All Blog
“มนัญญา”ประกาศจุดยืน“ทุเรียนไทยต้องเป็นทุเรียนคุณภาพ”


“มนัญญา” ประกาศจุดยืน “ทุเรียนไทยต้องเป็นทุเรียนคุณภาพ” เตรียมตั้ง “คณะกรรมการเฉพาะกิจ” ลุยตรวจสอบ ปราบปรามทุเรียนสวมสิทธิ์ย้ำทุกภาคส่วนร่วมทำงานอย่างใกล้ชิด ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานทุเรียนส่งออก


นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนา “ทุเรียนไทย ทุเรียนคุณภาพ” (Premium Thai Durian)” โดยมี ผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมและผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย สมาคมพืชสวน สมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทยจีน สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย สภาหอการค้าไทย ผู้ประกอบการ และเกษตรกร เข้าร่วม ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ กรุงเทพฯ เข้าประชุมสัมมนา 





 





 

โดยนางสาวมนัญญากล่าวว่า การบริหารการส่งออกทุเรียนตลอด Supply Chain ต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน จึงจะส่งผลต่อความสามารถในการส่งออก เป็น “ทุเรียนไทย ทุเรียนคุณภาพ (Premium Thai Durian)” ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ คุณภาพผักและผลไม้ไทย เพื่อกำกับดูแลการนำเข้า – ส่งออกผักและผลไม้ไทย ให้มีคุณภาพมาตรฐาน (Thai Premium Fruits and Vegetable) เป็นไปตามข้อกำหนดการตรวจสอบคุณภาพสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช ตามเงื่อนไขการนำเข้า – ส่งออก


รวมถึงกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ โดยมี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นที่ปรึกษาคณะทำงาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งคณะทำงานฯ มีหน้าที่และอำนาจ สั่งพักใช้ เพิกถอน ใบรับรอง หรือระงับ ยกเลิกหนังสือแสดงการขึ้นทะเบียน เมื่อตรวจพบการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ กฎ ของกรมวิชาการเกษตร หรือระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ เตรียมตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจอีกหนึ่งชุด ซึ่งจะประกอบไปด้วย ที่ปรึกษา รมช.เกษตรฯ เข้าไปเป็นประธานกรรมการ ร่วมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาเป็นคณะกรรมการฯ ในชุดนี้ด้วย โดยจะแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้






 





 

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรได้ออกระเบียบ ประกาศ ให้การรับรองการผลิตผักและผลไม้ เพื่อให้ผักและผลไม้มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นไปตามข้อกำหนดการตรวจสอบคุณภาพสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช ตามเงื่อนไขการนำเข้า - ส่งออก ซึ่งการให้การรับรองดังกล่าว เป็นกรณีทั้งผู้ผลิตมีความประสงค์ยื่นคำขอรับการรับรองและการกำหนดให้ผู้ผลิตต้องยื่นคำขอการรับรอง


หากผู้ได้รับการรับรองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด จะถูกลงโทษเป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบและประกาศ ตั้งแต่ การตักเตือน การพักใช้ การเพิกถอน หรือการสั่งระงับ หรือยกเลิก แล้วแต่กรณี โดยล่าสุด กรมวิชาการเกษตร ได้ประสานกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เตรียมประกาศให้เรื่อง “หลักปฏิบัติในการตรวจ และรับผลทุเรียนของโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ (ล้ง)” เป็นมาตรฐานบังคับตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร 2551






 






 
ปัจจุบันได้ผ่านความเห็นชอบของกก.มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแล้ว จะประกาศใช้เดือน มีนาคม 2566 มีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน 2566 เป็นต้นไป จะเป็นการกำหนดให้ล้งต้องรับซื้อทุเรียนที่ได้มาตรฐานเท่านั้น จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสวนทุเรียนในจังหวัดต่าง ๆ เกษตรกร ล้ง ผู้ประกอบการ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการสวมสิทธิ์และทุเรียนอ่อนลดลงอย่างมาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ทำงานอย่างเข้มข้นและลงพื้นที่ตรวจจับอย่างจริงจัง หากพบจะทำลายทันทีมั่นใจว่าผลผลิตปีหน้าดีขึ้น หากเรายังเน้นคุณภาพทุเรียน


จากการลงพื้นที่พบปะกับชาวสวนทุเรียน พบว่า หลายรายมีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจในการปลูกทุเรียนคุณภาพ และตระหนักถึงความสำคัญในการรักษา GAP ไม่ให้มีใครมาสวมสิทธิ์ทุเรียนของตน สำหรับอนาคตทุเรียนไทยภายหลังเวียดนามเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดในจีน ได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญว่าทุเรียนของไทยต้องเป็นทุเรียนคุณภาพเท่านั้น 





 




 

นอกจากการส่งออกทุเรียนจะเป็นสิ่งสำคัญแล้ว ยังมีผลไม้อื่น ๆ อีกมาก ที่กระทรวงเกษตรฯ ต้องสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งเหมือนทุเรียน ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ พยายามผลักดันทุเรียนคุณภาพ เพื่อเป้าหมายการเป็นอันดับ 1 ของโลก และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั่วโลกในคุณภาพของผลไม้ชนิดอื่น ๆ ของไทย อีกด้วย


นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำในการเพิ่มขีดความสามารถ พร้อมยกระดับมาตรฐานโรงรวบรวมและคัดบรรจุทุเรียนสดเพื่อส่งออกเป็นทุเรียนคุณภาพได้มาตรฐาน ไม่เป็นทุเรียนอ่อนมาจากสวนของเกษตรกรในประเทศไทย และต้องตรวจติดตามแหล่งที่มาได้ รวมทั้งการตรวจและรับรองสุขอนามัยพืชของทุเรียนสด จะต้องเป็นตามข้อตกลงพิธีสารการส่งออกผลไม้ไทย – จีน


เพื่อให้นโยบายการส่งออกทุเรียนคุณภาพไปจีนมีประสิทธิภาพ จึงมอบหมายให้ทูตเกษตรไทยในจีนทั้ง 3 หน่วยงาน (ฝ่ายเกษตร ประจำกรุงปักกิ่ง ฝ่ายเกษตร ณ นครเซี่ยงไฮ้ และฝ่ายเกษตร ณ นครกวางโจว) ติดตามสถานการณ์นำเข้า ณ ประเทศจีน และการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและอำนวยความสะดวกให้กับการส่งออกทุเรียนไทยด้วย




 



Create Date : 19 ธันวาคม 2565
Last Update : 19 ธันวาคม 2565 18:34:18 น.
Counter : 275 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments