All Blog
ทุเรียนป่าละอู GI คุณภาพ-มาตรฐาน-ปลอดภัย

"มกอช."ลงพื้นที่ปลูกทุเรียนแปลงใหญ่ป่าละอู GI วางมาตรการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ด้วยระบบตามสอบสินค้าเกษตร QR Trace on Cloud


นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) นำคณะผู้บริหาร พร้อมสื่อมวลชน ลงพื้นที่ สวนทุเรียนป่าละอู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดูพื้นที่การปลูกทุเรียน ในพื้นที่ป่าละอู ซึ่งมีปริมาณผลผลิตไม่มาก ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนไทย

 




 

 




 

นายพิศาล กล่าวว่า ปัจจุบัน ประชาชนมีความสนใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยหันมาเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และผ่านการรับรองมาตรฐานมากยิ่งขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ สินค้าที่มีเครื่องหมาย “Q” ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกรับรองให้กับสินค้าที่ผลิต ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรนำไปใช้แสดงกับ สินค้าเกษตรที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มีความปลอดภัย และมีคุณภาพเทียบเท่า มาตรฐานสากล หากผู้บริโภคพบเห็นเครื่องหมาย Q ที่ใด สามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าเกษตรนั้นมีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค


นอกจากเครื่องหมายรับรองมาตรฐานที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อควบคุมความปลอดภัยของการผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารอย่างเข้มงวด โดยนำมาตรฐานสินค้าเกษตรมาควบคุม กำกับ และดูแล ตั้งแต่ฟาร์ม สถานประกอบการ แหล่งรวบรวมจำหน่าย จนถึงกระบวนการการขนส่ง

 




 




 

 

ทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้พัฒนาระบบการตามสอบสินค้าเกษตร บนระบบคลาวด์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (QR Trace on Cloud) เพื่อให้เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการ นำระบบไปใช้งานในการจัดเก็บข้อมูลที่มาที่ไป 

 

ข้อมูลการผลิตเพื่อใช้ในการตามสอบสินค้าเกษตรสามารถบริหารจัดการการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไปสร้าง QR Code สำหรับเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูล ตามสอบสู่ผู้บริโภค ที่ผ่านมา มกอช. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการใช้ระบบตามสอบย้อนกลับ มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน มีผู้สนใจลงทะเบียนกว่า 2,400 ราย

 




 

 




 

ในปี 2565 มกอช. ได้เข้าไปส่งเสริมการใช้ระบบ QR Traces on Cloud ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีการผลิตสินค้าทุเรียนที่ได้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติ ทาง การเกษตรที่ดี (GAP) และได้รับเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

 

มกอช.จึงได้จัดทำโครงการเพื่อยกระดับ และ พัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ ภายใต้การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างความเชื่อมั่นด้าน คุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และการตรวจสอบย้อนกลับ ที่มีเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์




 

 

 




 

เป็นการนำร่องการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ QR Trace on Cloud ที่เชื่อมโยงข้อมูลสินค้าเกษตร ทุเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และ GI ที่จะเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูล ตรวจสอบสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

 

รวมทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและเปิดโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถเชื่อมโยงการจำหน่ายสินค้าในตลาดออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ของภาคเอกชนที่มี การจำหน่ายสินค้าอยู่แล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์เอกสารใบรับรองมาตรฐาน สามารถตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสและลดปัญหาในเรื่องการส่งออกได้




 

 

 

 


 

น.ส.กรรณิกา ทวีกาญจน์ เจ้าของไร่กรรณิกา ทวีกาญจน์ กล่าวว่า พื้นที่ทั้งหมดของไร่ มีการปลูกทุเรียน 90% และ10% ผลไม้อื่น มีปลูกเงาะ มังคุด ที่ตั้งแปลง อยู่บริเวณเลขที่ 337 หมู่ 7 ห้วยสัตว์ใหญ่ ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ปลูก กว่า 80 ไร่ โดยผลผลิตบางส่วนนอกจากขายเป็นผลไม่สด ยังมีการสินค้าค้าแปรรูป โดยจะมีตั้งแต่การแปรรูปเป็นทุเรียนกวน ทุเรียนทอด ไอติมทุเรียน เค้ก ทุเรียน พิซซ่าทุเรียน ขนมเปี๊ยะทุเรียน

 

โดยได้มาตรฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (GAP) GAP กษ GAP A1-003630485 และ ได้รับการอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI)สช57100062 ( 09/10/2562 ) การันตีว่าที่นี่เป็นทุเรียนป่าละอูของแท้ สวนเราขายหน้าสวน และขายออนไลน์ กิโลกรัมละ 250บาท มีผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลายจากทุเรียน อยากให้ลองมาชิม  




 

 















 

 


 

นายประโยชน์ พรหมสุวรรณ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู กล่าวว่าสวนทุเรียนแห่งนี้เป็นสวนทุเรียนที่ได้รับการสนับสนุนในโครงการแปลงใหญ่โดยมีที่ตั้งแปลง ที่เลขที่ 139 ม.8 ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ปลูก ทั้งหมดกว่า14 ไร่มีผลผลิต ประมาณ 2 ตัน/ปี เป็นแปลงที่ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองมาตรฐาน (GAP) GAP กษ 03-9001-36470635111 และ ได้รับการอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI)สช 57100062 ลำดับที่ 620623PKN004


นายประโยชน์ กล่าวว่า ตนเคยเป็นหัวหน้าเทศกิจ กทม.ขณะนี้เป็นข้าราชการบำนาญ ที่ผ่านมาได้ซื้อสวนทุเรียนป่าละอู ไว้ตั้งแต่ปี 2528 และเข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเมื่อปี 2558 ลองผิดลองถูกมาหลายปีกว่าจะได้ผลผลิตทุเรียน ที่ดีขึ้นเกือบเท่าตัวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทดแทนการสารเคมี และยังได้รับการรับรองแปลงจีเอพี จากกรมวิชาการเกษตร

 




 




 

 

อีกทั้งทาง มกอช.ได้นำระบบ QR Code มารองรับทำให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้รับความมั่นใจจากผู้บริโภคว่าเป็นทุเรียนป่าละอูของแท้ทั้งมีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย จึงทำให้ขายได้ราคาสูงกว่าทุเรียนในพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตามในปีนี้ประสบปัญหาวิกฤติหลายอย่างโดยเฉพาะต้นทุนการผลิต ราคาปุ๋ยสูงขึ้นมากจากตันละหมื่นกว่าบาท ขึ้นมาเกือบ 3 หมื่นบาท
 

รวมทั้งราคายากำจัดศัตรูพืชสูงขึ้นด้วย ที่เป็นปัจจัยหลักในการดูแลต้นทุเรียนนอกจากนี้สภาพอากาศปีนี้ฤดูร้อนๆขึ้นกว่าทุกปี ทำให้ทุเรียน สุกเร็ว เป็นเหตุให้ชาวสวนต้องเร่งตัดขาย เปอร์เซ็นต์การสุกต่ำ เมื่อนำไปขายให้กับล้งก็โดนกดราคาลงมาก อีกทั้งยังโดนทุเรียนจากภาคใต้ มาสวมขายหลอกราคาต่ำทำให้ผู้บริโภค เข้าใจผิดว่าเป็นทุเรียนป่าละอู



 





 




Create Date : 10 กรกฎาคม 2565
Last Update : 17 กรกฎาคม 2565 16:02:35 น.
Counter : 435 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments