All Blog
เกษตรจับมือลาซาด้า ไปรษณีย์ เคอรี่ ไลฟ์สดเอาใจขาช้อป ราชา-ราชินีผลไม้
"เฉลิมชัย"จับมือพันธมิตร ลาซาด้า ไปรษณีย์ เคอรี่ เตรียมบุกตลาดไลฟ์สด เอาใจแฟนขาช้อป ราชา-ราชินีผลไม้ไทย ชวน CF พร้อมกัน พฤษภาคมนี้

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายและสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมจัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ช่วงฤดูกาลออกสู่ตลาดมาก ในช่วงเดือน พฤษภาคม - มิถุนายนนี้






 







 
บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ เพิ่มช่องทางการซื้อขายสินค้าเกษตรทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ จากความสำเร็จได้ที่ร่วมมือกับ บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด ผู้นำแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าออนไลน์ชั้นนำของไทย ในแคมเปญ “เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ค้าออนไลน์มืออาชีพ” ตั้งแต่ปี 2563 รวมถึงพันธมิตรอย่างบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ได้ใหความร่วมมือในด้านโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าเกษตรมาโดยตลอด

ในปีนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีแนวทางขยายความร่วมมือต่อเนื่อง โดยเตรียมบุกตลาดออนไลน์ในรูปแบบไลฟ์สด จัดมหกรรมช้อปออนไลน์จำหน่ายทุเรียนและมังคุด ราชาและราชินี แห่งผลไม้ไทย เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ อีกทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคได้สามารถสั่งซื้อผลผลิตคุณภาพดีจากสวนเกษตรกรโดยตรงในราคาที่เหมาะสม และการันตีคุณภาพมาตรฐานของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จากการหารือร่วมกันในวันที่ 30 มีนาคม 2565 ระหว่าง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จํากัด  บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท เคอรรี่ เอ็กเพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้มีการเตรียมแนวทางจัดกิจกรรมแคมเปญครั้งนี้ขึ้น

กระทรวงเกษตรฯ จะคัดเลือกสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มแปลงใหญ่ ที่มีผลผลิตทุเรียนและมังคุดได้คุณภาพมาตรฐาน เข้ารวมแคมเปญบนแพลตฟอร์มของลาซาด้า ขณะที่ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะร่วมกระจายสินค้าเข้ากลุ่มอุตสาหกรรม และ อ.ต.ก. จะร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในครั้งนี้ด้วย โดยมีไปรษณีย์ไทย และ เคอรี่ ร่วมสนับสนุนการขนส่งในอัตราพิเศษตลอดแคมเปญ





 





 
ทุเรียนถือว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ไทย มีฤทธิ์ร้อน โดยมีสรรรพคุณทางยาในการช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด บำรุงกำลัง และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ขณะที่ มังคุด ถือเป็นราชินีของผลไม้ไทย ซึ่งมีฤทธิ์เย็น

ดังนั้นการรับประทานคู่กัน นอกจากจะได้รสชาติที่อร่อยลงตัวของผลไม้ทั้งสองชนิดแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายให้เกิดความสมดุลอีกด้วย ซึ่งจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้มีแนวทางขยายร่วมมือกันในรูปแบบตลาดไลฟ์สดครั้งนี้ จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระจายผลผลิต ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไปถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

ฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีการแถลงข่าวร่วมกับพันธมิตรในรายละเอียดกิจกรรมให้ทราบอีกครั้งในเดือนเมษายนนี้ และจะเริ่ม Kick off ไลฟ์สดครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตทุเรียนและมังคุดออกสู่ตลาด โดยจะมีกิจกรรมหลากลาย ทั้งแบบ  Pre order ผลผลิตคัดพิเศษให้สั่งล่วงหน้า หรือ โปรโมชั่นสุดคุ้มให้ผู้บริโภคทุกท่านได้ติดตาม

 


 



 



Create Date : 31 มีนาคม 2565
Last Update : 31 มีนาคม 2565 12:49:16 น.
Counter : 296 Pageviews.

0 comment
แนะใช้วัตถุดิบในประเทศผลิตอาหารสัตว์ลดต้นทุนนำเข้า
"ปศุสัตว์"แนะใช้ วัตถุดิบในประเทศผลิตอาหารสัตว์ลดต้นทุนนำเข้าอาหารสัตว์ หลังราคาถีบตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสงคราม รัสเซีย -ยูเครน

นายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต  อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าจากการคาดการณ์ภาพรวมความต้องการด้านอาหารสัตว์ตามชนิดสินค้าปศุสัตวถึงปริมาณการใช้อาหารสัตว์ในปี 2565 จำนวน 22.41 ล้านตัน และคาดการณ์ในปี 2566 ประมาณ 23.27 ล้านตัน อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อมีความต้องการใช้อาหารสัตว์มากถึงร้อยละ 40 ตามด้วยอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรและไก่ไข่ที่ร้อยละ 34 และ 11 ตามลำดับ





 





 
ทำให้ความต้องการวัตถุดิบหลักอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพดเมล็ด กากถั่วเหลือง ปลายข้าว และปลาป่น ยังคงมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 และ 2566 และด้วยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์มีการปรับราคาสูงขึ้น และทำให้เกิดปัญหาต้นทุนราคาอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้

กรมปศุสัตว์ได้พัฒนาและแนะนำแนวทางการลดต้นทุนอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เช่น ส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น การลดปริมาณการสูญเสียอาหารสัตว์ในขึ้นตอนการผลิต และการบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ร่วมกันกับเกษตรกรรายอื่นเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยลงให้ได้มากที่สุด เช่นการใช้หัวอาหารสัตว์  เป็นอาหารข้นที่มีการผสมสูตรให้มีค่าโปรตีนสูง  





 



 
 





การนำไปใช้โดยเกษตรกรนำไปผสมกับวัตถุดิบแหล่งพลังงานที่สามารถหาได้เองในท้องถิ่น เช่น มันสำปะหลัง  ข้าวเปลือกที่มีในยุ้งฉางที่บ้านนำมากะเทาะเปลือก  ปลายข้าวหัก  รำ และการใช้ข้าวเปลือกที่กะเทาะเปลือกออก ที่ส่วนใหญ่เกษตรกรสามารถหาได้ในท้องถิ่น มาเป็นวัตถุดิบในการผสมอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอาหารไก่ไข่   อาหารสุกร ซึ่งการใช้วัตถุดิบพืชอาหารสัตว์ภายในประเทศ  ถือเป็นการลดต้นทุนอีกทางและยังเป็นการสร้างรายได้ในประเทศด้วย

กรมปศุสัตว์ได้พัฒนาและแนะนำสูตรอาหารสัตว์ที่มีวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทยเป็นทางเลือกเพื่อทดแทนการนำเข้าอ เช่น มันสำปะหลัง (มันเส้น กากมัน) ข้าว (ปลายข้าว ข้าวกล้อง ข้าวกระเทาะเปลือก) ข้าวโพด รำข้าว กากปาล์ม  เป็นต้น วัตถุดิบบางชนิดมีข้อจำกัดในการใช้ผลิตอาหารสัตว์ หากใช้ปริมาณที่ไม่เหมาะสมในสูตรอาหารสัตว์ อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพสัตว์ ส่งผลกระทบต่อผลผลิต หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ได้

ดังนั้นกรมปศุสัตว์ ได้จัดให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ โดยสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ จัดหน่วยให้บริการจัดเคลื่อนที่ ณ ฟาร์มเกษตรกร เพื่อแนะนำการให้อาหารสัตว์ และการปรับสูตรอาหารสัตว์ ผู้สนใจติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ หรือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ของกรมปศุสัตว์ จำนวน 33 แห่ง ทั่วประเทศไทย โทร 02-501-1148





 







 



Create Date : 31 มีนาคม 2565
Last Update : 31 มีนาคม 2565 11:46:08 น.
Counter : 436 Pageviews.

0 comment
จีนชื่นชม 4 ล้งไทยผ่านตรวจประเมิน
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยข่าวดี และขอบคุณสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of China Customs: GACC) พอใจกับระบบ GMP Plus ของกรมวิชาการเกษตรให้ไทยผ่านการตรวจประเมินโรงคัดบรรจุผลไม้ส่งออกไปจีนเพิ่มเติม อีกจำนวน 4 โรงคัดบรรจุ  พบว่า ผู้ประกอบการไทยมีการดำเนินงานที่ดีขึ้นมาก ปฏิบัติตามคำแนะนำฝ่ายจีน ภายใต้มาตราการป้องการโรคโควิดของ WHO และ FAO  มีการบูรณาการความร่วมมือที่ดีระหว่างราชการ เอกชน และเกษตรกร อย่างใกล้ชิด



 
 




 
นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า จีนชื่นชมมาตรการการปฏิบัติที่ดีก่อนการส่งออกผลไม้ของทั้ง 4 โรงคัดบรรจุ ที่มีมาตรการควบคุมแมลงศัตรูพืช การตรวจสอบสารพิษตกค้าง และป้องกันควบคุมเชื้อไวรัสโควิด19 อย่างเข้มงวด  รวมถึงมาตรการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลไม้ไทยก่อนการส่งออกของฝ่ายไทย  และขอขอบคุณทูตเกษตรทั้ง 3 แห่ง และผู้ประกอบการ ที่ช่วยกันแนะนำและปรับปรุงโรงคัดบรรจุตามคำแนะคำของฝ่ายจีน จนได้ผ่านการตรวจประเมินในครั้งนี้   โดยโรงคัดบรรจุที่ผ่านการตรวจประเมินครั้งนี้ มีจำนวน 4 โรงคัดบรรจุ ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอมจังหวัดสมุทรสาครจำนวน 1 ล้ง  ลำไยจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 1 ล้ง  และทุเรียนจังหวัดจันทบุรีจำนวน 2 ล้ง




 












 
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจีนขอให้ภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชน และเกษตรกร เข้มงวด และปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเข้มงวดจริงจังในการควบคุมแมลงศัตรูพืช  สารตกค้าง และการควบคุมเชื้อไวรัสโควิด 19 ไม่ให้ปนเปื้อนไปกับสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสินค้าเกษตรไทยให้กับประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถใช้แนวทางการปฏิบัติที่ดีดังกล่าวกับโรงคัดบรรจุอื่นเพื่อการส่งออกไปยังจีนภายใต้การรับรองจากกรมวิชาการเกษตร





 





 



Create Date : 25 มีนาคม 2565
Last Update : 25 มีนาคม 2565 11:54:41 น.
Counter : 394 Pageviews.

0 comment
กสส.ปลื้มข้าวโพดหลังนาขยายผลสำเร็จ รายได้สูงกว่าข้าวนาปรัง
กสส.ปลื้มข้าวโพดหลังนาขยายผลสำเร็จ ทำรายได้สูงกว่าข้าวนาปรังกว่า 3 เท่า ยกสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้นแบบ เตรียมหนุนสมาชิกปลูก เชื่อสงครามมีผลกระทบวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่งราคาข้าวโพด อาจสูงถึง 10 บาทต่อกก.

นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังนาได้ผลเป็นที่น่าพอใจโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ที่สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด ต.บ้านหม้อ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ได้ลงมือปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวนาปรังมาเป็นข้าวโพดหลังนา สามารถสร้างรายได้มากกว่าการปลูกข้าวถึง 3 เท่า






 






 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 2 ปี สหกรณ์ยังคงเดินหน้าส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาอย่างต่อเนื่อง เดิมเกษตรกรปลูกข้าวได้กำไร 1,200 บาทต่อไร่ เมื่อเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดทำให้ได้กำไรเพิ่มเป็น 4,170 บาทต่อไร่ กรมฯจึงได้ส่งเสริมให้มีการขยายผล ปัจจุบันมีสหกรณ์หลายแห่งมองข้าวโพดเป็นพืชทางเลือกใหม่

จึงมีสมาชิกสหกรณ์หันมาปลูกข้าวโพดในฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น เฉพาะที่อุตรดิตถ์จาก 2,300 ไร่ เพิ่มเป็น 10,130 ไร่ ประกอบกับสถานการณ์สงครามทั้งยูเครนและเมียนมาร์กระทบต่อการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น จึงเชื่อว่าจะจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

เกษตรกรที่ปรับจากการปลูกข้าวนาปรังมาปลูกข้าวโพดหลังนา แม้จะไม่มากหากเปรียบเทียบกับความต้องการ ในประเทศที่มีประมาณ 8 ล้านตัน ประเทศไทยผลิตได้เพียง 4-5 ล้านตัน ทำให้ข้าวโพดฤดูแล้งสามารถทำรายได้ที่ดีเปรียบเทียบต่อไร่ระหว่างข้าวกับข้าวโพด





 





 
อย่างไรก็ตามขณะนี้กสส.ประเมินว่าจากสถานการณ์สงครามที่ยูเครนกระทบต่อการส่งออกพืชทดแทน ได้แก่ ข้าวสาลีและที่เมียนมาร์กระทบต่อการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้ในประเทศ ขาดแคลนกว่า 3 ล้านตันส่งผลให้ราคาข้าวโพดสูงขึ้น เช่นปลายปีที่ผ่านมาราคาขึ้นไปถึง 8-9 บาทต่อกก.ระดับความชื้น 15 % จากปัญหาเมียนมาร์ เมื่อประกอบกับปัญหาสงครามยูเครนก็คาดว่าจะดึงข้าวโพดขึ้นไปกว่า 10 บาทต่อกก.

เชื่อว่าเกษตรกรจะหันมาปลูกข้าวโพดเพิ่มทั้งในฤดูและนอกฤดู จากราคาที่จูงใจ ประกอบกับใช้เวลาในการปลูกเพียง 120 วันเท่านั้น กสส.จะเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตร ที่มีธุรกิจรวบรวมข้าวโพดมาช่วยในการรับซื้อและเชื่อมโยงตลาดจากที่ก่อนหน้ากสส.ได้มีงบสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพสหกรณ์หรืองบพ.ร.ก.ฉุกเฉินสถานการณ์โควิด ตามนโยบายของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้มีการปรับปรุง ยุ้งฉาง ลานตาก โกดัง หรือเครื่องอบลดความชื้น เพื่อให้เป็นแก้มลิง

ตลอดจนพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด” นายอัชฌา กล่าวสำหรับผลการเก็บข้อมูลของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์รายงานว่า สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด มีสมาชิกที่สนใจเข้าโครงการเป็นเกษตรกรที่เดิมปลูกข้าวนาปรังจำนวน 36 คนพื้นที่ 735 ไร่ มีต้นทุน 4,715 บาทต่อไร่ รายได้ 5,021 บาทต่อไร่ ได้กำไร 306 บาทต่อไร่





 





 
เกษตรกรที่กลุ่มนี้ได้สมัครเข้าโครงการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา (ปีการผลิต 2561/62) จำนวน 36 คน พื้นที่ 735 ไร่ ต้นทุนการผลิต 4,625 บาทต่อไร่ ขายผลผลิตข้าวโพดได้ 8,314 บาทต่อไร่ กำไร 3,690 บาทต่อไร่ ในปีการเพาะปลูก 2562/63 เกษตรกรชุดเดิมและสมัครเพิ่มเข้าโครงการ 125 คน พื้นที่ 2,341 ไร่ ต้นทุนการผลิต 4,226 บาท ขายได้ 8,396 บาทต่อไร่ กำไร 4,170 บาทต่อไร่ ทำให้ในปี 2564/65 มีการขยายผลไปในพื้นที่ในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเกษตรกรสนใจจำนวน 839 รายพื้นที่ 10,130 ไร่ ขณะนี้ผลผลิตอยู่ระหว่างฤดูการเก็บเกี่ยว

นายบัญชา เมฆนุ้ย ประธานสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด กล่าวว่า เกษตรกรที่เข้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จึงได้มีการขยายความร่วมมือไปยังสหกรณ์การเกษตรอื่น ๆ ที่อยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์และพื้นที่ใกล้เคียง โครงการนี้สหกรณ์บ้านหม้อได้เข้าไปดำเนินการทั้งระบบ ใช้พื้นที่ร่วมโครงการประมาณ 3,000 ไร่

สหกรณ์ได้ช่วยเหลือและสนับสนุนสมาชิกในโครงการทั้งด้านความรู้และปัจจัยการผลิต ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,300 กก. เป็นที่น่าพอใจมาก ราคารับซื้อต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 7-8 บาท ตามความชื้นของผลผลิต จากราคาที่สหกรณ์ประกันไว้ที่ประมาณ 5 บาทเศษ สหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ได้ใช้ข้อมูลของสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อจำกัด เป็นกรณีศึกษาเพื่อนำไปเผยแพร่และส่งเสริมให้สหกรณ์ทั้งประเทศเห็นว่าผลสัมฤทธิ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ





 





 
ปัจจุบันมีสหกรณ์เครือข่ายในหลายพื้นที่ที่เข้าโครงการรวบรวมผลผลิตข้าวโพดมาส่งให้กับสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ โดยใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดที่ได้รับการอุดหนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ก่อนส่งไปขายยังปลายน้ำคือโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ได้รับการช่วยเหลือจากสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ประสานในการจับคู่ทางธุรกิจ กับตลาดปลายทางคือบริษัทเอกชนที่แปรรูปอาหารสัตว์

ปัจจุบันจังหวัดอุตรดิตถ์ มีสมาชิกสหกรณ์เข้าโครงการ 839 ราย พื้นที่รวม 10,130 ไร่ นอกจากนั้นยังได้รับซื้อเมล็ดข้าวโพด ใบ เปลือก ซังข้าวโพด เพื่อนำมาผลิตอาหารสัตว์ และจำหน่ายให้เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นไปตามหลักของการลดการสูญเสียให้มากที่สุด

สำหรับโครงการสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังนาผ่านระบบสหกรณ์ปี 2563/64 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์มีสหกรณ์ เข้าร่วมโครงการ 74 แห่งเกษตรกร 4,503 ราย พื้นที่รวม 49,336 ไร่ สามารถรวบรวมผลผลิตได้มูลค่ารวม 155 ล้านบาท แยกเป็นข้าวโพดแบบฝัก 2,445 ตัน มูลค่า 11.65 ล้านบาทและแบบเมล็ด 23,438 ตัน มูลค่า 145.19 ล้านบาท และปีการผลิต 2564/65 มีสหกรณ์สมัครเข้าโครงการ 22 จังหวัด 70 สหกรณ์ พื้นที่ปลูก 62,339 ไร่ เกษตรกร 7,038 ราย


กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดสรรเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์วงเงิน 58 ล้านบาท เพื่อให้สหกรณ์กู้ยืมไปจัดหาปัจจัยการผลิตช่วยเหลือสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว และขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายให้กับคู่ค้าภาคเอกชน






 
 





 



Create Date : 25 มีนาคม 2565
Last Update : 25 มีนาคม 2565 11:42:37 น.
Counter : 389 Pageviews.

0 comment
"สภาเกษตรกร"เสริมแกร่ง“การจัดการความรู้ (Knowledge Management)”

นายรัตนะ  สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการอบรม “การจัดการความรู้ (Knowledge Management)” ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Conference) ว่า สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบงานด้านธุรการและทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และเลขานุการของสภาเกษตรกรจังหวัด ดำเนินการ รวบรวมศึกษา

ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตรกรจังหวัด สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ภารกิจหลักคือการประสานดำเนินงานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินงานจะต้องติดต่อสื่อสาร ประสานงานและเข้าร่วมการประชุมในวาระต่างๆ

ดังนั้น เรื่องการเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุม จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งต้องมีเนื้อหา ความชัดเจน กะทัดรัด สามารถสร้างความเข้าใจและสื่อสารความต้องการจากการประชุมไปยังผู้รับผิดชอบงานนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ





 







 

จึงเห็นควรจัดการฝึกอบรม "การจัดการความรู้ (Knowledge Management)"เรื่อง "คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" โดย ดร.ณัฐวัฒน์  อริย์ธัชโภคิน กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมองค์กรพอเพียงยั่งยืน ,  "เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ" โดย นายศรัณย์พงศ์  ฟุ้งเกียรติ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ

"การวางแผนการประชุมอย่างมีคุณภาพ" , "การวางแผนกลยุทธ์" , "ทฤษฎีงาน" , "เทคนิคการออกพื้นที่ทำงานให้ได้งาน" โดย นายศรีสะเกษ  สมาน รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ  ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ได้รับความรู้ เรียนรู้หลักการเขียนในรูปแบบต่างๆของหนังสือราชการและรายงานการประชุม การสรุปเนื้อหา การย่อความ การขยายความ

พร้อมทั้งเรียบเรียงความคิด และพัฒนาทักษะให้สามารถเขียนหนังสือราชการและจดรายงานการประชุมได้อย่างถูกต้องและบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งโครงการอบรมดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม – กันยายน 2565 โดยคาดหวังว่าพนักงานของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมจักได้นำความรู้ ทักษะและเทคนิคแนวทางไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป 




 



 




Create Date : 24 มีนาคม 2565
Last Update : 24 มีนาคม 2565 18:39:09 น.
Counter : 381 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments