All Blog
เปิดตัวเกษตรกรดีเด่นรับพระราชทานโล่งานพระราชพิธีพืชมงคล
"เกษตรฯ"เปิดตัวเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เตรียมเข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2565

นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น สาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตร 





 





 
โดยในปี 2565 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2565 ในวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2565 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ประกอบด้วย เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 ราย สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 11 กลุ่ม สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 4 สหกรณ์ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา

ทั้งนี้ดังต่อไปนี้ เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 16 ราย ได้แก่ 1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายพัด ไชยวงค์ จ.เชียงใหม่ 2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ จ.ชุมพร 3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายรุ่งเรือง ไล้รักษา จ.ประจวบคีรีขันธ์ 4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นางจิระวรรณ ยืนนาน จ.ชุมพร 5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางนิกร แก้ววิสัย จ.อุดรธานี 6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง จ.ยะลา 7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายประวัติ พิริยศาสน์ จ.ปราจีนบุรี

8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายอรรถพงษ์ บุญเลิศฟ้า จ.นครปฐม 9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายวัลลภ วุ่นสุด จ.นครปฐม 10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายสมพร โล่ห์จินดา จ.เชียงราย 11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นายอดุลย์ วิเชียรชัย จ.ปทุมธานี 12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายบรรจง แสนยะมูล จ.มหาสารคาม




 






 
13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายสานนท์ พรัดเมือง จ.สุราษฎร์ธานี 14) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นางสุจารี ธนสิริธนากร จ.กาฬสินธุ์ 15) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวประทุมรัตน์ จงคูณกลาง จ.นครราชสีมา และ 16) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวศิริมน พันธุ์พิริยะ จ.ตราด

ส่วนสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 จำนวน 11 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางค้อม จ.นครศรีธรรมราช 2) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะแกะ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 3) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำประมงพัฒนาเกษตรพอเพียง 49 จ.สมุทรสาคร 4) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนปลาส้มบ้านคำกลาง จ.อุบลราชธานี 5) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งโฮ้งหมู่ 5 จ.แพร่

6) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านบุเขว้า จ.นครราชสีมา 7) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตะเคียนงาม จ.กำแพงเพชร 8) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำระบบท่อส่งน้ำบ้านชำตาเรือง จ.จันทบุรี 9) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลบัวงาม จ.อุบลราชธานี 10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่นๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และ 11) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ จ.ลำพูน





 






 
ขณะที่สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 จำนวน 4 สหกรณ์ ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรกุดข้าวปุ้น จำกัด จ.อุบลราชธานี 2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมลำพูน จำกัด จ.ลำพูน 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลชัยภูมิ จำกัด จ.ชัยภูมิ และ 4) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี จำกัด จ.สกลนคร

สำหรับปราชญ์เกษตรของแผ่นดินในปีนี้ คณะกรรมการส่งเสริมปราชญ์เกษตรของแผ่นดินได้พิจารณายกย่องและเชิดชูเกียรติแก่ผู้ทรงภูมิปัญญาด้านการเกษตรในสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณความดี มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ สมควรเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ให้ได้รับการดูแล ด้านสวัสดิการ และสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถสู่สังคม มีผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2565 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย ได้แก่ นายอเนก สีเขียวสด จ.อ่างทอง 2) สาขาปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ จ.กระบี่ และ 3) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายสุพจน์ สิงห์โตศรี จ.ราชบุรี

อนึ่ง ในวันพระราชพิธีพืชมงคลนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีด้วย โดยในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานในการประกอบพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองแก่อาชีพของตน เนื่องด้วยการเกษตรเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้จัดงาน“วันเกษตรกร”ควบคู่กับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา




 




 



Create Date : 01 พฤษภาคม 2565
Last Update : 1 พฤษภาคม 2565 17:19:37 น.
Counter : 341 Pageviews.

0 comment
เตือน ! เฝ้าระวังสัตว์ปีกหลังพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H3N8 ในคนครั้งแรกที่จีน
ปศุสัตว์เตือนเกษตกร เฝ้าระวัง สัตว์ปีก หลังล่าสุดพบ พบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H3N8 ในคนเป็นครั้งแรกในประเทศจีน แล้ว

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติประกาศพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H3N8 ในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เป็นเด็กชาย อายุ 4 ขวบ มีอาการมีไข้และมีอาการอื่นๆ โดยบ้านผู้ป่วยได้เลี้ยงไก่และกา อีกทั้ง มีเป็ดป่าอยู่รอบๆ บ้าน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนได้ดำเนินการสังเกตอาการและสุ่มตัวอย่างจากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และไม่พบความผิดปกติใดๆ

โดยก่อนหน้านี้เคยมีการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H3N8 ในม้า สุนัข นก และแมวน้ำ จากทั่วโลก แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วย H3N8 ในมนุษย์มาก่อน ทั้งนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้นระบุว่าเชื้อดังกล่าว มีความสามารถในการแพร่เชื้อสู่มนุษย์และความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในวงกว้างอยู่ในระดับต่ำองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE)






 






 
รายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ในต่างประเทศทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน พบว่ามีการระบาดมากถึง 2,064 จุด รวมถึงพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ซึ่งพบสายพันธุ์ H5N1 และ H5N8 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศไทยจะไม่พบรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกมาแล้วเป็นระยะเวลา 14 ปี กรมปศุสัตว์ก็ยังคงเตรียมความพร้อม และป้องกันโรคไข้หวัดนกเข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสังเกตอาการสัตว์อย่างใกล้ชิด หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ อย่านำสัตว์ปีกไปจำหน่ายจ่ายแจก หรือนำไปประกอบอาหารโดยเด็ดขาด

ทั้งนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทันที เพื่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินมาตรการ ควบคุมโรคทันที หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้าน  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สคบ.) กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร. 063-225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application: DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวในที่สุด




 



 



Create Date : 01 พฤษภาคม 2565
Last Update : 1 พฤษภาคม 2565 17:10:00 น.
Counter : 329 Pageviews.

0 comment
"ปศุสัตว์"ลุยตรวจสอบห้องเย็นรอบ 3 กันกักตุนสินค้า
นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์  เปิดเผยว่า ล่าสุดกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเครือข่ายได้ปฏิบัติงานเร่งตรวจสอบห้องเย็นเพื่อแก้ปัญหาดารกักตุนสินค้าอย่างต่อเนื่องโดยได้สนธิกำลังไล่ตรวจสอบห้องเย็นรอบใหม่ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นรอบที่ 3 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27-30 เมษายน 2565 สรุปผลการตรวจสอบและการดำเนินการตามกฎหมาย พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 

รายงานผลการตรวจสอบห้องเย็นประจำวันที่ 30 เมษายน 2565 ที่ผ่านมาพบพื้นที่ที่เข้าตรวจสอบรอบใหม่รอบที่ 3 จำนวน 4 แห่ง ในจังหวัดปัตตานี ตรวจพบซากสุกรจำนวน 550 กิโลกรัม รวมจำนวนตรวจพบซากสุกรที่พบในห้องเย็นรอบใหม่ (รอบที่ 3) รวมสะสมตั้งแต่ 27-30 เมษายน 2565 รวมทั้งสิ้น 4,698,284.49 กิโลกรัม จากห้องเย็นรอบสามทั้งหมด 48 แห่ง (รอบแรกผลการตรวจสอบซากสุกรสะสมตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2565 พบซากสุกรจำนวน 25,378,161.810 กิโลกรัม รอบสองตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 26 เมษายน 2565 พบซากสุกรจำนวน 18,467,365.00 กิโลกรัม)





 




 

สำหรับรายงานข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 17/2565) สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ประกาศราคาสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์ม ณ วันพระที่ 30 เมษายน 2565 ผู้เลี้ยงสุกรทุกภูมิภาคยังคงร่วมสนองนโยบายรัฐบาลโดยรักษาระดับราคาสุกรหน้าฟาร์มอยู่ไม่เกิน 100 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงที่ทุกฝ่ายพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว หลังเริ่มนโยบายเปิดประเทศ 1 พฤษภาคม 2565 นี้ 

ทั้งนี้ในส่วนที่ภาคเหนือยังคงพึ่งพาชิ้นส่วนสุกร และสุกรขุนจากภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งจะมีราคาในพื้นที่สูงกว่าพื้นที่อื่นเล็กน้อย โดยผู้เลี้ยงสุกรยังคงรับแบกภาระต้นทุนการเข้มงวดด้านสุขภาพสัตว์ และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง และยังคงรอความชัดเจนกับแนวทางแก้ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มในเขตต่างๆ 

สำหรับราคาเนื้อสุกรภาคตะวันตก 98-100 บาทต่อกิโลกรัม ภาคตะวันออก 98-100 บาทต่อกิโลกรัม ภาคอีสาน 98-100 บาทต่อกิโลกรัม ภาคเหนือ 100 บาทต่อกิโลกรัม และภาคใต้ 98 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับราคาลูกสุกรขุนเล็กราคา 16 กิโลกรัม ณ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 : 3,400 บาท บวกลบ 96 บาท




 





 



Create Date : 01 พฤษภาคม 2565
Last Update : 1 พฤษภาคม 2565 16:48:26 น.
Counter : 290 Pageviews.

0 comment
เชิญชวนเกษตรกรร่วมส่ง “น้าผึ้งโพรง” เข้าประกวด
โค้งสุดท้าย! เชิญชวนเกษตรกรร่วมส่ง “น้าผึ้งโพรง” เข้าประกวด ปิดรับภายใน 30 เมษายน 2565 ชิงเงินรางวัล รวม 12,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
 

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดารง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร จัดกิจกรรมประกวดน้าผึ้งโพรงคุณภาพดี เนื่องในวันผึ้งโลก ประจาปี 2565 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพน้าผึ้งโพรงของเกษตรกรไทยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ตอบสนองความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ชิงเงินรางวัลรวม 12,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ทาง https://bit.ly/3v62ym7 พร้อมส่งน้าผึ้ง จานวน 2 ขวด (ขวดละ 750 มิลลิลิตร หรือ 1 กิโลกรัม) มาที่ กลุ่มส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ (น้าผึ้งส่งประกวด) เลขที่ 2143/1 กรมส่งเสริมการเกษตร อาคารเบญจสิริกิติ์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 เมษายน 2565





 






 
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 08 6353 8646 ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลการประกวดในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 และมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศการประกวด ใน “งานวันผึ้งโลก” วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 

กรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงช่วยผสมเกสร มีนโยบายในการสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ของผึ้งและแมลงผสมเกสรต่อภาคการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปเห็นถึงความสำคัญของแมลงเหล่านี้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี

รวมถึงส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงอย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ จึงสนับสนุนการจัดงานผึ้งโลกอย่างต่อเนื่อง โดยงานวันผึ้งโลก (World Bee Day) ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม ของทุกปี และ ปี 2565 นี้ เป็นการจัดงานวันผึ้งโลก ครั้งที่ 5 กำหนดจัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผึ้งร่มไทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 





 





 
กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง มาตั้งแต่ปี 2521 โดย ดร.ยุกติ สาริกะภูติ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของผึ้ง จึงมอบหมายให้กองป้องกันและกาจัดศัตรูพืช ดำเนินการวางกรอบ การพัฒนาการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง และต่อมาในปี 2522 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดตั้ง กลุ่มส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์ผึ้ง ซึ่งขึ้นตรงกับกองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ และขยายพันธุ์ผึ้งขึ้นทั่วประเทศ จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น จันทบุรี และชุมพร โดยปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานรับผิดชอบด้านการส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค




 





 
ประกอบไปด้วย กลุ่มส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลาง ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จานวน 2 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดชุมพร และ ศูนย์สหวิชาการ ที่มีบทบาทหลักในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ จานวน 3 แห่ง ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ขอนแก่น และจังหวัดจันทบุรี ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะมีบทบาทภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผึ้งและแมลงเศรษฐกิจให้

เป็นอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงและผลิตสินค้าผึ้งและแมลงเศรษฐกิจให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้บริโภค วิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าผึ้งและแมลงเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยี การผลิตที่ทันสมัย การผลิตที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต เชื่อมโยงและสร้างความสามารถในการแข่งขันทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ให้บริการทางการเกษตรแก่เกษตรกรที่เลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่แพร่หลายและส่งเสริมการบริโภค ตลอดจนประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 


          


 





 



Create Date : 25 เมษายน 2565
Last Update : 25 เมษายน 2565 17:45:05 น.
Counter : 347 Pageviews.

0 comment
เปิดฤดูกาลหมอนทอง ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก
"เฉลิมชัย"เปิดงาน “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลหมอนทอง ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก” วางเข้มมาตรการ Zero Covid ดันส่งออกทุเรียนไทยคุณภาพพร้อมเดินหน้าแก้ทุเรียนอ่อนภาคตะวันออก ปี 65 
      
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น ประธานพิธีเปิดงานประชาสัมพันธ์ “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลทุเรียนหมอนทองตะวันออก ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก” ณ สวนทุเรียนน้ำกร่อย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
พร้อมด้วย คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม โดยมี นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และเกษตรกร ให้การต้อนรับ 




 





 
นายเฉลิมขัย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตและการส่งออกผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยเราประสบปัญหาภาวการณ์แข่งขันที่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการควบคุมสินค้าให้มีคุณภาพ และปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัว ดังนั้น แนวทางที่จะพัฒนาภาคเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียน

จึงต้องพัฒนาทั้งระบบด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งเกษตรกร ล้ง ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เน้นการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดที่ยึดหลักตลาดนำการผลิต สร้างและขยายตลาดโดยเฉพาะตลาดภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญ คือการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม  
       
เนื่องจากในช่วงเวลานี้เป็นฤดูกาลผลผลไม้ของภาคตะวันออกซึ่งจะมีผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งขณะนี้มีความเป็นห่วงในเรื่องของ COVID - 19 และปัญหาทุเรียนอ่อน จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID - 19 ตั้งแต่ระดับสวนเกษตรกร และมาตรการควบคุมป้องกันแก้ไขทุเรียนอ่อนภาคตะวันออกปี 2565 ระดับสวนเกษตรกร เพื่อใช้เป็นมาตรฐานให้ทุกสวนผลไม้ส่งออกได้ยึดถือปฏิบัติ และเป็นแนวทางให้ทุกฝ่ายได้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป้าหมายให้ทุเรียนไทยมีคุณภาพดีที่สุดในโลก และมีมาตรฐานความปลอดภัย โดยมีหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นพี่เลี้ยง และพร้อมแก้ไขปัญหาร่วมกัน




 
       




 
การจัดงานครั้งนี้ ถือว่าเป็นการเน้นย้ำความมีคุณภาพของทุเรียนตะวันออกที่เป็นสินค้าเกษตรให้เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ขอยืนยันว่าหากทุเรียนไทยเรายังรักษาคุณภาพไว้ได้ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการส่งออกอย่างแน่นอน จึงต้องขอความร่วมมือทุกฝ่ายช่วยกันรักษาคุณภาพทุเรียนไทย และไม่ให้มีการตัดทุเรียนอ่อนอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ เตรียมจะขยายช่องทางส่งทางรางรถไฟขนส่งไปจีน คาดว่า 1-2 เดือน จะแล้วเสร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกได้มากขึ้น 
        
จากนั้น รมว.เกษตรฯ ได้ร่วมขึ้น sky walk เพื่อตัดทุเรียนพร้อมจำหน่าย ร่วมกับอธิบดีกรมส่งเสริมเกษตร นายธีรพัฒน์ อุ่นใจ ที่ปรึกษาสมาพันธุ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออกและเกษตรกรดีเด่น พร้อมกับแกะทุเรียนเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ประชาสัมพันธ์งาน “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลทุเรียนหมอนทองตะวันออก ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก”   
       
สำหรับจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูกทุเรียน ประมาณ 320,000 ไร่ และมีปริมาณผลผลิตทุเรียนประมาณ 490,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของ 3 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตทุเรียนภาคตะวันออก และยังมีพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทดแทนพืชชนิดอื่น เช่น ยางพารา เงาะ ลองกอง เป็นต้น แหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ อำเภอท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ และขลุง เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมีทั้งเกษตรกรรายเดิม เกษตรกรรายใหม่ และมีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทเกษตรกรชาวสวนเดิมเข้ามาเริ่มทำการเกษตรมากขึ้น มีการปฏิบัติดูแลรักษาเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการสวนเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงขึ้นตลอดระยะเวลา 5 - 6 ปีที่ผ่านมา 




 
      




 
ขณะที่ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกปี 2565 ที่เน้นให้การส่งออกผลไม้ต้อง Zero Covid และต้องไม่มีปัญหาทุเรียนอ่อน เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออก สร้างความเชื่อมั่นสู่ผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนที่เป็นตลาดส่งออกหลัก ซึ่งในฤดูกาลผลไม้ปีนี้ จีนในฐานะประเทศคู่ค้าสำคัญของผลไม้ของภาคตะวันออกได้กำหนดไว้ว่าต้องตรวจไม่พบเชื้อ COVID -19 ทั้งในคน ผลไม้ และองค์ประกอบอื่นในการขนส่ง เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง จัดงาน “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลหมอนทองภาคตะวันออก ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก” ขึ้นในวันนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันทุเรียนอ่อนและมาตรการ Zero Covid ของทั้งเกษตรกรเจ้าของสวน และผู้ประกอบการส่งออกในภาคตะวันออกทุกจังหวัด  
       
โดยภายในงานมีกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ การแสดงนิทรรศการผลการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ ออกสู่ตลาดภาคตะวันออก ปี 2565 การแสดงผลผลิตทุเรียน GI ของภาคตะวันออก จำนวน 6 ประเภท 3 จังหวัดของภาคตะวันออก ได้แก่ทุเรียนหมอนทองปราจีนบุรี ชะนีเกาะช้างตราด นกหยิบจันทบุรี กบสุวรรณจันทบุรี พวงมณีจันทบุรี นวลทองจันทร์จันทบุรี และร่วมชิมทุเรียน 7 สายพันธุ์




 





 



Create Date : 25 เมษายน 2565
Last Update : 25 เมษายน 2565 16:55:46 น.
Counter : 306 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments