All Blog
ธ.ก.ส.จับมือมก.เสวนาจัดการฟาร์มสุกรแนวใหม่สู้ภัย ASF

นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “การจัดการฟาร์มสุกรแนวใหม่สู้ภัย ASF” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ให้การต้อนรับและเข้าร่วมกิจกรรม งานสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสุกรขุนและแม่พันธุ์ ฟาร์มมาตรฐาน 





 




 

ตลอดจนปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกร เพิ่มคุณภาพและลดความเสี่ยงในการเลี้ยงสุกรภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค African Swine Fever (ASF) ให้แก่ Smart Farmer ผู้ประกอบการ SME เกษตรกรลูกค้าผู้เลี้ยงสุกรขุนและแม่พันธุ์ รวมถึงพนักงาน ธ.ก.ส. กว่า 350 ราย นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook page: KURDI NEWS และ Facebook page: BAAC SME & Startup สำหรับผู้ที่สนใจ ซึ่งทาง ธ.ก.ส. และมก. มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามโมเดล BCG Economy ด้วยการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายให้กับภาคเกษตรไทย สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ณ ห้องสัมมนาเธียร์เตอร์ ชั้น 11 คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565





 







 




Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2565 19:32:59 น.
Counter : 361 Pageviews.

0 comment
เปิดตัวพันธุ์งา“อุบลราชธานี 3” ให้ผลผลิตสูง
"กรมวิชาการเกษตร"เปิดตัวพันธุ์งา“อุบลราชธานี 3” ให้ผลผลิตสูงกว่า 200 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มปริมาณน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูงกว่า 46 เปอร์เซ็นต์  ต้านทานแมลงศัตรูมวนฝิ่นสีเขียว  หนุนปลูกสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรปลูกได้ตลอดปี  
 
นางสาวอิงอร  ปัญญากิจ  รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า  ล่าสุดคณะนักวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี  กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์งาแดงที่ให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นกว่าพันธุ์เดิม ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตงาของประเทศเพิ่มมากขึ้นเพียงพอต่อความต้องการของตลาดและทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน






 





 
โดยได้รวบรวมสายพันธุ์งาที่ได้จากธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของสหรัฐอเมริกาและที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จีน อิรัก ญี่ปุ่น อัฟกานิสถาน เมียนมาร์ รวมทั้งสายพันธุ์พื้นเมืองในประเทศจำนวน 77 สายพันธุ์ มาปลูกขยายพันธุ์และศึกษาลักษณะทางการเกษตรในแปลงรวบรวมและศึกษาพันธุ์งา และทำการคัดเลือกพันธุ์แบบสายพันธุ์บริสุทธิ์  คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะทางการเกษตรและให้ผลผลิตดี จำนวน 23 สายพันธุ์

จากนั้นนำเข้าประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์งาแดงเพื่อให้ผลผลิตสูง ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การรวบรวมและศึกษาพันธุ์  การคัดเลือกพันธุ์ และการประเมินพันธุ์โดยการเปรียบเทียบเบื้องต้น  เปรียบเทียบมาตรฐาน  เปรียบเทียบในท้องถิ่น  และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรที่จังหวัดอุบลราชธานี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์   ศึกษาข้อมูลจำเพาะของพันธุ์





 











 
โดยประเมินความต้านทานโรคและความต้านทานต่อแมลงศัตรูที่สำคัญของงา  จนได้งาแดงสายพันธุ์ RSMUB54-12 ที่มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีและมีลักษณะเด่นตามที่ต้องการคือให้ผลผลิตและปริมาณน้ำมันสูง  จึงเสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร  พิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรในปี  2564 ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 3”

ทั้งนี้งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 3 มีลักษณะเด่น ให้ผลผลิตเฉลี่ยในแหล่งปลูกสำคัญที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ จำนวน 216 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งสูงกว่างาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 ที่ให้ผลผลิต 192 กิโลกรัม/ไร่ และงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 ให้ผลผลิต 206 กิโลกรัม/ไร่ และยังให้ปริมาณน้ำมันเฉลี่ยสูง 46.4%  รวมทั้งยังมีความต้านทานต่อการทำลายของศัตรูพืชมวนฝิ่นสีเขียว  เหมาะสำหรับปลูกในแหล่งปลูกที่สำคัญ และสภาพการผลิตพืชไร่ทั่วไป  โดยเกษตรกรสามารถปลูกสร้างรายได้เสริมได้ตลอดทั้งปี





 
 





 
งาเป็นพืชไร่ที่เกษตรกรปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ ทั้งงาแดง งาขาว งาดำ โดยเกษตรกรจะนิยมปลูกงาแดงมากที่สุดเนื่องจากปลูกง่าย  และมีความทนทานต่อความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ   คณะนักวิจัยศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี  ซึ่งมีนายธำรง เชื้อกิตติศักดิ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ เป็นหัวหน้าทีมวิจัยและปรับปรุงพันธุ์งาแดงจนประสบผลสำเร็จ ได้งาแดงพันธุ์ใหม่ "อุบลราชธานี 3" ที่มีลักษณะโดดเด่นให้ผลผลิต และปริมาณน้ำมันสูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 และอุบลราชธานี 2 เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามงาถือเป็นพืชไร่น้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมไปด้วยน้ำมันที่มีคุณภาพดีและมีแร่ธาตุ วิตามินต่างๆ ที่มีประโยชน์เกือบทุกชนิด รวมทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอวัย จึงมีการนำงาไปใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเกษตรกรจะปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ก่อนหรือหลังพืชหลักทำให้พื้นที่ปลูกงาของเกษตรกรอยู่ในวงจำกัด

จากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนส่งผลให้ผลผลิตงาบางปีเกิดความเสียหาย ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้ผลผลิตงาไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั้งที่งาเป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 90 วัน และต้องการการดูแลรักษาน้อย โดยเฉพาะบางปีงาเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรสูงกว่าพืชหลัก




 





 



Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2565 18:54:05 น.
Counter : 581 Pageviews.

0 comment
"สหรัฐ"ไฟเขียวเปิดตลาดนำเข้าส้มโอไทยแบบไม่จำกัดพันธุ์
"สหรัฐ"ไฟเขียวเปิดตลาดนำเข้าส้มโอไทยแบบไม่จำกัดพันธุ์  หลังคอยนาน 15 ปี  ใช้เงื่อนผ่านการฉายรังสี 400 เกรย์  พร้อมแจ้งแหล่งผลิตและโรงคัดบรรจุได้รับการรับรอง  เตรียมลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการตรวจสอบผลไม้ฉายรังสีก่อนส่งออก  

นายพิเชษฐ์  วิริยะพาหะ  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า  กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากหน่วยงานบริการตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (APHIS) ประจำประเทศไทย ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นำเข้าส้มโอผลสดจากประเทศไทยภายใต้เงื่อนไขการนำเข้าที่กำหนดแล้ว  และผู้ประสงค์จะส่งออกส้มโอผลสดไปสหรัฐอเมริกาต้องลงทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อเข้าร่วม “โครงการตรวจสอบผลไม้ฉายรังสีก่อนการส่งออก” นับเป็นข่าวดีที่รอคอยมานานถึง 15 ปี  






 






 
หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอขอเปิดตลาดส้มโอเมื่อปี 2549 พร้อมกับผลไม้อีกหลายชนิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันได้รับอนุญาตจากสหรัฐอเมริกาให้นำเข้าได้เพียง 7 ชนิด คือ มะม่วง มังคุด เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ สับปะรด และแก้วมังกร  

เนื่องจากการที่จะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ชนิดใดก็ตามจะต้องผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชจากประเทศผู้นำเข้าเพื่อป้องกันมิให้มีแมลงศัตรูพืชกักกันที่ไม่มีในประเทศผู้นำเข้าติดปนเปื้อนไปกับผลผลิต  ซึ่งประเทศไทยได้ใช้เงื่อนไขการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชก่อนที่จะอนุญาตให้มีการนำเข้าผลไม้จากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน






 






 
ทั้งนี้ประเทศไทยมีส้มโอมากกว่า 30 พันธุ์ที่มีลักษณะเด่น ได้แก่ พันธุ์ทับทิมสยาม เปลือกผลบาง เนื้อนิ่มมีสีชมพูเข้มหรือสีแดงเข้มคล้ายทับทิม มีเมล็ดน้อย รสชาติหวานไม่มีรสขมเจือปน ผิวผลส้มโอมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ มีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  พันธุ์ขาวแตงกวา ผนังกลีบสีขาว เปลือกบาง เนื้อกุ้งใหญ่สีขาวแห้ง รสชาติหวานฉ่ำ ให้ผลดก เป็นที่ต้องการของตลาด มีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดชัยนาท และพันธุ์ทองดี  ผิวเรียบ ผนังกลีบสีชมพู เนื้อกุ้งสีชมพู รสชาติหวาน ฉ่ำน้ำ ขายได้ราคาดี มีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี เป็นต้น

ส้มโอไทยแต่ละพันธุ์มีรสชาติและสีสันที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากส้มโอจากประเทศอื่น ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งยังเป็นผลไม้ที่สามารถเก็บรักษาได้ระยะเวลายาวนานจึงเหมาะสมต่อการขนส่งทั้งทางเครื่องบินและทางเรือ  ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยสามารถส่งออกส้มโอผลสดไปจำหน่ายในต่างประเทศได้จำนวน 29 ประเทศ โดยมีตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ จีน และมาเลเซีย  ในปี2564 ประเทศไทยส่งออกส้มโอจำนวน 29,782 ตัน  คิดเป็นมูลค่ากว่า 903 ล้านบาท






 
 





 
นางสาวชลธิชา  รักใคร่  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า  ได้รับหนังสือจากหน่วยงาน APHIS แจ้งให้ทราบถึงการอนุญาตการนำเข้าส้มโอผลสดจากประเทศไทยโดยให้เพิ่มส้มโอเข้าอยู่ภายใต้โครงการฉายรังสีที่มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับส้มโอเพื่อประกอบการประเมินจากคณะที่ปรึกษาโครงการฉายรังสี (Preclearance Advisory Group) เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตให้นำเข้าต่อไป ซึ่งการดำเนินการมาถึงขั้นตอนนี้แล้วคาดว่าในฤดูกาลผลิตส้มโอเดือนสิงหาคม 2565 นี้จะสามารถส่งออกส้มโอล๊อตแรกจากประเทศไทยไปจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาได้แล้ว

ส่วนเงื่อนไขการส่งออกส้มโอผลสดไปสหรัฐอเมริกานั้นผลผลิตต้องมาจากแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรอง GAP โรงคัดบรรจุได้รับการรรับรองตามมาตรฐาน GMP  ก่อนการส่งออกต้อง ล้าง ขัด ฆ่าเชื้อ และจุ่มสารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อราตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร  รวมทั้งผู้ส่งออกต้องลงทะเบียนเข้าร่วม “โครงการตรวจสอบผลไม้ฉายรังสีก่อนการส่งออก”กับกรมวิชาการเกษตรโดยผลผลิตส้มโอที่จะส่งออกต้องผ่านการฉายรังสีที่ 400 เกรย์เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ซึ่งสามารถทำได้ทั้งก่อนส่งออกหรือที่จุดนำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยหากฉายรังสีที่จุดนำเข้าไม่ต้องใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืช  แต่ต้องผ่านการตรวจสอบทุกล๊อตที่นำเข้า ซึ่งการอนุญาตให้นำเข้าส้มโอจากไทยต้องเป็นการส่งออกเพื่อการค้าเท่านั้น  ผู้ที่ต้องการส่งออกส้มโอผลสดไปสหรัฐอเมริกาสามารถสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช  สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2940-6670 ต่อ 142 หรือ 0-2579-3496






 






 



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2565 18:27:21 น.
Counter : 562 Pageviews.

0 comment
เตือนภัยชาวสวนระวัง ด้วงบุกเข้าทำลายต้นอินทผลัม  
"กรมวิชาการเกษตร"เตือนภัยชาวสวนระวัง ด้วงบุกเข้าทำลายต้นอินทผลัม  ทำลายกัดกินยอดอ่อนแนะเกษตรกรตัดวงจรแพร่ระบาดหมั่นทำความสะอาดสวน  พร้อมติดกับดักฟีโรโมนล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย และลดการวางไข่ได้

นายศรุต  สุทธิอารมณ์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  กรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า  กรมวิชาการขอแจ้งเตือนให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดของด้วงแรดมะพร้าวและด้วงงวงมะพร้าวหรือด้วงสาคู  โดยเริ่มพบการระบาดในสวนอินทผลัมซึ่งเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกมากขึ้น  

โดยด้วงแรดมะพร้าวจะเป็นศัตรูด่านหน้าเข้าไปเจาะกินก่อนหลังจากนั้นด้วงงวงมะพร้าวตามเข้ามาทำลายโดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้น  บริเวณที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้  หรือบริเวณรอยแตกของเปลือก





 





 
รวมทั้งยังสามารถเจาะส่วนที่อ่อนรวมถึงส่วนลำต้นบริเวณซอกโคนกาบใบเพื่อวางไข่ได้  โดยหนอนที่ฟักออกจากไข่จะกัดกินชอนไชไปในลำต้นทำให้เกิดแผลเน่าภายใน บางครั้งอาจมีของเหลวข้นสีน้ำตาลมีกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากบริเวณรอยแผลที่โดนเจาะ ต้นอินทผลัมที่ถูกทำลายจะแสดงอาการใบเหี่ยวเฉาเพราะท่อน้ำ ท่ออาหารภายในลำต้นถูกทำลายไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ บริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรงรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งตัวหนอนจะกัดกินไปจนกระทั่งต้นเป็นโพรงใหญ่และทำให้ต้นอินทผลัมตายในที่สุด  
 
ทั้งนี้การป้องกันกำจัดด้วงงวงมะพร้าวที่พบการเข้าทำลายในต้นอินทผลัมให้ตัดโค่นทอนเป็นท่อนแล้วผ่า พร้อมกับจับหนอนไปทำลาย และไม่ควรให้ต้นอินทผลัมเกิดแผลเพราะจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่และตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายในต้นอินทผลัมได้ และหากลำต้นเป็นรอยแผลควรทาด้วยน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้วหรือชันยาเรือผสมกับน้ำมันยางเพื่อป้องกันการวางไข่  





 





 
พร้อมกับใช้กับดักฟีโรโมนชนิดดึงดูดด้วงงวงมะพร้าวเพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ซึ่งกับดักฟีโรโมนสามารถลดจำนวนประชากรด้วงงวงมะพร้าวได้โดยตรงและลดการวางไข่ได้ผลอีกด้วย โดยตัวกับดักทำจาก  ถังพลาสติกใส่น้ำไว้ และใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดสีดําประกอบกันเป็นฉากที่ด้านบนเหนือตัวถัง  ซึ่งฟีโรโมนในกับดักจะมีกลิ่นดึงดูดด้วงงวงมะพร้าวให้บินเข้าหาชนฉากฟิวเจอร์บอร์ดและร่วงลงในถังจมน้ำตายในที่สุด  โดยแนะนำเกษตรกรให้ติดกับดักในอัตรา 1 กับดักต่อพื้นที่ 10-12 ไร่   

ส่วนสารกำจัดแมลงตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช คือ ไดอะซินอน 60% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดหรือพ่นบริเวณลำต้นอินทผลัมตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาโดยพยายามเน้นบริเวณซอกกาบใบให้เปียก ปริมาณการใช้จำนวน 1 – 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 - 20 วัน และควรใช้ 1 - 2 ครั้งในช่วงระบาด




 
 



 
อย่างไรก็ตาม ด้วงงวงมะพร้าวเป็นศัตรูพืชที่พบการเข้าทำลายในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น มะพร้าว อินทผลัม และพืชตะกูลปาล์มอื่นๆ โดยมักพบเข้าทำลายตามรอยแผลที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้เป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่และฟักออกเป็นตัวหนอนเข้าไปทำลายในต้นอินทผลัมได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นจึงต้องป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวไม่ให้ระบาดในสวน โดยแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมะพร้าวส่วนใหญ่มาจากการทิ้งเศษพืช ซากเน่าเปื่อยของตอมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว

เกษตรกรจึงควรทำความสะอาดสวนไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของด้วงแรดมะพร้าว ซึ่งทั้งด้วงแรดมะพร้าวและด้วงงวงมะพร้าวเป็นศัตรูพืชที่พบการกระจายได้ทั่วประเทศและระบาดได้ตลอดทั้งปีโดยการเข้าทำลายในระยะแรกๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-4535





 




 

 



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2565 19:36:06 น.
Counter : 516 Pageviews.

0 comment
เตือนภัยชาวสวนระวัง ด้วงบุกเข้าทำลายต้นอินทผลัม  
"กรมวิชาการเกษตร"เตือนภัยชาวสวนระวัง ด้วงบุกเข้าทำลายต้นอินทผลัม  ทำลายกัดกินยอดอ่อนแนะเกษตรกรตัดวงจรแพร่ระบาดหมั่นทำความสะอาดสวน  พร้อมติดกับดักฟีโรโมนล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย และลดการวางไข่ได้

นายศรุต  สุทธิอารมณ์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  กรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า  กรมวิชาการขอแจ้งเตือนให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดของด้วงแรดมะพร้าวและด้วงงวงมะพร้าวหรือด้วงสาคู  โดยเริ่มพบการระบาดในสวนอินทผลัมซึ่งเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกมากขึ้น  

โดยด้วงแรดมะพร้าวจะเป็นศัตรูด่านหน้าเข้าไปเจาะกินก่อนหลังจากนั้นด้วงงวงมะพร้าวตามเข้ามาทำลายโดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้น  บริเวณที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้  หรือบริเวณรอยแตกของเปลือก





 





 
รวมทั้งยังสามารถเจาะส่วนที่อ่อนรวมถึงส่วนลำต้นบริเวณซอกโคนกาบใบเพื่อวางไข่ได้  โดยหนอนที่ฟักออกจากไข่จะกัดกินชอนไชไปในลำต้นทำให้เกิดแผลเน่าภายใน บางครั้งอาจมีของเหลวข้นสีน้ำตาลมีกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากบริเวณรอยแผลที่โดนเจาะ ต้นอินทผลัมที่ถูกทำลายจะแสดงอาการใบเหี่ยวเฉาเพราะท่อน้ำ ท่ออาหารภายในลำต้นถูกทำลายไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ บริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรงรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งตัวหนอนจะกัดกินไปจนกระทั่งต้นเป็นโพรงใหญ่และทำให้ต้นอินทผลัมตายในที่สุด  
 
ทั้งนี้การป้องกันกำจัดด้วงงวงมะพร้าวที่พบการเข้าทำลายในต้นอินทผลัมให้ตัดโค่นทอนเป็นท่อนแล้วผ่า พร้อมกับจับหนอนไปทำลาย และไม่ควรให้ต้นอินทผลัมเกิดแผลเพราะจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่และตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายในต้นอินทผลัมได้ และหากลำต้นเป็นรอยแผลควรทาด้วยน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้วหรือชันยาเรือผสมกับน้ำมันยางเพื่อป้องกันการวางไข่  





 





 
พร้อมกับใช้กับดักฟีโรโมนชนิดดึงดูดด้วงงวงมะพร้าวเพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ซึ่งกับดักฟีโรโมนสามารถลดจำนวนประชากรด้วงงวงมะพร้าวได้โดยตรงและลดการวางไข่ได้ผลอีกด้วย โดยตัวกับดักทำจาก  ถังพลาสติกใส่น้ำไว้ และใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดสีดําประกอบกันเป็นฉากที่ด้านบนเหนือตัวถัง  ซึ่งฟีโรโมนในกับดักจะมีกลิ่นดึงดูดด้วงงวงมะพร้าวให้บินเข้าหาชนฉากฟิวเจอร์บอร์ดและร่วงลงในถังจมน้ำตายในที่สุด  โดยแนะนำเกษตรกรให้ติดกับดักในอัตรา 1 กับดักต่อพื้นที่ 10-12 ไร่   

ส่วนสารกำจัดแมลงตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช คือ ไดอะซินอน 60% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดหรือพ่นบริเวณลำต้นอินทผลัมตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาโดยพยายามเน้นบริเวณซอกกาบใบให้เปียก ปริมาณการใช้จำนวน 1 – 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 - 20 วัน และควรใช้ 1 - 2 ครั้งในช่วงระบาด





 
 




 
อย่างไรก็ตาม ด้วงงวงมะพร้าวเป็นศัตรูพืชที่พบการเข้าทำลายในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น มะพร้าว อินทผลัม และพืชตะกูลปาล์มอื่นๆ โดยมักพบเข้าทำลายตามรอยแผลที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้เป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่และฟักออกเป็นตัวหนอนเข้าไปทำลายในต้นอินทผลัมได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นจึงต้องป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวไม่ให้ระบาดในสวน โดยแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมะพร้าวส่วนใหญ่มาจากการทิ้งเศษพืช ซากเน่าเปื่อยของตอมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว

เกษตรกรจึงควรทำความสะอาดสวนไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของด้วงแรดมะพร้าว ซึ่งทั้งด้วงแรดมะพร้าวและด้วงงวงมะพร้าวเป็นศัตรูพืชที่พบการกระจายได้ทั่วประเทศและระบาดได้ตลอดทั้งปีโดยการเข้าทำลายในระยะแรกๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-4535




 




 

 



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2565 19:34:51 น.
Counter : 485 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments