All Blog
“มนัญญา”มอบวัคซีนลัมปี สกิน สร้างความมั่นใจควบคุมการระบาด
น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรฯ เป็นประธานพิธีมอบวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน  (Lumpy Skin Disease: LSD) ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ อำเภอทัพทัน อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอหนองฉาง

โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี นายสมพล ไวปัญญา ปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานี และเกษตรกร เข้าร่วม ณ องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี





 





 
นส.มนัญญา กล่าวว่า จากการรายงานของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานีพบว่า จังหวัดอุทัยธานีพบการระบาดของโรคลัมปี สกิน เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 มีสัตว์ป่วยทั้งหมด 290 ตัว (โค 289 กระบือ 1 ตัว) จำนวนสัตว์ตาย 48 ตัว (โค 47 ตัว กระบือ 1 ตัว) และจำนวนสัตว์หายป่วย 242 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2565)

ขณะนี้สถานการณ์อยู่ในภาวะโรคสงบแล้ว โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานีได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์เฝ้าระวังป้องกันโรคก่อนการเกิดโรคระบาด การควบคุมโรคระบาดตามมาตรการของกรมปศุสัตว์ และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภายหลังการเกิดโรคระบาดเป็นอย่างดี





 










 
โดยจ่ายเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด จำนวน 28 ราย เป็นเงินเยียวยาสัตว์ จำนวน 38 ตัว ซึ่งใช้เงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง จำนวนเงินทั้งสิ้น 716,000 บาท และได้จ่ายเงินถึงมือเกษตรกรเรียบร้อยแล้ว 

สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดการฉีดวัคซีนถือเป็นวิธีการป้องกัน ควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ ปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ 50 กิโลเมตร จากแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งของจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งช่วยเหลือเกษตรกร และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วน จะร่วมมือกันดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคระบาดลัมปี สกิน ในโค กระบือให้สำเร็จ เพื่อลดความสูญเสียให้กับเกษตรกรต่อไป




 





 




 



Create Date : 31 มกราคม 2565
Last Update : 31 มกราคม 2565 17:42:36 น.
Counter : 503 Pageviews.

0 comment
งัดพ.ร.บ.กักพืชฯสกัดนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชาเสรี
"รมช.มนัญญา"สั่งกรมวิชาการเกษตรเตรียมพร้อมมาตรการรองรับปลดล็อคกัญชา กัญชง   ไม่ให้ส่งผลกระทบเกษตรกร งัด พรบ.กักพืชและพันธุ์พืช ปิดทางนำเข้าเมล็ดพันธุ์ ช่อดอก ได้อย่างเสรี   

นางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า  ตามที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้กัญชาและกัญชงพ้นจากยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 ยกเว้นสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงซึ่งเป็นพืชในสกุลแคนาบิส ตั้งแต่ร้อยละ 0.2

โดยน้ำหนักยังเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมีข้อกังวลมากขึ้นโดยล่าสุดตนได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรเตรียมความพร้อมจัดทำมาตรการรองรับทุกข้อกังวลก่อนที่จะมีมติดังกล่าวออกมาแล้ว







 







 
นายพิเชษฐ์  วิริยะพาหะ  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  ในเรื่องความพร้อมของเกษตรกรและพันธุ์พืชสกุลกัญชาที่จะใช้ปลูกนั้น  การดำเนินงานที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้รวบรวม  ศึกษา  และขยายพันธุ์กัญชาพันธุ์พื้นเมืองของไทย และพันธุ์การค้าจากต่างประเทศรวม 87 แหล่งปลูก  จำนวน 39 พันธุ์  โดยกรมพร้อมที่จะผลิตต้นพันธุ์เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรนำไปปลูกได้อย่างเพียงพอ  

ทั้งนี้ กรมฯ ได้จัดทำคู่มือการปลูกพืชสกุลกัญชาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและครอบคลุมในทุกมิติเผยแพร่ไปสู่เกษตรกรแล้ว และยังได้ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินจัดทำแผนที่ความเหมาะสมการปลูกพืชสกุลกัญชาในแปลงปลูกของประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลได้ที่ https://www.doa.go.th บนเมนู “กัญชง กัญชา”

กรมยังสนับสนุนการนำพันธุ์กัญชา กัญชงมาแจ้งขึ้นทะเบียนพันธุ์ โดยปัจจุบันมีพันธุ์กัญชาที่ได้หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรแล้วจำนวน 5 พันธุ์ คือ  อิสระ01 หางกระรอกภูพานเอสที 1  หางเสือสกลนครทีที 1  ตะนาวศรีก้านขาวดับเบิลยูเอ 1  ตะนาวศรีก้านแดงอาร์ดี 1 และกัญชงจำนวน 8 พันธุ์ คือ อาร์พีเอฟ 1  อาร์พีเอฟ 2  อาร์พีเอฟ 3  อาร์พีเอฟ 4  อาร์พีเอฟ 5  อาร์พีเอฟ 6  อาร์พีเอฟ 7  อาร์พีเอฟ 8






 







 
ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดการตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์ของพืชสกุลแคนาบิสที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 โดยกัญชากัญชงจะเป็นพืชที่สามารถนำพันธุ์ใหม่มายื่นขอจดทะเบียนรับความคุ้มครองได้

เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักปรับปรุงพันธุ์วิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชสกุลกัญชาให้มีความหลากหลายของพันธุ์มากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร พร้อมกันนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้เปิดขอบข่ายการรับรองแหล่งผลิตพืชกัญชากัญชงตามมาตรฐาน GAP เพื่อรองรับการปลูกที่ปลอดภัย ในเกรดที่นำไปทำเป็นยา และสำหรับบริโภคได้






 







 
สำหรับข้อกังวลเรื่องการนำเข้าเมล็ดพันธุ์  และช่อดอก พืชสกุลกัญชาจากต่างประเทศได้อย่างเสรีนั้น  กรมวิชาการเกษตรมีมาตรการทางฏหมายที่กำกับดูแลการนำเข้า คือ พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถประกาศให้พืชสกุลกัญชาเป็นสิ่งต้องห้ามได้  

หากวิเคราะห์ความเสี่ยงแล้วพบว่าประเทศต้นทางมีศัตรูพืชที่ร้ายแรง ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โดยการนำเข้าสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจ้งนำเข้าที่ด่าน พร้อมแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาด้วย  รวมทั้งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการที่กำหนด 

พร้อมกับยังต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 ซึ่งเมล็ดพันธุ์กัญชาและกัญชงเป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุมการนำเข้า ส่งออก ขาย และรวบรวมจะต้องขออนุญาต และต้องไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรมนอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดมาตรกรการนำเข้าตามมาตรฐานการผลิตพืช

โดยทำข้อตกลงกับประเทศต้นทางพืชที่จะนำเข้าได้นั้นจะต้องมาจากแปลงปลูกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช GAP และผ่านการคัดบรรจุจากโรงคัดบรรจุที่ได้มาตรฐาน GMP ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสุขอนามัยพืชตามมาตรฐานสากล  เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีและศัตรูพืชมากับผลผลิต รวมทั้งเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะเป็นมาตรการที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการนำเข้าเมล็ด  ใบ และดอกกัญชาจากต่างประเทศเข้ามาได้อย่างเสรีด้วย





 





 



Create Date : 28 มกราคม 2565
Last Update : 28 มกราคม 2565 16:42:54 น.
Counter : 505 Pageviews.

0 comment
"เกษตรฯ"พิธีทำขวัญเกลือรับฤดูกาลผลิตใหม่
"เกษตรฯ"จัดพิธีทำขวัญเกลือพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือทะเลรับฤดูกาลผลิตใหม่ กระตุ้นการพัฒนาการทำนาเกลือทะเล โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่เหมาะสมกับพื้นที่
       
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธานเปิดงานสืบสานพิธีทำขวัญเกลือและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือทะเลเพื่อการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ณ แปลงนาเกลือ หมู่ที่ 9 ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์






 





 
โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับจังหวัดเพชรบุรี สถาบันเกลือทะเล (Salt Academy) ศูนย์ AIC เพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สหกรณ์เกลือ และชาวนาเกลือ 7 จังหวัดในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก ซึ่งจะทำพิธีพร้อมกันทุกจังหวัด กำหนดจัดงานดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือทะเล





 




 





 
รวมถึงการรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการทำนาเกลือทะเลของประเทศ สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การผลิตเกลือทะเลของประเทสไทย อีกทั้งเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรพัฒนาการทำนาเกลือทะเล และเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่เหมาะสมกับพื้นที่
   
นายอลงกรณ์กล่าวว่าการจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการรื้อฟื้นประเพณีโบราณของนาเกลือเพื่อความเป็นศิริมงคลฤกษ์งามยามดีเสริมสร้างขวัญและกำลังใจสู่ผลผลิตที่สมบูรณ์ต่อยอดด้วยมาตรฐานและคุณภาพใหม่ (มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายสร้าง Story สร้างแบรนด์ด้วยการตลาดยุคดิจิทัล





 





 
เกลือทะเลมีประวัติศาสตร์ยาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ไทย ส่วนประวัติศาสตร์โลกนั้นในยุโรปยุคกรีก-โรมันเรียกเกลือว่า สสารแห่งพระเจ้า เป็นยุทธปัจจัยและสารอาหารที่สำคัญมาก การฟื้นฟูให้ความสำคัญกับพิธีทำขวัญเกลือจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเกลือทะเลไทยเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและสร้างแบรนด์เกลือทะเลไทย นอกจากนี้ ยังมีอีกพิธีกรรมคือพิธีแรกนาเกลือในเดือนแรกของการเริ่มต้นฤดูกาลทำนาเกลือเมื่อแดดแรกมาถึงหลังสิ้นฤดูฝนในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน

สำหรับพิธีแรกนาขวัญเกลือและพิธีทำขวัญเกลือของชาวนาเกลือสอดคล้องกับวิถีชาวนาและเกษตรกรไทยที่มีพิธีมงตลต้นฤดูการเพาะปลูกคือพิธีพืชมงคลและแรกนาขวัญนาเกลือกับนาข้าวคู่กันมากว่า 800 ปี จนมีเพลงฮิตเพลงหนึ่งชื่อ “หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ” และยังมีกิจกรรมนาเกลือกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้คอนเซ็ปต์ Sand Salt Seafood บนถนนสายเลียบชายทะเล "คลองโคน-ชะอำ" อีกด้วย



 

 



Create Date : 28 มกราคม 2565
Last Update : 28 มกราคม 2565 16:09:11 น.
Counter : 664 Pageviews.

0 comment
เผยผลงานฉก.ปศุสัตว์-ปคบ. ลุยตรวจสอบห้องเย็น
อธิบดีกรมปศุสัตว์เผยผลงานชุดเฉพาะกิจฯ ปศุสัตว์ร่วมเครือข่าย ปคบ. ลุยตรวจสอบห้องเย็นและดำเนินการตามกฎหมายโรคระบาดสัตว์

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ผลสรุปล่าสุดของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเครือข่ายปฏิบัติงานเร่งตรวจสอบห้องเย็นร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เครือข่ายกองบังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ที่ได้สนธิกำลังเร่งตรวจสอบห้องเย็นเพื่อกันการกักตุนซากสุกรทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 21-24 มกราคม 2565





 






 
สรุปผลการตรวจสอบและการดำเนินการตามกฎหมาย พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 พบว่าจากการตรวจสอบห้องเย็น 10 แห่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร วันที่ 21 มกราคม 2565 นั้น พบการจัดเก็บเนื้อสุกรแช่เย็นที่ไม่มีเอกสารใบอนุญาตในการเคลื่อนย้ายในห้องเย็นจำนวน 3 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 402,938 กิโลกรัม จากบริษัทนำของมาฝากทั้งหมด 4 ราย

โดยได้ดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทที่นำของมาฝาก โดยผู้ประกอบการจะมีความผิดตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 มาตรา 22 โทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากการตรวจสอบเอกสารที่ผู้ประกอบการได้นำมาชี้แจงแล้ว ได้ทำการถอนอายัดบางส่วนและอายัดเพิ่มเติ่มเนื่องจากนำเอกสารมาแสดงได้บางส่วน และได้ดำเนินคดีกรณีที่ทำการเคลื่อนย้ายเนื้อสุกรเนื้อสุกรแช่เย็น นำมาจัดเก็บห้องเย็นภายนอกโดยไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายเป็นเนื้อสุกร






 






 
โดยในวันที่ 24 มกราคม 2565 เวลา 22.30 น. พนักงานเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษพญาไท ได้รวบเอกสารหลักฐานและบันทึกถ้อยคำของผู้กระทำความผิดทั้งหมด มอบให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสาคร นำไปดำเนินคดีตามกฎหมายที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรสาครแล้ว

นอกจากนั้นยังมีการตรวจสอบห้องเย็นจำนวน 2 แห่ง ในจังหวัดนครปฐม วันที่ 22 มกราคม 2565 นั้น พบการจัดเก็บเนื้อสุกรแช่เย็นที่ไม่มีเอกสารใบอนุญาตในการเคลื่อนย้าย และไม่ได้แจ้งต่อกรมการค้าภายใน จำนวนทั้งสิ้น 66,984.34 กิโลกรัม ได้ทำการอายัดทั้งหมด 66,984.34 กิโลกรัม โดยอยู่ระหว่างรอบริษัทที่นำของมาฝากนำเอกสารหลักฐานมาแสดงเพื่อตรวจสอบ ซึ่งหากไม่สามารถแสดงได้จะดำเนินการตามกฎหมายมีความผิดตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 มาตรา 22 โทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับต่อไป

อย่างไรก็ตามหากประชาชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือพบเห็นการกระทำผิดด้านปศุสัตว์ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับข้อมูล หรือแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย โดยแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือ สายด่วนกรมปศุสัตว์





 




 



Create Date : 25 มกราคม 2565
Last Update : 25 มกราคม 2565 17:03:47 น.
Counter : 535 Pageviews.

0 comment
หนุนเกษตรกรปลูกพืชหลากหลายทดแทนนาปรังลดใช้น้ำ
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ช่วงเดือนพฤศจิกายน – เมษายน เป็นช่วงฤดูแล้ง ที่ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ มักจะมีปริมาณจำกัดเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่สนใจหันมาปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยทดแทนข้าวในฤดูนาปรัง ในพื้นที่ชลประทาน

ทั้งนี้เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง พริก แตงโม ข้าวโพดหวาน เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้จะมีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 120 วัน โดยเฉลี่ยการปลูกข้าวพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้น้ำประมาณ 1,200 - 1,500 ลูกบาศก์เมตร/ฤดูกาลผลิต ในขณะที่พืชใช้น้ำน้อยจะใช้น้ำเพียงประมาณไร่ละ 300 - 800 ลูกบาศก์เมตร/ฤดูกาลผลิตเท่านั้น






 






 
ทั้งนี้จากผลการเก็บข้อมูลของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2565 มีรายได้จากการปลูกข้าวนาปรัง ปี 2564 เปรียบเทียบกับรายได้ปลูกพืชใช้น้ำน้อยชนิดต่าง ๆ  ในพื้นที่ที่มีการวางแผนการผลิตและการตลาด

พบว่า  เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จะมีรายได้ 1,185 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าเช่านา) ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกแตงกวาจะมีรายได้ 24,760 บาท/ไร่, พริกซอส 37,600 บาท/ไร่, ถั่วเขียว 4,040 บาท/ไร่, ข้าวโพดหวาน 1,450บาท/ไร่, ถั่วเหลือง 1,490 บาท/ไร่, แตงโม 12,220 บาท/ไร่, มะเขือเทศ 36,800 บาท/ไร่, มันฝรั่ง 60,075 บาท/ไร่, ถั่วสิสง 5,800 บาท/ไร่, หอมแบ่ง 17,030 บาท/ไร่ และบวบ 32,900 บาท/ไร่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า พืชใช้น้ำน้อยสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีกว่าการทำนา






 











 
อย่างไรก็ตาม ก่อนการเลือกปลูกพืชแต่ละชนิด เกษตรกรควรจะมีการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการตลาดก่อนเริ่มปลูกเสมอ ตลอดจนประเมินความพร้อมของสภาพพื้นที่ และศักยภาพในการผลิตของเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณตามทีเหมาะสม และมีตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอนด้วย 

สำหรับโครงการส่งเสริมปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง เป็นโครงการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทนข้าวในฤดูนาปรัง เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตั้งแต่การผลิต การจัดการคุณภาพผลผลิต และการตลาด ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพการเกษตร

โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ดีและเหมาะสม โดยเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรังในปีถัดไป  สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการและการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน





 




 



Create Date : 24 มกราคม 2565
Last Update : 24 มกราคม 2565 16:40:21 น.
Counter : 607 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments