All Blog
เร่งผลิตล้านเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีป้อนเกษตรกร


"มนัญญา"สั่งกรมวิชาการเกษตรเร่งผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีเป้าล้านเมล็ดป้อนเกษตรกรปลื้มพันธุ์สุราษฎร์ธานีสร้างรายได้พุ่งสูงสุดกว่า 2 หมื่นบาท/ไร่/ปี

       
นายภัสชญภณ  หมื่นแจ้ง  รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
เปิดเผยว่า จากความต้องการต้นกล้าปาล์มน้ำมันของเกษตรกรที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ราคาต้นกล้าปาล์มน้ำมันในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น 1-2 เท่า






 






 
ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  จึงได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรเร่งรัดการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพดีตรงตามพันธุ์ และมีศักยภาพในการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มต่อหน่วยพื้นที่สูง สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพพื้นที่ปลูกของประเทศไทย
 

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  จึงได้มอบหมายให้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ  รวมทั้งตามนโยบายยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีให้กับเกษตรกร เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน  และลดต้นทุนการผลิต  อีกทั้งยังเป็นการผลิตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการกระจายสู่แปลงเพาะกล้ารายย่อยและเอกชน เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์ปาล์มน้ำมันของ กรมวิชาการเกษตรได้สะดวกมากยิ่งขึ้น






 





 
       
ในปีงบประมาณ 2561-2564 ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี  กรมวิชาการเกษตร มีการผลิตและส่งมอบ จำหน่ายเมล็ดงอกแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมถึงแปลงเพาะกล้ารายย่อยจำนวน 3.54 ล้านเมล็ดงอก คิดเป็นพื้นที่ปลูก 118,000 ไร่ และในปี  2563-2564 ที่ผ่านมา มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันขยายตัว เพิ่มขึ้นประมาณ 600,000 ไร่  



ประกอบกับราคาผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2565 ส่งผลให้เกษตรกรมีความต้องการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2565 ประเทศไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันจำนวน 6.15 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 18.42 ล้านตัน

     
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โครงการพัฒนาการผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลงานวิจัยการผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีที่มีคุณภาพดี  ตรงตามพันธุ์ และได้มาตรฐานการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีจำนวน 1,000,000 เมล็ดงอกจำหน่ายให้แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันภาครัฐและเอกชน  






 






พร้อมทั้งสร้างการรับรู้การใช้ปาล์มน้ำมัน พันธุ์ดีมีคุณภาพ และแหล่งข้อมูลของแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรให้แก่เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องผ่านการประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ โดยในเดือนกรกฎาคม 2565 - มิถุนายน 2567  ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฏร์ธานีร่วมกับศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่  กรมวิชาการเกษตร ได้ตั้งเป้าหมายผลิตเมล็ดงอกจำนวน 1,000,000 เมล็ด จำหน่ายให้กับหน่วยงานภาครัฐ  และแปลงเพาะกล้าเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร

       
สำหรับแผนการส่งมอบเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีจะเริ่มทยอยส่งมอบให้กับผู้ที่ลงทะเบียนจองไว้แล้ว ในช่วงเดือนเมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการผลิตเมล็ดพันธุ์  ซึ่งเกษตรกรจะได้รับปาล์มมันน้ำมันพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย






 






 
รวมถึงนวัตกรรมปาล์มน้ำมันของกรมวิชาการเกษตรที่สามารถเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการผลิต ช่วยให้เกษตรกรมีความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการใช้ปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์และการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ  เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยจากการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 13,095-22,905 บาท/ไร่/ปี ขึ้นกับความเหมาะสมของพื้นที่และการจัดการ (ราคาทะลาย 4.50 บาท/กก.)


การซื้อเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ไม่มีคุณภาพตรงตามพันธุ์จะส่งผลกระทบระยะยาวต่อเกษตรกร โดยเฉพาะรายได้จากผลผลิตที่กว่าจะได้รับและทราบผลต้องใช้เวลานานกว่า 3 ปี นอกจากนี้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ไม่มีคุณภาพจะให้ผลผลิตต่ำมากหรือไม่ให้ผลผลิตเลย และส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าในการผลิตปาล์มน้ำมัน


หากเกษตรกรมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำสามารถสอบถามได้จากหน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดต่างๆ  ที่มีแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน






 




 



Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2566 17:12:21 น.
Counter : 411 Pageviews.

0 comment
"มนัญญา"สั่งด่านตรวจพืชเข้มงวดนำเข้าพืช-ผลิตภัณฑ์
  

"มนัญญา"สั่งด่านตรวจพืชกรมวิชาการเกษตรยกระดับควบคุมการนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์อธิบดีกรมวิชาการเกษตรลงพื้นที่ ย้ำเจ้าหน้าที่เข้มงวดตรวจสอบสินค้าต้องตรงตามรายการสำแดง ป้องกันการลักลอบ และ สำแดงเท็จ

     
นางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งให้กรมวิชาการเกษตร ยกระดับมาตรการควบคุมการนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์ ที่มีการแจ้งขออนุญาตนำเข้าผ่านทางด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตร รวมถึง ป้องกันและเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้า






 






 
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการผลิตในแปลงของเกษตรกร ปริมาณผลผลิต และกระทบต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตรไทย จึงให้ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรตรวจสอบการนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด และต้องทำงานบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

     
นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
เปิดเผยว่า ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ นี้ได้ลงพื้นที่ ณ ด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง อ. ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ร่วมกับผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร หัวหน้าด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ และด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง


เพื่อติดตามการปฏิบัติงานการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ ตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พืชและผลิตภัณฑ์ ที่มีความเสี่ยงของโรค แมลงศัตรูพืช ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงประกาศที่เกี่ยวกับการนำเข้า ของกรมวิชาการเกษตร


ปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์  รวมทั้งหมด ๔๓๘,๐๙๕  ชิปเมนท์ มูลค่าการนำเข้าประมาณ ๓๗๗,๙๙๕.๐๑๐ ล้านบาท กลุ่ม ๓ ลำดับแรกที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ เมล็ดถั่วเหลือง กากข้าวโพด ข้าวสาลี  





 







นอกจากสินค้ากลุ่มนี้แล้วการนำเข้ายังมีกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงกับราคาผลิตของเกษตร เช่น การนำเข้ามะพร้าว ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมตามกฎหมายที่กระทรวงพาณิชย์กำกับดูแล  ได้กำหนดด่านนำเข้าเพียง ๒ ด่าน คือ ด่านศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และด่านศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ


โดยใน ปี ๒๕๖๕ มีการนำเข้ารวมประมาณ ๑๓๙,๖๕๓ ตัน ๑,๓๗๐ ชิปเมนท์ มูลค่าประมาณ ๑,๓๙๔ ล้านบาท แยกเป็น เวียดนาม ๔๙,๐๔๒ ตัน ๔๕๙ ชิปเมนท์ มูลค่า ๔๖๘ ล้านบาท จากอินโดนีเซีย ๙๐,๖๑๑ ตัน ๙๑๑ ชิปเมนท์ มูลค่า ๙๒๖ ล้านบาท


     
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  ได้มอบนโยบายโดยกำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืช เข้มงวดในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตรตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าควบคุม มีความเสี่ยงจะกระทบกับเกษตรกร ระบบการผลิตพืช  และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย


ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรต้องเข้มงวด กับการสำแดงเอกสารตรงตามรายการสินค้าที่ตรวจปล่อย ตามเงื่อนไขการอนุญาตนำเข้า (License per Invoice) เช่น มะพร้าว หอม กระเทียม เป็นกลุ่มสินค้าควบคุม มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย  






 





 

ดังนั้นทุกด่านตรวจพืชต้องเข้มงวดในการควบคุมการนำเข้าภายใต้กฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรกำกับดูแล เพื่อป้องกันการลักลอบ และการสำแดงเท็จ ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาผลผลิตของเกษตรกรภายในประเทศ

     
พร้อมกันนี้นายตรวจพืชต้องปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไขการนำเข้า ในคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างเคร่งครัด เต็มความสามารถ


รวมถึงการเพิ่มความสามารถของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองสุขอนามัยพืช เช่น ฝึกอบรม และประสานงานร่วมกับหน่วยงานตรวจร่วมกับหน่วยงานศุลกากรอย่างใกล้ชิด ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลใบอนุญาตผ่านระบบ NSW เฝ้าระวังการลักลอบนำเข้า เพื่อป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวัง โรค และศัตรูพืชที่อาจจะติดมาก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืชร้ายแรง ตลอดจนสร้างความเสียหายแก่พืชเศรษฐกิจ และระบบการผลิตพืชของประเทศไทย




 





 



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2566 17:59:26 น.
Counter : 347 Pageviews.

0 comment
ธ.ก.ส.โอนเงินเพิ่มยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
  

ธ.ก.ส.โอนเงินช่วยเหลือให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่านโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สำหรับปีการผลิต 2565/66 อีกกว่า 24 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวน 4,958 ครัวเรือน วันนี้


นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินมาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่านโครงการสนับสนุนค่าบริหาร จัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66







 







 
ธ.ก.ส. ได้เริ่มทยอยโอนเงินให้เกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ประกอบไปด้วย โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 (โครงการไร่ละพัน) เป็นเงินกว่า 53,837.76 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์ไปแล้วจำนวน 4.61 ล้านครัวเรือน และโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 งวดที่ 1-15 เป็นจำนวนกว่า 7,844.16 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์ไปแล้วจำนวน 2.59 ล้านครัวเรือน


ในวันนี้ ธ.ก.ส. ได้ทำการโอนเงินช่วยเหลือเกษตรกรผ่านมาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 แก่เกษตรกรเพิ่มเติมอีกกว่า 4,958 ครัวเรือน เป็นจำนวนเงิน 24.45 ล้านบาท


โดยแบ่งเป็น โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 (โครงการไร่ละพัน) ครั้งที่ 9 เป็นเงินกว่า 23.05 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวน 4,258 ครัวเรือน และโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 งวดที่ 16 และงวดที่ 1-15 (เพิ่มเติม) เป็นเงินกว่า 1.40 ล้านบาท และมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวน 700 ครัวเรือน


เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plus ตลอด 24 ชั่วโมงและจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ สำหรับเกษตรกรที่มีข้อสอบถามเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวนี้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Call Center 02 555 0555





 



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2566 16:24:09 น.
Counter : 360 Pageviews.

0 comment
ดูแลไม้ผลหลังน้ำลดอย่างไร ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษมีคำตอบ
 

นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากผลกระทบจากสถานการณ์พายุโนรูในปีที่ผ่านมาทำให้จังหวัดศรีสะเกษเจอสถานการณ์ลมแรงและฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากมีน้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ได้สั่งการให้ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดศรีสะเกษออกให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบหลังจากน้ำลด







 






 

เพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่ประสบภัย และมอบปัจจัยการผลิต โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้มอบเมล็ดพันธุ์ผัก  ในพื้นที่ อำเภอกันทรารมย์  อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรลักษ์  และอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

       
สำหรับทุเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุโนรู ส่งผลให้พื้นที่ปลูกทุเรียน จำนวน 4,386 ไร่  ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมขังแปลงทุเรียน ส่งผลให้ต้นทุเรียนเสื่อมโทรมและตาย  เนื่องจากเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ได้ออกให้คำแนะนำ/ปรึกษาแก่เกษตรกรในพื้นที่ อ.กันทรลักษ์ เพื่อการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า โดยให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโรค ดังนี้







 







 
 






       
1. ควรป้องกันกำจัดโดยการใส่ปูนขาวบริเวณทรงพุ่มต้นที่เป็นโรค เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง เพื่อให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา
       
2. ตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านได้
       
3. พบการระบาดเฉพาะจุดที่โคนหรือกิ่ง  ให้ขูดเปลือกลำต้นหรือกิ่งแขนงใหญ่บริเวณที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล 25% หรือ 35% ดับบิวพี อัตรา 50-60 กรัม/น้ำ 1 ลิตร
       
4. พบอาการรุนแรงที่ราก ลำต้น หรือกิ่งใหญ่ให้ใช้สาร ฟอสฟอรัส แอซิค 40% ใส่กระบอกฉีดยา ผสมน้ำสะอาด อัตราส่วน 1 : 1 ฉีดเข้าที่ลำต้นหรือกิ่งในแนวท่อน้ำท่ออาหาร อัตรา 20-60 ซีซี/ต้น (ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

       
ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ออกติดตามให้คำแนะนำการบริหารจัดการสวนทุเรียนคุณภาพ และการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค-แมลง อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ด้วย






 





 



Create Date : 30 มกราคม 2566
Last Update : 30 มกราคม 2566 15:46:30 น.
Counter : 375 Pageviews.

0 comment
ปีนี้หอมแดงศรีสะเกษผลผลิตรวม 72,945 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8


นางประเทือง วาจรัต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ของ สศท.11 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ แหล่งผลิตอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปีเพาะปลูก 2565/66 (ข้อมูล ณ 17 มกราคม 2566) คาดว่า มีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งจังหวัด 22,201 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 22,874 ไร่ (ลดลง 673 ไร่ หรือร้อยละ 2.94)


เนื่องจากเกษตรกรที่ปลูกหอมแดงหลังพื้นที่ทำนาในอำเภอยางชุมน้อย และอำเภอราศีไศล ปีนี้ได้รับผลกระทบจากพายุโนรู น้ำในนาแห้งช้า หัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลูกบางส่วนฝ่อ ส่งผลให้หัวพันธุ์ราคาแพง ขณะที่เนื้อที่เก็บเกี่ยวรวม 22,098 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 20,077 ไร่ (เพิ่มขึ้น 2,021 ไร่ หรือ ร้อยละ 10 )






 





 

เนื่องจากปีนี้เกษตรกรในพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุเตี้ยนหมู่เหมือนปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ด้านผลผลิตรวม 72,945 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 67,262 ตัน (เพิ่มขึ้น 5,683 ตัน หรือร้อยละ 8) เนื่องจากเนื้อทีเก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาแปลงปลูกหอมแดงที่ดี

         
สำหรับปีเพาะปลูก 2565/66 ผลผลิตได้ทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2565 คิดเป็นร้อยละ 10 ของผลผลิตทั้งหมด และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงกลางเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 ประมาณ 51,061 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด ราคาหอมแดงที่เกษตรกรขายได้






 





 

ภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากการเปิดตลาดจากการผ่อนคลายสถานการณ์โควิด-19 ตลาดท่าเรือมีการปรับปรุงพื้นที่ตลาดให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่าย จังหวัดศรีสะเกษมีการจัดงานรักโครให้หอม เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าอีกช่องทางหนึ่งด้วย รวมทั้งตลาดต่างประเทศมีความต้องการมากขึ้น โดยราคาเฉลี่ย วันที่ 20 มกราคม 2566 หอมแดงสดแก่ (คละ) ราคา 13 - 15 บาท/กิโลกรัม


เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีราคา 10-12 บาท/กิโลกรัม หอมปึ่งคละ ซึ่งเป็นหอมแดงที่เก็บเกี่ยวและแขวนตากในโรงเก็บเป็นเวลาประมาณ 14 วัน ราคา 20 - 25 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีราคา 18 - 22 บาท/กิโลกรัม และหอมมัดจุกใหญ่ ราคา 27 - 33 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีราคา 25 - 30 บาท/กิโลกรัม






 





 

ด้านสถานการณ์ตลาดหอมแดง ผลผลิตเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 80) เกษตรกรจำหน่ายให้กับพ่อค้าในท้องถิ่น พ่อค้ารายใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ ร้านสิทธิกรณ์ดีพืชผล ซึ่งเป็นผู้รวบรวมและส่งหอมแดงรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะรับซื้อหอมแดงเพื่อส่งขายลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น ส่วนผลผลิตที่เหลือจำหน่ายให้กับพ่อค้าต่างจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ นครราชสีมา รวมถึงพ่อค้ารายย่อยในพื้นที่

         
หอมแดงศรีสะเกษ เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกหอมแดงมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน การแปรรูปเป็นชาชงหอมแดง ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบางส่วนทำเป็นหอมเจียว


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงสำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้รวมกันสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการผลิตการแปรรูป และช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน






 





 

นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มปลูกหอมแดงอินทรีย์ในโครงการแปลงใหญ่ทำสารสมุนไพรหรือสารอินทรีย์ใช้เป็นปุ๋ยและเป็นสารควบคุมป้องกันศัตรูหอมแดงในการพัฒนาคุณภาพหอมแดง พร้อมให้การสนับสนุนพัฒนางานวิจัยทั้งในด้านพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และงานวิจัยเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตหอมแดง เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายให้มากขึ้น


อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดการสะสมเชื้อโรค และในสภาพอากาศร้อนจัด ความชื้นในอากาศน้อย รวมทั้งสภาพอากาศแปรปรวน มีฝนตกในฤดูหนาว อาจทำให้หัวและรากเน่าเสียหาย เก็บเกี่ยวไม่ได้ หรือไปเน่าเสียในช่วงเก็บรักษา หากเกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตหอมแดงของจังหวัดศรีสะเกษ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 จังหวัดอุบลราชธานี โทร 045 344 654 หรืออีเมล zone11@oae.go.th 





 



 



Create Date : 24 มกราคม 2566
Last Update : 24 มกราคม 2566 14:53:38 น.
Counter : 416 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments