All Blog
ลดยุ่งยาก ! "ปศุสัตว์"ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์บริการนำเข้า-ส่งออกทุกขั้นตอนเบ็ดเสร็จวันเดียว
"ปศุสัตว์"นำร่องการใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบการนำเข้า-ส่งออก อาหารสัตว์-วัตถุอันตรายด้านปศุสัตว์ เชื่อมโยงขั้นตอนด้วยระบบจบในวันเดียว

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์เปิดตัวนำร่องการใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบการนำเข้า-ส่งออก ด้านอาหารสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ โดยบริการทุกขั้นตอนเบ็ดเสร็จเชื่อมโยงหนึ่งเดียว ลดความซ้ำซ้อน ลดขั้นตอน และระยะเวลาในการให้บริการ ทุกอย่างทำได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การยื่นคำขออนุญาต

การตรวจสอบผ่านระบบอัติโนมัติ (Automated service) การจ่ายเงิน (e-Payment) การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ (e-License) ภายใน 1 วันทำการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางมารับบริการด้วยตัวเอง ลดการใช้กระดาษ (Paperless) ตลอดจนสร้างความโปร่งใสตรวจสอบได้ สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ 4.0

กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานภาครัฐ 4.0 ที่มุ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตลอดมา ได้ประยุกต์นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาปรับปรุงและพัฒนากระบวนงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาและปรับปรุงระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการด้านทะเบียนใบอนุญาตอาหารสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ มาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งรองรับงานบริการด้านการอนุญาตนำเข้า-ส่งออก การผลิต

การขาย การออกหนังสือรับรอง Health Certificate ของอาหารสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ ต่อมาได้มีการพัฒนาการชำระเงินผ่านระบบ e-Payment และได้เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นต้น

ล่าสุดในปี 2564 ได้มีการพัฒนาระบบการตรวจสอบอัตโนมัติ (Automated service) เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร อีกทั้งยังมีระบบการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ซึ่งเป็นการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว รองรับการดำเนินชีวิตวิถีถัดไป (Next normal) และการขยายตลาดด้านอาหารสัตว์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนมีการใช้บริการต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น







 






 
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า ปัจจุบันการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงและอาหารปศุสัตว์ไปยังต่างประเทศมีมูลค่ารวมปีละมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท โดยมีการเปิดการใช้งานอย่างเป็นทางการของระบบทะเบียนใบอนุญาตอาหารสัตว์ และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์

พร้อมกับการฝึกอบรมการลงลายมือชื่อในระบบอิเล็กทรอนิกส์และออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ ในวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00 น. พิธีเปิด อย่างเป็นทางการ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัด และด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศ เข้าร่วมผ่านระบบการประชุมทางไกล (Virtual meeting) รวมทั้งสิ้น 130 คน ซึ่งตนได้ลงลายมือชื่อในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ใบอนุญาตขายอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะฉบับแรก

การบริการทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้านอาหารสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์รูปแบบใหม่เป็นการให้บริการเบ็ดเสร็จเชื่อมโยงในหนึ่งเดียว เป็นช่องทางการให้บริการมิติใหม่แบบไร้พรมแดน ปัจจุบันมีการใช้บริการแล้วมากกว่า 100,000 ครั้งต่อปี และเมื่อเปิดใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบ จะสามารถตรวจสอบและอนุมัติได้ทันทีเมื่อเอกสารถูกต้องครบถ้วน ภายใน 1 วันทำการ

ผู้ประกอบการสามารถดาวน์โหลดใบอนุญาตเพื่อนำไปใช้งานได้ โดยไม่ต้องเดินทางมารับเอกสารด้วยตนเอง ลดความซ้ำซ้อนในกระบวนการ ลดขั้นตอน ลดระยะเวลา ลดการใช้กระดาษ และสามารถอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกด้านอาหารสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์แก่ผู้มารับบริการได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้สะดวกและพึงพอใจทั้งผู้ให้และผู้รับบริการด้วย





 
 


 



Create Date : 26 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2564 16:32:14 น.
Counter : 438 Pageviews.

0 comment
"ประภัตร"จี้ปศุสัตว์เร่งจ่ายชดเชยเสียหายจากลัมปี สกิน
นายประภัตร โพธสุธน รมช .เกษตรฯ ที่กำกับดูแลกรมปศสัตว์เปิดเผยว่าจากที่มีรายงานสถานการณ์โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin) เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทยที่พบการติดเชื้อครั้งแรกในโคเนื้อของเกษตรกรที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 การแพร่กระจายของโรคโดยมีแมลงเป็นพาหะ ไปยังโค-กระบือของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ

รวมทั้งสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบืออย่างมาก นั้นตนกำชับสั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาควบคุมสถานการณ์การระบาดในทันที ให้สำเร็จ และให้เฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง และหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเป็นการเร่งด่วน






 






 
ที่ผ่านมาทางกรมปศุสัตว์จึงได้เร่งดำเนินการตามมาตราการในการควบคุมป้องกันโรค ลดความเสียหายและผลกระทบให้เกิดน้อยที่สุด และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เสียหาย และแจ้งปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เกิดการระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค –กระบือ ให้เร่งตรวจสอบความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 

เพื่อเป็นการช่วนเหบือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดตน ได้เสนอให้แก้ไขระเบียบ โดยเพิ่มอัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายด้วยโรคลัมปี สกิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่ง ปัจจุบัน (25 พฤศจิกายน 2564) ได้จ่ายเงินให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ น่าน เชียงใหม่ กำแพงเพขร อุทัยธานี ชุมพร นครสวรรค์ และแพร่ รวมเกษตรกร 297 ราย โค-กระบือ 390 ตัว วงเงิน 8,520,000 บาท

จากที่กรมปศุสัตว์ได้รับเอกสารจากจังหวัดแล้วทั้งสิ้น 28 จังหวัด รวมเกษตรกร 20,271 ราย โค-กระบือ 23,707 ตัว วงเงิน 503,972,200 บาท โดยจะเร่งตรวจสอบเอกสารตามขั้นตอน พร้อมทั้งทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรในแต่ละจังหวัดภายในช่วยเทศกาลปีใหม่นี้ สำหรับจังหวัดอื่นๆ อีก 35 จังหวัด รวมโค-กระบือ 34,936 ตัว อยู่ระหว่างนำเข้าประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) และรวมรวมเอกสารส่งกรมปศุสัตว์ต่อไป






 






 
นายนายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ปศุสัตว์ กล่าวว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน อย่างเร่งด่วน ทั้งในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์ การกำจัดแมลงพาหะ

เพื่อเป็นการป้องกันโรค และการให้ความช่วยเหลือเยี่ยวยาให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวการคลังระเบียบกระทรวงคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน






 






 
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 แล้ว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 และมีผลบังคับใช้สำหรับโรคระบาดชนิดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป

โดยเกณฑ์การช่วยเหลือใหม่แบ่งตามช่วงอายุ มีดังนี้ โคอายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 13,000 บาท กระบืออายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 15,000 บาท โคอายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 22,000 บาท กระบืออายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 24,000 บาท โคอายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 29,000 บาท กระบืออายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 32,000 บาท โคอายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 35,000 บาท และกระบืออายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 39,000 บาท
 
โดยขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตวทำขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง เพื่อให้สามารถรับการชดเชย กรณีสัตว์เสียหายจากภัยพิบัติ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะได้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้การส่งเสริม สนับสนุน และดูแลเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึงต่อไป




 




 
 



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2564 18:18:51 น.
Counter : 398 Pageviews.

0 comment
‘แพะขุน’สินค้าปศุสัตว์ทางเลือก สร้างรายได้ดี
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า แพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและเป็นสินค้าทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรให้ความสนใจเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

โดยพบว่าเกษตรกรมีการเลี้ยงทั้งแบบปล่อยทุ่ง และแบบขังคอกหรือแพะขุน ซึ่งการเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งจะมีความเสี่ยงต่อการกินหญ้าที่มีสารพิษตกค้าง โรคพยาธิ และเกิดความสูญเสียแพะระหว่างการเลี้ยงสูง อีกทั้งแพะจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอส่งผลต่อระยะเวลาการเลี้ยง สำหรับการเลี้ยงแบบขังคอกหรือแพะขุน แม้การลงทุนช่วงแรกจะสูงแต่เป็นการเลี้ยงที่เหมาะสมกับสภาพในปัจจุบันที่มีพื้นที่เลี้ยงแพะจำกัด อีกทั้งยังช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ โรคพยาธิ สารพิษตกค้าง และปัญหาแพะรุกเข้าไปในที่สวนไร่นา







 





 

สศท.7 ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในระดับพื้นที่ เรื่อง การผลิตและการตลาดแพะขุนในพื้นที่ภาคกลางตอนบน (ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี) ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีการเลี้ยงแพะเพื่อเสริมรายได้มากขึ้น เนื่องจากแพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้หลากหลาย และใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย

ในปี 2564 (ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564) มีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อทั้งแบบขุนและแบบปล่อยทุ่ง ทั้ง 3 จังหวัดรวม 4,136 ราย แบ่งเป็น จังหวัดลพบุรี จำนวน 2,007 ราย จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1,211 ราย และจังหวัดชัยนาท จำนวน 918 ราย มีการเลี้ยงแพะเนื้อรวม 131,383 ตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีจำนวน 90,450 ตัว (เพิ่มขึ้น 40,933 ตัว หรือร้อยละ 45)






 






 
พื้นที่การเลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดลพบุรี ลักษณะการเลี้ยงของเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางตอนบน ส่วนใหญ่เลี้ยงแบบขังคอกหรือแพะขุนเป็นหลัก สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง คือ สายพันธุ์ลูกผสม เป็นพันธุ์ผสมระหว่างสายพันธุ์บอร์กับสายพันธุ์พื้นเมือง และสายพันธุ์บอร์กับสายพันธุ์แองโกลนูเบียน ซึ่งจะได้แพะที่มีความแข็งแรง โตเร็ว ทนต่อโรค และสภาพแวดล้อมได้ดี และเป็นที่นิยมของตลาด   

หากพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตแพะขุนของภาคกลางตอนบน ปี 2564 พบว่า มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,476 บาท/ตัว หรือ 72 บาท/กิโลกรัม แยกเป็นค่าแรงงาน 160 บาท/ตัว ค่าอาหาร วัสดุอุปกรณ์ 1,086 บาท/ตัว และส่วนที่เหลือ 230 บาท/ตัว เป็นค่าเสียโอกาสในการลงทุน ค่าเช่าที่ดิน/ค่าใช้ที่ดิน ค่าเสื่อม/ค่าเสียโอกาสโรงเรือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ






 






 
โดยแม่พันธุ์ 1 ตัว ให้ผลผลิตลูกแพะ 1-2 ตัว/รุ่น สำหรับแพะเพศเมีย จะเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือนไปจนถึงอายุประมาณ 8 ปี ส่วนแพะเพศผู้ จะเริ่มผสมพันธุ์ตอนอายุประมาณ 1 ปี ไปจนถึงอายุประมาณ 8 ปีเกษตรกรสามารถจำหน่ายแพะเนื้ออายุเฉลี่ย 4 เดือน ในราคา 2,891 บาท/ตัว  หรือ 140.41 บาท/กิโลกรัม (น้ำหนักเฉลี่ย 20.59 กิโลกรัม/ตัว) คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 1,415 บาท/ตัว

ด้านสถานการณ์ตลาดแพะขุน การจำหน่ายแพะขุนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48 เกษตรกรส่งจำหน่ายให้กับผู้รวบรวมรายใหญ่ในจังหวัดลพบุรี และชัยนาท ผลผลิตร้อยละ 33 เกษตรกรส่งจำหน่ายให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ และอีกร้อยละ 19 ส่งจำหน่ายให้กับผู้รวบรวมรายย่อยในพื้นที่ ผู้รวบรวมรายย่อยจะส่งต่อให้กับผู้รวบรวมรายใหญ่ต่อไป โดยผู้รวบรวมรายใหญ่จะส่งจำหน่ายแพะขุนให้กับพ่อค้าเวียดนามร้อยละ 69 ส่งจำหน่ายพ่อค้าขายส่งภาคใต้ร้อยละ 27 และส่งจำหน่าย พ่อค้าขายส่งกรุงเทพฯ และพ่อค้าขายส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 4






 






 
จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกแพะเไปยังตลาดต่างประเทศค่อนข้างชะลอตัว ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบด้านการส่งออก ควรมีการส่งเสริมการแปรรูปเนื้อแพะเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ลูกชิ้น บาบีคิว ไส้กรอก อาหารปรุงพร้อมรับประทาน เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการบริโภค เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดเนื้อแพะ ในประเทศได้

สำหรับตลาดรับซื้อแพะรายใหญ่ คือ ประเทศจีน แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศจีนทำให้ต้องซื้อขายผ่านพ่อค้าเวียดนามที่เข้ามารับซื้อแพะในประเทศไทย เพื่อส่งไปจำหน่ายต่อยังประเทศจีน หากสามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการของไทยส่งออกแพะไปจำหน่ายยังประเทศจีนได้โดยตรง จะเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการค้าแพะของไทยเพิ่มขึ้น


อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาการส่งออกผ่านไปยังเวียดนามด้วย ทั้งนี้ ท่านใดที่สนใจข้อมูลเชิงลึกของผลการวิจัย ซึ่ง สศท.7 ได้ทำการศึกษาวิถีการตลาด ต้นทุนการตลาด และส่วนเหลื่อมการตลาดของแพะขุน ในพื้นที่ภาคกลางตอนบน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.7 โทร. 0 5640 5005 อีเมล์ zone7@oae.go.th





 



 



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2564 17:40:12 น.
Counter : 474 Pageviews.

0 comment
ด่วน ! ปศุสัตว์คุมเข้มไข้หวัดนกหลังติดเชื้อในคน
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่านายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการด่วนให้กรมปศุสัตว์คุมเข้มเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N6 เป็นการเร่งด่วนหลังสาธารณรัฐประชาชนจีนพบการติดเชื้อในคนเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ติดเชื้อแล้ว 49 คน เสียชีวิต 25 คน 

ทั้งนี้จากกรณีดังกล่าวตนได้มีคำสั่งการให้เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์ทุกจังหวัด และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทั่วประเทศเข้มงวดในการตรวจสอบและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเจ้มงวดตรวจสอบตามแนวชายแดนพร้อมทั้งดำเนินการมาตรการชะลอการนำเข้า นำออก หรือผ่านราชอาณาจักร






 






 
สำหรับประเทศที่พบรายงานการเกิดไข้หวัดนกชนิดรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนเชื้อมาสู่ประเทศไทย และสั่งการให้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทุกรายและรายงานสถานการณ์สัตว์ปีกทุกวัน และให้เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทั่วประเทศด้วย

นอกจากนั้นยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จากสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ พร้อมทีมงาน เข้าติดตามงานตามโครงการ “เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ในนกธรรมชาติเชิงรับในพื้นที่ชุมน้ำ”โดยประสานงานร่วมกับทีมงานในพื้นที่ ประกอบด้วย กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด และเจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด






 






 






 
ร่วมกันปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อสำรวจสัตว์ปีกในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด และหารือในแนวทางการศึกษาเส้นทางอพยพของนกในกลุ่มนกชายเลน และได้เก็บตัวอย่างยืนยันเพื่อตรวจวิเคราะห์เชื้อไข้หวัดนก (Swab test) ของนกในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

ประเทศไทยปลอดเชื้อไข้หวัดนกมาตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี ทั้งในคนและสัตว์” เนื่องจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกทั่วประเทศมีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ มีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือนและบริเวณโดยรอบ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มเข้มงวดระบบความปลอดภัยและการจัดการภายในฟาร์ม มีการควบคุมการเข้า-ออกฟาร์ม

โดยให้ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อยานพาหนะทุกคัน และให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินมาตรการควบคุมโรคทันทีในกรณีที่มีการแจ้งและการรายงาน รวมถึงให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศ องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) อย่างต่อเนื่อง






 






 
จากสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้สัตว์ปีกปรับตัวได้ยาก อาจส่งผลต่อสุขภาพสัตว์ปีก ทำให้สัตว์ปีกอ่อนแอลง จึงขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกให้สังเกตอาการสัตว์อย่างใกล้ชิด

หากพบสัตว์ปีกมีอาการหรือป่วยตายผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ หรืออาสาปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อเร่งดำเนินการสอบสวนและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร 063-225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application : DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง




 





 



Create Date : 05 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2564 14:17:55 น.
Counter : 474 Pageviews.

0 comment
ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนเลี้ยงกุ้งฝอย-หอยขม ปูนา แหล่งอาหารในพื้นที่
"เกษตรฯ"เดินหน้าโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนส่งเสริมสร้างแหล่งอาหารชุมชน เลี้ยงกุ้งฝอย-หอยขม ปูนา ปลาพื้นถิ่น สร้างรายได้ให้ประขาชนในพื้นที่

นายทินกร อ่อนปทุม  คณะที่ปรึกษานายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  รมว.เกษตรฯ เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิดที่เกิดขึ้นอย่างค่อเนื่องล่าสุดกระทรวงเกษตร ฯ ได้มีนโยบายในการส่งเสริมโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนอันเนื่องมาจากผลกระทบจากโรคระบาดโควิด ตามกรอบแนวทางของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้กำหนดให้แนวทางในการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ซึ่งที่ผ่านมานายเฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯได้มอบนโยบายให้ส่วนราชการในส่วนภูมิภาคเร่งดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน






 






 
ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ตน ได้มีการประสานงานร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าไปจัดทำแผนการส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารให้กับชุมชนในพื้นที่ เพื่อเป็นการโดย ฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและสุขภาพของท้องถิ่น จำนวน 2 โครงการ

ทั้งนี้ได้แก่1.โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งฝอย-หอยขม-ปูนา-ปลาพื้นถิ่น งบประมาณ 3,000,000 บาท มีประชาชนเข้าร่วมโครงการ 1,000 ครัวเรือน โดยกระจายไปทั่วทั้งจังหวัด โดยมึการสร้างเกษตรกรต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ลดต้นทุนไม่ต้องพึ่งพาอาหารปลา โดยใช้หลักการสร้างอาหารธรรมชาติซึ่งองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพการเกื้อกูลกันของระบบนิเวศในสระน้ำของเกษตรกรนอกจากเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถต่อยอดเป็นการเกษตรเชิงพานิชย์ได้ต่อไปด้วย






 






 
ส่วนที่ 2 คือโครงการเลี้ยงปลาดุกข้างบ้านสร้างอาหารสู้โควิด_งบประมาณ 8.25 ล้านบาทประชาชนเข้าร่วมโครงการ 2,750 ครัวเรือน ซึ่งโครงการนี้เป็นการเลี้ยงปลาดุกในกระชังบกซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้ข้างบ้านใต้ถุนบ้านและพื้นที่ว่างอื่นๆในบ้าน ลดปัจจัยเสี่ยงจากภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรือน้ำท่วมบ่อ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะต่างจากโครงการแรกคือจะเป็นการประมงแบบมีต้นทุนต้องใช้อาหารปลาในการเลี้ยงโดยหวังผลว่าจะเป็นการสร้างอาหารในครัวเรือนในชุมชน

สำหรับเกษตรกรที่ต้องการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อแปรรูปหรือทำการตลาดก็สามารถต่อยอดได้ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยประมงจังหวัดกำลังดำเนินการประสานงานผู้ประกอบการส่งออกและผู้ประกอบการแปรรูปอาหารเพื่อทำการตลาดต่อไป












 
นายจามินวัศญ์ พิลาศเอมอร รักษาราชการประมงจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่าเบื้องต้นทางประมงจังหวัดร้อยเอ็ดจะเข้าไปฝึกอบรมและให้ความรู้ในการส่งเสริมของการเลี้ยงกุ้งฝอยหอยขมปูนาปลาพื้นถิ่นนั้น ให้เกษตรกรเข้าใจถึงหลักการเลี้ยงน้ำที่ถูกวิธี เพื่อสร้างอาหารธรรมชาติ

โดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่มีอยู่ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว ขี้ไก่ ฟางข้าว ลงไปหมักในน้ำแล้วรักษาสมดุลย์ให้เกิดอาหารธรรมชาติจำพวกแพงค์ตอนพืชและแพงค์ตอนสัตว์ให้ต่อเนื่องซึ่งจะเป็นอาหารให้กับกุ้งฝอยหอยขมปูนาและปากพื้นถิ่นอย่างเกื้อกูลและยั่งยืนส่วนโครงการเลี้ยงปลาดุกข้างบ้าน นั้น มีการอบรมเกษตรเลี้ยงปลาดุก โดยมอบปัจจัยการผลิตบางส่วน ได้แก่กระชังบก อาหารปลา และพันธุ์ปลาดุกแก่เกษตรกร และจากนั้นจะมีการขยายโครงการต่อไปด้วย




 



 



Create Date : 04 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2564 18:57:31 น.
Counter : 534 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments