั้น ภาพและการสัมภาษณ์ผู้คนส่วนใหญ่กลับกลายเป็นเรื่องราวหลากหลายที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับจิน เป็ง หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่นช่วงต้นเรื่องที่บ้านเกิดของจิน เป็ง เมื่อข้อความขึ้นมาว่าเขาเกิดในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับจักรยาน หนังได้พาเราไปยังร้านขายจักรยานในเมืองนั้น แล้วให้เจ้าของร้านเล่าถึงธุรกิจการขายจักรยานในปัจจุบัน หรือเมื่อไปยังเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องใด ประเด็นการพูดคุยก็เป็นเรื่องนั้น เช่นคุยกันเรื่องส้มโอเมื่อไปยังเมืองหนึ่งในเปรัค อีกลักษณะหนึ่งคือสัมภาษณ์ผู้คนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา บ้างสุข บ้างทุกข์ แตกต่างกันไปแต่ละคน ภาพและเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวอะไรกับประวัติชีวิตของบุคคลต้นเรื่องนี้ คงเป็นความตั้งใจของผู้สร้างที่ต้องการเชื่อมอดีตกับปัจจุบัน เพราะขณะที่หนังกำลังเล่าเรื่องสำคัญระดับชาติในอดีต ใช่หรือไม่ว่าเรื่องดังกล่าวล้วนมีผลต่อชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ที่สำคัญ ผู้คนที่ให้สัมภาษณ์มีทั้งคนมาเลย์ แขก และชาวจีน ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นคนชายขอบ หรือคนเล็กๆ ในสังคมที่ไม่มีปากเสียง ในเมืองเล็กๆ ที่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจอย่างกัวลาลัมเปอร์ ทำให้คิดต่อไปได้ว่า ผู้สร้างกำลังเขียนประวัติศาสตร์ฉบับประชาชนซึ่งต่างจากประวัติศาสตร์ที่รัฐเขียนขึ้นมาตลอด การพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติของผู้คนหลากหลาย ผ่านการถ่ายภาพที่ไม่พิถีพิถันมากนัก และการตัดต่อที่ใส่ลูกเล่นง่ายๆ ทำให้หนังมีเสน่ห์และสัมผัสได้ง่าย ไม่แปลกที่คราวแรกกรรมการเซ็นเซอร์จะมองว่าหนังเหมาะกับทุกช่วงอายุ บางครั้งคำพูดของผู้คนที่ไม่ได้ผ่านการประดิดประดอยก่อให้เกิดความหมายชวนใคร่ครวญคิดตามได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่นการแจกแจงประเภทของสะตอว่ามี 3 ชนิด และแต่ละชนิดก็เป็นที่โปรดปรานของคน 3 เชื้อสาย ทั้งมาเลย์ จีน และอินเดีย เหมือนเป็นตัวอย่างของความแตกต่างด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือคำบอกเล่าของคน 2 คน 2 ความรู้สึก ต่อเหตุการณ์ญี่ปุ่นบุกมาเลเซีย คนหนึ่งคือชาวบ้านผู้ทุกข์ตรม อีกคนคือเจ้าของโรงงานผลิตถ่านผู้ภาคภูมิใจในกิจการของตนเองลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของหนังเรื่องนี้คือ การผสมผสานรูปแบบ หนังเพลง อันเป็นความแตกต่างเหลือเกินกับหนังสารคดี เนื้อเพลงและดนตรีฟังสนุกประกอบการแสดงเน้นความสนุกสนานเป็นหลักถูกใส่แทรกเข้ามาราว 5-6 เพลง เช่น ตอนกล่าวถึงโรคมาลาเรีย กล่าวถึงภัยคอมมิวนิสต์ สำหรับผู้ชมต่างชาติอาจจะมองฉากเพลงดังกล่าวด้วยความไม่เข้าใจและคิดว่าเป็นส่วนเกิน แต่สำหรับชาวมาเลเซียเองเมื่อดูแล้วจะรู้ทันทีว่าผู้สร้างกำลังล้อเลียนหนังสารคดีที่ทางการมาเลย์สมัยอังกฤษปกครองเคยใช้เป็นเครื่องมือให้ข้อมูลข่าวสารตามหมู่บ้านในรูปแบบความบันเทิง หรือนัยหนึ่งคือเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อนั่นเอง The Last Communist จึงเป็นหนังสารคดีประวัติชีวิตบุคคลที่แปลกต่าง ดูสนุกสนาน มีเสน่ห์ จริงใจ สื่อสารในเรื่องยากๆ ทั้งประเด็นการเมืองและประวัติบุคคลให้กลายเป็นเรื่องง่าย มีภาพชีวิตหาดูยากให้ได้สัมผัส อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของหนังที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องราวความเป็นไปของจิน เป็ง ที่หนังนำมาอ้างอิงนั้น มาจากหนังสืออัตชีวประวัติของจิง เป็ง เรื่อง My Side of History เพียงด้านเดียว ไม่มีแง่มุมคัดง้างหรือแตกต่าง ไม่มีการสืบค้นนอกเหนือจากนั้น ทำให้เกิดความเอนเอียงและไม่มีมุมมองใหม่ๆ ที่แหลมคมและพอจะต่อยอดได้ ก่อนจบแถมท้ายด้วยประวัติชีวิตของจิน เป็ง ที่ไม่ได้ปรากฏในหนังอีกสักนิด ปี 1989 หรือ พ.ศ.2532 ในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็น ผบ.ทบ. จิน เป็งลงนามในสัญญาสงบศึกร่วมกับตัวแทนฝ่ายไทยและมาเลเซีย เข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทยปี 2005 เขาทำเรื่องขอกลับเข้ามาเลเซีย แต่คำขอถูกปฏิเสธ
Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2550
12 comments
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2550 1:02:01 น.
Counter : 2705 Pageviews.
โดย: grappa 18 กุมภาพันธ์ 2550 15:40:06 น.
โดย: G IP: 203.113.76.7 18 กุมภาพันธ์ 2550 19:23:44 น.
โดย: tistoo 22 กุมภาพันธ์ 2550 12:31:34 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [? ]
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................select movie / blog ....... --international-- ....... The Walking Dead I Wish I Knew 127 Hours The Expendables vs. Salt No puedo vivir sin ti Bright Star The World is Big and Salvation Lurks Around the Corner Sin Nombre Invictus Afghan Star Moon Gigante The Promotion An Education Up in the Air Snow (Snijeg) Liverpool Tahaan Lion's Den Tulpan Everlasting Moments Absurdistan Topsy-Turvy Ramchand Pakistani The Pope's Toilet Antonio's Secret พลเมืองจูหลิง Flashbacks of a Fool And When Did You Last See Your Father? The Boy in the Striped Pyjamas Gran Torino Departures Gomorra Abouna + Daratt Grace Is Gone The Road to San Diego Into the Wild Slumdog Millionaire The Silly Age The Year My Parents Went on Vacation It's Hard to Be Nice Ben X Caramel The Class Kings จาก Kolya ถึง Empties The Unknown Woman Dokuz Heima Cocalero The Blood of My Brother & Iraq in Fragments 12:08 East of Bucharest Rescue Dawn Mongol 6 : 30 Something Like Happiness To Each His Cinema The Counterfeiters ข้างหลังภาพ Lions for Lambs + Michael Clayton Father and Daughter Possible Lives กอด The Buried Forest รัก-ออกแบบไม่ได้ Lights in the Dusk The Piano Teacher Do You Remember Dolly Bell? Sisters in Law Al Otro Lado A Time for Drunken Horses Zelary Bug The Invasion The Science of Sleep Paris, I love you Still Life The Lives of Others Heading South Renaissance ABC Africa The Death of Mr. Lazarescu Maria Full of Grace The Last Communist Eli, Eli, lema sabachthani? 4 : 30 Late August, Early September The Circle The Cave of the Yellow Dog Italian for Beginners Love/Juice Your Name is Justine The Syrian Bride Dragon Head Reconstruction Eros The Scarlet Letter The Night of Truth Familia Rodante Bonjour Monsieur Shlomi Lantana Flanders Tokyo . Sora The World Whisky Buffalo Boy S21 : The Khmer Rouge Killing Machine Fire, Earth, Water C.R.A.Z.Y. All about My Mother Jasmine Women Battle in Heaven The Day I Became a Woman Man on the Train CSI : Grave Danger Innocence Life Is a Miracle Drugstore Girl Der Untergang The Bow Happily Ever After The Wayward Cloud The House of Sand Or, My Treasure Janji Joni Moolaade Vodka Lemon Angel on the Right Twentynine Palms The Taste of Tea ....... --independent-- ....... Goodbye Solo The Hurt Locker (500) Days of Summer Towelhead Kabluey Three Burials of Melquiades Estrada Titus Chuck & Buck The Woodsman Pollock Last Days The Limey Inside Deep Throat Coffee and Cigarettes Garden State My Name is Joe Sexy Beast Real Women Have Curves The Brown Bunny Before Sunset Elephant Bubble You Can Count on Me 9 Songs ....... --classic-- ....... Memories of Underdevelopment (1968) The Last Laugh The Snows of Kilimanjaro The Cabinet of Dr.Caligari Nanook of the North The Apu Trilogy ....... --หนังมีไว้ให้คิด-- ....... The Schoolgirl's Diary Long Road to Heaven The Imam and the Pastor Maquilapolis ....... --what a film!-- ....... Kabuliwala (1956) Macunaima (1969) Kozijat rog (1972) The Girl and the Echo (1964) Fruits of Passion (1981) Happy Gypsies (1967) ....... --introducing-- ....... Death Race 2000 (1975) ซอมบี้ปากีฯ+ผีดิบมาเลย์+ซูเปอร์แมนตุรกี Zinda Muoi Father and Daughter ....... --directed by-- ....... Ouran (1968) Pierwsza milosc (1974) Salome (1978) 4 หนังสั้น เคียรอสตามี recommended ....... - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับภาพยนตร์ - เทมาเส็ก พิคเจอร์ส - Heading South - Still Life - The Apu Trilogy - The Day I Became a Woman - จาก Fire, Earth สู่ Water พญาอินทรี ศราทร @ wordpress
1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28
ต้องหามาดูเสียแล้ว
ชักอยากจะรู้จัก อามีร์ มูฮัมหมัด ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เสียแล้วสิ
เรามัวแต่ไปดูหนังยุโรป หนังฮอลลีวูด แต่หนังสารคดีของเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ติดกับเราแท้ๆ
เราแทบจะไม่รู้จักหนังของเขา หรือความเป็นอยู่่่ของพวกเขาเลย
วันนี้ก็เพิ่งอ่านที่คุณเขียนถึง Renaissance ไปน่ะค่ะ แหะ แหะ
ป.ล. สีตัวอักษรในช่องคอมเม้นท์ มันกลืนกับภาพอ่ะค่ะ ทำให้เขียนยากมาก