All Blog
เร่งผลิตล้านเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีป้อนเกษตรกร


"มนัญญา"สั่งกรมวิชาการเกษตรเร่งผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีเป้าล้านเมล็ดป้อนเกษตรกรปลื้มพันธุ์สุราษฎร์ธานีสร้างรายได้พุ่งสูงสุดกว่า 2 หมื่นบาท/ไร่/ปี

       
นายภัสชญภณ  หมื่นแจ้ง  รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
เปิดเผยว่า จากความต้องการต้นกล้าปาล์มน้ำมันของเกษตรกรที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ราคาต้นกล้าปาล์มน้ำมันในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น 1-2 เท่า






 






 
ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  จึงได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรเร่งรัดการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพดีตรงตามพันธุ์ และมีศักยภาพในการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มต่อหน่วยพื้นที่สูง สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพพื้นที่ปลูกของประเทศไทย
 

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  จึงได้มอบหมายให้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ  รวมทั้งตามนโยบายยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีให้กับเกษตรกร เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน  และลดต้นทุนการผลิต  อีกทั้งยังเป็นการผลิตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการกระจายสู่แปลงเพาะกล้ารายย่อยและเอกชน เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์ปาล์มน้ำมันของ กรมวิชาการเกษตรได้สะดวกมากยิ่งขึ้น






 





 
       
ในปีงบประมาณ 2561-2564 ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี  กรมวิชาการเกษตร มีการผลิตและส่งมอบ จำหน่ายเมล็ดงอกแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมถึงแปลงเพาะกล้ารายย่อยจำนวน 3.54 ล้านเมล็ดงอก คิดเป็นพื้นที่ปลูก 118,000 ไร่ และในปี  2563-2564 ที่ผ่านมา มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันขยายตัว เพิ่มขึ้นประมาณ 600,000 ไร่  



ประกอบกับราคาผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2565 ส่งผลให้เกษตรกรมีความต้องการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2565 ประเทศไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันจำนวน 6.15 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 18.42 ล้านตัน

     
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โครงการพัฒนาการผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลงานวิจัยการผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีที่มีคุณภาพดี  ตรงตามพันธุ์ และได้มาตรฐานการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีจำนวน 1,000,000 เมล็ดงอกจำหน่ายให้แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันภาครัฐและเอกชน  






 






พร้อมทั้งสร้างการรับรู้การใช้ปาล์มน้ำมัน พันธุ์ดีมีคุณภาพ และแหล่งข้อมูลของแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรให้แก่เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องผ่านการประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ โดยในเดือนกรกฎาคม 2565 - มิถุนายน 2567  ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฏร์ธานีร่วมกับศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่  กรมวิชาการเกษตร ได้ตั้งเป้าหมายผลิตเมล็ดงอกจำนวน 1,000,000 เมล็ด จำหน่ายให้กับหน่วยงานภาครัฐ  และแปลงเพาะกล้าเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร

       
สำหรับแผนการส่งมอบเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีจะเริ่มทยอยส่งมอบให้กับผู้ที่ลงทะเบียนจองไว้แล้ว ในช่วงเดือนเมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการผลิตเมล็ดพันธุ์  ซึ่งเกษตรกรจะได้รับปาล์มมันน้ำมันพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย






 






 
รวมถึงนวัตกรรมปาล์มน้ำมันของกรมวิชาการเกษตรที่สามารถเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการผลิต ช่วยให้เกษตรกรมีความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการใช้ปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์และการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ  เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยจากการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 13,095-22,905 บาท/ไร่/ปี ขึ้นกับความเหมาะสมของพื้นที่และการจัดการ (ราคาทะลาย 4.50 บาท/กก.)


การซื้อเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ไม่มีคุณภาพตรงตามพันธุ์จะส่งผลกระทบระยะยาวต่อเกษตรกร โดยเฉพาะรายได้จากผลผลิตที่กว่าจะได้รับและทราบผลต้องใช้เวลานานกว่า 3 ปี นอกจากนี้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ไม่มีคุณภาพจะให้ผลผลิตต่ำมากหรือไม่ให้ผลผลิตเลย และส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าในการผลิตปาล์มน้ำมัน


หากเกษตรกรมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำสามารถสอบถามได้จากหน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดต่างๆ  ที่มีแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน






 




 



Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2566 17:12:21 น.
Counter : 418 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments