ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมืองตอนที่10:ความเห็นของประชาชนไม่ใช่ภัยความมั่นคงของชาติ

ทิวสน สีอุ่น เว็บมาสเตอร์ของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ตั้งข้อสังเกตต่อแนวทางการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ว่ายังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน พร้อมทั้งแนวทางการตีความคำว่า “ความมั่นคง” อย่างกว้างเป็นปัญหาหลักของเสรีภาพในโลกออนไลน์

ทิวสน สีอุ่น เป็นเว็บมาสเตอร์ของเครือข่ายพลเมืองเน็ต //thainetizen.org/ ตั้งแต่เมื่อต้นปีก่อน (2552) ขณะยังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ในสาขาวิศวกรรมการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน นอกจากการเป็นเว็บมาสเตอร์แล้ว ยังรับหน้าที่คอยติดตามเก็บข้อมูล เข้าฟังคดีต่างๆ ซึ่งถูกฟ้องด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ประเด็นที่สนใจคือ การรณรงค์ให้ผู้คนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม เพียงแต่หลายคนอาจไม่รู้ถึงข้อมูล และแม้ว่าผู้ใช้อาจไม่ได้ทำสิ่งผิดกฎหมาย แต่หากไม่ป้องกันก็อาจมีโอกาสที่จะถูกสวมรอยและนำเอา ID ไปใช้ในการทำผิดได้

เสรีภาพมาช้ากว่าที่คิด และความมั่นคงถูกตีความอย่างกว้าง

ทิวสนเขียนบล็อก //tewson.com/ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีสื่อสาร และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เขาบอกเหตุผลที่มาร่วมงานกับเครือข่ายพลเมืองเน็ตว่า เป็นเพราะเขาเห็นว่าพื้นที่นี้ควรเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพ แต่ในความจริงกลับมิใช่เช่นนั้น เสรีภาพในโลกออนไลน์ของไทยมาช้ากว่าที่เขาคิดไว้มากทีเดียว

“อาจจะเป็นเพราะอินเทอร์เน็ตมันใหม่ คนก็เลยต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กับมันสักพัก แต่ผมคือคนที่อยู่กับมัน เป็นคนที่คุ้นกับมัน ก็อาจจะสามารถช่วยให้คนอื่นคุ้นชินกับมันได้มากขึ้น”

ในฐานะคนทำงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ทิวสน จับประเด็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งทำให้เขาเห็นว่าปัญหาหลักๆ ก็คือมาตรา 14 ที่ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และมาตรา 15 ว่าด้วยความรับผิดของตัวกลางหรือผู้ให้บริการ*ด้วยเหตุผลหลักๆ ที่ถูกใช้คือเรื่องของความมั่นคงและการละเมิดสถาบันหลักของชาติ

เขาติดตามกรณีที่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแล้ว 2 กรณีหลักๆ คือ “เบนโตะ” ซึ่งถูกฟ้องในฐานะผู้ใช้ ตามความผิดมาตรา 14 และจีรนุช เปรมชัยพร ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ตามความผิดมาตรา 15

กรณีของ ‘เบนโตะ’ นั้น มีการโพสต์ข้อความลงในเว็บบอร์ดประชาไทเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 และผู้โพสต์ถูกจับกุมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ทิวสนบอกเหตุผลว่าคดีนี้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นตัวอย่างความกำกวมของมาตรา 14 ที่ตีความเรื่องความมั่นคงอย่างกว้าง

“ตำรวจพบการโพสต์นิยายบนเว็บประชาไท แล้วก็มีการตีความว่าเป็นเรื่องอาฆาตมาดร้ายดูหมิ่น หมิ่นประมาทกษัตริย์ จึงไปขอข้อมูลจากผู้ให้บริการและสืบสาวราวเรื่อง จุดเด่นของคดีคือ เริ่มแรกนั้น การตีความ หรือคนที่ตีความเป็นคณะกรรมการพิเศษซึ่งเป็นตำรวจ และกรรมการนี้ตัดสินว่าเนื้อหาที่ปรากฏเป็นภัยต่อความมั่นคง จากนั้นตำรวจก็ขอหมายศาล”

ปัญหาใหญ่ คนไม่รู้สิทธิและวิธีปกป้องตัวเอง

ข้อสังเกตของทิวสนคือ คณะกรรมการชุดนี้ เป็นภาพแห่งความโปร่งใสในการดำเนินคดี ว่ากองปราบไม่ได้ดำเนินคดีเอง แต่มีคณะกรรมการพิจารณาเนื้อหา ซึ่งเมื่อเราถามถึงความโปร่งใสหรือไม่ หรือความชัดเจนในการตีความเนื้อหาที่เข้าข่ายละเมิดกฎหมายแล้ว เขาตอบเบาๆ ว่า

“จะพูดอะไรได้มากล่ะ ผมคิดว่ามันเป็นแค่การประทับตราเนื้อหาที่เขาเชื่อว่าหมิ่นฯ คณะกรรมการนี้มีหรือไม่ก็มีค่าเท่ากัน แต่ถ้ามีกรรมการชุดนี้ ตำรวจก็มีข้ออ้างที่มีน้ำหนักขึ้นว่ามีการผ่านพิจารณาของคณะกรรมการ”

ประเด็นต่อ คือ ขณะที่มีการจับกุม ผู้ต้องหาไม่รู้ถึงสิทธิของตัวเอง ทั้งเรื่องการมีทนายความขณะให้ปากคำ และการปกป้องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นหลักฐาน

“คนที่เป็นผู้ต้องหาเขาไม่รู้ว่าเขาควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างไรบ้าง เช่น การเก็บหลักฐาน มีแนวปฏิบัติอยู่ แต่ปัญหาคือคนทั่วไปไม่รู้ ทำให้เขาไม่สามารถปกป้องสิทธิตัวเองได้ คือกรณีของพี่จิ๋ว (จีรนุช เปรมชัยพร) โชคดีเพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย แต่กรณีเบนโตะ ตำรวจแค่ติดสติ๊กเกอร์รอบๆ แล็ปท็อป ตอนให้ปากคำ ผู้ต้องหาไม่มีทนาย ไม่มีคนให้คำปรึกษาในเชิงเทคนิค ตำรวจอ้างว่า ติดสติ๊กเกอร์แล้วไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วฮาร์ดดิสก์ก็ถอดออกได้ ซึ่งอาจจะฟังดูน่าเชื่อถือในชั้นพิจารณาคดีก็ได้”

คำว่า “ติดสติ๊กเกอร์” รอบๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องหานั้น ทิวสนอธิบายขยายความว่าหมาย ถึงการเอาเทปกาวติดรอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการปิดผนึกเพื่อการันตีว่าจะไม่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการ กับข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่างที่ถูกอายัด ซึ่งนั่นไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่า คอมพิวเตอร์ของผู้ต้องหาจะได้รับการจัดเก็บเป็นหลักฐานอย่างปลอดภัยแล้ว เพราะอาจมีการเพิ่มเติมข้อมูลลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของผู้ต้องหาแล้วก็ตาม

“ที่เป็นปัญหาคือจำเลยและทนายไม่ค่อยรู้เรื่องเทคโนโลยี ก็น่าจะลำบาก จำเลยเป็นคนมีการศึกษาก็จริง แต่ไม่รู้เรื่องเชิงเทคนิคมากเพียงพอที่จะปกป้องตัวเอง เช่น ไม่รู้ว่าตำรวจควรจะทำอย่างไรกับคอมพิวเตอร์ตัวเองได้บ้างถึงได้ปล่อยให้ยกไปง่ายๆ และตอนที่ตำรวจมาจับก็ยอมขึ้นรถตู้ไปกับตำรวจ ซึ่งเขาน่าจะรู้ว่าเขามีสิทธิได้ปรึกษาทนายก่อน”

เมื่อเราถามว่าตำรวจทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ของจำเลยได้บ้าง

“ก็ถอดฮาร์ดดิสก์ออกไป ใส่ใหม่ได้ และคดีนี้ก็มีการอ้างหลักฐานเป็นเมมโมรี่สติ๊กด้วย ซึ่งมันปิดผนึกไม่ได้ ข้อที่น่ากังวลสำหรับคดีแบบนี้คือการเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปในภายหลัง เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ผมไม่ได้บอกว่าตำรวจจะทำนะ”

ทิวสนกล่าวยืนยันว่าจากการค้นข้อมูลของเขา เจ้าหน้าที่ตำรวจมีแนวทางปฏิบัติอยู่ รวมถึงมีเครื่องมือในการปฏิบัติการจัดเก็บหลักฐานอย่างปลอดภัยด้วย แต่เขาพบว่าการปฏิบัติของตำรวจในแต่ละคดีกลับไม่ได้เป็นไปบนมาตรฐานเดียวกัน

“เท่าที่ติดตามดูพบว่าตำรวจมีความรู้ทางเทคนิคเพียงพอที่จะจัดการ ดูจากกรณีที่พี่จิ๋ว (จีรนุช เปรมชัยพร) ซึ่งตำรวจปฏิบัติอย่างดี อยู่ที่จำเลยรู้หรือไม่รู้ แต่ผมจะพูดว่าตำรวจทำไม่เหมาะสมได้หรือเปล่า หรือเป็นเรื่องของผู้ต้องหาควรรู้และปกป้องตัวเอง”

ในเรื่องนี้ เขาเองในฐานะของคนทำงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรณรงค์ให้คนเข้าใจโดยเร็ว “สิ่งที่ต้องรู้ คือ มีเกณฑ์วิธีระเบียบในการอายัดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเกณฑ์ปฏิบัติของตำรวจ ซึ่งคนทั่วไปควรจะได้อ่าน”

ความคืบหน้าคดีเบนโตะ ทิวสนบอกว่า อยู่ในขั้นตอนสืบพยานจำเลย ในชั้นศาล

มาตรฐานการปฏิบัติในชั้นสืบสวนสอบสวนไม่เป็นอย่างเดียวกัน

อีกคดีที่ทิวสนติดตามอย่างใกล้ชิด คือคดีของจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเขาเรียกว่า “พี่จิ๋ว” เขาบอกว่า ความน่าสนใจของคดีนี้ก็คือ การเป็นตัวกลางหรือผู้ให้บริการแล้วถูกดำเนินคดี ซึ่งกรณีตัวกลางเท่าที่เป็นที่รับรู้มี 4 ราย คือ ‘พระยาพิชัย’, กรณีของจีรนุช, เว็บมาสเตอร์ 212 cafe ซึ่งถูกฟ้องร้องเนื่องจากมีคนโพสต์รูปโป๊เปลือย และคดีล่าสุดคือ ‘นปช. ยูเอสเอ’

“ที่น่าสนใจก็คือประชาไทก็มีชื่อเสียงในแง่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เมื่อโดนคดีนี้จึงน่าสนใจว่าเป็นเรื่องการเมืองมากกว่า และอีกประเด็นคือ โดนจับเพราะเป็นตัวกลางจริงๆ ไม่ได้ทำเอง ก็เลยเข้ากระแสเรื่องความรับผิดของตัวกลาง ในต่างประเทศก็มีปัญหานี้เหมือนกัน และก็ยังมีการจับกุมครั้งที่สองที่ประหลาดมาก”

ทิวสนตั้งข้อสังเกตว่า กรณีของจีรนุชนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหามากกว่าคดีเบนโตะ ส่วนหนึ่งเขาเชื่อว่าเพราะมีผู้ที่เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์อยู่ด้วยคือตัวเขาเองและอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ตอีกราย

ในแง่ของการตีความกฎหมายหรือกระบวนการดำเนินการ ทิวสนมองว่าถ้าได้อ่านคำฟ้องจะเห็นว่าเป็นการเอาเนื้อหาที่มีผู้โพสต์เป็นนิยายมาตีความ เหมือนกับอ่านใจคนเขียนหรือเดาใจคนเขียน

“ก็เลยดูเหมือนว่า ถ้าจะตีความกันแบบสุดๆ ก็ทำได้ แต่ผมก็ไม่รู้จะพูดยังไง คือถ้าอยากจะจับก็ตีความให้จับได้ และอีกอย่างคือ ตอนที่มาจับแจ้งข้อหาจากกระทู้เดียวแล้วตอนฟ้องก็ไปเอาอีก 9 กระทู้มาซึ่งเป็นกระทู้ที่อายุมากแล้ว และปรากฏอยู่เพียงแค่วันสองวันบนหน้าเว็บ เหมือนเป็นการพยายามหาข้อหามาเพื่อให้โดนสักข้อหาหนึ่ง ผมก็ไม่รู้ว่ากันเหนียวหรือเปล่า แต่ก็สงสัยทำไมถึงเพิ่มกระทู้เหล่านี้เข้ามา”

สำหรับทิวสนแล้ว ทั้งกรณีของเบนโตะและจีรนุช เป็นการถูกฟ้องร้องโดยกฎหมายฉบับใหม่ คือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งยังไม่มีการตีความอย่างจริงจัง ฉะนั้นแล้วสิ่งที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตควรปฏิบัติคือ ความระมัดระวังเรื่องความสุ่มเสี่ยงในข้อความที่ตัวเองโพสต์

“ผมเข้าใจว่าเราศึกษาวิธีเขียนถึงเรื่องสุ่มเสี่ยงได้จากนักวิชาการ ว่าพูดอะไรได้บ้าง อย่างกรณีของอาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างในการโพสต์ข้อความได้รัดกุม”

อีกประการหนึ่งก็คือ การซ่อนตัว

“เมื่อเรารู้ว่ามีกฎหมายอย่างนี้อยู่ เราก็สามารถรักษาความเป็นส่วนตัวของเราได้โดยวิธีการหลายอย่างที่ทำให้เราไม่สุ่มเสี่ยง ถ้าผมพูดไปก็เหมือนชี้ช่อง แต่คุณสามารถใช้พร็อกซี่ได้”

แต่การแก้ปัญหาแบบนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาหลักหมดไป ทิวสนมองว่า สาระสำคัญของมาตรา 14 และ 15 ของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ก็คือ “คนโพสต์สามารถปกปิดตัวตน ถ้าจับคนโพสต์ไม่ได้ ตัวกลางก็จะซวย” และนั่นก็กลับมาสู่การเซ็นเซอร์ตัวเองของผู้ให้บริการ ดังนั้นทางออกที่เขามองเห็นก็คือต้องแก้กฎหมาย

ความขัดแย้งทางการเมืองกับปัญหาเสรีภาพออนไลน์

เมื่อถามถึงบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังดำรงอยู่ ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยอย่างไรบ้าง ทิวสนตอบบนฐานของประเด็นรณรงค์ของเครือข่ายพลเมืองเน็ตว่า

เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีประเด็นรณรงค์หลัก 5 เรื่องคือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพในการแสดงออก ความเป็นส่วนตัว ความรับผิดชอบ และความเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่นี้ส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของเครือข่าย 3 ประเด็นหลักๆ คือ กระทบต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งที่ผ่านมามีการบล็อคข้อมูลข่าวสารอย่างมโหฬาร กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งมีการพยายามจับผู้แสดงความคิดเห็นที่ไม่เป็นที่ชอบใจของรัฐบาล และกระทบความเป็นส่วนตัว คือมีกระบวนการโซเชียลแซงชั่นเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งส่งผลมาสู่โลกออฟไลน์ ทำให้มีคนโดนจับกุมด้วยความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 แล้ว 2 ราย

แต่แม้จะมีกฎหมายและการปฏิบัติที่เข้มงวดอย่างที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ทิวสนกลับมองว่า วิธีการที่รัฐใช้ในการควบคุมความเห็นอันไม่พึงประสงค์อย่างที่กำลังทำอยู่นั้นช่างไร้ประโยชน์ เพราะเขาเชื่อว่า อินเทอร์เน็ตไม่ใช่พื้นที่ที่จะควบคุมได้ และรังแต่จะสิ้นเปลืองงบประมาณไปกับสิ่งที่ไม่คุ้มต้นทุนที่ต้องจ่าย

“โดยฟังก์ชั่นแล้วอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปิดกั้นได้ เพราะฉะนั้นอย่ามามัวเสียเวลามาควบคุมมันเลย นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกออกไป ก็คือสุดท้ายแล้วคุณทำอะไรกับมันไม่ได้หรอก นอกจากจะทำให้มันช้าลง ซึ่งท้ายสุดมันก็ไม่อาจจะปิดกั้นได้ ถ้ามามัวควบคุมก็จะเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์”

ประเด็นปัญหาเสรีภาพในการแสดงความเห็นในโลกออนไลน์ของไทยเป็นประเด็นที่เขาสนใจอย่างยิ่ง พร้อมๆ กับความไม่เข้าใจแบบคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีว่า ความเห็นของคนในชาติ จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติได้อย่างไร ยิ่งหากคนมีความเห็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากถึงระดับหนึ่ง ความเห็นนั้นก็ยิ่งไม่ควรกลายเป็นความคิดเห็นหลักๆ ของชาติหรอกหรือ

“ความมั่นคงของชาติก็บอกไม่ได้ว่าตีความยังไง แต่รัฐหรือคนบางกลุ่มเขาอาจจะรู้สึกมากๆ กับคำๆ นี้ อย่างคนไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ ก็อาจจะเป็นภัยต่อความมั่งคงของชาติก็ได้ ซึ่งผมไม่เห็นด้วย เพราะว่ามันอธิบายไม่ได้ว่า มันสร้างความเสียหายอย่างไรบ้าง คือทำไมเขาไม่เขียนให้มันละเอียดว่า อะไรคือความมั่นคง แล้วมันเสียหายอย่างไร

ผมไม่เห็นว่าความเห็นมันจะทำให้เป็นภัยได้ คือความเห็นมันจะทำให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติก็ไม่น่าจะเป็นไปได้แล้ว ถ้าจะบอกว่าการแสดงความคิดเห็นมากๆ เป็นภัยความมั่นคง แล้วถ้าความเห็นมันมากขนาดนั้นแล้วมันก็คงเป็นความเห็นหลักๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือมันก็คือความคิดเห็นของคนในชาติ ซึ่งถ้าคิดตามตรรกะแบบผม ก็อาจจะสรุปได้ว่า ความคิดเห็นไม่สามารถเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติได้”


หมายเหตุ

*มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔

//www.thaiall.com/article/law.htm

ที่มา ประชาไท


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2553 2:59:29 น. 1 comments
Counter : 608 Pageviews.

 


โดย: MaFiaVza วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:34:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.