All Blog
พัฒนา“คลัสเตอร์ผลไม้”อีอีซียกระดับสู่ตลาดสินค้ามูลค่าสูง
นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือที่เรียกว่า อีสเทิร์นซีบอร์ด มุ่งเน้นการพัฒนาใน 3 จังหวัด ภาคตะวันออก

ได้แก่ จังหวัดระยอง ชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีแผนเชื่อมโยงและนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่อีอีซีอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นรูปธรรม และยั่งยืนในทุกมิติ






 






 
รวมทั้งแผนการพัฒนาการเกษตรคือหนึ่งในแผนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ภายใต้วิสัยทัศน์ ต้นแบบการพัฒนาด้านการเกษตรด้วยเทคโนโลยีการเกษตรในการเพิ่มผลิตภาพและเพิ่มการเข้าถึงด้วยตลาดสินค้ามูลค่าสูง 5 คลัสเตอร์เป้าหมายที่มีศักยภาพ คือ ผลไม้ พืชสมุนไพร ประมง พืชสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพ และสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ซึ่งในส่วนของคลัสเตอร์ผลไม้นั้นมีทิศทางการขับเคลื่อนให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2570 โดย อีอีซีจะเป็นพื้นที่ต้นแบบสามารถยกระดับรายได้เกษตรกรอย่างน้อยร้อยละ 20

กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักของคลัสเตอร์ผลไม้ตามมติที่ประชุมของคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พิจารณาแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ จึงได้มีการจัดประชุมบูรณาการโครงการสำคัญในคลัสเตอร์ผลไม้






 






 
มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Zoom) เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนาผลไม้อัตลักษณ์พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ดำเนินการในแหล่งผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ มีเป้าหมาย คือ เกษตรกร 600 ราย แปลงต้นแบบ 150 แปลง

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นที่เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพสามารถตรวจสอบได้ และอีอีซีกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบในการวางแผนกระบวนการผลิตแบบตลาดนำการผลิต





 






 
ผลไม้ไทยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง โดยไทยถือเป็นผู้ส่งออกไม้ผลเป็นอันดับ  6 ของโลก มีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ  20.4 ต่อปี มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน เวียดนาม ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย

ผลไม้ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มะม่วง มังคุด เงาะ ส่วนผลไม้ที่มีศักยภาพในอีอีซี ได้แก่ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะพร้าวอ่อน และขนุน ซึ่งต้องเข้าไปส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้ำด้วยการยกระดับผลิตภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ กลางน้ำด้วยการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทัน





 






 



 



Create Date : 21 กันยายน 2564
Last Update : 21 กันยายน 2564 17:58:30 น.
Counter : 569 Pageviews.

0 comment
"เกษตร"เผยโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคมหลังโควิดดำเนินการตามแผน
เกษตรเผยความคืบหน้าโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เร่งดำเนินการได้ตามแผน 

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกภาคส่วน นั่นที่ผ่านมาได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบของพี่น้องเกษตรกรทั้งระยะสั้นและระยะยาว






 






 
ระยะสั้น ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกร ที่ประสบปัญหาสินค้าล้นตลาด ราคาตกต่ำ เพื่อนำไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้ “โครงการแบ่งปันน้ำใจ เกษตรไทยสู้ภัยโควิด-19” ซึ่งดำเนินการแล้ว 264 ครั้ง 46 จังหวัด รวมเป็นมูลค่าสินค้าทั้งสิ้น 1.2 ล้านบาท 





 





 






โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงการช่วยกระจายผลผลิตให้กับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ในแคมเปญ  “เกษตรกรแฮปปี้”  จำนวน 2 เฟส  สามารถช่วยระบาย มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ได้จำนวนมาก ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากพี่น้องประชาชน ทำให้ราคาผลไม้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นที่น่าพอใจ และได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการขนส่งและเป็นจุดกระจายสินค้า 





 






 
สำหรับระยะยาว กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินงานโครงการสำคัญหลายโครงการ ภายใต้โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

มีโครงการสำคัญหลายโครงการได้แก่ โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ซึ่งมีหลายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมดำเนินการ และโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) ซึ่งผลการดำเนินการในแต่ละโครงการ กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการเป็นไปตามแผนที่ได้วางกรอบเอาไว้เป็นที่น่าพอใจ และพร้อมกำชับให้กรมส่งเสริมการเกษตรรายงานผลการดำเนินงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบต่อเนื่องด้วย





 





 



Create Date : 21 กันยายน 2564
Last Update : 21 กันยายน 2564 17:27:58 น.
Counter : 681 Pageviews.

0 comment
ภัยพิบัติเล่นงานเกษตรกร 32 จังหวัด
เกษตรฯ สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 25 ส.ค. – 19 ก.ย. 2564 เกษตรกร กระทบภัยพิบัติด้านการเกษตรแล้วกว่า 32 จังหวัด 93 อำเภอพร้อมเดินหน้าให้การช่วยเหลือด่วนแล้ว

นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน





 





 
ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกและอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร 

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. – 19 ก.ย. 2564 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 32 จังหวัด 93 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ น่าน ตาก แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ เพชรบูรณ์พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุทัยธานีขอนแก่น ชัยภูมินครราชสีมา เลย ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา




 








 
ชลบุรี ตราด จันทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี กรุงเทพฯ สระแก้ว สุพรรณบุรี สมุทรปราการ อ่างทอง ระนอง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 25 จังหวัด 68 อำเภอ และยังมีสถานการณ์ 7 จังหวัด 25 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก พิจิตร ชัยภูมินครราชสีมา และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ขณะที่ผลกระทบด้านการเกษตร มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 18 จังหวัด แบ่งเป็น ด้านพืช 16 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก น่าน แพร่ พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน สุโขทัย นครราชสีมา เลย ปราจีนบุรี ระยอง เกษตรกรรวม 17,674 ราย พื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบ 138,816 ไร่






 





​​​​​​
ได้แก่ ข้าว 118,602 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 16,071 ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 4,143 ไร่ ด้านประมง 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน นครราชสีมา เลย กรุงเทพฯ สมุทรปราการ เกษตรกรรวม 3,081 ราย

พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ (บ่อปลา) 4,272 ไร่ กระชัง 284 ตารางเมตร ด้านปศุสัตว์ 2 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เกษตรกรรวม 5,001 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 89,200 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 1,446 ตัว สุกร 802 ตัว แพะ-แกะ 561 ตัว สัตว์ปีก 86,391 ตัว โดยขณะนี้ กระทรวง เกษตรได้เร่งสำรวจความเสียหาย และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนพื้นที่ที่นังมีน้ำท่วมขังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยกรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 22 เครื่อง ได้แก่ ตาก 2 เครื่อง พิษณุโลก 2 เครื่อง สุโขทัย 3 เครื่อง ชัยนาท 7 เครื่อง สุพรรณบุรี 8 เครื่อง ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 24 เครื่อง ได้แก่ เลย 10 เครื่อง นครราชสีมา 14 เครื่อง และจัดเตรียมรถแบ็คโฮกำจัดวัชพืช 2 คัน ที่จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ ยังได้แจกจ่ายพืชอาหารสัตว์ 5,000 กิโลกรัม เพื่อช่วยเหลือสัตว์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย





 





 



Create Date : 20 กันยายน 2564
Last Update : 20 กันยายน 2564 14:40:28 น.
Counter : 633 Pageviews.

0 comment
ปรับเกณฑ์ช่วยผู้ประสบภัยพิบัติด้านเกษตร
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากเหตุในหลายพื้นที่ของประเทศไทยประสบปัญหาฝนตกหนัก และฝนตกสะสม ชื่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนสไลด์ จนอาจสร้างความเสียหายให้กับพืชผลของเกษตรกร





 






 
ได้กำชับให้กรมส่งเสริมการเกษตรเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเกษตรกรที่อาจประสบภัยพิบัติตั้งแต่ก่อนเกิดภัย เป็นการเร่งด่วนพร้อมทั้งวางมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีการปรับหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 




 











 
สำหรับหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือนั้น เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย และมีพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงอยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ สำหรับเงินช่วยเหลือที่เกษตรกรจะได้รับ คือ ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ ไร่ละ 4,048 บาท

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากรมส่งเสริมการเกษตรได้ติดตามและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสภาพภูมิอากาศและแจ้งเตือนภัยให้เกษตรกรทราบ พร้อมทั้งออกเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำเกษตรกรขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงประสานงานกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัดอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 






 





 



Create Date : 19 กันยายน 2564
Last Update : 19 กันยายน 2564 17:02:59 น.
Counter : 550 Pageviews.

0 comment
สุดทึ่ง ! ปลูกมะนาวตาฮิติ GAP สร้างรายได้หลักล้าน
เกษตรกรจำนวนไม่มากนักที่สามารถปลูกพืชสร้างรายได้ให้กับตนเองเป็นหลักล้านบาทต่อปีซึ่งในจำนวนนี้มีชื่อของนายอเนก ประสม เกษตรกรวัย 59 ปีเจ้าของไร่กาญจนาผู้ปลูกมะนาวพันธุ์ตาฮิติรายแรกของอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง รวมอยู่ด้วย

โดยได้น้อมนำหลักคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวปฏิบัติเริ่มจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีอยู่ให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชซึ่งมะนาวพันธุ์ตาฮิติเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกดังกล่าว  รวมทั้งมะนาวพันธุ์ตาฮิติมีลักษณะพิเศษ คือมีผลใหญ่ น้ำมาก ไร้เมล็ด และมีรสเปรี้ยว จึงทำให้มะนาวสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมของตลาด





 






 
นายอเนกเติบโตมาจากครอบครัวที่ทำการเกษตรโดยปลูกทั้งข้าวโพด ข้าวไร่ และยาสูบ หมุนเวียนเรื่อยมา จนถึงปี 2540 เกิดวิกฤติปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำไม่มีคุณภาพ ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรแบบผสมผสานโดยปลูกมะนาวและลำไยผสมผสานกัน เนื่องจากลำไยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความนิยมและสามารถส่งขายต่างประเทศได้    

ส่วนมะนาวเป็นพืชที่ใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวันและยังสามารถใช้เป็นยาได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเอาพืชทั้ง 2 ชนิดนี้มาปลูกเป็นพืชผสมผสาน   รวมทั้งยังมีการปลูกพืชไร่ ได้แก่ งาดำ ถั่วดำ ข้าว ฟักทอง และพริก และมีแหล่งน้ำไว้สำหรับใช้สอยและเลี้ยงปลาอีกด้วย






 






 
จากประสบการณ์การปลูกมะนาวทำให้นายอเนกได้เรียนรู้ธรรมชาติของมะนาวด้วยตนเองว่า มะนาวสายพันธุ์ตาฮิติจะให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในพื้นที่มีสภาพอากาศร้อนและเป็นเนินสูง   และหากมีการรดน้ำต้นมะนาวมากเกินไปจะส่งผลให้มะนาวใบดกสวยงามแต่ไม่ออกดอกติดผล ส่วนการใส่ปุ๋ยหมักจะทำให้ต้นมีการเจริญเติบโตได้ดี ในขณะที่การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมักจะส่งผลให้เกิดโรคเชื้อรากับใบและลำต้นของมะนาวได้  
 
การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพเพื่อบำรุงต้นมะนาวให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงนั้นไม่ควรฉีดพ่นในช่วงที่มะนาวเริ่มติดดอกออกผลเพราะน้ำหมักชีวภาพจะเป็นพาหะนำแมลงวันทองและแมลงชนิดอื่น ๆ มาทำลายผลมะนาว ทำให้ผิวของเปลือกมะนาวเสีย ไม่สวย ได้ราคาไม่ดี   ดังนั้นควรฉีดพ่นก่อนที่มะนาวจะติดดอกออกผลจะได้ผลดีที่สุด





 






 
นอกจากนี้นายอเนกได้ยังคิดค้นสูตรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมะนาวและดอกสูตรการใส่ปุ๋ยและวิธีการใส่ปุ๋ยแบ่งเป็นชั้น ๆ เพื่อดูแลต้นมะนาวให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง  รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง  กรมวิชาการเกษตร  ให้ใช้ปุ๋ยหมักเติมอากาศ  และสารชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยกำจัดหนอนชอนใบทดแทนการใช้สารเคมี  ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมากและได้ผลผลิตที่ปลอดภัย

โดยนายอเนกมีแนวคิดในการทำเกษตรว่าถ้าผู้ผลิตทำการเกษตรแบบปลอดภัยผู้บริโภคก็รับประทานได้อย่างปลอดภัย  ดังนั้นการปลูกมะนาวที่ไร่กาญจนาจะไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรเลยหากไม่มีการระบาดของโรคและแมลงในระดับที่รุนแรง  ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใช้จะใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

เมื่อผลผลิตมีช่วงอายุที่เหมาะสมจะเริ่มเก็บเกี่ยวและคัดแยกผลผลิตที่เน่าเสียออก หลังจากนั้นจะนำผลผลิตไปพักไว้ในโรงคัดเกรดเพื่อทำความสะอาดและคัดแยกผลผลิตก่อนจำหน่าย โดยจะมีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน แหล่งที่มาของปัจจัยการผลิต และบัญชีการจำหน่ายผลผลิตครบทั้งกระบวนการผลิตเพื่อการทวนสอบได้   






 






 
เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อกำหนดแหล่งผลิต GAP พืช โดยพื้นที่ปลูกมะนาวจำนวน 25 ไร่ได้รับการรับรองเป็นแหล่งผลิต GAP พืช จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร

ปัจจุบันนายอเนกมีรายได้จากจำหน่ายมะนาวตาฮิติซึ่งให้ผลผลิตตลอดทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 3,500 – 4,000 กิโลกรัม  จำหน่ายในกิโลกรัมละ 13-17 บาท และเนื่องจากผลผลิตได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตรจึงสามารถส่งออกไปประเทศจีน ญี่ปุ่น ยุโรป ลาว และโรงงานผลิตน้ำมะนาวส่งออกได้ด้วย  

รวมทั้งยังมีรายได้จากการขายกิ่งตอนในราคากิ่งละ 35 บาทจึงทำให้มีรายได้ถึงหลักล้านบาท/ปี  นอกจากนี้นายอเนกยังได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงนำไปสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 60 ครัวเรือน จนได้รับการยอมรับว่าเป็น “ปราชญ์เกษตร” ที่เป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรรายอื่น ๆ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรในพื้นที่ให้สามารถพึ่งพาตนเองและแข่งขันกับตลาดภายนอกได้





 







 



Create Date : 19 กันยายน 2564
Last Update : 19 กันยายน 2564 16:34:41 น.
Counter : 694 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments