All Blog
คาดปีนี้ลำไย 8 จังหวัดภาคเหนือ 1.03 ล้านตัน


สศก. คาดปีนี้ลำไย 8 จังหวัดภาคเหนือ ให้ผลผลิต 1.03 ล้านตันด้านลิ้นจี่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ให้ผลผลิต 3.4 หมื่นตัน FC ลิ้นจี่รอชิมเลย ออกตลาดรับสงกรานต์นี้



นายวินิต อธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตและพยากรณ์ปริมาณการผลิตไม้ผล ลำไย และ ลิ้นจี่ ภาคเหนือ ปี 2566 (ข้อมูลผลพยากรณ์  ณ วันที่ 27 มีนาคม 2566)



คาดว่า เนื้อที่ให้ผลลำไย 8 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ตาก แพร่ และน่าน) มีจำนวน 1.24 ล้านไร่ ลดลงจากปี 2565 ที่มีจำนวน 1.25 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 0.31) เนื่องจากปัจจัยด้านราคาของลำไยในฤดูไม่จูงใจ เกษตรกรบางส่วนจึงโค่นลำไยเพื่อเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น ยางพารา ทุเรียน เงาะ มะม่วง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์







 







 
ผลผลิตทั้ง 8 จังหวัด คาดว่ามีปริมาณ 1.03 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีจำนวน 1.02 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52) โดยแบ่งเป็นผลผลิตในฤดู จำนวน 7 แสนตัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 5.25 ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลเฉลี่ย  709 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 1.53 เนื่องจากปัจจัยด้านราคาไม่จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา และสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงต้นปี 2566 ไม่เพียงพอต่อการออกดอกของลำไย



โดยมีอากาศหนาวเย็นเพียงช่วงสั้นๆ สลับกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น ประกอบกับบางพื้นที่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ การแทงช่อดอกของลำไยในฤดูจึงลดลง  ขณะที่ผลผลิตนอกฤดู จำนวน 3.29 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 15.51  ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลเฉลี่ย 1,282 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 0.23 ซึ่งผลผลิตลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาลำไยในช่วงปลายปี 2565 ดีขึ้น จึงจูงใจให้เกษตรกรใช้สารกระตุ้นการออกดอกนอกฤดูเพิ่มขึ้น ทั้


คาดว่าผลผลิตลำไยภาคเหนือจะออกสู่ตลาดมากตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน และจะออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคมนี้ ประมาณ  382,493  ตัน หรือร้อยละ 37.15 ของผลผลิตทั้งทั้งหมด







 






 

ลิ้นจี่ ปี 2566 ในแหล่งผลิตสำคัญ 4 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ และ น่าน) เนื้อที่ให้ผล มีจำนวน 7.56 หมื่นไร่ ลดลงจากปี 2565 ที่มีจำนวน  8.11 หมื่นไร่ (ลดลงร้อยละ 6.76) เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า หรือดูแลง่ายกว่าแทน เช่น ยางพารา ทุเรียน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  


ภาพรวมผลผลิต 4 จังหวัด 34,620 ตัน ลดลงจากปี 2565 ที่มีจำนวน 39,961 ตัน (ลดลงร้อยละ 13.37) และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลเฉลี่ย 458 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปี 2565 ที่เฉลี่ย 493 กิโลกรัมต่อไร่ (ลดลงร้อยละ 7.10) เนื่องจากลิ้นจี่เป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็น แต่ในปีนี้พบว่าอากาศหนาวเย็นเพียงช่วงสั้น ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ ทำให้ลิ้นจี่แทงช่อดอกช้ากว่าปีที่ผ่านมา บางส่วนก็แตกใบอ่อนแทนการออกดอก ประกอบกับหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรไม่ดูแลรักษา


เนื่องจากลิ้นจี่เป็นพืชที่ดูแลยาก ทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ช่อดอกไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ อีกทั้งพบเพลี้ยไฟและโรคเชื้อรา ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตลิ้นจี่ภาคเหนือจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม  และจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนนี้  ผลผลิตรวมประมาณ33,444 ตัน หรือร้อยละ 96.60 ของผลผลิตทั้งหมด สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลพยากรณ์ผลผลิตสินค้าเกษตร สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร โทร 0 2561 2870 และอีเมล prcai@oae.go.th





 
 




 
 



Create Date : 29 มีนาคม 2566
Last Update : 29 มีนาคม 2566 15:10:55 น.
Counter : 322 Pageviews.

0 comment
48 ปี ส.ป.ก.เดินหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ครบรอบ 48 ปี มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2566 ณ ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิด “ALRO Together We Grow 48 ปี ส.ป.ก. เติบโตไปด้วยกัน เดินหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานจากก้าวแรกถึงปัจจุบัน 





 





 

รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 รางวัล Talent of the year ประจำปี พ.ศ. 2565 รางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ครบรอบ 48 ปี ส.ป.ก. รางวัลชนะเลิศการเขียนบทความทางวิชาการ และรางวัลหน่วยงานที่มีผลงานการปฏิรูปที่ดินดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 และกล่าวแสดงความยินดีและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ ส.ป.ก.


ทั้งนี้ส.ป.ก. เป็นหน่วยงานสำคัญหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านการถือครองที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรและผู้ยากไร้ เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม 





 





 

การดำเนินการตลอดระยะเวลา 48 ปี แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ ส.ป.ก. ในการดำเนินภารกิจไปสู่เป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้ ในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้สามารถเติบโตและแข่งขันอยู่ได้ในสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เคยให้แนวการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบาย เอาไว้ ซึ่ง ส.ป.ก. สามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการขับเคลื่อนภารกิจเพื่อนำพาพี่น้องเกษตรกรให้สามารถเติบโตและแข่งขันต่อไปได้ท่ามกลางสภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

 

กระทรวงเกษตรฯ โดย ส.ป.ก. มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าต่อไปในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร โดยสนับสนุนให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและอำนวยความสะดวกในการทำเกษตร ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้ผลผลิตมาก และเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ เน้นการบริหารจัดการและวางแผนการผลิตเพื่อผลิตสินค้าสู่ตลาด ตามนโยบายตลาดนำการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดอาชีพเกษตรกรรม พัฒนาสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) 





 





 

ยกระดับเป็นผู้ประกอบการเกษตร สามารถวางแผนธุรกิจ ผลิตสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด รวมไปถึงการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้กับผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมของประเทศ รวมทั้งคำนึงถึงการบริหารจัดการด้านการเกษตรอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศ การส่งเสริมการเกษตรสร้างมูลค่าและการทำเกษตรตามแนวทางของระบบเกษตรกรรมยั่งยืนต่อไป

 

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวว่า ตลอด 48 ปี ที่ผ่านมา ส.ป.ก. ได้ดำเนินงานตามภารกิจในการจัดสรรที่ดินให้กับผู้ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีไม่เพียงพอแก่การครองชีพ โดยได้ด ฝำเนินการจัดที่ดินให้พี่น้องเกษตรกรไปแล้วกว่า 36 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับการจัดสรรที่ดินกว่า 2.9 ล้านราย


รวมทั้งได้ดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ คทช. จำนวน 10 จังหวัด 24 พื้นที่ นอกจากนี้ ส.ป.ก. ยังได้ขับเคลื่อนการดำเนินภารกิจพัฒนาศักยภาพพื้นที่ให้มีความเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรมและการดำรงชีพของเกษตรกร


โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน รวมไปถึงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม ที่มุ่งเน้นการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม




 





 




Create Date : 06 มีนาคม 2566
Last Update : 6 มีนาคม 2566 17:48:08 น.
Counter : 291 Pageviews.

0 comment
ขับเคลื่อนแปลงถั่วเขียอัจฉริยะมุ่งการเกษตรทำน้อยได้มาก


กรมวิชาการเกษตรขานรับนโยบาย “มนัญญา”ขับเคลื่อนแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะผลิตถั่วเขียว มุ่งการเกษตรทำน้อยได้มาก


นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า จากข้อสั่งการของนางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ให้กรมวิชาการเกษตรเร่งขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีจากผลงานวิจัยกรมวิชาการเกษตร และเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ โดยขับเคลื่อนแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วเขียวมุ่งการเกษตรแบบทำน้อยได้มาก






 





 

กรมวิชาการเกษตรจึงได้กำหนดจัดงานวันถ่ายทอด “เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วเขียว” ในวันที่ 2 มีนาคม 2566 ณ ตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายสำคัญในการใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ลดการสูญเสีย ลดการใช้แรงงาน โดยการนำเครื่องจักรกลการเกษตร และเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยในตลาดโลก


ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ถั่วเขียว เป็นหนึ่งในพืชนโยบายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมให้ปลูกในภาวะวิกฤตภัยแล้ง เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย สามารถนำไปใช้ในระบบปลูกพืชได้ดี จึงส่งเสริมให้ปลูกทดแทนข้าวนาปรัง หรือปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพราะสามารถใช้ความชื้นที่เหลืออยู่ในดินภายหลังเก็บเกี่ยวพืชหลักได้โดยไม่กระทบต่อผลผลิตมากนัก ปลูกก่อนหรือหลังการทำนา รวมทั้งยังช่วยตัดวงจรการระบาดของแมลงศัตรูพืชและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน






 





 

ในปี 2564/65 มีพื้นที่ปลูกถั่วเขียว 743,180 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 146 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม 108,474 ตัน แต่มีความต้องการใช้ถั่วเขียว 128,000 ตัน เนื่องจากมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมแปรรูปวุ้นเส้น แปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ ถั่วงอก แป้งถั่วเขียว  และเป็นเมล็ดพันธุ์ โดยปี 2564 ประเทศไทยส่งออกวุ้นเส้นจากถั่วเขียว 31,811 ตัน มูลค่ารวม 1,151 ล้านบาท

       
กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำโครงการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร บริษัท ตะโกรายไฮดรอลิค จำกัด และหน่วยงานเครือข่าย โดยร่วมดำเนินการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะภายในพื้นที่พื้นที่ 20 ไร่ ในแปลงของ นายไพโรจน์ มณีธรรม ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ถั่วเขียวบ้านวังชงโค หมู่ที่ 1 ตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกถั่วเขียวที่สำคัญของประเทศ  โดยจังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ปลูกถั่วเขียวประมาณ 340,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ  45.7 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ






 
       





 
สำหรับเทคโนโลยีอัจฉริยะที่นำมาใช้ในแปลงเรียนรู้ ได้แก่ เทคโนโลยีการใช้เครื่องปรับระดับหน้าดิน ด้วยระบบ GIS และระบบเลเซอร์ ทำให้พื้นที่มีความสม่ำเสมอ การใช้ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะที่มีต้นทุนต่ำสำหรับวัดค่าอุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ และความชื้นในดิน สามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้อากาศยานไร้คนขับ  


การใช้เครื่องพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชแบบอุโมงค์ลม สามารถประหยัดสารเคมีได้มากกว่าร้อยละ 20  และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าเครื่องพ่นสะพายหลัง 15 เท่า และ การใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับติดกล้องหลายช่วงคลื่น  เพื่อติดตามตรวจสอบการระบาดของโรคไวรัสใบด่างถั่วเขียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ






 





 
       
เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3 ที่ให้ผลผลิตสูง 232 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดใหญ่ การสุกแก่ของฝักสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน จึงเหมาะสำหรับการใช้เครื่องเก็บเกี่ยว  คุณภาพแป้งเหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่ว และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สามารถลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนได้ 50-100 %


โดยปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้มีการพัฒนารูปแบบปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเหลว ซึ่งจะช่วยให้การยึดติดกับเมล็ดพันธุ์ดีขึ้นและใช้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่ติดรูจานหยอดของเครื่องปลูกทำให้ใช้สะดวกมากขึ้น

       
กรมวิชาการเกษตร กำหนดจัดงานวันถ่ายทอด “เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วเขียว” ในวันที่ 2 มีนาคม 2566 นี้  ซึ่งภายในงานจะมีการสาธิตการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเหลว การสาธิตการพ่นสารด้วยอากาศยานไร้คนขับ เครื่องพ่นสารแบบอุโมงค์ลมในการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช







 







 
สาธิตอากาศยานไร้คนขับติดกล้องหลายช่วงคลื่นเพื่อติดตามตรวจสอบโรคไวรัสใบด่างถั่วเขียวพร้อมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ระหว่างกลุ่มเกษตรกร นักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัย สหกรณ์การเกษตรผู้ประกอบการเครื่องจักรกลการเกษตร และผู้รวบรวมผลผลิตถั่วเขียวรายใหญ่ของประเทศ ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการผลิตและการตลาดอย่างครบวงจร


ในปี 2567 กรมวิชาการเกษตรจะขยายผลเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วเขียวในพื้นที่ปลูกอื่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวในพื้นที่ใกล้เคียงตามนโยบายของนางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต


ส่งผลให้ผลผลิตถั่วเขียวของประเทศเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของชุมชนและประเทศดีขึ้น รวมทั้งเป็นต้นแบบในการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชอื่นต่อไป




 





 
 



Create Date : 01 มีนาคม 2566
Last Update : 1 มีนาคม 2566 19:08:55 น.
Counter : 393 Pageviews.

0 comment
รณรงค์หยุดเผาพื้นที่เกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้ารณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร เสริมสร้างความรู้ สนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร


นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑลได้ประสบปัญหาหมอกควันปกคลุมและเกิดมลพิษทางอากาศเป็นประจำทุกปี


โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเผาในที่โล่ง ทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง






 






 
กล่าวคือ ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร


โดยกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ที่มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา รวมทั้งสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป






 





 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 กรมส่งเสริมการเกษตรขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร


โดยมีเป้าหมาย อบรมเกษตรกร จำนวน 17,640 ราย และสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร รวม 337 เครือข่าย ในพื้นที่ 62 จังหวัด พร้อมจัดจัดอบรมความรู้พื้นฐานถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการทำการเกษตรปลอดการเผา ส่งเสริมให้มีจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผาทำลาย


ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากเดิม มุ่งสู่การทำการเกษตรปลอดการเผาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเพื่อลดพื้นที่การปลูกพืชที่เสี่ยงจะเกิดการเผา โดยขณะนี้ได้ดำเนินการจัดอบรมความรู้พื้นฐานให้เกษตรกรแล้ว จำนวน 160 เครือข่าย เกษตรกรจำนวน 8,380 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.5 (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566)






 






 
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรมีแผนการจัดงานรณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม 2566 ในการนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ได้จัดงาน “รณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น” ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผา ในพื้นที่การเกษตร ปี 2566 ณ แปลงเกษตรกร หมู่ที่ 3 ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี


เพื่อสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบจากการเผาในพื้นที่การเกษตร นําเสนอทางเลือกการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตร และเทคโนโลยีทางการเกษตรทดแทนการเผา เพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการ ผลิตไปสู่การทำการเกษตรปลอดการเผาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


กิจกรรมในงานประกอบไปด้วยสถานีเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในการย่อยสลายตอซัง สาธิตการนําเศษวัสดุทางการเกษตรมาแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ การนําเสนอทางเลือกเพื่อทดแทนการเผาและการอัดฟางและการไถกลบทดแทนการเผา นิทรรศการความรู้จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และกิจกรรมสาธิตการไถกลบตอซัง หว่านเมล็ดปอเทือง และการแข่งขันเพาะเห็ดฟางตะกร้า




 




 



Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2566 14:49:22 น.
Counter : 375 Pageviews.

0 comment
"มนัญญา"สั่งกรมวิชาการเกษตรเร่งหาเมล็ดพันธุ์ดีให้เพียงพอความต้องการเกษตรกร


"มนัญญา"ขานรับข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี สั่งกรมวิชาการเกษตรเร่งสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีให้เพียงพอความต้องการเกษตรกร


นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบและกล่าวชื่นชมโครงการพัฒนาการผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตรที่ต้องการขยายผลงานวิจัยการผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีที่มีคุณภาพดี ตรงตามพันธุ์ และได้มาตรฐานการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีจำนวน 1,000,000 เมล็ดงอก เพื่อจำหน่ายให้แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันภาครัฐและเอกชน







 






 
พร้อมกับได้สั่งการให้ดำเนินการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีอื่นๆ เช่นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมชุมพร 2 ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2 และมะพร้าวต้นเตี้ยเพื่อแก้ปัญหาการใช้แรงงานลิงให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร จึงได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี


กรมวิชาการเกษตรได้รายงานแผนการผลิตพันธุ์พืชคุณภาพดีปีงบประมาณ 2566 ว่า มีแผนดำเนินการผลิตพืชไร่และปาล์มน้ำมัน จำนวน 17 ชนิด ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์คัด หลัก ขยาย จำหน่ายพืชตระกูลถั่ว ถั่วเขียว จำนวน 247 ตัน ถั่วเหลือง จำนวน 204 ตัน ถั่วเหลืองฝักสด จำนวน 9.83 ตัน ถั่วลิสงทั้งเปลือก จำนวน 162 ตัน ปาล์มน้ำมัน (เมล็ดงอก) จำนวน 182,000 เมล็ด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 30 ตัน งา 1.8 ตัน และอื่น ๆ พันธุ์พืชสวนคุณภาพดี 78 ชนิด ที่สำคัญ


ทั้งนี้ได้แก่ มะพร้าวกะทิจำนวน 6,600 ต้น มะพร้าวน้ำหอม จำนวน 9,750 ต้น มะพร้าวพันธุ์ไทย จำนวน 30,000 ต้น มะพร้าวลูกผสม จำนวน 11,000 ต้น ผลพันธุ์มะพร้าวกะทิจำนวน 12,000 ผล มะพร้าวน้ำหอม จำนวน 20,000 ผล มะพร้าวพันธุ์ไทย จำนวน 55,000 ผล มะพร้าวลูกผสม จำนวน 20,000 ผล กาแฟอาราบิกาจำนวน 183,040 ต้น







 













 
ทั้งนี้ได้แก่ มะพร้าวกะทิจำนวน 6,600 ต้น มะพร้าวน้ำหอม จำนวน 9,750 ต้น มะพร้าวพันธุ์ไทย จำนวน 30,000 ต้น มะพร้าวลูกผสม จำนวน 11,000 ต้น ผลพันธุ์มะพร้าวกะทิจำนวน 12,000 ผล มะพร้าวน้ำหอม จำนวน 20,000 ผล มะพร้าวพันธุ์ไทย จำนวน 55,000 ผล มะพร้าวลูกผสม จำนวน 20,000 ผล กาแฟอาราบิกาจำนวน 183,040 ต้น


เรียน 30,000 ต้น เพื่อกระจายพันธุ์พืชคุณภาพดีสู่การใช้ประโยชน์แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และภาคเอกชน  ช่วยลดต้นทุนการผลิตพืชและเพิ่มผลผลิตจากการใช้พันธุ์พืชคุณภาพดี และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมถึงสำรองพันธุ์พืชในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินและภัยธรรมชาติเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร


นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังกำกับดูแลเมล็ดพันธุ์ควบคุมตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 46 ชนิดพืช ปัจจุบันมีผู้ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุมที่ขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตรแล้วจำนวนกว่า 2 หมื่นราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ขายต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตรแล้วจำนวน 366 ราย โดยตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชฯ







 





 

หากขายเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ มีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ขายเมล็ดพันธุ์ที่มีการปลอมปน โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ การโฆษณาเมล็ดพันธุ์ควบคุมเป็นเท็จ หรือเกินความจริง โทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนแหล่งผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องตรงตามพันธุ์ปัจจุบันมี 365 แปลงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร


สำหรับยางพารามีแปลงขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้าที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรปี 2565 แยกเป็นยางพาราพันธุ์ RRIT 251 จำนวน 14,186,450 ต้น พันธุ์ RRIM 600 จำนวน 17,824,210 ต้นพันธุ์ RRIT 408 จำนวน 588,000 ต้น และพันธุ์ RRIT 3904 จำนวน 998,400 ต้น


ส่วนมะพร้าว กรมวิชาการเกษตรได้สนับสนุนผลิตหน่อมะพร้าวสายพันธุ์ดี (ต้นเตี้ย) และส่งเสริมการปลูกมะพร้าวพันธุ์ดีทดแทนมะพร้าวสายพันธุ์ไทยที่มีอายุมากและต้นสูงเพื่อให้สอดรับกับนโยบาย “GAP Monkey Free Plus” ป้องกันการใช้แรงงานลิงในกระบวนการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออก โดยปัจจุบันมีแปลงที่ได้รับการรับรองแล้วจำนวน 1,400 แปลง เพื่อเป็นฐานที่มั่นคงต่อการต่อยอดในอุตสาหกรรมมะพร้าวไทยต่อไป




 






 



Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2566 15:35:06 น.
Counter : 385 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments