All Blog
“เฉลิมชัย”สั่งกรมปศุสัตว์รายงานโรค ASF ให้ประชาชนทราบ
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงกรณีตรวจพบเชื้อโรค African Swine Fever หรือ ASF ในสุกร (อหิวาต์แอฟริกาในสุกร) จากการเก็บตัวอย่างจากพื้นผิวสัมผัส (surface swab) ที่โรงฆ่าแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ว่า กรณีนี้ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์รายงานข้อเท็จจริงการปฏิบัติงานโดยละเอียดตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน และเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการมาตรการตามมาตรการป้องกันโรค ASF มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยสามารถปลอดเชื้อ ASF มานานกว่า 3 ปี ในขณะที่ประเทศอื่นพบว่ามีการระบาดหนัก

ขอย้ำว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราป้องกันอย่างดีที่สุด เพราะหากเราไม่ดำเนินการป้องกันแต่แรก จะเกิดการระบาดทั้งประเทศมากกว่านี้ แต่เมื่อมีการตรวจพบเชื้อ ก็ได้เรียกประชุมด่วนและไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยกรมปศุสัตว์จะแจ้งไปยังองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ Office International des Epizooties; OIE) ต่อไป





 






 
ขอยืนยันอีกครั้งว่าเราไม่ได้ปกปิด เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ไม่ปิดบัง ไม่มีใครอยากให้พี่น้องประชาชนบริโภคหมูแพง ไม่อยากให้ผู้เลี้ยงหมูขาดทุน แต่เมื่อมีจุดที่บกพร่อง ต้องดำเนินการตรวจสอบและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ขณะนี้กำลังให้กรมปศุสัตว์สรุปตัวเลข ข้อมูลเบื้องต้นได้รับรายงานว่าหมูหายไป 13% จึงมีมาตรการระยะสั้นห้ามส่งออกในช่วงเวลานี้ อีกทั้งมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีอธิบดีกรมปศุสัตว์ระบุว่าไม่เคยรับหนังสือรายงานการพบเชื้อ ASF เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ปรากฏชัด

ในส่วนของการขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลางรายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินที่ผ่านมานั้น ได้นำไปดำเนินการในเรื่องของเครื่องมือป้องกันและทำลายเชื้อโรค ย่าฆ่าเชื้อ รวมถึงเบี้ยเลี้ยงให้กับเจ้าหน้าที่ชุดตรวจ สำหรับเงินชดเชยเยียวยาของสุกรที่อยู่ในข่ายที่มีความเสี่ยงของการติดโรค จะดำเนินการทำลายก่อนเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค โดยกระทรวงเกษตรฯ จะจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรรายเล็กและรายย่อย เนื่องจากเป็นการดูแลผู้เลี้ยงสุกรที่ต้นทุนน้อย และไม่มีความพร้อมในการดูแลฟาร์ม

ขอความร่วมมือพี่น้องผู้เลี้ยงสุกรในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมโรคให้สงบได้โดยเร็ว หากพี่น้องประชาชนมีข้อสงสัย หรือพบสุกรป่วยตายผิดปกติ หรือสัตว์ป่วยตายผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์ สามารถแจ้งกรมปศุสัตว์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 06-3225 -6888 หรือแอพพลิเคชั่น DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง




 



 



Create Date : 14 มกราคม 2565
Last Update : 14 มกราคม 2565 18:43:07 น.
Counter : 459 Pageviews.

0 comment
"ประภัตร"เร่งแก้ ASF - หมูแพงกำชับปศุสัตว์ควบคุมโรคให้อยู่
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงโครงการสานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี ว่า จากสถานการณ์ราคาเนื้อสุกรที่มีราคาแพง ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

รวมถึงการพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF นั้นยืนยันว่าที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นโดยเร็วที่สุด ขณะที่การแก้ไขเนื้อสุกรมีราคาแพงนั้น ขณะนี้ได้เตรียมมาตรการที่จะเพิ่มแม่สุกรให้กับหน่วยงานของกรมปศุสัตว์

ตลอดจนฟาร์มเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีของกรมปศุสัตว์ เพื่อผลิตลูกสุกรเข้าสู่ระบบเชื่อมั่นว่าจากมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการทั้งมาตรการเร่งด่วน มาตรการระยะสั้น และระยะยาวนั้น จะสามารถเพิ่มการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคได้แน่นอน 





 





 
อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ทราบว่ามีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ต้องการกลับมาเลี้ยงสุกรรอบใหม่ ซึ่งกรมปศุสัตว์จะต้องมีการสแกนพื้นที่เพื่อตรวจสอบเบื้องต้นว่ามีความปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงต่อพี่น้องเกษตรกรอยู่หรือไม่ จากนั้นจะมีการคัดกรองตัวเกษตรกร พร้อมกับตรวจสอบสภาพความพร้อมและความเหมาะสมของฟาร์มในการยกระดับมาตรฐานฟาร์มให้มีความปลอดภัย ด้านการควบคุมโรคที่สูงขึ้น เช่น GFM หรือ GAP กรมปศุสัตว์จึงจะสามารถอนุญาตให้เกษตรกรกลับเข้าสู่อาชีพในครั้งต่อไปได้ 


ทั้งนี้จากการตรวจสอบจากจำนวนผู้เลี้ยงสุกรรายเล็กและรายย่อย ทั้งประเทศ ขณะนี้พบว่ามีเกษตรกรผู้เลี่ยงรวมกันถึงกว่า 185,000 ราย โดยในภาคอีสานนี้มีผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยถึงประมาณ 77,000 ราย อีกทั้งยังมีค่าเฉลี่ยของอัตราการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 20 - 22 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรให้กับเกษตรที่มีความสนใจ

โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินโครงการ “สานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร” มีวัตถุประสงค์ในการปล่อยสินเชื่อสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตร หรืออาชีพนอกภาคเกษตร หรือการลงทุนค้าขาย เพื่อเสริมรายได้ในครัวเรือน เน้นอาชีพที่มีตลาดรองรับชัดเจน มีการประกันราคารับซื้อผลผลิต สามารถสร้างรายได้ในระยะเวลา ไม่เกิน 6 เดือน มีผลตอบแทนเบื้องต้นเพียงพอต่อการดำรงชีพ สามารถต่อยอดเป็นอาชีพที่มั่นคงต่อไปได้ในอนาคต

โครงการดังกล่าว ไม่ได้มีเพียงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเท่านั้น แต่มีเมนูทางเลือกให้กับเกษตรกรในด้านต่าง ๆ ทั้งเมนูอาชีพด้านปศุสัตว์ โดยสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคขุน สุกรขุน ไก่ไข่ จิ้งหรีด เป็ดไข่ และแพะขุน เมนูอาชีพด้านพืช สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกฟักทอง ฟักเขียว กระชายขาว และข้าวโพด และเมนูอาชีพด้านประมง สนับสนุนให้มีการเลี้ยงปลาตะเพียน ปลาทับทิม ปลาดุก และกุ้ง

เกษตรที่สนใจ สามารถยื่นความประสงค์ขอกู้ตามโครงการได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ยื่นขอกู้เงินที่ธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาที่ตนเองมีภูมิลำเนาหรือที่ตั้งของโครงการ (Walk In) และ 2) ให้ผู้ขอกู้ลงทะเบียนยื่นขอสินเชื่อผ่านช่องทาง Line Official : BAAC Family และนัดหมายผู้ขอกู้ผ่านระบบนัดหมาย โดยวงเงินกูสูงสุดรายละไม่เกิน จำนวน 100,000 บาท แต่ต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายและหรือค่าลงทุนจริงของลูกค้าแต่ละราย 

รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ซึ่งเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ในการควบคุมป้องกันโรคในระยะที่ผ่านมานั้น หลัก ๆ แล้วเป็นค่าชดเชยเพื่อทำลายสุกรแทบทั้งสิ้น ซึ่งในขั้นตอนของการดำเนินการ กรมปศุสัตว์จะมีการตั้งคณะกรรมการในระดับพื้นที่เพื่อประเมินค่าความเสียหายและค่าชดเชย





 





 
สำหรัยกรณีที่ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยบางราย ได้มีการทำลายสุกรไปแล้ว โดยที่เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ไม่ได้สั่งให้ทำลายซึ่งจะทำให้ไม่เข้าหลักเกณฑ์การได้รับเงินชดเชยนั้นผม จะขอรับเรื่องนี้ไปหารือกับผู้เกี่ยวข้องว่าจะสามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

ยืนยันว่ากระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้นิ่งเฉยเรื่องการระบาดของโรค AFS  การออกมาพูดนั้นจะต้องได้รับการยืนยันจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ชัดเจนก่อนเมื่อมีการตรวจยืนยันว่าพบเชื้อที่ฟาร์มไหน กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการในการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น

รวมถึงการทำลายเชื้อตามหลักวิชาการ และจะต้องมีการพักคอกแล้วหยุดเลี้ยงจนกว่าจะมีการตรวจสอบหรือประเมินความเสี่ยงแล้วว่ามีความปลอดภัย จึงจะสามารถลงเลี้ยงใหม่ได้อีกครั้งผมเองในฐานะที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์

แม้ว่าจะไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) และคณะกรรมการพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board)  แต่จะช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำกับดูแลการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วและทันท่วงที พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพคู่ขนานอื่นให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป



 




 



Create Date : 14 มกราคม 2565
Last Update : 14 มกราคม 2565 16:10:44 น.
Counter : 533 Pageviews.

0 comment
คุมเข้มทุเรียนอ่อนสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในช่วงต้นฤดูกาลทุเรียนให้ผลผลิต มักพบปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) จากการเร่งตัดเพื่อจำหน่ายทำกำไร ส่งผลกระทบต่อราคาทุเรียนทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศและ เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อทุเรียนไทยในสายตาผู้บริโภค และเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 

จากปัญหาที่เกิดขึ้นกรมส่งเสริมการเกษตรพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการป้องกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ ในฤดูการผลิตปี 2565 กรมส่งเสริมการเกษตรได้วางแนวทางการบริหารจัดการทุเรียนเพื่อการส่งออกภาคตะวันออก โดยให้มีมาตรการควบคุมและป้องกันทุเรียนอ่อน กำหนดวันเก็บเกี่ยวทุเรียนแต่ละชนิดพันธุ์ คือ พันธุ์กระดุม วันที่ 20 มีนาคม 2565 พันธุ์ชะนีและพวงมณี วันที่ 10 เมษายน 2565 พันธุ์หมอนทองและก้านยาว วันที่ 25 เมษายน 2565






 






 
เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวทุเรียนสายพันธุ์ที่กำหนดก่อนวันดังกล่าว ต้องมีการตรวจวัดและมีใบรับรองความแก่โดยสมาพันธ์ทุเรียนไทยภาคตะวันออก หรือแปลงใหญ่ทุเรียน หรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในทุเรียนและเป็นผู้รับรองความแก่ และให้แนบใบรับรองความแก่และสำเนา GAP ที่ระบุวันที่ ปริมาณทุเรียน ล้งที่รับซื้อ ไปกับรถขนส่งทุเรียนที่ไปโรงคัดบรรจุด้วยเพื่อควบคุมการใช้ใบรับรอง GAP แบบไม่ถูกต้อง (สวมสิทธิ์) เพื่อให้สอดคล้องกับระบบ e-Phyto ของกรมวิชาการเกษตรที่ควบคุมการใช้ใบรับรอง GAP ไว้ที่ 5 ไร่ต่อตู้




 






 
นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังภาคเอกชนและเกษตรกรให้มีส่วนร่วมในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเฝ้าระวังโรคโควิด - 19 โดยให้เอกชนมีการวางระบบป้องกันการระบาดของโรค ได้แก่ การจัดระบบการเข้า-ออกสวน การสวมแมส จุดล้างมือ/วัดอุณหภูมิ การจัดแรงงานให้เป็นไปตามมาตรการ การฉีดวัคซีนและการจัดการที่อยู่อาศัย เป็นต้น

ในด้านพัฒนาคุณภาพผลผลิตยังมีการให้ความรู้เกษตรกร การจัดตั้งทีมสุ่มตรวจสอบในระดับสวน ตลอดจนให้เกษตรกรมีมาตรการควบคุมป้องกันเพลี้ยแป้งทุเรียนในสวน ซึ่งมักพบการเข้าทำลายในระยะผลเล็กทำให้ผลทุเรียนแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต หรือหากเข้าทำลายในระยะผลใหญ่จะทำให้คุณภาพผลทุเรียนลดลง ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค





 

 




 
สำหรับมาตรการที่เกิดขึ้นครั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตรพร้อมด้วยหน่วยงานภาคี อาทิ กรมวิชาการเกษตร สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก สมาคมทุเรียนไทย ผู้ประกอบการส่งออก กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนในเขตภาคตะวันออก ร่วมกันวางมาตรการเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ในจังหวัดแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคตะวันออก คือ จังหวัดจันทบุรี ระยอง และจังหวัดตราด

ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมคุณภาพผลผลิตทุเรียนให้ได้มาตรฐาน ผู้บริโภคได้รับประทานทุเรียนคุณภาพ และส่งผลดีด้านการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศต่อไป




 




 



Create Date : 12 มกราคม 2565
Last Update : 12 มกราคม 2565 18:35:31 น.
Counter : 426 Pageviews.

0 comment
"ปศุสัตว์"ตรวจสอบโรค ASF
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าจากกรณีข่าวภาคีคณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2564 มายังกรมปศุสัตว์ เรื่อง ข้อห่วงใยต่อสถานการณ์โรคระบาดและการควบคุมโรคในสุกร โดยหน่วยงานของสถาบันการศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย พบเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Afican Swine Fever: ASF) ในซากสุกรที่ส่งชันสูตรโรค และได้รายงานการตรวจพบโรคต่อกรมปศุสัตว์ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และขอให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการตามมาตรการเพื่อควบคุมโรคโดยเร็ว 

ยืนยันว่า ส่วนตัวยังไม่เคยเห็นหนังสือเสนอขึ้นมารายงานให้ทราบ แต่อย่างใดทั้งนี้จะเร่งดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไปโดยยืนยันว่าที่ผ่านมาได้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอน ตามหลักวิชาการและเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง เร่งสั่งการให้ทุกจังหวัดตรวจสอบลงพื้นที่






 






 
พร้อมประเมินความเสี่ยง และขอความร่วมมือเกษตรกรในการสังเกตและเฝ้าระวังโรค โดยสามารถรายงานหรือขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอในทุกพื้นที่ หรือที่ Application: DLD 4.0 ตลอด 24 ชั่วโมง 

นอกจากนี้ ได้สั่งการด่วนจัดชุดเฉพาะกิจลงตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่เสี่ยง สุ่มตรวจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น โดยในวันที่ 8 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยการเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 6 ฟาร์ม รวม 196 ตัวอย่าง และวันที่ 9 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครปฐม

โดยการเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 4 ฟาร์ม 2 โรงฆ่ารวม 114 ตัวอย่างเพื่อเข้าไปสำรวจโรคและเก็บตัวอย่างจากเลือดสุกร นำไปตรวจหาโรคโดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติซึ่งเมื่อทราบผลการวิเคราะห์จะรายงานผลและเร่งดำเนินการต่อไปโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายให้เกิดน้อยที่สุด





 




 



Create Date : 10 มกราคม 2565
Last Update : 10 มกราคม 2565 16:19:57 น.
Counter : 647 Pageviews.

0 comment
"เฉลิมชัย"ลั่นใช้งบปี 66 ให้เกษตรกรมีชีวิตดีขึ้น-รายได้ครัวเรือนยั่งยืน
"เฉลิมชัย "นำทีมผู้บริหาร แจงงบประมาณปี 66 ต่อสำนักงบฯ หนุนงานขับเคลื่อนเกษตรตั้งเป้าให้เกษตรกรชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น หวัง สร้างรายได้สู่ครัวเรือนเกษตรกรอย่างยั่งยืน
 
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชุมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566

โดยมี นายอนันต์ แก้วกำเนิด รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เข้าร่วมรับฟังและชี้แจงแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ณ ห้องประชุมธารทิพย์ อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน






 
 





 
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า กระทรวงเกษตรวางแผนการขับเคลื่อนภาคการเกษตรภายใต้วิสัยทัศน์ “เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี” โดยกระทรวงเกษตรฯ ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการเกษตร 5เรื่อง ได้แก่ 1) ตลาดนำการผลิต 2) เทคโนโลยีเกษตร 4.0 3) 3’S (Safety – Security – Sustainability)

4)บริหารเชิงรุกแบบบูรณาการโมเดล “เกษตร พาณิชย์ทันสมัย” 5) เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการเกษตร การเพิ่มรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาสินค้า พัฒนาเกษตรกร และส่งเสริมปศุสัตว์และประมง สร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มผู้นำสตรี รวมถึงยกระดับรายได้เกษตรกรระดับรากหญ้า และการปรับปรุงระบบที่ทำกินและการบริหารจัดการน้ำ          

ที่ผ่านมาทางกระทรวง ได้กำหนดโครงการสำคัญเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) โครงการสำคัญที่สนับสนุน แผนแม่บทประเด็นการเกษตร อาทิ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ   และการพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร เป็นต้น

2) โครงการสำคัญที่สนับสนุนแผนแม่บทอื่นๆ อาทิ โครงการบริหารจัดการน้ำ โครงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากน้ำ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายเป็นต้น  




 






 
3) งานตามภารกิจพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็น อาทิ การป้องกันสุขภาพสัตว์ เฝ้าระวังควบคุมโรคสัตว์ จัดหาที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อยและพัฒนาแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ส่งเสริมตลาดเกษตรกร การช่วยเหลือด้านหนี้สินเกษตรกร สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่เกษตรกร ปรับปรุงคุณภาพดิน ส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนแก่เกษตรกร การตรวจราชการและติดตามงานในพื้นที่ เป็นต้น
  
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) นโยบายสำคัญของรัฐบาลแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  และนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศอย่างต่อเนื่อง

“กระทรวงเกษตรฯ ขอให้สำนักงบประมาณฯ พิจารณางบประมาณปี 2566 โดยเฉพาะงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในพืชและสัตว์ และการแก้ปัญหาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 19) ที่มีต่อภาคเกษตร ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้การช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ที่อยู่ในภาคการเกษตรที่เกี่ยวข้อง”นายเฉลิมชัย กล่าว




 




 
 
 



Create Date : 07 มกราคม 2565
Last Update : 7 มกราคม 2565 17:31:22 น.
Counter : 432 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments