All Blog
"ณศร ออสุวรรณ"ชูชสท.ศูนย์กลางสหกรณ์การเกษตรบริการสมาชิกครบวงจร

นายณศร ออสุวรรณ นักบริหารรุ่นใหม่ผู้นั่งตำแหน่งประธานกรรมการฯ ชุดที่ 45 ของ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย(ชสท.) หลัง ได้รับความไว้วางใจจากการเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2564  เปิดใจถึงแนวคิดและแผนอนาคตในการทำหน้าที่ดูแลส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของชุมนุมฯ รวมถึงการสร้างเครือข่ายกระจายผลผลิตทางการเกษตรให้แข็งแกร่งเติบโตเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการก่อตั้ง


นั้นคือส่งเสริมให้สหกรณ์สมาชิกดำเนินกิจการร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามวิธีการสหกรณ์ที่ไม่หวังผลกำไร เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สหกรณ์และสังคมส่วนรวมทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรฯ เจริญเติบโตอย่างมั่นคง ผลงานเป็นที่ยอมรับของทั้งภาครัฐและสหกรณ์ และตั้งเข็มทิศชัดเจนในการมุ่งทำให้ “ ชสท.เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของสหกรณ์การเกษตรที่ให้บริการแก่สมาชิกอย่างครบวงจร “

 






 

 

 






 

นายณศร เปิดเผยถึง บทบาทด้านต่างๆ ที่จะนำพาชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นรวมถึงเป็นที่พึ่งพาของสมาชิก ประกอบด้วยภารกิจหลายด้าน ทั้งนี้คือ 1.   บทบาทการส่งเสริมสหกรณ์เกษตร โดยหยิบยกเอาเครื่องมือ ที่เรียกว่า “ปฏิทินผลไม้” มาใช้เป็นตัวกำหนดแผนในการกระจายผลผลิต รวมถึงวางแผนการตลาดให้เหมาะสมในแต่ละภูมิภาคที่มีผลผลิตต่างกันไปและลักษณะเฉพาะตัว ปฏิทินผลไม้ทำให้รู้ ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวและเตรียมแผนงานการกระจายได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม นอกเหนือจากนั้น ทางชุมนุมฯ กำหนดการตลาดที่ชัดเจน นั่นคือระบบการสั่งแบบ พรีออเดอร์ Pre-Order เพื่อให้สหกรณ์ผู้ผลิตสามารถวางแผนได้ตรงกับปริมาณความต้องการของลูกค้า และง่ายต่อการขนส่ง 








 








 

 2. ด้านการศึกษา อย่างที่ทราบว่าสหกรณ์สมาชิกของชุมนุมฯ  กระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย จึงเกิดแนวคิดการอบรมหมุนเวียนในแต่ละเขต เป็นการอบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ในปี 2565 จะเน้นการให้อบรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลังวิกฤติโรคระบาดโควิด 19 เช่นต้องเน้นตลาด ออนไลน์มากขึ้น ตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้าหรือผู้บริโภค

 

 3.ด้านการช่วยเหลือสมาชิกและสังคม เช่นกรณี ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำเป็นที่มาของการตั้งศูนย์กระจายสินค้าให้เป็นฟันเฟืองในการระบายสินค้า หลักการคือเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากต้นทางให้ไวที่สุดเพราะสินค้าเกษตรเป็นสินค้าอ่อนไหว เน่าเสียเร็ว ทาง ชสท. จึงมีบทบาทหลักในการช่วยกระจายสินค้าออกจากพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงการทำประชาสัมพันธ์ นอกจากการช่วยสมาชิกยัง มีส่วนช่วยเหลือประชาชนทั่วไป สังคม นั่นคือโครงการข้าวแกงสหกรณ์ ราคา 10 บาท ซึ่งเริ่มมาหลายปีและได้รับการตอบรับมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง








 








 

นายณศร กล่าวถึงกลยุทธ์การพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรไว้อย่างน่าสนใจ ว่า ชสท. วางแนวคิดที่จะสร้างความเติบโตของสหกรณ์ภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้นยกระดับมาตรฐานสินค้าสหกรณ์ให้อยู่ในระดับสากล โดยหาผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ สอนการพัฒนาด้านการผลิต การเก็บเกี่ยว การบรรจุ ให้ได้มาตรฐานยอมรับระดับโลก รองรับแผนส่งออกสินค้าเกษตรไปต่างประเทศให้สำเร็จในที่สุด


พร้อมทั้งกล่าวฝากบริการของ ชสท. ไม่ว่าจะเป็น 1.ศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์ข้าวสหกรณ์ไทย  รวบรวมสินค้าเกษตรมีทั้ง ออฟไลน์ ออนไลน์ Coop Click รวมถึงร้านใน Lazada Shopee   2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรฯ  3. สินค้า TJC เคมี จำกัด เกิดจากการร่วมทุน กับ ชสท. และชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศญี่ปุ่น จำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร เช่น ยากำจัดศัตรูพืช  

 

“ ปีนี้ต้องเป็นปีแห่งความหวัง” คือวลีสั้นๆ "ณศร ออสุวรรณ" ฝากไว้ให้กำลังใจกับสหกรณ์สมาชิก รวมถึงทุกคนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังที่ต่างผ่านจุดสิ้นหวังอันเป็นผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 มาหลายปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในฐานะประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยยินดีจะจุดประกายความหวังเพื่อให้ทุกคนผ่านห้วงเวลาแห่งความกลัวความสิ้นหวังมาสู่ความสำเร็จ ดังนั้น ชสท.จะมุ่งมั่นทำงาน สานงานต่อก่องานใหม่เพื่อประโยชน์ของสมาชิก และของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นความหวังให้เกษตรกรไทยต่อไป



 






 

 




Create Date : 21 มิถุนายน 2565
Last Update : 21 มิถุนายน 2565 20:21:25 น.
Counter : 383 Pageviews.

0 comment
บุกร้านขายเคมีเกษตรโคราชขายชีวภัณฑ์ไม่ขึ้นทะเบียน
"สารวัตรเกษตร กรมวิชาการเกษตร"ประสานตำรวจ บุกบริษัทขายเคมีเกษตรเมืองโคราช ขายชีวภัณฑ์ไม่ขึ้นทะเบียนผ่านออนไลน ผิดพ.ร.บ.วัตถุอันตราย  พร้อมอายัดผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์การผลิตกว่า 12 รายการ 


นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่าล่าสุดหน้าที่สารวัตรเกษตรได้ร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจกองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก.2 บก.ปคบ.) นำหมายค้นศาลจังหวัดนครราชสีมาเข้าตรวจค้น บริษัท สวนพัชรา จำกัด  ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา  







 







 
เนื่องจากได้ตรวจสอบ แอพพลิเคชั่น Facebook https://www.facebook.com/somchate004/ พบบัญชีผู้ใช้ชื่อ บิวเวอเรีย สวนพัชรา มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์สินค้าเคมีทางการเกษตร ซึ่งเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้ให้สายลับสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าเชื้อราบิวเวอเรีย ขนาดบรรจุ 1 ลิตร ในราคา 250 บาท และได้ส่งให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ต้องขอขึ้นทะเบียนและแจ้งก่อนการผลิต  


จากการเข้าตรวจค้น บริษัท สวนพัชรา จำกัด พบผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จำนวน 6 รายการ ได้แก่ ​1.ผลิตภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ สำหรับป้องกัน กำจัด และควบคุมแมลงศัตรูพืช ขนาดปริมาตร 1.5 ลิตร บรรจุในกระป๋องพลาสติด ทรงกลม จำนวน 42 ขวด ​







 







 
2. ผลิตภัณฑ์ไตโคเดอร์มา ชนิดผง สำหรับป้องกัน กำจัด และควบคุมแมลงศัตรูพืช ขนาดปริมาตร 1,000 กรัม จำนวน 6 ถุง ขนาดปริมาตร 500 กรัม จำนวน 22 ถุง ขนาดปริมาตร 100 กรัม จำนวน 42 ถุง และขนาดปริมาตร 50 กรัม จำนวน 28 ถุง บรรจุในซองฟอยด​


3. ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อ เมตาไรเซียม สำหรับป้องกัน กำจัด และควบคุมแมลงศัตรูพืช ขนาดปริมาตร 1 ลิตร บรรจุในกระป๋องพลาสติก ทรงสี่เหลี่ยม สีขาว จำนวน 13 กระป๋อง​4. ผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรีย สำหรับป้องกัน กำจัด และควบคุมแมลงศัตรูพืช ขนาดปริมาตร 1 ลิตร บรรจุในกระป๋องพลาสติก ทรงสี่เหลี่ยม สีขาว จำนวน 17 กระป๋อง


​5. ผลิตภัณฑ์ บิวต้าที ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช แมลง ด้วง หนอน เพลี้ย ไร ขนาดปริมาตร 1 ลิตร บรรจุในกระป๋องพลาสติก ทรงสี่เหลี่ยม สีขาว จำนวน 10 กระป๋อง​6. ผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์บีที ชนิดน้ำ สำหรับป้องกัน กำจัด และควบคุม แมลงศัตรูพืช ขนาดปริมาตร 1 ลิตร บรรจุในกระป๋องพลาสติก ทรงสี่เหลี่ยม สีขาว จำนวน 12 กระป๋อง








 







 
จากการตรวจสอบสถานที่ดังกล่าวไม่มีใบรับแจ้งการดำเนินกิจการผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และไม่มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 แต่อย่างใด  โดยจากการสอบถามกรรมการผู้จัดการ บจก.สวนพัชรา แจ้งว่าได้จดทะเบียนประเภทบริษัทจำกัด ผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นสินค้าของ บริษัท สวนพัชรา จำกัด เพื่อขายให้กับเกษตรกรทั่วไปและขายผ่านสื่อออนไลน์  


โดยขนาดบรรจุ 1 ลิตร ราคา 250 บาท เจ้าพนักงานตำรวจจึงได้อายัด ผลิตภัณฑ์รายการที่ 1- 6 ไว้ในที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการของกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ต่อไป 


"การตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวไม่มีใบรับรองแจ้งการผลิตวัตถุอันตราย และไม่มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 รวมเจ้าหน้าที่ได้อายัดวัตถุอันตรายที่ผิดกฎหมาย รวมถึงวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมดเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อไป" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าว





 




 



Create Date : 21 มิถุนายน 2565
Last Update : 21 มิถุนายน 2565 17:41:05 น.
Counter : 313 Pageviews.

0 comment
"เฉลิมชัย"ตรวจความพร้อมสถานที่จัดพืชสวนโลก
"เฉลิมชัย"ตรวจดูความพร้อมของสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมเป็นเจ้าบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังบรรยายสรุปการเตรียมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (UDONTHANI International Horticultural Exhibition Expo 2026 ณ พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่ง สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (International Association of Horticultural Producers : AIPH) ได้ประกาศการคัดเลือกอย่างเป็นทางการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา






 








 
สำหรับพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ นี้ ตั้งอยู่ที่ ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี ริมถนนมิตรภาพ สายอุดรธานี-หนองคาย ห่างจากตัวเมืองอุดรฯ ประมาณ 4 ก.ม. เนื้อที่ประมาณ 1,030 ไร่ แบ่งเป็น พื้นน้ำ 400 ไร่ และพื้นดิน 630 ไร่ คาดว่าจะทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมงานถึง 3.6 ล้านคน เป็นชาวไทยร้อยละ 70 และชาวต่างชาติร้อยละ 30 มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 20 ประเทศ/องค์กร/สมาคม มีระยะเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 – 14 มีนาคม 2570 (134 วัน)

ทั้งนี้เมื่อเสร็จการจัดงานดังกล่าวแล้ว ทางจังหวัดอุดรธานีมีแผนจะอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าว เพื่อใช้ประโยชน์ต่อเนื่องเป็นศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ ประเพณีวัฒนธรรม และศูนย์กลางกีฬานานาชาติ ของกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งการเป็นเจ้าภาพมหกรรมพืชสวนโลกในปี 2569 ครั้งนี้






 




 







 
คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก สามารถเพิ่มเงินสะพัดระหว่างการจัดงานได้ประมาณ 32,000 ล้านบาท เพิ่มมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณ 20,000 ล้านบาท และเกิดการสร้างงาน การจ้างงาน ประมาณ 81,000 อัตรา

"วันนี้มาดูพื้นที่ในการจัดเตรียมงาน ซึ่งจะต้องร่วมมือกับทางจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดเตรียมงาน โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดเตรียมงบประมาณตั้งแต่ปี 2566 จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน และประสานงานกับทางจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องงบประมาณ ความพร้อมของพื้นที่ และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เพื่อให้งานพืชสวนโลกปี 2569 สมบูรณ์ที่สุด"รมว.เกษตรฯกล่าว

นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยถึงการปรับปรุงการจัดเตรียมงาน และหลังจากจัดงานเสร็จ ทางนายก อบจ.อุดรธานี จะมาช่วยดูแลพื้นที่ตรงนี้ที่จะกลายเป็นมรดกของคนอุดรธานีต่อไป






 



 



Create Date : 18 มิถุนายน 2565
Last Update : 18 มิถุนายน 2565 18:56:04 น.
Counter : 294 Pageviews.

0 comment
เกษตรฯขับเคลื่อนThai Rice NAMA ด้วยเทคโนโลยี 4 ป.
"เกษตรฯ"ขับเคลื่อนโครงการ Thai Rice NAMA เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยี 4 ป. หนุนเกษตรกรทำนาลดก๊าซเรือนกระจก ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ พร้อมเตรียมเสนอ Thai Rice GCF เพิ่มศักยภาพของชาวนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมั่นคง
         
นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ Thai Rice NAMA มอบหมายให้ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมหารือกับ นายแมทเทียส บิกเคล (Dr. Matthias Bickel) ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการด้านการเกษตรและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย






 







 
โดยมี ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ผู้แทนกรมการข้าว และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมหารือ
          
นายสมชวน เปิดเผยว่า องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice NAMA) และหารือการพัฒนาโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ (Thai Rice GCF)

การดำเนินงานโครงการ Thai Rice NAMA ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคกลาง (ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี) มีความก้าวหน้าในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยกลุ่มเทคโนโลยีหลักประกอบด้วย 4 ป. ประกอบด้วย (1) การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในการปลูกข้าว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่มีศักยภาพลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้สูงถึง 70% และไม่มีผลทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำลง

(2) เทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser land levelling : LLL) ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้งซึ่งทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะลดปริมาณการใช้น้ำลงได้ประมาณ 40% รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยที่สามารถกระจายได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงและทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น (3) เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้ประมาณ 20% จากที่ใช้โดยทั่วไป

(4) การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้เป็นทางเลือกในการลดการเผาตอซังและฟางข้าว เพื่อ. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดปริมาณ PM 2.5 ในอากาศ ซึ่งทั้ง 4 เทคโนโลยีข้างต้น นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและจะเกิดผลประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน






 
       






 
สำหรับโครงการ Thai Rice NAMA จะสิ้นสุดลงในปี 2566 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว และ GIZ ได้มีการพัฒนาโครงการ Thai Rice GCF เพื่อเสนอต่อ Green Climate Fund; GCF เพื่อขยายผลการทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มศักยภาพการปรับตัว (adaptation) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate resilient) เป้าหมาย 15 จังหวัด โดยโครงการฯ นี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของชาวนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมั่นคง รวมทั้งขยายพื้นที่การทำนาแบบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซมีเทนได้อย่างยั่งยืน
       
การประชุมฯในครั้งนี้ เป็นการหารือเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ Thai Rice GCF ได้อย่างสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai–German Cooperation – Energy, Mobility and Climate : TGC-EMC) ในภาคส่วนชีวมวล

เพื่อสนับสนุนให้ภาคเกษตรกรเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศตามเจตนารมณ์ที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ประกาศใน COP26  ให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) ต่อไป






 





 



Create Date : 18 มิถุนายน 2565
Last Update : 18 มิถุนายน 2565 15:36:08 น.
Counter : 326 Pageviews.

0 comment
"สปก."เดินหน้าขุดบ่อน้ำโซลาเซลล์ในเขตปฏิรูป
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เปิดเผยว่าเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ การเกษตรในพื้นที่ สปก ล่าสุดทาง สปก ได้จัดมำ “โครงการก่อสร้างบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน” ในพื้นที่ โดยได้ขุดเจาะบ่อบาดาลและวางระบบสูบน้ำโซล่าร์เซลล์เพื่อการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน  





 






 
โดยเริ่มค้นในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ แห่งที่ 1 บ้านรางเฆ่ ม.4 ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง จ.ราชบุรี มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 168 ไร่ จำนวน 15 ราย 17 แปลง และแห่งที่ 2 บ้านหนองปากชัฏ ม.6 ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง จ.ราชบุรี มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 155 ไร่ จำนวน 11 ราย 11 แปลง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งแก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน





 







 
ทั้งนี้ ส.ป.ก. ได้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนปฏิรูปที่ดินฯ ได้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างไปแล้ว วงเงิน 87,620,620บาท รวม 62 โครงการ ในพื้นที่ 24 จังหวัด ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 13 โครงการ 8 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ไปแล้วกว่า 259 ครัวเรือน 2,089 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างไปแล้ว 18,661,000 บาท และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก จำนวน 44 โครงการ และอยู่ระหว่างพิจารณาหาจุดดำเนินการอีก 5 โครงการ





 






 
โดยตลอดการดำเนินการโครงการ ส.ป.ก. ในการก่อสร้างบ่อบาดาลนั้น ได้มีการบรูณาการร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในการขอรับคำปรึกษา องค์ความรู้ เทคนิควิธีการต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โครงการบ่อบาดาลนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีน้ำใช้เพื่อการเกษตร ช่วยลดภาระรายจ่ายในการดำรงชีวิต สร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร มีอาชีพในช่วงฤดูทำนาอันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต

"ส.ป.ก. จะเร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่น้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ เราจะเร่งดำเนินการโครงการสร้างแหล่งน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง และแก้ปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรในการเพาะปลูกแบบเกษตรผสมผสาน และสร้างคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้อยู่ได้ อยู่ดี และมีความสุขในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน” เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าว





 






 



Create Date : 18 มิถุนายน 2565
Last Update : 18 มิถุนายน 2565 15:09:31 น.
Counter : 344 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments