All Blog
เกษตรฯขับเคลื่อนThai Rice NAMA ด้วยเทคโนโลยี 4 ป.
"เกษตรฯ"ขับเคลื่อนโครงการ Thai Rice NAMA เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยี 4 ป. หนุนเกษตรกรทำนาลดก๊าซเรือนกระจก ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ พร้อมเตรียมเสนอ Thai Rice GCF เพิ่มศักยภาพของชาวนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมั่นคง
         
นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ Thai Rice NAMA มอบหมายให้ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมหารือกับ นายแมทเทียส บิกเคล (Dr. Matthias Bickel) ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการด้านการเกษตรและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย






 







 
โดยมี ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ผู้แทนกรมการข้าว และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมหารือ
          
นายสมชวน เปิดเผยว่า องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice NAMA) และหารือการพัฒนาโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ (Thai Rice GCF)

การดำเนินงานโครงการ Thai Rice NAMA ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคกลาง (ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี) มีความก้าวหน้าในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยกลุ่มเทคโนโลยีหลักประกอบด้วย 4 ป. ประกอบด้วย (1) การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในการปลูกข้าว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่มีศักยภาพลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้สูงถึง 70% และไม่มีผลทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำลง

(2) เทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser land levelling : LLL) ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้งซึ่งทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะลดปริมาณการใช้น้ำลงได้ประมาณ 40% รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยที่สามารถกระจายได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงและทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น (3) เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้ประมาณ 20% จากที่ใช้โดยทั่วไป

(4) การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้เป็นทางเลือกในการลดการเผาตอซังและฟางข้าว เพื่อ. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดปริมาณ PM 2.5 ในอากาศ ซึ่งทั้ง 4 เทคโนโลยีข้างต้น นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและจะเกิดผลประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน






 
       






 
สำหรับโครงการ Thai Rice NAMA จะสิ้นสุดลงในปี 2566 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว และ GIZ ได้มีการพัฒนาโครงการ Thai Rice GCF เพื่อเสนอต่อ Green Climate Fund; GCF เพื่อขยายผลการทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มศักยภาพการปรับตัว (adaptation) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate resilient) เป้าหมาย 15 จังหวัด โดยโครงการฯ นี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของชาวนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมั่นคง รวมทั้งขยายพื้นที่การทำนาแบบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซมีเทนได้อย่างยั่งยืน
       
การประชุมฯในครั้งนี้ เป็นการหารือเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ Thai Rice GCF ได้อย่างสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai–German Cooperation – Energy, Mobility and Climate : TGC-EMC) ในภาคส่วนชีวมวล

เพื่อสนับสนุนให้ภาคเกษตรกรเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศตามเจตนารมณ์ที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ประกาศใน COP26  ให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) ต่อไป






 





 



Create Date : 18 มิถุนายน 2565
Last Update : 18 มิถุนายน 2565 15:36:08 น.
Counter : 329 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments