ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมืองตอนที่11:โลกอนาคตที่ไม่มีการผูกขาดความจริง

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ นับเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนของนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนของไทยที่เริ่มหันมาสนใจและศึกษานิวมีเดียอย่างจริงจัง ในอดีตเขาเคยเป็นนักข่าวในเครือผู้จัดการในยุคพฤษภาเลือดปี 2535 ก่อนจะไปศึกษาต่อและมาเป็นอาจารย์สาขาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จนกระทั่งปัจจุบัน และใช้เครือข่ายทางสังคม หรือโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊กสื่อสารกับผู้คน รวมถึงนักศึกษาของตัวเองอย่างใกล้ชิด


นิยาม ‘นิวมีเดีย’
มานะเริ่มต้นด้วยนิยามของนิวมีเดียว่าในแวดวงวิชาการปัจจุบันก็ยังเถียงกันอยู่ว่าควรจะใช้คำนี้ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะหากอ้างอิงกับเทคโนโลยี เมื่อมีเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า สิ่งที่เรียกว่าใหม่ในขณะนี้ก็กลายเป็นเก่าได้เสมอ อย่างไรก็ตาม ในความเข้าใจทั่วไป คำว่า นิวมีเดีย หมายถึงสื่อดิจิตอลซึ่งเป็นเว็บไซต์แบบ 2.0 คือ เป็นยุคที่ผู้รับสารสามารถเป็นผู้ผลิตเนื้อหาและเผยแพร่เองได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการสื่อสารแทบทุกวงการ ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยเฉพาะในแวดวงสื่อที่กำลังเผชิญความท้าทายและต้องปรับตัวอย่างหนัก

ที่ผ่านมา กรอบเดิมของ “สื่อสารมวลชน” นั้นอยู่บนฐานที่เห็นผู้บริโภค passive คอยรับอย่างเดียว ถ้าหากมีความไม่เห็นด้วยกับผู้ส่งสารก็อาจมีช่องทางสื่อสารเสียงของตนบ้างเพียงเล็กน้อย ทั้งยังขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ส่งสารเป็นหลักว่าจะให้ความสนใจแค่ไหน แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นได้เพิ่มอำนาจให้ผู้รับสารชนิดที่ในต่างประเทศถึงกับใช้คำว่า We’re the media. เพราะตัวเราสามารถเป็นสื่อได้ด้วยตัวเอง การทำเว็บไซต์ก็ไม่ยากเหมือนสมัยก่อนแล้ว หน้าที่ของคนทำสื่อแบบเดิมๆ ที่เป็นผู้กำหนดว่าอะไรถูก อะไรผิด เหตุการณ์ไหนสำคัญพอที่จะเป็นข่าว หรือเรียกว่าการเป็น gate keeper จึงถูกลดบทบาทลงอย่างสำคัญ


เมื่อ ‘ความจริง’ ไม่ใช่ ‘เอกพจน์’ อีกต่อไป
“ปัญหาต่อเนื่องตามมาก็คือ ในอนาคตหรือกระทั่งตอนนี้จึงไม่มีใครผูกขาดความจริงชุดเดียวอีกต่อไป เมื่อผู้บริโภคโดยเฉพาะคนชั้นกลางสามารถส่งสารได้มากขึ้น เรื่องหรือเหตุการณ์หนึ่งๆ จึงไม่มีความจริงชุดเดียว ไม่แปลกว่า ในอนาคต ความขัดแย้งในสังคมไทย ถ้าเรายังมองในลักษณะของการถูก การผิด ทุกเรื่องก็จะมีปัญหา”
“ฉะนั้น ในอนาคต เราจะอยู่ได้อย่างไรในเมื่อมีความจริงหลายๆ ชุด เราจะเรียนรู้ได้อย่างไร ที่จะเคารพความจริงอีกชุดหนึ่งหรืออีกหลายๆ ชุดที่แตกต่างจากเรา และจะเรียนรู้ได้อย่างไรว่าความจริงของเรามีจุดบกพร่องตรงไหน สามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากกว่าจะบังคับคนอื่นบอกว่าความจริงของคุณนั้นผิดของฉันถูกคนเดียว ซึ่งในอนาคตเป็นเรื่องยากแล้ว และจะเป็นปัญหามากขึ้นถ้าเรายังไม่สามารถบริหารจัดการความต่างตรงนี้ได้” มานะกล่าวและยกตัวอย่างว่า ดูจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ทุกคนพยายามบอกว่า ข้อมูลฉันถูก ข้อมูลเธอผิด ทุกฝ่ายเหมือนกันหมด และทำให้เถียงกันไม่จบ

อย่างไรก็ดี ประเทศไทยไม่ใช่ “ข้อยกเว้น” ที่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งรูปแบบใหม่ในสังคมผ่านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นอยู่เพียงสังคมเดียว มานะบอกว่าในต่างประเทศก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน เพียงแต่เขาเรียนรู้ในบางเรื่องจนผ่านการยอมรับ มีการถกเถียงอย่างเป็นเหตุเป็นผล ขยายขอบฟ้าการวิพากษ์วิจารณ์ และยอมรับซึ่งกันและกันมากกว่าสังคมไทย

ทางออกเพียงอย่างเดียวที่เขานำเสนอ คือ ทำอย่างไร “เรา” จึงจะยอมรับว่ามันอาจมีความจริงที่หลากหลายมากกว่าความจริงหนึ่งเดียว เพราะเทคโนโลยีมันเปิดให้พื้นที่กับคนจำนวนมากสามารถให้ข้อมูล ทัศนคติ ความคิดเห็นที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอนาคตอันใกล้นี้ เครื่องมืออย่างนิวมีเดียจะขยายตัวทั่วถึงมากขึ้น ไม่ใช่ของคนชั้นกลางเท่านั้น คนชั้นล่างจะมีโอกาสใช้มันสื่อสารได้มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งเพิ่มพลังหรือเปิดความจริงได้อีกมากมายหลายชุด ซึ่งนั่นอาจยิ่งท้าทายสังคมไทยหนักกว่าเดิม

ขณะที่หลายคนกังวลว่าสื่อใหม่อาจเป็นตัวกระพือความขัดแย้งให้หนักหน่วงขึ้น มานะมองว่าเป็นเรื่องปกติและต้องอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้ แม้ไม่มีใครรู้ว่าช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านด้านการสื่อสารนี้จะกินเวลายาวนานเท่าใด

“มันต้องเรียนรู้ และคงมีช่วงเปลี่ยนผ่านอยู่เหมือนกัน พอมีสื่อใหม่ ความจริงไม่ได้มีชุดเดียว ความขัดแย้งเกิดขึ้นอยู่แล้ว ยิ่งยึดกุมความจริงแน่นหนาเท่าไรยิ่งมีปัญหา สงครามในเฟซบุ๊กเกิดขึ้นก็เกิดจากการยึดกุมความจริงของแต่ละฝ่าย ผ่านคลิป ยูทูป ยังไม่นับการดัดแปลง ตัดต่อ ล้อเลียน ที่นิวมีเดียสามารถทำได้หมด นั่นคืออีกระดับ ต้องเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อดิจิตอลมากขึ้นด้วย” อาจารย์จากคณะนิเทศศาสตร์กล่าว


โลกเปลี่ยน สื่อเปลี่ยน...รัฐไม่ (เคย) เปลี่ยน
ในสถานการณ์ความขัดแย้งอันแหลมคม แม้ว่าหลายคนจะมองว่า สื่อใหม่มีบทบาทในการทำความจริงให้หลากหลาย แต่ความน่าเชื่อถือก็ยังคงรวมศูนย์อยู่กับสื่อดั้งเดิม เสมือนมวยคนละรุ่นโดยเฉพาะในเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อใหม่ มานะไม่กังวลกับประเด็นดังกล่าวเพราะเห็นว่าสื่อใหม่ไม่ได้มีกลุ่มเดียว เช่นเดียวกับสื่อกระแสหลักก็ไม่ได้มีกลุ่มเดียวเช่นกัน ดังนั้น ต้องมองกว่ามันไม่ใช่การต่อสู้กันระหว่างสื่อใหม่กับสื่อกระแสหลัก ในความขัดแย้ง แต่สื่อใหม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของทุกฝ่าย

แม้แต่รัฐเองก็กระโดดเข้ามาพยายามควบคุมในโลกใหม่ใบนี้ เช่น การออก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และกำลังอยู่ระหว่างยกร่างกฎหมายเพื่อควบคุมโลกออนไลน์อีกหลายฉบับ แต่เขามองว่า อย่างไรเสียรัฐก็ยังคงตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และไม่มีทางประสบความสำเร็จในการควบคุม

“ถึงที่สุดรัฐยังใช้ตรรกะในการควบคุมข้อมูลข่าวสารแบบเดิม เหมือนหนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี แต่สื่อใหม่มันไม่ใช่ มันขยายตัวเร็วมาก ปากต่อปาก เป็น viral ต่อให้มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็ยังถูกใช้ด้วยตรรกะแบบเดิม ซึ่งมันไม่สามารถหยุดความคิดเห็นที่แตกต่างได้อยู่แล้ว พอเป็นไปไม่ได้ ยิ่งกระพือให้ความขัดแย้งมากขึ้น แสดงความคิดเห็นรุนแรงขึ้น หรือสร้างเป็นเครือข่ายได้มากขึ้นด้วยซ้ำไป อันนี้ต้องบอกว่ารัฐทุกยุคสมัย เพื่อความแฟร์ว่าไม่ใช่เฉพาะรัฐยุคนี้ เป็นกรอบคิดของคนมีอำนาจที่พยายามควบคุมไม่ให้มีความเห็นที่แตกต่าง เชื่อว่าความจริงต้องมีชุดเดียว ประวัติศาสตร์ต้องมีชุดเดียว โดยอ้างว่าเพื่อความสุขสงบของสังคม ในอนาคตมันจะไม่ใช่แบบนี้อีกต่อไป”

อีกสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ว่ารัฐไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยก็คือ การกระโดดเข้ามาเล่นและแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบกันเองภายในสังคมไซเบอร์ ซึ่งมานะเห็นว่าสื่อใหม่มีการควบคุม ตรวจสอบกันเองอย่างเข้มข้นอยู่แล้วโดยธรรมชาติของการสื่อสารสองทาง แม้ว่าในช่วงแรกๆ จะมีการสร้างบรรยากาศการตรวจสอบกันเองที่น่าห่วงกังวล เช่น ขบวนการล่าแม่มด หรือโซเชียลแซงชั่นที่ไล่ล่านำข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่สังคมนั้นเห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงมาเปิดเผยเพื่อหามาตรการจัดการทางสังคม แต่ถึงที่สุด มานะเห็นว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่กลายเป็นต่างคนต่างล่ากันและกัน โดยมีรัฐเข้ามาขยายปัญหาด้วยการนำข้อมูลดังกล่าวไปทำการจับกุมดำเนินคดี

“มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น แต่พอเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านมันก็เป็นเรื่องที่คนลองผิดลองถูก ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นกับฝ่ายเดียวอย่างที่เข้าใจ คำถามคือ ไม่ว่าฝ่ายไหนทำมันก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องทั้งคู่มากกว่า ผมเชื่อว่าถึงที่สุดแล้วเขาก็จะเรียนรู้กัน ฉันทำเธอได้ก็จะถูกทำบ้าง ถึงจุดหนึ่งจะเรียนรู้ว่าไม่ควรทำแบบนี้ ควรจะเถียงกันดีกว่า แต่ปัญหามันเกิดเพราะรัฐเข้ามายุ่ง”

ความท้าทายต่อ “มืออาชีพ”
ไม่เฉพาะกับรัฐ สื่อใหม่หรือโซเชียลมีเดียยังท้าทายต่อบทบาทของนักข่าวและความเป็นสถาบันของสื่อสารมวลชนอีกด้วย

เขามองว่าเครดิตของนักข่าวก็ถูกตั้งคำถามเยอะ เนื่องจากความจริงเกิดจากการกลั่นกรองของนักข่าว ผ่านทัศนคติส่วนตัว หรืออุดมการณ์ทางเศรษฐกิจที่ครอบงำโดยโฆษณา องค์กรรัฐ ทำให้ที่ผ่านมาผู้บริโภคไม่แฮปปี้กับข้อมูลข่าวสารที่ออกมานัก และมีการวิพากษ์วิจารณ์ กระแทกกันหนักๆ อยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อผู้บริโภคเสียงดังขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ที่ใครๆ ก็สามารถทำเสนอข้อมูล มุมมองตัวเองขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน citizen journalist หรือนักข่าวพลเมืองถูกสถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการและเป็นที่จับตามองอย่างยิ่งในแวดวงการสื่อสาร แม้ว่าในระยะแรกจะโดนดูถูกจากสื่อกระแสหลักในเรื่องความเป็นมืออาชีพ ความเที่ยงตรงของข้อมูล ความเป็นกลาง ความสมดุลของข่าว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักข่าวพลเมืองทุกแห่งในโลก

แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา นักข่าวพลเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางเริ่มขยายตัวขึ้นมาก พร้อมๆ กับมีการพัฒนาการทำข่าวอย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทุกประเทศมีแนวโน้มเช่นนี้ กระทั่งสำนักข่าวระดับโลกอย่าง CNN หรือหลายๆ แห่งก็ต้องมีพื้นที่เฉพาะรองรับนักข่าวพลเมือง


โฉมใหม่การสื่อสารโลก นักข่าวอาชีพ + นักข่าวพลเมือง
เขาเล่าเพิ่มเติมว่า ขณะนี้หลายๆ แห่งเริ่มมีการปรับตัวในการร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างนักข่าวพลเมืองและนักข่าวอาชีพ ตัวอย่างอันลือลั่นก็เช่น โครงการวิกิลีค (Wikileak) ที่มองกันว่าเป็นการทำงานของแฮกเกอร์หรือพวกเจาะข้อมูล หรืออาจเป็นพวกที่อยู่ในวงราชการของประเทศต่างๆ ส่งข้อมูลมา ผ่านกระบวนการบางอย่างกระทั่งเกิดผลกระทบต่อกระแสสังคมวงกว้าง ทั้งนี้เพราะวิกิลีคไม่ได้เปิดประเด็นบนเว็บไซต์ของตัวเองแล้วจบ แต่เปิดผ่านสื่อกระแสหลัก โดยให้ข้อมูลบางส่วนไปก่อนเพื่อให้นักข่าวไปทำการบ้านต่อ เช็คต่อ ขยายประเด็นต่อ แล้วนัดเวลาในการเปิดข่าวพร้อมๆ กัน ซึ่งนับเป็นการร่วมมือกันในการทำข่าวสืบสวนสอบสวนที่น่าสนใจ ผสานกับนักพัฒนาที่คอยดึงและกระจายข้อมูล กับดีไซเนอร์ที่ทำหน้าที่ย่อยข้อมูลยากๆ ให้เป็นเรื่องง่าย หรือที่เรียกว่า Info Graphic
“ที่อเมริกาเพิ่งประชุมกันเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เรียกว่า data journalism หรือ data driven journalism และที่คุณสุทธิชัย หยุ่น ไปประชุมที่เยอรมนี นั่นก็เป็นการคุยเรื่อง data journalism เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ ต่อไปจะไม่มีโต๊ะข่าวเศรษฐกิจ การเมือง แต่จะเปลี่ยนเป็นกองได้เงิน กองไม่ได้เงิน กองที่เอาคอนเทนต์มาแล้วแปลงเป็นสารในสื่ออื่นต่อ เช่น สื่อวิทยุ”

เขายังหยิบยกกรณีที่สื่อกระแสหลักในบางประเทศเริ่มเปิดพื้นที่ให้กับประชาชนทั่วไปมาร่วมมือกันผ่านเทคโนโลยีบางอย่าง ซอฟต์แวร์บางตัว เพื่อร่วมกันทำข่าวสืบสวนบางเรื่อง เช่น สื่อในอังกฤษค้นข้อมูลการใช้เงินของ ส.ส.แล้วก็ออกแบบคล้ายโอเพ่นซอร์สเปิดโอกาสให้ชาวบ้านมาโหลดไฟล์ไปช่วยกันเช็คดู เพราะข้อมูลมีเยอะมาก หรือบางพื้นที่ก็จัดโครงการขึ้นมาให้คนธรรมดาทั่วไปร่วมมือกับนักข่าวในการนำเสนอข่าวในพื้นที่มากขึ้น นับเป็นการทดลองทางด้านวารสารศาสตร์แบบใหม่ที่กำลังก่อตัว

ถามว่าปลายทางของนักข่าวพลเมืองจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือเหมือนนักข่าวอาชีพหรือไม่ มานะตอบว่า “ไม่จำเป็น เสน่ห์ของคุณก็คือแบบนั้นแหละ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมด ไม่จำเป็นต้องมีความจริงชุดเดียว มีหลักสูตรการเขียนข่าวชุดเดียว มันมีการตั้งคำถามกันในแวดวงวารสารศาสตร์เหมือนกัน แล้วผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ในหลายๆ แห่งก็สรุปออกมาว่า Journalism ก็คือการเล่าเรื่อง เพียงแค่คุณเล่าเรื่องผ่านอะไร เล่าเรื่องผ่านวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นักข่าวก็คือนักเล่าเรื่องนั่นแหละ แล้วก็เอาข้อมูลมา บางคนเล่าแล้วใส่สีตีไข่ บางคนเล่าสั้นๆ บางคนเล่าแล้วมีอารมณ์ แล้วแต่เทคนิค ให้รู้ว่าแก่นของเรื่องมันคืออะไร”

ที่สำคัญ เขายังไม่เชื่อเรื่องฐานันดรของสื่อมวลชนด้วย “ถ้ามันมีก็คงเพราะรู้สึก หรือสถาปนากันไปเองว่ามันมี”

ถึงกระนั้น ในแวดวงสื่อสารมวลชนกระแสหลักก็เริ่มมีการปรับตัวในด้านการควบคุมจริยธรรมที่เข้มข้นมากขึ้นให้เท่าทันกับเทคโนโลยี โดยเขาเพิ่งได้เข้าร่วมในการร่างจริยธรรมผู้สื่อข่าวออนไลน์ร่วมกับสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อเร็วๆ นี้ เพราะนักข่าวก็เริ่มหันมาใช้สื่อใหม่หรือเครือข่ายทางสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ ทั้งในการหาข่าว คุ้ยข่าว หรือสร้างข่าว และผู้คนที่ติดตามนักข่าวคนนั้นๆ ก็ไม่ได้ตามในฐานะที่เป็น นาย ก. นาย ข. แต่ติดตามและเชื่อถือในฐานะที่เป็นนักข่าว

ท้ายที่สุด เราถามเขาถึงเรื่องของแวดวงการศึกษาด้านสื่อสารมวลชน คำตอบมีเพียงสั้นๆ ดังคาดว่า ระบบการศึกษาก็เป็นแชมป์รองลงมาจากรัฐ เพราะยังตามไม่ทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลง มีเพียงสถาบันบางแห่งที่เพิ่งเริ่มต้นในการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันยุคสมัยทันนักศึกษาของตัวเองมากขึ้น

“หลักสูตรมันปรับไม่ยากหรอก แต่คนสอนน่ะปรับยาก ยากมาก” มานะเล่าขำๆ แต่สะท้อนให้เห็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่ยังแก้ไม่ตกและยังขาดแคลนการถกเถียงกันในสังคม

ที่มา ประชาไท


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2553 2:59:48 น. 0 comments
Counter : 701 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.