All Blog
"ปศุสัตว์"คุมเข้มแซลโมเนลลาในสัตว์ปีก
นายสัตว์แพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์  เปิดเผยว่าโรคแซลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแซลโมเนลลาสามารถพบได้ตามธรรมชาติ เชื้ออาศัยอยู่ในทางเดินอาหารและลําไส้ของสัตว์ต่างๆ เช่น นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คน และแมลง มีการกระจายและอาศัยอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของโรคอาหารเป็นพิษจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบในคน






 







 
มาจากการบริโภคอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก ไข่ดิบ ผลิตภัณฑ์ที่มีไข่ดิบ นมดิบหรือนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ไอศกรีม เนยแข็งและผักบางชนิด สามารถนำเชื้อก่อโรคจากสัตว์มาสู่คนหรือเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนได้ และการใช้น้ำที่สกปรกทางการเกษตรหรือใช้ล้างอาหารสดทำให้เกิดการปนเปื้อนข้ามได้เช่นกัน

เพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยอาหาร กรมปศุสัตว์จึงได้มีการควบคุมและเฝ้าระวังโรคแซลโมเนลลาสำหรับสัตว์ปีกตลอดกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยการควบคุมและเฝ้าระวังโรคแซลโมเนลลาสำหรับสัตว์ปีก รวมหมายถึงนก ไก่ เป็ด ห่านที่เลี้ยงเพื่อการค้า

ครอบคลุมทั้งสัตว์ปีกพันธุ์ สัตว์ปีกไข่ สัตว์ปีกเนื้อ และไข่ฟัก มีการสุ่มเก็บตัวอย่างซึ่งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ที่ฟาร์มสัตว์ปีกพันธุ์และสถานที่ฟักไข่ การสุ่มเก็บตัวอย่างที่ฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มสัตว์ปีกเนื้อ เพื่อส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์หาเชื้อแซลโมเนลลาที่ห้องปฏิบัติการ ทำการรวบรวมและสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ทุกเดือน 







 





 
 






 
สำหรับสัตว์ปีกพันธุ์และสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีกมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อ Salmonella Enteritidis, Salmonella Typhimurium, Salmonella Hadar, Salmonella Infantis และ Salmonella Virchow สำหรับสัตว์ปีกไข่และสัตว์ปีกเนื้อมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อ Salmonella Enteritidis และ Salmonella Typhimurium ถ้ามีการตรวจพบเชื้อให้ทำการสอบสวนหาสาเหตุ เก็บตัวอย่างส่งวิเคราะห์ยืนยันการพบเชื้อและหากยืนยันว่าพบเชื้อให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และทำการเฝ้าระวังเชื้อต่อไป

นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่โรงฆ่าสัตว์และโรงแปรรูปเนื้อสัตว์ มีการเก็บตัวอย่างเนื้อสัตว์ปีก น้ำล้างซาก น้ำและน้ำแข็งที่ใช้ในโรงฆ่าสัตว์ สำหรับโรงแปรรูปเนื้อสัตว์มีการเก็บตัวอย่างอาหารปรุงสุกเพื่อตรวจวิเคราะห์เชื้อแซลโมเนลลาอีกด้วย





 




 



Create Date : 13 พฤษภาคม 2565
Last Update : 13 พฤษภาคม 2565 17:48:28 น.
Counter : 379 Pageviews.

0 comment
แนะวิธีปราบด้วงไร่อ้อยปลูกใหม่-ระยะแตกกอ
นายศรุต  สุทธิอารมณ์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  กรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า  ในช่วงนี้ขอให้ชาวไร่อ้อยเฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อย โดยตัวหนอนของด้วงหนวดยาวอ้อยจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกอ้อยด้วยการเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์ไม่งอก หน่ออ้อยอายุ 1–3 เดือนจะถูกกัดกินตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าให้ขาดออก

ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย หากอ้อยมีลำแล้วพบการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวอ้อยจะทำให้กาบใบและใบอ้อยแห้งตายทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย หนอนที่มีขนาดเล็กจะกัดกินบริเวณเหง้าอ้อยทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง  เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นขึ้นไปกินเนื้ออ้อย ทำให้ลำต้นเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ทำให้ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตาย






 







 
คำแนะนำสำหรับอ้อยปลูกใหม่ หากพบการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวให้ป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน  คือไถพรวนดินแล้วเก็บตัวหนอนและดักแด้ของด้วงหนวดยาวอ้อยตามรอยไถ  หากพบการเข้าทำลายไม่มากให้ป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ  โดยโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์พร้อมปลูกแล้วกลบดิน  

ส่วนในพื้นที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีตามคำแนะนำ  สารเคมีชนิดน้ำพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน สารเคมีชนิดเม็ด โรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 0.3% GR อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน

สำหรับอ้อยระยะแตกกอ  หากพบการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยให้ทำการป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน ถ้าพบหน่ออ้อยแห้งตายให้ขุดกออ้อยและจับตัวหนอนและดักแด้ของด้วงหนวดยาวอ้อยออกมาทำลายนอกแปลง  การป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติให้ปิดร่องอ้อยแล้วโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน  






 







 
ส่วนในพื้นที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีตามคำแนะนำ การใช้สารเคมีชนิดน้ำให้เปิดร่องอ้อยแล้วพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน  ส่วนการใช้สารเคมีชนิดเม็ดให้เปิดร่องอ้อยแล้วโรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 0.3% GR อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน

ด้วงหนวดยาวอ้อยพบการระบาดเข้าทำลายได้ทั้งอ้อยที่ปลูกใหม่และอ้อยที่อยู่ในระยะแตกกอ  จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจไร่อ้อยหากพบการระบาดไม่มากให้ป้องกันกำจัดด้วยวิธีกลและวิธีผสมผสาน แต่หากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีชนิดและอัตราการใช้ตามคำแนะนำ  


กรณีการใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมและสารเคมีขณะใช้ดินต้องมีความชื้นหรือเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ และในช่วงที่ฝนเริ่มตกด้วงหนวดยาวอ้อยจะออกเป็นตัวเต็มวัยให้เฝ้าระวังเมื่อฝนตกหนักครั้งแรกให้สำรวจตัวเต็มวัยในช่วงพลบค่ำ ถ้าไม่พบตัวเต็มวัยให้รอฝนตกซ้ำครั้งที่ 2  ด้วงหนวดยาวอ้อยจะออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัยให้ทำกับดักหลุมในแปลงอ้อยเพื่อจับตัวเต็มวัยหรือเดินเก็บตัวเต็มวัยในแปลงอ้อยช่วงค่ำ





 







 



Create Date : 12 พฤษภาคม 2565
Last Update : 12 พฤษภาคม 2565 18:30:20 น.
Counter : 492 Pageviews.

0 comment
ขายเกลี้ยง ! จีนกวาดเรียบทุเรียนไทยทั้งตลาดออฟไลน์-ออนไลน์
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า มีรายงานจากสำนักข่าวซินหัวของจีนว่า ปีนี้ทุเรียนไทยเข้าสู่ตลาดจีนช้ากว่าปกติและมีราคาสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคชาวจีนยังคงเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ บรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ทยอยวางจำหน่าย ‘ทุเรียนไทย’ กันแล้วและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ส่งสัญญาณว่า ‘ฤดูทุเรียน’ มาถึงแล้ว




 






 
โดยทุเรียนจากสวนในไทยจะถูกเก็บเกี่ยวและส่งออกด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ มุ่งสู่ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจว ไป๋อวิ๋น มณฑลกวางตุ้ง ทางใต้ของจีน จากนั้นจะกระจายไปยังทุกภูมิภาคของจีนอย่างรวดเร็ว ด้านร้านผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่เมืองกว่างซี แจ้งว่า ทางร้านได้รับทุเรียน 100 กล่อง ถูกกระจายสู่ร้านสะดวกซื้อ ขายให้ลูกค้าขาจร ทั้ง 100 กล่องหมดอย่างรวดเร็ว แม้ราคาจะสูงขึ้นกว่าปีก่อนก็ตาม




 





 

ทุเรียนยังคงเป็นผลไม้ยอดนิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน ครองตำแหน่งผลไม้นำเข้า ‘ดาวเด่น’ ปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีนี้ และการนำเข้าทุเรียนสดในปี 2564 สูงกว่าเมื่อปี 2560 ถึง 4 เท่า

ส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย พื้นที่นำเข้าหลักคือ กวางตุ้ง กว่างซี และฉงชิ่ง นิศาชล ไทยทอง หรือที่คนจีนรู้จักในชื่อ ไท่ลู่ลู่ หญิงไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในหนานหนิง ทำธุรกิจนำเข้าทุเรียนจากสวนไทยมาขายในจีน จนมีกลุ่มลูกค้าประจำในมือ บอกกับสำนักข่าวซินหัวว่า เมื่อก่อนคนจีนรู้จักแต่ทุเรียนหมอนทอง แต่ตอนนี้รู้จักทุเรียนพันธุ์อื่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กระดุมทอง ก้านยาว และพวงมณี





 





 



Create Date : 12 พฤษภาคม 2565
Last Update : 12 พฤษภาคม 2565 17:42:41 น.
Counter : 240 Pageviews.

0 comment
“เฉลิมชัย”ประกาศขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายปฏิรูปภาคเกษตร
“เฉลิมชัย”ประกาศขับเคลื่อน“5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายปฏิรูปภาคเกษตร” สู่เกษตรมูลค่าสูง จับมือสภาอุตสาหกรรมฯ เดินหน้าโครงการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรทั่วประเทศพร้อมดันประจวบคีรีขันธ์เป็นเมืองหลวงสับปะรดโลกเร่งตั้งศูนย์พัฒนาสับปะรดภายในปี 2565 นี้ 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day 2565 ณ แปลงสับปะรดของ นายสมชาย ทองประเสริฐ ม.10 ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมี นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายอาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัดเพชรบุรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดเพชรบุรี นายอำเภอหนองหญ้าปล้อง หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรกว่า 200 คน เข้าร่วมงาน 

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มึการขับเคลื่อนการกระตุ้นการสร้างเศรษฐกิจรากฐานให้กับประเทศ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรม จึงได้วางแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต







 








 
เทคโนโลยีเกษตร 4.0, “3’s” (Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน), การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน และยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา ภายใต้ 15 นโยบายหลัก เช่นนโยบายการส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เพื่อสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืน ระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการ

โดยร่วมกันยกระดับคุณภาพผลผลิตมีราคาที่เป็นธรรมสำหรัยเกษตรกร และนโยบายแปลงใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนเดินหน้าเกษตรมูลค่าสูงมุ่งเน้นการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ โดยเน้นย้ำให้เกษตรกรและหน่วยงานราชการให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี ทั้งจากศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC)

รวมถึงภูมิปัญญาทัอวถิ่นและศาสตร์พระราชามาใช้ในกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ มุ่งหวังยกระดับรายได้เกษตรกรและสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างมั่นคง และยั่งยืน อีกทั้งให้หน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันดำเนินงานใน 2 โครงการใหญ่ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกันขับเคลื่อน คือ โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ และโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร

“เรากำลังเร่งขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายปฏิรูปภาคเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง โดยร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเดินหน้าโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรใน 18 กลุ่มจังหวัด ครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรทั่วประเทศ” นายอลงกรณ์ กล่าว

สำหรับการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day 2565 ในวันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ในพื้นที่ของเกษตรกร

การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี มีเป้าหมายสำคัญ 2 ระดับ คือ 1. การทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่ และ 2. การทำให้กลุ่มเป้าหมายนำข้อมูลไปใช้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความรู้ที่ได้รับ ทั้งนี้ ด้วยสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และการแข่งขันในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีความผันผวนเป็นอย่างมาก

รวมถึงกลไกการค้าที่มุ่งเน้นคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรตั้งแต่การผลิตที่ต้นทาง และการบริโภคปลายทาง พี่น้องเกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีข้อมูล และความรู้ที่ครบถ้วนอย่างรอบด้าน เพื่อพร้อมรับมือ

อาทิ การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น การเพาะปลูกตามความเหมาะสมของดินและการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูง การเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินของตนและการลดการพึ่งพากลไกราคาด้วยการทำไร่นาสวนผสม เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการแปรรูปผลผลิต การบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นต้น 







 






 
โดยกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ในวันนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของเกษตรกรก่อนเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2565 เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปลูกสับปะรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ สร้างผลตอบแทนให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ปลูกสับปะรดกว่า 67,000 ไร่ ได้ผลผลิตกว่า 130,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็นสับปะรดโรงงานป้อนให้กับโรงงานในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งอยู่ติดกัน 

นอกจากนี้จะมีการตั้งศูนย์สับปะรดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามข้อสั่งการของ นายฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเมืองหลวงสับปะรดของโลก ในขณะที่กระทรวงเกษครและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการได้พัฒนาสับปะรดโรงงาน “พันธุ์เพชรบุรี 2” สำเร็จแล้วเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงและเริ่มเผยแพร่หน่อพันธ์ุไปยังเกษตรกรแล้วได้มอบพันธุ์ปลาพันธุ์พืช และสารชีวภัณฑ์ให้กับเกษตรกรเพชรบุรี และได้เยี่ยมชมนิทรรศการความรู้ต่าง ๆ เช่น การวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จากต้นกล้วยฟางข้าวหญ้าเนเปีย

ตลอดจนการให้บริการและความรู้กับเกษตรกรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 5 สถานี คือ สถานีการเพิ่มผลผลิต สถานีการลดต้นทุน สถานีพัฒนาคุณภาพผลผลิต สถานีเพิ่มมูลค่าสร้างทางเลือก และสถานีลดรายจ่ายเพิ่มรายได้รวมทั้งฟาร์มแพะ-โคต้นแบบ และฟาร์มผึ้ง ซึ่งมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนข้าวเกรียบผำหรือไข่น้ำที่เป็นซูเปอร์ฟู้ดอีกด้วย



 






 



Create Date : 11 พฤษภาคม 2565
Last Update : 11 พฤษภาคม 2565 16:42:18 น.
Counter : 384 Pageviews.

0 comment
"กระทรวงเกษตรฯ"บวงสรวงก่อนเริ่มพระราชพิธีพืชมงคล
"กระทรวงเกษตรและสหกรณ์"จัดพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ องค์พระพิรุณทรงนาค และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงฯ เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนการเริ่มงานวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2565

นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา ประจำปีพุทธศักราช 2565 เป็นประธานในพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ เทวดา องค์พระพิรุณทรงนาค พญานาคและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้แก่ ศาลพระภูมิ ศาลท้าวเวสสุวรรณ และศาลตา-ยาย





 






 
ถือเป็นพิธีกรรมก่อนวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีนายสำราญ สาราบรรณ์ นายประยูร อินสกุล นายสมชวน รัตนมังคลา นายโอกาส ทองยงค์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ เข้าร่วมพิธี

พิธีบวงสรวงฯ นี้ จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ องค์พระพิรุณทรงนาค และศาลพระภูมิเจ้าที่ของพระยาแรกนาขวัญ จะเป็นพิธีกรรมก่อนการเริ่มงานวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ พร้อมคณะ เป็นผู้ดูแลการประกอบพิธีพราหมณ์ และ  มเทพีคู่หาบทอง เทพีคู่หาบเงิน ร่วมในพิธีด้วย





 





 
ในปีพุทธศักราช 2565 ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคมพ.ศ.2565 เป็นวันสวดมนต์เริ่มการ “พระราชพิธีพืชมงคล” อันเป็นพระราชพิธีทางสงฆ์ ซึ่งประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และถือเป็นวันเกษตรกรด้วย สำหรับวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2565 เป็นวัน “พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์จะประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ฤกษ์พิธีไถหว่าน ระหว่างเวลา 08.19 - 08.49 น.

สำหรับปีนี้ นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวณัฐชยา ศรีสุขสวัสดิ์ นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการพิเศษ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และนางสาวอาทิตยา ทองแกมแก้ว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร

เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวกันยารัตน์ เศวตนันทิกุล นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ ผู้อัญเชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย และคู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย พระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล 





 





 
สำหรับพันธุ์ข้าวพระราชทานที่เตรียมไว้ในพระราชพิธีมีทั้งสิ้น 6 สายพันธุ์ น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 1,728 กิโลกรัม ได้แก่ 1) ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 245 กิโลกรัม 2) ปทุมธานี 1 จำนวน 399 กิโลกรัม 3) กข 43 จำนวน 125 กิโลกรัม 4) กข6 จำนวน 70 กิโลกรัม  5) กข 87 จำนวน 300 กิโลกรัม และ 6) กข 85 จำนวน 589 กิโลกรัม 
 
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมแจกจ่ายพันธุ์ข้าวพระราชทานให้กับเกษตรกรและประชาชน เพื่อความเป็นสิริมงคลโดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมการข้าว กองเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-561-3794 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวทั้ง 29 แห่ง ศูนย์วิจัยข้าวทั้ง 27 แห่ง และสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้ที่สนใจยังสามารถรับเมล็ดพันธุ์พระราชทานผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ได้ทาง https://rice.moac.go.th ซึ่งเมื่อลงทะเบียนทางออนไลน์แล้ว สามารถเดินทางไปรับพันธุ์ข้าวพระราชทานได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่านหลังจากวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2565 เป็นต้นไป โดยจะได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานคนละ 2 ซอง




 





 



Create Date : 09 พฤษภาคม 2565
Last Update : 9 พฤษภาคม 2565 15:54:01 น.
Counter : 481 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments